ยังคงเก็บภาพที่ตลาดพลูอยู่เนือง ๆ ตามแต่โอกาสจะอำนวย
เพราะการเก็บภาพแต่ละที่แต่ละครั้งแต่ต่างเวลากัน ทำให้เจอสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
เช่น วัดราคฤห์วรวิหาร ที่เก็บภาพวัดไว้ครบหมดแล้ว ทั้งพระพุทธบาทเขามอ
พระพุทธเจ้าปางปรินิพพานนอนหงาย เจดีย์และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
เดินเข้าออกซอยเทอดไท 14 หลายครั้ง วันพุธที่ 29-3-17 เจอบ้านหนึ่งรับจ้างห่อกีจ่าง
ซึ่งเป็นจ่างแบบหวาน นั่งทำก่อนวันไหว้บ๊ะจ่างล่วงหน้าถึงสองเดือนกว่า ห่อเสร็จเก็บเข้าช่องฟรีซ
รอต้มก่อนถึงวันไหว้ประมาณ 1 อาทิตย์ วันพฤหัสฯ ที่ 25-5-17 กลับไปเก็บภาพอีกครั้ง
จึงได้เห็นวิธีต้มกีจ่าง กีจ่างใช้วิธีต้มเท่านั้น ต่างจากบ๊ะจ่าง ที่มีทั้งแบบต้มและแบบนึ่ง
สำหรับบ๊ะจ่างนั้น คนทำเริ่มหันกลับมามัดด้วยเชือกขาว แทนการมัดด้วยเชือกฟางพลาสติก
แม้ว่าเชือกฟางและหนังยาง สามารถทนความร้อนจากการต้มนึ่งทำบ๊ะจ่าง แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ไว้ใจ
คำเตือน : ภาพและบทความ มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง
ผู้ละเมิด จะถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด โดยไม่มีการยอมความ
บทความนี้จะไม่กล่าวถึงประวัติการไหว้บ๊ะจ่าง เพราะเคยกล่าวถึงแล้วใน
"ทำกินกันเอง : ปักจ่าง"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/06/D6719386/D6719386.html
ในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างจะมีจ่างสองชนิด ชนิดแรกเป็นอาหารคาว ที่รู้จักกันในชื่อ "บ๊ะจ่าง"
อีกชนิดหนึ่ง เป็นจ่างแบบจืด จิ้มน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำตาลทรายแดงก็ได้ เป็นจ่างแบบหวาน
กีจ่างดูเผิน ๆ อาจนึกว่าเป็นข้าวต้มน้ำวุ้น แต่มีจุดที่ต่างกันสองจุด คือ ข้าวต้มน้ำวุ้นห่อด้วยใบตอง
ส่วนกีจ่างใช้ใบไผ่สองใบวางด้านมันทาบเกยกันพับเป็นกระทงกรวย ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมปิระมิด
มัดด้วยตอกที่ผ่านการแช่น้ำให้นิ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการมัด แต่ข้าวต้มน้ำวุ้นห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน
แล้วใช้ไม้กลัด จากนั้นใช้ไม้เสียบลูกชิ้นเสียบทีละ 5 ตัว คห.97 " ไหว้พระ 9 วัด @ แม่น้ำเจ้าพระยา"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7387901/D7387901.html
