ปีนี้ยังคงสั่งสั่งบ๊ะจ่าง (粽子) จากที่เดิมมัดด้วยเชือกขาว
ราคาคงเดิมลูกละ 60 บาทมาหลายปี
เป็นบ๊ะจ่างไส้แน่นแทบไม่เห็นข้าว ลูกใหญ่เต็มไม้เต็มมือ เต็มปากเต็มคำ
ถ้ากินคนเดียวมากกว่าสองลูก เลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงไม่ไหว
นอกจากบ๊ะจ่างข้าวเหนียวขาวและข้าวหนียวดำไส้เค็ม+หวาน อย่างละ 15 ลูกแล้ว
ยังมีแถมมาให้อีกสองอย่าง คือ บ๊ะจ่างข้าวเหนียวขาวใส่เป๋าฮื้อสองลูก
และกีจ่าง (栀粽) ลูกค่อนข้างใหญ่มาให้อีกหนึ่งพวง 17 ลูก
เป็นกีจ่างที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เหมือนที่ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย (เจริญกรุง 16/เยาวราช 6)
จากสีเหลืองของเนื้อกีจ่าง ที่ต้มในน้ำด่างจนละลายเกือบเป็นเนื้อเดียวกัน
พอจะบอกได้ว่าต้มด้วยน้ำด่างธรรมชาติ ที่เกิดจากการเผาเปลือกทุเรียน หรือเปลือกฝักนุ่นเผา
เพราะถ้าต้มด้วยน้ำด่างวิทยาศาสตร์ สีจะออกเหลืองเข้มจนเกือบเป็นสีส้ม
นอกเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างหากีจ่างยาก แต่พอใกล้เทศกาลจะมีการทำมากที่ซอยเทอดไท 14 ตลาดพลู
"เที่ยวไปกินไป by laser @ กีจ่างตลาดพลู กีจ่างตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย กีจ่างตลาดใหม่จอมทอง บ๊ะจ่างเจ๊เจี๊ยบ"
https://ppantip.com/topic/36511884
ส่วนกีจ่างแบบเป็นก้อนที่ไม่ห่อใบไผ่ แต่นึ่งในกาละมังแล้วต้ดแบ่ง มีขายมากที่ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย
ครั้งแรกนึกว่าทำเองกำลังจะติว่ามัดด้วยเชือกพลาสติก
ขนาดไปดูเข้าทำที่ซอยเทอดไท 14 ตลาดพลู ยังมีแค่ร้านเดียวในซอยเมอดไท 12 ที่มัดด้วยเชือกขาว
กลายเป็นว่าซื้อมาจากร้านอื่น ที่น่าจะเป็นแถวตลาดจอมทองมาแจก ราคากิโลฯ ละ 140 บาท
กีจ่างเลิกกินมานานแล้ว เพราะระยะหลังเจอแต่แบบหนักกลิ่นน้ำด่างเข้าปากขมแทบคายทิ้ง แต่ร้านนี้กลับไม่มีกลิ่นเลย
เห็นกีจ่างทีไรต้องนึกถึงข้าวต้มน้ำวุ้น เพราะหน้าตามันคล้ายกันมาก กีจ่างเป็นทรงปิรามิดฐานสามเหลี่ยม
แต่ข้าวต้มน้ำวุ้นเป็นทรงสามเหลี่ยมมน กีจ่างห่อด้วยใบไผ่ซอยเล็ก ห่อแบบบ๊ะจ่างมัดเป็นพวงต้มในน้ำด่าง
จนข้าวเหนียวละลายเป็นเนื้อเดียวกันแทบไม่เห็นเม็ดข้าวเหนียว ถ้าต้มด้วยน้ำด่างอันเกิดจากการเผาเปลือกทุเรียน
จะออกมาเป็นสีเหลือง แต่ถ้าต้มด้วยน้ำด่างวิทยาศาจร์จะออกมาเป็นสีส้ม
ส่วนข้าวต้มน้ำวุ้นห่อด้วยใบตองต้มในน้ำใส่ใบเตยออกมาเป็นสีอมเขียว ข้าวต้มนำวุ้นจะใส่ในน้ำแข็งไส
