มาเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอาหารที่มาเลเซียก็ตอนที่ได้เริ่มค่อยๆ รู้จักมันทีละอย่างนี่ล่ะ ที่นี่มีบางอย่างที่เหมือนบ้านเรา แต่ชื่อเรียกไม่เหมือน บางอย่างก็แยกออกไปเลย
ไม่รู้ จขกท.คิดไปเองหรือเปล่า แต่รู้สึกว่าที่นี่นิยมการผัดข้าวหรือผัดก๋วยเตี๋ยวแบบหอมกระทะ (เหมือนว่าอาหารจีนที่นี่จะนิยมใช้กระทะเหล็กกัน) แบบที่เรามักจะได้กินตามภัตตาคาร หรือร้านอาหารเจ้าเก่า ยังกับว่าเขาทำกินกันแบบนี้จนกลายเป็นธรรมชาติของเขากันไปแล้ว วันนี้ไม่มีเนื้อหาสาระอะไรนอกจากการเดินเล่นไปเรื่อยเปื่อย และ การกินๆๆๆๆ เพราะฉะนั้นเนื้อหาในวันนี้ก็จะเก็บตกมื้ออาหาร มื้ออื่นๆ ตั้งแต่วันแรกด้วย
สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ :
วันที่ 1 การเดินทางจากสนามบินเข้าเมืองกัวลาลัมเปอร์ และ สตรีทฟู้ดที่ Jalan Alor
https://ppantip.com/topic/36694114
วันที่ 2 ใครว่ามาเที่ยว คือ การพักผ่อน...เปล่าเลย นี่ไปทรมานสังขารตัวเองชัดๆ!!! "การเดินขาลากที่ ปุตราจายา"
https://ppantip.com/topic/36705101
วันที่ 3 เดินเล่นร้านขายของฝาก ออกเดินทางสู่ปีนังด้วย ETS Train
https://ppantip.com/topic/36710132
วันที่ 4 เที่ยวแลนด์มาร์กสำคัญของปีนัง (บ้านเปอนารากัน กงสีตระกูลกู่ วัด Kek Lok Si ปีนังฮิลล์)
https://ppantip.com/topic/36716002
สามารถอ่านตอนต่อไปได้ที่นี่
วันที่ 6 วันสุดท้าย ปีนัง-หาดใหญ่
https://ppantip.com/topic/36731467
วันที่ 5 ว่าด้วยเรื่องกินๆๆๆ
เช้านี้ จขกท. ออกมาเดินเล่น และลองเดินสวนอีกทางที่ไม่ใช่ทางเดิม ตั้งใจว่า วันนี้จะต้องกินอะไรที่ไม่ใช่ โรตี คาไน ให้ได้ แล้วจขกท. ก็เดินไปเจอสิ่งนี้ค่ะ
.....ร้านอาหารเช้าแบบจีน.....
