พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
มันต้องฝึกตนมันจึงมีสติปัญญา จึงรู้จักทุกข์
รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์
รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้
แม้ทุกข์จะมีอยู่ ถ้าปัญญาไม่มีมันก็ไม่รู้เท่า
อาการที่มันไม่รู้เท่าเป็นยังไง
ก็เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้วจิตใจหวั่นไหว
ดิ้นรนกระวนกระวาย นั่นแหละเรียกว่า “ ไม่รู้เท่าทุกข์”
เมื่อความทุกข์บังเกิดขึ้นแล้วก็อดทนได้ อดกลั้นได้
แล้วพร้อมทั้งปัญญาก็กำหนดรู้ว่า
ทุกข์นี้มันเป็นจำเพาะขันธ์ ๕ มันไม่ใช่ของเรา
ไม่มีในเรา ทุกขเวทนามันก็จัดอยู่ในขันธ์ ๕ นั่นแหละ เวทนานะ..
นั่นแหละ มันไม่ได้มีในเรา ไม่ได้มีใน “จิต”
จิตก็ไม่ได้มีในทุกขเวทนานั้น แต่เมื่อจิตหลงแล้ว
จิตหากไปยึดเอาทุกขเวทนานั้นมาว่าเป็นตัวตน
ว่า “เราเป็นทุกข์” “เราเดือดร้อน” อย่างนู้นอย่างนี้
นี่นะให้พิจารณาให้ละเอียดเรื่องนี้น่ะ
ดังนั้น
บุคคลผู้ทำจิตให้เป็นสมาธิ
ตั้งมั่นลงไปอย่างแน่วแน่ลงไปแล้วอย่างนี้
อะไรมาสัมผัสจิตน้อยหนึ่งมันก็รู้บัดนี้นะ
อย่างว่าความเจ็บป่วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนร่างกาย
ทำให้ร่างกายนี้มันไม่ปกติอยู่ได้ กระวนกระวาย
มันก็มากระทบกับจิตนี้บ๊อยบ่อยนี้นะ
เมื่อจิตมันตั้งมั่นอยู่แล้วมันก็พิจารณา
..โอ๋..ขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นอย่างนี้หนอ เมื่อมันไม่เที่ยงแล้วนี้
ก็แปรปรวนกระทบกระทั่งกับจิตนี้อยู่อย่างนี้
จิตนี้ก็รู้สึกไม่สบายแล้ว ดังนั้นจึงผู้มีปัญญานะ
จึงนึกดำริ ..ทำไงหนอเราจะพ้นจากขันธ์ ๕ นี้ได้
ก็ดำริไปอย่างนี้นะ นี่มันเบื่อแล้วเพราะขันธ์ ๕ มันไม่เที่ยง
มันกระทบกระทั่งกับจิตนี้อยู่เสมอ เออมันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ
ฝึกตนให้รู้เท่าทันขันธ์ ๕ : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
มันต้องฝึกตนมันจึงมีสติปัญญา จึงรู้จักทุกข์
รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ รู้จักความดับทุกข์
รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้
แม้ทุกข์จะมีอยู่ ถ้าปัญญาไม่มีมันก็ไม่รู้เท่า
อาการที่มันไม่รู้เท่าเป็นยังไง
ก็เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้วจิตใจหวั่นไหว
ดิ้นรนกระวนกระวาย นั่นแหละเรียกว่า “ ไม่รู้เท่าทุกข์”
เมื่อความทุกข์บังเกิดขึ้นแล้วก็อดทนได้ อดกลั้นได้
แล้วพร้อมทั้งปัญญาก็กำหนดรู้ว่า
ทุกข์นี้มันเป็นจำเพาะขันธ์ ๕ มันไม่ใช่ของเรา
ไม่มีในเรา ทุกขเวทนามันก็จัดอยู่ในขันธ์ ๕ นั่นแหละ เวทนานะ..
นั่นแหละ มันไม่ได้มีในเรา ไม่ได้มีใน “จิต”
จิตก็ไม่ได้มีในทุกขเวทนานั้น แต่เมื่อจิตหลงแล้ว
จิตหากไปยึดเอาทุกขเวทนานั้นมาว่าเป็นตัวตน
ว่า “เราเป็นทุกข์” “เราเดือดร้อน” อย่างนู้นอย่างนี้
นี่นะให้พิจารณาให้ละเอียดเรื่องนี้น่ะ
ดังนั้นบุคคลผู้ทำจิตให้เป็นสมาธิ
ตั้งมั่นลงไปอย่างแน่วแน่ลงไปแล้วอย่างนี้
อะไรมาสัมผัสจิตน้อยหนึ่งมันก็รู้บัดนี้นะ
อย่างว่าความเจ็บป่วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนร่างกาย
ทำให้ร่างกายนี้มันไม่ปกติอยู่ได้ กระวนกระวาย
มันก็มากระทบกับจิตนี้บ๊อยบ่อยนี้นะ
เมื่อจิตมันตั้งมั่นอยู่แล้วมันก็พิจารณา
..โอ๋..ขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นอย่างนี้หนอ เมื่อมันไม่เที่ยงแล้วนี้
ก็แปรปรวนกระทบกระทั่งกับจิตนี้อยู่อย่างนี้
จิตนี้ก็รู้สึกไม่สบายแล้ว ดังนั้นจึงผู้มีปัญญานะ
จึงนึกดำริ ..ทำไงหนอเราจะพ้นจากขันธ์ ๕ นี้ได้
ก็ดำริไปอย่างนี้นะ นี่มันเบื่อแล้วเพราะขันธ์ ๕ มันไม่เที่ยง
มันกระทบกระทั่งกับจิตนี้อยู่เสมอ เออมันเป็นอย่างนั้นเรื่องมันน่ะ