ส่วนกีจ่างมัดด้วยตอกเหมือนบะจ่างแล้วห้อยทีละลูก ก่อนส่งต่อให้อีกคนมัดรวมเป็นกลุ่มก้อนเหมือนลูกบอล
ทั้งสองชนิดผ่านการต้ม แต่ต้มออกมาแล้วแตกต่างกัน ข้าวต้มน้ำวุ้นต้มแล้วข้าวเหนียวเป็นสีเขียว
เมื่อต้มเสร็จแล้ว ข้าวเหนียวยังเห็นเป็นเมล็ด มีกลิ่นหอมจากใบตองและน้ำใบเตย ที่ใช้แช่ข้าวเหนียว
ส่วนกีจ่างต้มแล้วเนื้อเป็นสีเหลือง เนื้อข้าวเหนียวแทบจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน อันเป็นผลจากการแช่น้ำด่าง
ที่ได้จากน้ำแช่เปลือกทุเรียนเผา หรือ เปลือกฝักนุ่นเผา แล้วปล่อยตะกอนนอนก้น ตักเอาน้ำใส ๆ
มาแช่ข้าวเหนียว ถ้าใช้ด่างสังเคราะห์กีจ่างจะออกสีส้ม บางสูตรน้ำแช่ข้าวเหนียวจะใส่น้ำประสานทอง
หรือ ผงกรอบ หรือ บอแรกซ์เล็กน้อย สะเด็ดน้ำข้าวเหนียวแช่น้ำด่างให้แห้ง ใช้ใบไผ่สดคัดใบที่ดี
เช็ดทำความสะอาด จากนั้นตัดหัวท้าย แล้วนำใบไผ่แช่น้ำเพื่อไม่ให้ม้วนเข้าหากัน
ทำให้ห่อง่าย มีกลิ่นของใบไผ่ตงในเนื้อกีจ่าง บางครั้งเจอกีจ่างที่มีรสขม เกิดจากปริมาณของน้ำด่างที่ใช้
ส่วนบ๊ะจ่างใช้ใบไผ่แห้งใบใหญ่จากจีน ซึ่งระยะหลังแพงขึ้นเกือบสามเท่า เพราะต้นไผ่ตายพร้อมกันเมื่อออกดอก
การมัดกีจ่างนั้น ต่างจากบ๊ะจ่างที่มัดแยกทีละลูก ใช้เชือกยาว 50 ซม.มัดแยกทีละลูกเป็นพวง ๆ ละ 10 ลูก
แต่กีจ่างตัดเชือกยาว 50 ซม. จากนั้นแบ่งเป็นสองข้างโดยมัดปมตรงกึ่งกลางสองปมเป็นหูหิ้ว
แล้วนำไปแขวนบนไม้หรือ หรือ ท่อพีวีซีรูปตัว T ใช้ปลายเชือกด้านหนึ่งมัดกีจ่างทีละลูก
จนครบ 25 ลูก จากนั้นใช้เชือกมัดดึงจากแกนกลางจัดเป็นทรงกลมเหมือนลูกบอล
เสร็จแล้วทำต่ออีกข้างหนึ่งจนได้ลูกบอลกีจ่างอีก 1 ลูก นำไปต้มรวมในถังดรัม
ด้านบนถังวางถังน้ำบนแผ่นตะแกรงกันลอยขึ้นมา ใช้เวลาต้ม 3 ชั่วโมงจึงสุก
เวลาซื้อจะซื้อเป็นพวงคู่ 50 ลูก หรือ ตัดแยกพวงเดียว 25 ลูกก็ได้ พวงเดียว 90-100 บาท
ส่วนแบบไม่ห่อใบไผ่ตัดขายเป็นก้อน ๆ ละครึ่งกิโลฯ 60 บาท ยังไม่เจอคนทำ
แต่น่าจะต้มพร้อมกับใบไผ่จำนวนมาก เพื่อให้ได้กลิ่นใบไผ่เหมือนกับแบบห่อด้วยใบไผ่
ข้อมูลประกอบจาก
http://www.phuketbulletin.co.th/Food/view.php?id=1841
จากการสอบถามคนรับจ้างห่อกีจ่างถึงราคาขาย คนขายบอกว่าขายคู่ละ 250 บาท
แต่อยากตรวจสอบราคาให้แน่ใจอีกครั้ง จึงต้องไปย่านที่มีขายกันมากแน่นอน คือ ย่านไชน่าทาวน์