(พิกัดของร้านโดยประมาณ)
“Kopi” คือ กาแฟ “O” คือ ดำ “Su-su” คือ ใส่นม
เพราะฉะนั้น Kopi-O หมายถึง กาแฟดำ Kopi- Susu หมายถึง กาแฟใส่นม เช่นเดียวกับชา
ที่นี่เรียกชาว่า “Teh” เพราะฉะนั้น Teh-O คือ ชาดำ ส่วน Teh-Susu คือ ชานม แต่ถ้าใครจะสั่งชาจีนแบบขมๆ บ้านเราก็ ให้สั่งว่า “Teh-Cina” คำว่า Cina ก็น่าจะแปลว่า จีน
นอกเหนือจากนี้ทุกร้านอาหารจีนจะชอบมีเครื่องดื่มแปลกๆ อย่าง Almond-O กับ Almond-Susu เข้าใจว่ามันน่าจะเป็น พวกน้ำอัลมอลด์ จขกท. เคยพยายามลองสั่งมาหนหนึ่ง แต่ร้านอาหารจีนที่ไปกินมาเมื่อวาน นางเตือนว่า คุณอาจจะไม่ชอบกลิ่นของมันเท่าไหร่นะ...เลยไม่สั่งก็ได้
อีกเรื่องก็คือ ถึงจะเข้าร้านอาหารจีนแต่ก็หนีไม่พ้นโรตีอยู่ดี….555
อย่าแปลกใจที่มีใครสั่งโรตีที่ร้านอาหารจีนแล้วดันได้ ขนมปัง เพราะในร้านอาหารจีนที่นี่ เรียก ขนมปังว่า Roti
เมนูที่ จขกท. สั่งคือ Roti Mentaga with Egg มันคือขนมปังทาเนย ราดไข่ลวกข้างบน หรือ จะบอกให้เขาเอาไข่ลวกใส่มาเป็นถ้วยก็ได้
(อาหาร เรียกว่า "Roti Mentaga with egg" ส่วนเครื่องดื่มเรียกว่า "Teh-Cina" หรือ ชาจีน)
อ้อ! จำที่ จขกท. บอกตอนแรกได้มั้ยว่า ได้ลอง Nasi Kandar ในร้านอาหารจีน ก็คือที่นี่นั่นแหละ จขกท.คิดว่ามันอาจเป็นวัฒนธรรมในร้านอาหารของเขาที่จะต้องมีข้าวห่อแบบนี้อยู่บนโต๊ะ มันอาจจะดูเป็นห่อๆ เหมือนกัน แตกต่างกันบ้างนิดหน่อย อย่างบางร้านก็ห่อด้วยใบไม้ บางร้านก็ห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาล แต่ใจความสำคัญมัน คือ ข้าวห่อ ใส่ไข่ต้ม ใส่เนื้อสัตว์ แล้วก็ราดด้วยอะไรก็ตามที่ทำให้ข้าวมีรสชาติลงไป อย่างในร้านอาหารอินเดียที่ไม่กินหมูจะใช้เนื้อไก่ กับ เนื้อวัว ราดแกงกะหรี่ เรียกว่า Nasi Kandar แต่ของร้านอาหารจีนที่ จขกท.ได้ลอง ใช้เนื้อปลา ราดด้วยซอสพริก เรียกว่า Nasi Lemak รสชาติออกหวานๆ ชวนให้นึกถึงข้าวหมูแดงบ้านเรา
(์ในร้านอาหารจีนมันคือ "Nasi Lemak" ในร้านอาหารอินเดียคือ "Nasi Kandar")
(สภาพภายในเป็น ข้าว ปลา ไข่ต้ม ราดพริก)
“...And what’s KAYA?” จขกท. ถามอาแปะที่เป็นเจ้าของร้าน (ผู้ซึ่งมีความอดทนอย่างแรงกับเจ้าหนู จำไมแบบ จขกท.)
อาแปะก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง บอกว่า เดี๋ยวจะเอาให้ดู ตามมาหลังร้านซิ จขกท. เลยเดินตามอาแปะมาจนเห็นหม้อใบใหญ่ แกกวนๆ ของเหลวหนืดๆ สีเหลืองที่อยู่ในนั้น แล้วก็ยกขึ้นมาให้ดู