แต่ปัจจุบันหากินยาก เพราะน้ำแข็งไสกลายพันธุ์เป็นตีถึงใส่น้ำแข็งเรียกกันเพี้ยน ๆ ว่าเช็งซิมอี๊
เคยไปยืนดูการห่อข้าวต้มน้ำวุ้น ที่ท่าน้ำวัดสามพระยาวรวิหาร หรือวัดบางขุนพรหม
คห.97 "ไหว้พระ 9 วัด @ แม่น้ำเจ้าพระยา"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7387901/D7387901.html
ปกติกีจ่างกินโดยการจิ้มกับน้ำตาลทราย
น้ำเชื่อมน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้ง พิเรนทร์หน่อยก็อาจจิ้มกับนมข้นหวาน
แต่การกินไม่มีสูตรตายตัวพลิกแพลงได้ตามยุคสมัย
ข้าวต้มน้ำวุ้นหาซื้อยาก จึงนำกีจ่างมากินกับตีทึง และน้ำแข็งไส ลองดูหน่อยเป็นไร
เดินไปตลาดสำโรงมีร้านขายขนมหวานสองร้าน ร้านหนึ่งมีตีทึงด้วย ห้าปีที่แล้วขายถุงละ 7 บาท 3 ถุง 20 บาท
แต่การขึ้นราคาของมะพร้าวและน้ำกะทิ ทำใหเปัจจุบันต้องปรับราคาเป็นถุงละ 10 บาท
เริ่มด้วยการนำมากินกับตีทึง (甜汤) หรือเต้าทึง (豆汤) โดยใส่ทั้งลูก
ตีทึงใส่ทั้งลูกเดือย ถั่วทอง เม็ดบัว แปะก๊วยและแห้ว
รสหวานจัดทั้งจากน้ำตาลและน้ำลำไย ขนาดใส่ครึ่งเดียวผสมน้ำเปล่ายังหวาน
การใส่กีจ่างช่วยให้อร่อยขึ้น ทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็งบด
ความเหนียวหนืดเด้งของกีจ่างพอทดแทนแป้งกรอบ ทั้งแบบลูกเต๋า "โซวอี๊" (脆丸)
หรือแบบเป็นแผ่นกลม ที่เรียกว่า "เช็งซิมอี๊" (清心丸) หรือแป้งกลมกรอบที่กินแล้วสบายใจ
นำกีจ่างมาใส่ทั้งลูกในลอดช่องใบเตยน้ำกะทิใส่เผือกและข้าวเหนียวดำ
ดูไม่ต่างจากข้าวต้มน้ำวุ้น แต่แตกต่างจากข้าวต้มน้ำวุ้นที่มีแต่ความนุ่ม
แต่กีจ่างมีความหนึบ นุ่ม เด้ง
หั่นกีจ่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในรวมมิตรน้ำกะทิ และลอดช่องสิงคโปร์ก็เข้ากันได้ดี
เพราะทั้งสองอย่างมีความเหนียวจากแป้งมัน เครื่องรวมมิตรมีครองแครงจากแป้งมัน
มีวุ้นมะพร้าวเนื้อแน่นกรอบ มีทับทิมกรอบ มีเม็ดสาคู มีวุ้นกรอบ
ใส่กีจ่างหั่นเล็กเพิ่มความหนึบหนับอร่อยยิ่งขึ้นกับน้ำกะทิ ทั้งรวมมิตร
และลอดช่องสิงคโปร์
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่เพจ "เที่ยวไปกินไป by laser"
https://th-th.facebook.com/เที่ยวไปกินไป-by-laser-458383970993701
ที่เอาไว้รวบรวมเรื่องเที่ยวเรื่องกิน ที่สั้นเกินกว่าจะนำมาลงเป็นบทความ
หรือ อยู่ระหว่างรวบรวมเป็นบทความที่สมบูรณ์
#กินตามอาสาม #อร่อยกับอาสาม #ตามรอยอาสาม #เที่ยวกับอาสาม
