อุบายวิธีเดินปัญญา เพื่อฝึกละสักกายทิฎฐิ
สักกายทิฏฐิ ความหมาย คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)
เห็นรูปเป็นตน คือ รู้สึกภูมิใจในตนเอง มั่นใจว่าตนเองดูดี สวย น่ารัก หล่อ ฯลฯ
เห็นเวทนาเป็นตน มี ๒ ลักษณะ
๑.ทางใจ รู้สึกสุขใจ/ทุกข์ใจ/เฉยๆ ไม่สะทกสะท้าน ฯลฯ
๒.ทางกาย รู้สึกสบายตัวจากการนั่งหรือนอน หรือ รู้สึกเจ็บแผล ป่วย ปวดหัว หนาวๆร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ฯลฯ
เราควรฝึกกำหนดใจเพื่อลดละสักกายทิฎฐิเหล่านี้ เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาทางธรรม ครูบาอาจารย์สายสมถะ-วิปัสสนา ล้วนสอนไปในทิศทางเดียวกัน คือ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีสัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูก นัยยะหนึ่งเป็นการฝึกทำ ฝึกกำหนดให้เห็นถูกตามความเป็นจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามกฏพระไตรลักษณ์
ทุกๆวัน ฝึกกำหนดใจเกี่ยวกับรูปกายของเรา
@ อย่างต่ำรู้ว่า เราต้องตายจริง อย่างกลางรู้ว่า กายตายเป็นของสกปรก อย่างสูงเราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา เราไม่เป็นกาย กายไม่เป็นเรา สติกำหนดแยกรูปเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ มารวมกัน ขันธ์ ๕ จะเสื่อมสลายตามกาล
@ ต้องรู้ว่า จิตมันซ่อนอยู่ในขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ ๕ มันครอบงำจิต อย่าหลงคิดว่า จิตเป็นขันธ์ ๕ จิตจะอยู่เหนือขันธ์ ๕ ด้วยสติปัญญา ศรัทธา วิริยะ ความเพียร (รวมเรียก ตปธรรม)
@ เมื่อเห็นใครก็ตามทั้งคนและสัตว์ ให้กำหนดรู้ในปัจจุบันทันทีว่า ร่างกายของเขาเป็นก้อนทุกข์ ต้องหิว ปวดหนัก ปวดเบา เจ็บป่วย เบื้องหน้าความตายต้องมาถึง แล้วให้โยนิโสมนสิการ น้อมใจนำความทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นของเขามายัดเยียดใส่ใจ กำหนดในใจเราว่า อันสกลกายของเรานี้ ก็เป็นก้อนทุกข์ มีความหิว ปวดหนัก ปวดเบา ต้องเจ็บป่วย ท้ายที่สุดจักต้องตาย ให้ใจเกิดความสลดสังเวช พึงรำพึงในอิริยาบทต่างๆ
@ คนกับหมาต้องคบกันได้ เพราะตกอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ เป็นก้อนทุกข์
----------------------------
ธรรมะเป็นของกลาง จะกำหนดรู้หรือไม่ เขาก็มีของเขาอยู่แบบนั้น หากไม่ฝึกหัด ใจก็จะมีแต่ไหลไปตามโลก รูป รส กลิ่น เสียง ธรรมอารมณ์
ธรรมะจะถึงใจได้ จึงจำเป็นต้องทวนกระแสโลก สวนทางกับความรู้สึก
อุบายวิธี เดินปัญญา
สักกายทิฏฐิ ความหมาย คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
(ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)
เห็นรูปเป็นตน คือ รู้สึกภูมิใจในตนเอง มั่นใจว่าตนเองดูดี สวย น่ารัก หล่อ ฯลฯ
เห็นเวทนาเป็นตน มี ๒ ลักษณะ
๑.ทางใจ รู้สึกสุขใจ/ทุกข์ใจ/เฉยๆ ไม่สะทกสะท้าน ฯลฯ
๒.ทางกาย รู้สึกสบายตัวจากการนั่งหรือนอน หรือ รู้สึกเจ็บแผล ป่วย ปวดหัว หนาวๆร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ฯลฯ
เราควรฝึกกำหนดใจเพื่อลดละสักกายทิฎฐิเหล่านี้ เป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาทางธรรม ครูบาอาจารย์สายสมถะ-วิปัสสนา ล้วนสอนไปในทิศทางเดียวกัน คือ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีสัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูก นัยยะหนึ่งเป็นการฝึกทำ ฝึกกำหนดให้เห็นถูกตามความเป็นจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามกฏพระไตรลักษณ์
ทุกๆวัน ฝึกกำหนดใจเกี่ยวกับรูปกายของเรา
@ อย่างต่ำรู้ว่า เราต้องตายจริง อย่างกลางรู้ว่า กายตายเป็นของสกปรก อย่างสูงเราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา เราไม่เป็นกาย กายไม่เป็นเรา สติกำหนดแยกรูปเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ มารวมกัน ขันธ์ ๕ จะเสื่อมสลายตามกาล
@ ต้องรู้ว่า จิตมันซ่อนอยู่ในขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ ๕ มันครอบงำจิต อย่าหลงคิดว่า จิตเป็นขันธ์ ๕ จิตจะอยู่เหนือขันธ์ ๕ ด้วยสติปัญญา ศรัทธา วิริยะ ความเพียร (รวมเรียก ตปธรรม)
@ เมื่อเห็นใครก็ตามทั้งคนและสัตว์ ให้กำหนดรู้ในปัจจุบันทันทีว่า ร่างกายของเขาเป็นก้อนทุกข์ ต้องหิว ปวดหนัก ปวดเบา เจ็บป่วย เบื้องหน้าความตายต้องมาถึง แล้วให้โยนิโสมนสิการ น้อมใจนำความทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นของเขามายัดเยียดใส่ใจ กำหนดในใจเราว่า อันสกลกายของเรานี้ ก็เป็นก้อนทุกข์ มีความหิว ปวดหนัก ปวดเบา ต้องเจ็บป่วย ท้ายที่สุดจักต้องตาย ให้ใจเกิดความสลดสังเวช พึงรำพึงในอิริยาบทต่างๆ
@ คนกับหมาต้องคบกันได้ เพราะตกอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ เป็นก้อนทุกข์
----------------------------
ธรรมะเป็นของกลาง จะกำหนดรู้หรือไม่ เขาก็มีของเขาอยู่แบบนั้น หากไม่ฝึกหัด ใจก็จะมีแต่ไหลไปตามโลก รูป รส กลิ่น เสียง ธรรมอารมณ์
ธรรมะจะถึงใจได้ จึงจำเป็นต้องทวนกระแสโลก สวนทางกับความรู้สึก