วันก่อนได้อ่านบทความเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของระบบขนส่งทางรถไฟของไทยในยุคเริ่มต้น ช่วงตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ให้ความรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นสุขใจไปกับผู้คนในยุคนั้น ที่มีพาหนะในการเดินทางที่สะดวกสบาย ทันสมัยกว่าใครในประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง แต่น่าเสียดายที่หลังจากนั้น ระบบรถไฟของเราก็หยุดชะงักในการพัฒนา ปัจจุบันเราจึงล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านไปค่อนข้างมาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขุนนางยุคก่อนปฏิวัติ คุย “รถไฟสยาม” เจ๋งกว่า “รถไฟอังกฤษ” ในดินแดนอาณานิคม
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_7437
ระบบรถไฟโดยองค์รวมของประเทศไทยเริ่มมีความหวังใหม่อีกครั้ง เมื่อมีการนำรถไฟฟ้าบนดิน หรือ BTS มาให้บริการในปี 2542 และอีก 5 ปีต่อมาก็มีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT เป็นครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟฟ้าใต้ดินอย่างเป็นทางการ เมื่อ 3 กรกฎาคม 2547
ในปีนี้มีพัฒนาการไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมีความชัดเจนว่า รัฐบาลกำลังดำเนินโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงระบบขนส่งทางราง ถนน น้ำ และอากาศ ที่น่าสนใจมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ จะมีการนำระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงมาเชื่อมต่อกับ 3 สนามบินหลัก คือ ดอนเมือง-สุวรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดเวลาเดินทางให้กับผู้โดยสาร
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟฟ้าแบบไร้รอยต่อเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่งผ่านการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านบริเวณที่จะมีการก่อสร้าง ซึ่งไม่มีเสียงคัดค้าน มีเพียงการเรียกร้องให้ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย เช่น ให้มีการฉีดพรมน้ำเพื่อควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ และการติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราว ซึ่งจุดนี้น่าจะพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่า ประชาชนมีความต้องการและพร้อมตอบรับระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกรวดเร็ว
หากโครงการนี้สำเร็จลุล่วงเปิดให้บริการได้ รถไฟฟ้าความเร็วสูงก็จะถูกเพิ่มเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยอีกขั้นหนึ่ง
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะแล้วเสร็จในปี 2566
แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระยะทางรวม 260 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 10 สถานี เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี ได้แก่
สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง และสถานีใต้ดิน 2 สถานี ได้แก่ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา
โดยเป็นรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) สองทางวิ่ง
แบ่งความเร็วเป็น 2 ระดับ
• ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ วิ่งที่ 160 กม./ชม. (City Line)
• สุวรรณภูมิ - ระยอง วิ่งที่ 250 กม./ชม (High Speed Train)
โครงสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) มีโครงสร้างระดับดิน (At-Grade) และ โครงสร้างใต้ดิน (Tunnel)
คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟธรรมดา (City Line) ช่วงดอนเมือง – สุวรรณภูมิ กว่า 103,920 คน/เที่ยว/วัน และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง (HSR) ช่วงสุวรรณภูมิ – ระยอง ถึงกว่า 65,630 คน/เที่ยว/วัน
สำหรับระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (หยุดทุกสถานี) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (ไม่จอดระหว่างทาง) ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม ได้แก่
1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว
2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท - ดอนเมือง (ARLEX)
3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ – ระยอง (HSR) โดยโครงการนี้มีการออกแบบเพิ่มเติมบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า-ขาออก)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข่าวจาก https://www.posttoday.com/biz/gov/520555
ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ยกระดับขนส่งระบบราง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ระบบรถไฟโดยองค์รวมของประเทศไทยเริ่มมีความหวังใหม่อีกครั้ง เมื่อมีการนำรถไฟฟ้าบนดิน หรือ BTS มาให้บริการในปี 2542 และอีก 5 ปีต่อมาก็มีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT เป็นครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดรถไฟฟ้าใต้ดินอย่างเป็นทางการ เมื่อ 3 กรกฎาคม 2547
ในปีนี้มีพัฒนาการไปอีกขั้นหนึ่ง เมื่อมีความชัดเจนว่า รัฐบาลกำลังดำเนินโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงระบบขนส่งทางราง ถนน น้ำ และอากาศ ที่น่าสนใจมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ จะมีการนำระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงมาเชื่อมต่อกับ 3 สนามบินหลัก คือ ดอนเมือง-สุวรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดเวลาเดินทางให้กับผู้โดยสาร
ทั้งนี้ โครงการระบบรถไฟฟ้าแบบไร้รอยต่อเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่งผ่านการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านบริเวณที่จะมีการก่อสร้าง ซึ่งไม่มีเสียงคัดค้าน มีเพียงการเรียกร้องให้ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย เช่น ให้มีการฉีดพรมน้ำเพื่อควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ และการติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราว ซึ่งจุดนี้น่าจะพิสูจน์ได้อย่างหนึ่งว่า ประชาชนมีความต้องการและพร้อมตอบรับระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกรวดเร็ว
หากโครงการนี้สำเร็จลุล่วงเปิดให้บริการได้ รถไฟฟ้าความเร็วสูงก็จะถูกเพิ่มเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์การพัฒนาระบบรางของประเทศไทยอีกขั้นหนึ่ง
ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้