Kaya คือ มะพร้าวเคี่ยว น้ำตาล ไข่ จนกลายเป็นแยมเหนียวๆ ข้นๆ สีน้ำตาลเหลือง (หรือจริงๆ แล้วมันก็คือ สิ่งที่บ้านเราเรียกว่า สังขยา) เป็นสิ่งที่คนมาเลเซียใช้กินกับขนมปังอย่างแพร่หลาย ความสำคัญก็พอๆ กับ แยมสตอเบอร์รี่บ้านเราเลย เพราะ จขกท. เห็นกระปุก Kaya วางตั้งอยู่ทุกๆ โฮสเทลที่ไปพัก
(คายา ราดขนมปัง)
รูปภาพจาก :
http://www.friedchillies.com/recipes/detail/simple-kaya
จะว่าไปแล้วอย่างหนึ่งที่เสียดายก็คือ...ตอนนั้นไม่ได้ลองกินเจ้า Kaya นี่แหละ
[CR] ตะลุยเที่ยวมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ ปีนัง หาดใหญ่ 6 วัน 5 คืน (วันที่ 5 ว่าด้วยเรื่องกินๆๆๆ) by PS. Momery
ไม่รู้ จขกท.คิดไปเองหรือเปล่า แต่รู้สึกว่าที่นี่นิยมการผัดข้าวหรือผัดก๋วยเตี๋ยวแบบหอมกระทะ (เหมือนว่าอาหารจีนที่นี่จะนิยมใช้กระทะเหล็กกัน) แบบที่เรามักจะได้กินตามภัตตาคาร หรือร้านอาหารเจ้าเก่า ยังกับว่าเขาทำกินกันแบบนี้จนกลายเป็นธรรมชาติของเขากันไปแล้ว วันนี้ไม่มีเนื้อหาสาระอะไรนอกจากการเดินเล่นไปเรื่อยเปื่อย และ การกินๆๆๆๆ เพราะฉะนั้นเนื้อหาในวันนี้ก็จะเก็บตกมื้ออาหาร มื้ออื่นๆ ตั้งแต่วันแรกด้วย
สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ :
วันที่ 1 การเดินทางจากสนามบินเข้าเมืองกัวลาลัมเปอร์ และ สตรีทฟู้ดที่ Jalan Alor
https://ppantip.com/topic/36694114
วันที่ 2 ใครว่ามาเที่ยว คือ การพักผ่อน...เปล่าเลย นี่ไปทรมานสังขารตัวเองชัดๆ!!! "การเดินขาลากที่ ปุตราจายา"
https://ppantip.com/topic/36705101
วันที่ 3 เดินเล่นร้านขายของฝาก ออกเดินทางสู่ปีนังด้วย ETS Train
https://ppantip.com/topic/36710132
วันที่ 4 เที่ยวแลนด์มาร์กสำคัญของปีนัง (บ้านเปอนารากัน กงสีตระกูลกู่ วัด Kek Lok Si ปีนังฮิลล์)
https://ppantip.com/topic/36716002
สามารถอ่านตอนต่อไปได้ที่นี่
วันที่ 6 วันสุดท้าย ปีนัง-หาดใหญ่
https://ppantip.com/topic/36731467
วันที่ 5 ว่าด้วยเรื่องกินๆๆๆ
เช้านี้ จขกท. ออกมาเดินเล่น และลองเดินสวนอีกทางที่ไม่ใช่ทางเดิม ตั้งใจว่า วันนี้จะต้องกินอะไรที่ไม่ใช่ โรตี คาไน ให้ได้ แล้วจขกท. ก็เดินไปเจอสิ่งนี้ค่ะ
.....ร้านอาหารเช้าแบบจีน.....
(พิกัดของร้านโดยประมาณ)
“Kopi” คือ กาแฟ “O” คือ ดำ “Su-su” คือ ใส่นม
เพราะฉะนั้น Kopi-O หมายถึง กาแฟดำ Kopi- Susu หมายถึง กาแฟใส่นม เช่นเดียวกับชา
ที่นี่เรียกชาว่า “Teh” เพราะฉะนั้น Teh-O คือ ชาดำ ส่วน Teh-Susu คือ ชานม แต่ถ้าใครจะสั่งชาจีนแบบขมๆ บ้านเราก็ ให้สั่งว่า “Teh-Cina” คำว่า Cina ก็น่าจะแปลว่า จีน