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ กีจ่างตลาดพลู กีจ่างตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย กีจ่างตลาดใหม่จอมทอง บ๊ะจ่างเจ๊เจี๊ยบ
เพราะการเก็บภาพแต่ละที่แต่ละครั้งแต่ต่างเวลากัน ทำให้เจอสิ่งใหม่ ๆ เสมอ
เช่น วัดราคฤห์วรวิหาร ที่เก็บภาพวัดไว้ครบหมดแล้ว ทั้งพระพุทธบาทเขามอ
พระพุทธเจ้าปางปรินิพพานนอนหงาย เจดีย์และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
เดินเข้าออกซอยเทอดไท 14 หลายครั้ง วันพุธที่ 29-3-17 เจอบ้านหนึ่งรับจ้างห่อกีจ่าง
ซึ่งเป็นจ่างแบบหวาน นั่งทำก่อนวันไหว้บ๊ะจ่างล่วงหน้าถึงสองเดือนกว่า ห่อเสร็จเก็บเข้าช่องฟรีซ
รอต้มก่อนถึงวันไหว้ประมาณ 1 อาทิตย์ วันพฤหัสฯ ที่ 25-5-17 กลับไปเก็บภาพอีกครั้ง
จึงได้เห็นวิธีต้มกีจ่าง กีจ่างใช้วิธีต้มเท่านั้น ต่างจากบ๊ะจ่าง ที่มีทั้งแบบต้มและแบบนึ่ง
สำหรับบ๊ะจ่างนั้น คนทำเริ่มหันกลับมามัดด้วยเชือกขาว แทนการมัดด้วยเชือกฟางพลาสติก
แม้ว่าเชือกฟางและหนังยาง สามารถทนความร้อนจากการต้มนึ่งทำบ๊ะจ่าง แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่ไว้ใจ
คำเตือน : ภาพและบทความ มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง
ผู้ละเมิด จะถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด โดยไม่มีการยอมความ
บทความนี้จะไม่กล่าวถึงประวัติการไหว้บ๊ะจ่าง เพราะเคยกล่าวถึงแล้วใน
"ทำกินกันเอง : ปักจ่าง"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2008/06/D6719386/D6719386.html
ในเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างจะมีจ่างสองชนิด ชนิดแรกเป็นอาหารคาว ที่รู้จักกันในชื่อ "บ๊ะจ่าง"
อีกชนิดหนึ่ง เป็นจ่างแบบจืด จิ้มน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำตาลทรายแดงก็ได้ เป็นจ่างแบบหวาน
กีจ่างดูเผิน ๆ อาจนึกว่าเป็นข้าวต้มน้ำวุ้น แต่มีจุดที่ต่างกันสองจุด คือ ข้าวต้มน้ำวุ้นห่อด้วยใบตอง
ส่วนกีจ่างใช้ใบไผ่สองใบวางด้านมันทาบเกยกันพับเป็นกระทงกรวย ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมปิระมิด
มัดด้วยตอกที่ผ่านการแช่น้ำให้นิ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการมัด แต่ข้าวต้มน้ำวุ้นห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมแบน
แล้วใช้ไม้กลัด จากนั้นใช้ไม้เสียบลูกชิ้นเสียบทีละ 5 ตัว คห.97 " ไหว้พระ 9 วัด @ แม่น้ำเจ้าพระยา"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7387901/D7387901.html