[CR] ทำกินกันเอง by laser : กีจ่างที่ไม่กินแบบกีจ่าง
ราคาคงเดิมลูกละ 60 บาทมาหลายปี
เป็นบ๊ะจ่างไส้แน่นแทบไม่เห็นข้าว ลูกใหญ่เต็มไม้เต็มมือ เต็มปากเต็มคำ
ถ้ากินคนเดียวมากกว่าสองลูก เลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงไม่ไหว
นอกจากบ๊ะจ่างข้าวเหนียวขาวและข้าวหนียวดำไส้เค็ม+หวาน อย่างละ 15 ลูกแล้ว
ยังมีแถมมาให้อีกสองอย่าง คือ บ๊ะจ่างข้าวเหนียวขาวใส่เป๋าฮื้อสองลูก
และกีจ่าง (栀粽) ลูกค่อนข้างใหญ่มาให้อีกหนึ่งพวง 17 ลูก
เป็นกีจ่างที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เหมือนที่ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย (เจริญกรุง 16/เยาวราช 6)
จากสีเหลืองของเนื้อกีจ่าง ที่ต้มในน้ำด่างจนละลายเกือบเป็นเนื้อเดียวกัน
พอจะบอกได้ว่าต้มด้วยน้ำด่างธรรมชาติ ที่เกิดจากการเผาเปลือกทุเรียน หรือเปลือกฝักนุ่นเผา
เพราะถ้าต้มด้วยน้ำด่างวิทยาศาสตร์ สีจะออกเหลืองเข้มจนเกือบเป็นสีส้ม
นอกเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างหากีจ่างยาก แต่พอใกล้เทศกาลจะมีการทำมากที่ซอยเทอดไท 14 ตลาดพลู
"เที่ยวไปกินไป by laser @ กีจ่างตลาดพลู กีจ่างตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย กีจ่างตลาดใหม่จอมทอง บ๊ะจ่างเจ๊เจี๊ยบ"
https://ppantip.com/topic/36511884
ส่วนกีจ่างแบบเป็นก้อนที่ไม่ห่อใบไผ่ แต่นึ่งในกาละมังแล้วต้ดแบ่ง มีขายมากที่ตลาดเล่งบ๋วยเอี๊ย
ครั้งแรกนึกว่าทำเองกำลังจะติว่ามัดด้วยเชือกพลาสติก
ขนาดไปดูเข้าทำที่ซอยเทอดไท 14 ตลาดพลู ยังมีแค่ร้านเดียวในซอยเมอดไท 12 ที่มัดด้วยเชือกขาว
กลายเป็นว่าซื้อมาจากร้านอื่น ที่น่าจะเป็นแถวตลาดจอมทองมาแจก ราคากิโลฯ ละ 140 บาท
กีจ่างเลิกกินมานานแล้ว เพราะระยะหลังเจอแต่แบบหนักกลิ่นน้ำด่างเข้าปากขมแทบคายทิ้ง แต่ร้านนี้กลับไม่มีกลิ่นเลย
เห็นกีจ่างทีไรต้องนึกถึงข้าวต้มน้ำวุ้น เพราะหน้าตามันคล้ายกันมาก กีจ่างเป็นทรงปิรามิดฐานสามเหลี่ยม
แต่ข้าวต้มน้ำวุ้นเป็นทรงสามเหลี่ยมมน กีจ่างห่อด้วยใบไผ่ซอยเล็ก ห่อแบบบ๊ะจ่างมัดเป็นพวงต้มในน้ำด่าง
จนข้าวเหนียวละลายเป็นเนื้อเดียวกันแทบไม่เห็นเม็ดข้าวเหนียว ถ้าต้มด้วยน้ำด่างอันเกิดจากการเผาเปลือกทุเรียน
จะออกมาเป็นสีเหลือง แต่ถ้าต้มด้วยน้ำด่างวิทยาศาจร์จะออกมาเป็นสีส้ม
ส่วนข้าวต้มน้ำวุ้นห่อด้วยใบตองต้มในน้ำใส่ใบเตยออกมาเป็นสีอมเขียว ข้าวต้มนำวุ้นจะใส่ในน้ำแข็งไส
