ญี่ปุ่นขอแยกรางไฮสปีด! ลั่นไม่ใช้ร่วมจีน ส่วนไฮสปีดระยอง-ใช้รางร่วมรถไฟฟ้า
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากการประชุม ครม.ด้านคมนาคมร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ทางฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่าต้องการแยกระบบรางของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรางเฉพาะของรถไฟชินคันเซ็น เพื่อใช้ระบบอาณัติสัญญาณควบคุมความปลอดภัยและง่ายต่อบริหารการเดินรถ ในเส้นทางชุมทางบ้านภาชี-สถานีกลางบางซื่อระยะทางรวม 88 กม. จากเดิมที่จะใช้รางร่วมกันกับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชศรีมา ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวจะมีเส้นทางรถไฟ 3 รางคือ รางรถไฟไทย-ญี่ปุ่น รางรถไฟไทย-จีน และเส้นทางรถไฟรางคู่ ดังนั้นวงเงินของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย จากการแยกรางดังกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า ทั้งนี้ ผลการศึกษาโครงการดังกล่าว คาดว่าจะได้ฉบับเต็มช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงการออกแบบสถานีให้เข้ากับการพัฒนาเมืองตามรายทางด้วย คาดว่าจะเสนอโครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาช่วงเดือนกันยายนนี้” นายพีระพลกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม.วงเงิน 152,528 ล้านบาท เนื่องจากมีบางส่วนของโครงการทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ-ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต้องการให้รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ค์ ใช้ระบบรางร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถเดินรถถึงยังสถานีกลางบางซื่อโดยผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ยังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด ล่าสุด การหารือในร่างสัญญาที่ 1 ด้านการออกแบบรายละเอียดมีความคืบหน้ากว่า 90% หากรายละเอียดของร่างสัญญาที่ 1 มีข้อยุติจะหารือร่างสัญญาที่ 2 การว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานต่อไป โดยช่วงปลายเดือนมีนาคม ไทยและจีนจะประชุมทางไกลร่วมกัน เพื่อหารืออย่างเป็นทางการควบคู่ไปกับการหาข้อสรุปเรื่องปัญหาที่ทางฝ่ายจีนต้องส่งวิศวกรมาประชุมและสอบเป็นภาคีพิเศษกับสภาวิศวกรไทย ให้สอดรับกับมาตรฐานก่อสร้างของไทย ขณะนี้จีนกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะส่งมาหรือไม่ ถ้าทางจีนไม่ส่งบุคลากรมาจะส่งผลให้ออกแบบก่อสร้างโครงการไม่ได้ จนในที่สุดต้องล้มเลิกโครงการนี้ไป หากได้ข้อสรุปว่าเดินหน้าต่อทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งขอความคิดเห็นโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเสนอ ครม.ในเดือนพฤษภาคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.matichon.co.th/news/509010
ญี่ปุ่นขอแยกรางไฮสปีด! ลั่นไม่ใช้ร่วมจีน อุ๊ยทำอย่างนี่ก็ได้หรอ นี่แผ่นดินไทยนะ ไม่ใช่แผ่นดินญี่ปุ่น
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากการประชุม ครม.ด้านคมนาคมร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ทางฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่าต้องการแยกระบบรางของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรางเฉพาะของรถไฟชินคันเซ็น เพื่อใช้ระบบอาณัติสัญญาณควบคุมความปลอดภัยและง่ายต่อบริหารการเดินรถ ในเส้นทางชุมทางบ้านภาชี-สถานีกลางบางซื่อระยะทางรวม 88 กม. จากเดิมที่จะใช้รางร่วมกันกับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชศรีมา ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวจะมีเส้นทางรถไฟ 3 รางคือ รางรถไฟไทย-ญี่ปุ่น รางรถไฟไทย-จีน และเส้นทางรถไฟรางคู่ ดังนั้นวงเงินของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย จากการแยกรางดังกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า ทั้งนี้ ผลการศึกษาโครงการดังกล่าว คาดว่าจะได้ฉบับเต็มช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงการออกแบบสถานีให้เข้ากับการพัฒนาเมืองตามรายทางด้วย คาดว่าจะเสนอโครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาช่วงเดือนกันยายนนี้” นายพีระพลกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม.วงเงิน 152,528 ล้านบาท เนื่องจากมีบางส่วนของโครงการทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ-ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต้องการให้รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ค์ ใช้ระบบรางร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถเดินรถถึงยังสถานีกลางบางซื่อโดยผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ยังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด ล่าสุด การหารือในร่างสัญญาที่ 1 ด้านการออกแบบรายละเอียดมีความคืบหน้ากว่า 90% หากรายละเอียดของร่างสัญญาที่ 1 มีข้อยุติจะหารือร่างสัญญาที่ 2 การว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานต่อไป โดยช่วงปลายเดือนมีนาคม ไทยและจีนจะประชุมทางไกลร่วมกัน เพื่อหารืออย่างเป็นทางการควบคู่ไปกับการหาข้อสรุปเรื่องปัญหาที่ทางฝ่ายจีนต้องส่งวิศวกรมาประชุมและสอบเป็นภาคีพิเศษกับสภาวิศวกรไทย ให้สอดรับกับมาตรฐานก่อสร้างของไทย ขณะนี้จีนกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะส่งมาหรือไม่ ถ้าทางจีนไม่ส่งบุคลากรมาจะส่งผลให้ออกแบบก่อสร้างโครงการไม่ได้ จนในที่สุดต้องล้มเลิกโครงการนี้ไป หากได้ข้อสรุปว่าเดินหน้าต่อทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งขอความคิดเห็นโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเสนอ ครม.ในเดือนพฤษภาคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้