จากที่ญี่ปุ่นเสนอเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นไฮสปีดเทรนญี่ปุ่นจะเข้ามามีบทบาทอะไรต่อจากนี้ครับ

กระทู้คำถาม
อันนี้ข่าวน่ะครับ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวภายหลังที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อาเบะ เข้าพบว่า วันที่ 26-27 พ.ค. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม จะเดินทางไปกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อลงนามในบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) โครงการพัฒนาระบบรางร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น

บันทึกดังกล่าวจะครอบคลุมการดำเนินโครงการรถไฟรวม 3 เส้นทาง แบ่งออกเป็น 2 แผน คือแผนเร่งด่วนจะเร่งจัดทำรายละเอียดของแผนงานจำนวน 2 เส้นทาง คือรถไฟฟ้าทางคู่ขนาด 1.435 เมตร ทำเป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูง ประมาณ 300 ก.ม./ชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 670 ก.ม. และ2.รถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตร เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 ก.ม.  

“วันที่ 19 พ.ค.นี้ กระทรวงจะนำเสนอร่างเอ็มโอซีให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ จากนั้นจะลงนามในเอ็มโอซีช่วงปลายเดือนพ.ค. โดยญี่ปุ่นและไทยเห็นชอบร่วมกันให้เร่งก่อสร้างไฮสปีดเทรน เส้นกทม.-เชียงใหม่ให้ได้ก่อน เพราะมีผลการศึกษาเดิมของสนข.จากรัฐบาลก่อนอยู่แล้ว”

จากนี้ญี่ปุ่นจะนำผลการศึกษาไปทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเส้นทาง รูปแบบการลงทุน การออกแบบใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเวลา 6 เดือน และจะเริ่มก่อสร้างได้พร้อมกันทั้ง 2 เส้นทาง ทั้งไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ และเส้นกาญจนบุรี-กทม.แหลมฉบัง ได้ในช่วงต้นปี 2559

รูปแบบการลงทุนเบื้องต้นจะเป็นลักษณะการร่วมทุน โดยไทยเปิดกว้างให้ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนด้านงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการเดินรถร่วมด้วย โดยขณะนี้สถาบันการเงินของญี่ปุ่นหลายแห่งพร้อมที่จะสนับสนุนเงินกู้ในโครงการ เช่น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ,ธนาคารญี่ปุ่นเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (เจบิก) เป็นต้น

ด้านพล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ในการหารือ ไทยยังได้เร่งรัดให้ญี่ปุ่นเร่งส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วงจำนวน 3 ขบวน 5 ตู้ ให้เร็วขึ้น เนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการมอบของขวัญปีใหม่ปี 59 ให้กับประชาชน โดยตั้งเป้าที่จะเปิดให้มีการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ในช่วงต้นปี ซึ่งญี่ปุ่นก็รับปากจะส่งมอบขบวนรถให้ไทยในเดือนต.ค. นี้เพื่อทดลองระบบและจะเปิดให้บริการทันปีใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าสำหรับรถไฟรถไฟฟ้าทางคู่ขนาด 1.435 เมตร เส้นทางกทม.-เชียงใหม่ แผนเดิมของรัฐบาลคสช.จำกัดความเร็วไม่ให้เข้าข่ายไฮสปีด(ความเร็ว 300 ก.ม.ชั่วโมงขึ้นไป) แต่ทางญี่ปุ่นเสนอทำเป็นไฮสปีด เพราะคุ้มค่า




ไม่เอาดราม่าน่ะครับ บอกก่อนเลย ไม่อยากให้กระทู้นี้เป็นการจุดชนวนไร้สาระ บ้าบอคอแตก       จากที่ผมอ่าแล้ว โอเคก็ดีน่ะ ประเทศไทยพัฒนาขึ้น แต่ผมสงสัยคือ เราจะเป็นหนี้ใช่ไหม ถามแบบคนไม่รู้เลยน่ะครับ จะว่าผมโง่ก็ได้555  ญี่ปุ่นเป็นคนเข้ามาสร้างให้ เขาจะได้อะไร แน่นอน ได้เงิน และอะไรอีก มันจะส่งผลดีผลเสียอะไรให้เรา  และมีใครรู้บ้างว่าเม็ดเงินลงทุนเท่าไหร่ ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ต้องดูรูปแบบการลงทุนชัดๆอีกทีครับ ว่าเป็นแบบไหน

จำได้ว่าญี่ปุ่นเคยบอกว่าไม่เกิน 400,000 ล้านนะ

ไม่ว่าแบบไหน ญี่ปุ่นก็ได้รับประโยชน์  ญี่ปุ่นมีธุรกิจอุตสากรรมการท่องเที่ยวในเมืองไทยเยอะ. รอบๆเส้นทางรถไฟยังไงก็ต้องมีเอี่ยว

ผลได้ก็น่าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ในระดับหนึ่งประเทศรอบๆอาจมาใช้บริการเพราะอยากลอง ต้องสร้างก่อนลาวนะ ช่วยลดต้นทุน logistic

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราปรับตัว ทุนนิยมเสรี ไม่มีขอบเขตประเทศแล้วครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่