แต่ปัจจุบันหากินยาก เพราะน้ำแข็งไสกลายพันธุ์เป็นตีถึงใส่น้ำแข็งเรียกกันเพี้ยน ๆ ว่าเช็งซิมอี๊
เคยไปยืนดูการห่อข้าวต้มน้ำวุ้น ที่ท่าน้ำวัดสามพระยาวรวิหาร หรือวัดบางขุนพรหม
คห.97 "ไหว้พระ 9 วัด @ แม่น้ำเจ้าพระยา"
http://topicstock.ppantip.com/food/topicstock/2009/01/D7387901/D7387901.html
ปกติกีจ่างกินโดยการจิ้มกับน้ำตาลทราย
น้ำเชื่อมน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำผึ้ง พิเรนทร์หน่อยก็อาจจิ้มกับนมข้นหวาน
แต่การกินไม่มีสูตรตายตัวพลิกแพลงได้ตามยุคสมัย
ข้าวต้มน้ำวุ้นหาซื้อยาก จึงนำกีจ่างมากินกับตีทึง และน้ำแข็งไส ลองดูหน่อยเป็นไร
เดินไปตลาดสำโรงมีร้านขายขนมหวานสองร้าน ร้านหนึ่งมีตีทึงด้วย ห้าปีที่แล้วขายถุงละ 7 บาท 3 ถุง 20 บาท
แต่การขึ้นราคาของมะพร้าวและน้ำกะทิ ทำใหเปัจจุบันต้องปรับราคาเป็นถุงละ 10 บาท
เริ่มด้วยการนำมากินกับตีทึง (甜汤) หรือเต้าทึง (豆汤) โดยใส่ทั้งลูก
ตีทึงใส่ทั้งลูกเดือย ถั่วทอง เม็ดบัว แปะก๊วยและแห้ว
รสหวานจัดทั้งจากน้ำตาลและน้ำลำไย ขนาดใส่ครึ่งเดียวผสมน้ำเปล่ายังหวาน
การใส่กีจ่างช่วยให้อร่อยขึ้น ทั้งแบบร้อนและแบบเย็นใส่น้ำแข็งบด
ความเหนียวหนืดเด้งของกีจ่างพอทดแทนแป้งกรอบ ทั้งแบบลูกเต๋า "โซวอี๊" (脆丸)
หรือแบบเป็นแผ่นกลม ที่เรียกว่า "เช็งซิมอี๊" (清心丸) หรือแป้งกลมกรอบที่กินแล้วสบายใจ
นำกีจ่างมาใส่ทั้งลูกในลอดช่องใบเตยน้ำกะทิใส่เผือกและข้าวเหนียวดำ
ดูไม่ต่างจากข้าวต้มน้ำวุ้น แต่แตกต่างจากข้าวต้มน้ำวุ้นที่มีแต่ความนุ่ม
แต่กีจ่างมีความหนึบ นุ่ม เด้ง
หั่นกีจ่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในรวมมิตรน้ำกะทิ และลอดช่องสิงคโปร์ก็เข้ากันได้ดี
เพราะทั้งสองอย่างมีความเหนียวจากแป้งมัน เครื่องรวมมิตรมีครองแครงจากแป้งมัน
มีวุ้นมะพร้าวเนื้อแน่นกรอบ มีทับทิมกรอบ มีเม็ดสาคู มีวุ้นกรอบ
ใส่กีจ่างหั่นเล็กเพิ่มความหนึบหนับอร่อยยิ่งขึ้นกับน้ำกะทิ ทั้งรวมมิตร
และลอดช่องสิงคโปร์
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ได้ที่เพจ "เที่ยวไปกินไป by laser"
https://th-th.facebook.com/เที่ยวไปกินไป-by-laser-458383970993701
ที่เอาไว้รวบรวมเรื่องเที่ยวเรื่องกิน ที่สั้นเกินกว่าจะนำมาลงเป็นบทความ
หรือ อยู่ระหว่างรวบรวมเป็นบทความที่สมบูรณ์
#กินตามอาสาม #อร่อยกับอาสาม #ตามรอยอาสาม #เที่ยวกับอาสาม
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้