ส่วนกีจ่างมัดด้วยตอกเหมือนบะจ่างแล้วห้อยทีละลูก ก่อนส่งต่อให้อีกคนมัดรวมเป็นกลุ่มก้อนเหมือนลูกบอล
ทั้งสองชนิดผ่านการต้ม แต่ต้มออกมาแล้วแตกต่างกัน ข้าวต้มน้ำวุ้นต้มแล้วข้าวเหนียวเป็นสีเขียว
เมื่อต้มเสร็จแล้ว ข้าวเหนียวยังเห็นเป็นเมล็ด มีกลิ่นหอมจากใบตองและน้ำใบเตย ที่ใช้แช่ข้าวเหนียว
ส่วนกีจ่างต้มแล้วเนื้อเป็นสีเหลือง เนื้อข้าวเหนียวแทบจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน อันเป็นผลจากการแช่น้ำด่าง
ที่ได้จากน้ำแช่เปลือกทุเรียนเผา หรือ เปลือกฝักนุ่นเผา แล้วปล่อยตะกอนนอนก้น ตักเอาน้ำใส ๆ
มาแช่ข้าวเหนียว ถ้าใช้ด่างสังเคราะห์กีจ่างจะออกสีส้ม บางสูตรน้ำแช่ข้าวเหนียวจะใส่น้ำประสานทอง
หรือ ผงกรอบ หรือ บอแรกซ์เล็กน้อย สะเด็ดน้ำข้าวเหนียวแช่น้ำด่างให้แห้ง ใช้ใบไผ่สดคัดใบที่ดี
เช็ดทำความสะอาด จากนั้นตัดหัวท้าย แล้วนำใบไผ่แช่น้ำเพื่อไม่ให้ม้วนเข้าหากัน
ทำให้ห่อง่าย มีกลิ่นของใบไผ่ตงในเนื้อกีจ่าง บางครั้งเจอกีจ่างที่มีรสขม เกิดจากปริมาณของน้ำด่างที่ใช้
ส่วนบ๊ะจ่างใช้ใบไผ่แห้งใบใหญ่จากจีน ซึ่งระยะหลังแพงขึ้นเกือบสามเท่า เพราะต้นไผ่ตายพร้อมกันเมื่อออกดอก
การมัดกีจ่างนั้น ต่างจากบ๊ะจ่างที่มัดแยกทีละลูก ใช้เชือกยาว 50 ซม.มัดแยกทีละลูกเป็นพวง ๆ ละ 10 ลูก
แต่กีจ่างตัดเชือกยาว 50 ซม. จากนั้นแบ่งเป็นสองข้างโดยมัดปมตรงกึ่งกลางสองปมเป็นหูหิ้ว
แล้วนำไปแขวนบนไม้หรือ หรือ ท่อพีวีซีรูปตัว T ใช้ปลายเชือกด้านหนึ่งมัดกีจ่างทีละลูก
จนครบ 25 ลูก จากนั้นใช้เชือกมัดดึงจากแกนกลางจัดเป็นทรงกลมเหมือนลูกบอล
เสร็จแล้วทำต่ออีกข้างหนึ่งจนได้ลูกบอลกีจ่างอีก 1 ลูก นำไปต้มรวมในถังดรัม
ด้านบนถังวางถังน้ำบนแผ่นตะแกรงกันลอยขึ้นมา ใช้เวลาต้ม 3 ชั่วโมงจึงสุก
เวลาซื้อจะซื้อเป็นพวงคู่ 50 ลูก หรือ ตัดแยกพวงเดียว 25 ลูกก็ได้ พวงเดียว 90-100 บาท
ส่วนแบบไม่ห่อใบไผ่ตัดขายเป็นก้อน ๆ ละครึ่งกิโลฯ 60 บาท ยังไม่เจอคนทำ
แต่น่าจะต้มพร้อมกับใบไผ่จำนวนมาก เพื่อให้ได้กลิ่นใบไผ่เหมือนกับแบบห่อด้วยใบไผ่
ข้อมูลประกอบจาก http://www.phuketbulletin.co.th/Food/view.php?id=1841
จากการสอบถามคนรับจ้างห่อกีจ่างถึงราคาขาย คนขายบอกว่าขายคู่ละ 250 บาท
แต่อยากตรวจสอบราคาให้แน่ใจอีกครั้ง จึงต้องไปย่านที่มีขายกันมากแน่นอน คือ ย่านไชน่าทาวน์