นอกเหนือจากนี้ทุกร้านอาหารจีนจะชอบมีเครื่องดื่มแปลกๆ อย่าง Almond-O กับ Almond-Susu เข้าใจว่ามันน่าจะเป็น พวกน้ำอัลมอลด์ จขกท. เคยพยายามลองสั่งมาหนหนึ่ง แต่ร้านอาหารจีนที่ไปกินมาเมื่อวาน นางเตือนว่า คุณอาจจะไม่ชอบกลิ่นของมันเท่าไหร่นะ...เลยไม่สั่งก็ได้
อีกเรื่องก็คือ ถึงจะเข้าร้านอาหารจีนแต่ก็หนีไม่พ้นโรตีอยู่ดี….555
อย่าแปลกใจที่มีใครสั่งโรตีที่ร้านอาหารจีนแล้วดันได้ ขนมปัง เพราะในร้านอาหารจีนที่นี่ เรียก ขนมปังว่า Roti
เมนูที่ จขกท. สั่งคือ Roti Mentaga with Egg มันคือขนมปังทาเนย ราดไข่ลวกข้างบน หรือ จะบอกให้เขาเอาไข่ลวกใส่มาเป็นถ้วยก็ได้
(อาหาร เรียกว่า "Roti Mentaga with egg" ส่วนเครื่องดื่มเรียกว่า "Teh-Cina" หรือ ชาจีน)
อ้อ! จำที่ จขกท. บอกตอนแรกได้มั้ยว่า ได้ลอง Nasi Kandar ในร้านอาหารจีน ก็คือที่นี่นั่นแหละ จขกท.คิดว่ามันอาจเป็นวัฒนธรรมในร้านอาหารของเขาที่จะต้องมีข้าวห่อแบบนี้อยู่บนโต๊ะ มันอาจจะดูเป็นห่อๆ เหมือนกัน แตกต่างกันบ้างนิดหน่อย อย่างบางร้านก็ห่อด้วยใบไม้ บางร้านก็ห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาล แต่ใจความสำคัญมัน คือ ข้าวห่อ ใส่ไข่ต้ม ใส่เนื้อสัตว์ แล้วก็ราดด้วยอะไรก็ตามที่ทำให้ข้าวมีรสชาติลงไป อย่างในร้านอาหารอินเดียที่ไม่กินหมูจะใช้เนื้อไก่ กับ เนื้อวัว ราดแกงกะหรี่ เรียกว่า Nasi Kandar แต่ของร้านอาหารจีนที่ จขกท.ได้ลอง ใช้เนื้อปลา ราดด้วยซอสพริก เรียกว่า Nasi Lemak รสชาติออกหวานๆ ชวนให้นึกถึงข้าวหมูแดงบ้านเรา
(์ในร้านอาหารจีนมันคือ "Nasi Lemak" ในร้านอาหารอินเดียคือ "Nasi Kandar")
(สภาพภายในเป็น ข้าว ปลา ไข่ต้ม ราดพริก)
“...And what’s KAYA?” จขกท. ถามอาแปะที่เป็นเจ้าของร้าน (ผู้ซึ่งมีความอดทนอย่างแรงกับเจ้าหนู จำไมแบบ จขกท.)
อาแปะก็ไม่พูดพร่ำทำเพลง บอกว่า เดี๋ยวจะเอาให้ดู ตามมาหลังร้านซิ จขกท. เลยเดินตามอาแปะมาจนเห็นหม้อใบใหญ่ แกกวนๆ ของเหลวหนืดๆ สีเหลืองที่อยู่ในนั้น แล้วก็ยกขึ้นมาให้ดู
Kaya คือ มะพร้าวเคี่ยว น้ำตาล ไข่ จนกลายเป็นแยมเหนียวๆ ข้นๆ สีน้ำตาลเหลือง (หรือจริงๆ แล้วมันก็คือ สิ่งที่บ้านเราเรียกว่า สังขยา) เป็นสิ่งที่คนมาเลเซียใช้กินกับขนมปังอย่างแพร่หลาย ความสำคัญก็พอๆ กับ แยมสตอเบอร์รี่บ้านเราเลย เพราะ จขกท. เห็นกระปุก Kaya วางตั้งอยู่ทุกๆ โฮสเทลที่ไปพัก
(คายา ราดขนมปัง)
รูปภาพจาก : http://www.friedchillies.com/recipes/detail/simple-kaya
จะว่าไปแล้วอย่างหนึ่งที่เสียดายก็คือ...ตอนนั้นไม่ได้ลองกินเจ้า Kaya นี่แหละ