ปักจ่าง
บันทึกความอร่อย "บ้ะจ่าง"
เทศกาลบ้ะจ่างผ่านพ้นไปเมื่อวานนี้ มีบ้านไหนไหว้หรือทำบ้ะจ่างเองบ้างคะ แม่นันเองก็เพิ่งจะมีเวลาว่างจริงๆ วันนี้ต้องขอนำบ้ะจ่างของที่บ้านมายั่วๆๆค่ะ ไม่อยากจะบอกเลยว่าแม่นันเพิ่งตื่น เพราะโดนพิษบ้ะจ่างไปหนึ่งลูกโตๆ ทำเอาหนังตาหย่อนแบบเอาไม่อยู่จริงๆ ๕๕
ไหว้บ้ะจ่างปีนี้ ผ่านพ้นไปเมื่อวานนี้เอง จันทร์ที่ 10 มิย. 2567 (5 ค่ำ เดือน 5) ตามจันทรคติจีน
เวลาผ่านพ้นไปเร็วๆมากๆเลยนะคะ ยิ่งเฉพาะปีนี้ แม่นันมีความรู้สึกว่าเวลาเดินเร็วเหมือนติดจรวด เชงเม้งไปเมื่อเมษ. เทศกาลบ้ะจ่างผ่านพ้นอีกแล้ว ก่อนเทศกาลแต่ละบ้านก็จะวุ่นวายกับการเตรียมทำบ้ะจ่าง
ตั้งแต่การจับจ่ายซื้อวัตถุดิบในการ "ปักจ่าง" (ห่อขนมบ้ะจ่าง) อาตั่วแจ้ซาแจ้ซี้แจ้ฝั่งสามพรานเตรียมนัดน้องๆเดินเยาวราชกัน ฝั่งมาม้า (บุญธรรม) ที่กรุงเทพก็วุ่นวายไม่แพ้กันค่ะ คนนี้ทำอย่าง คนนั้นทำอย่าง
แต่หลายๆบ้านก็ซื้อเอาค่ะ เพราะทำบ้ะจ่างแต่ละครั้ง (ไม่นับการกินแล้ว) มันวุ่นวายพอๆกับจัดงานแต่งงานเลยค่ะ
สูตรของอาตั่วแจ้จะใช้วิธีนึ่งข้าวเหนียวก่อน ข้าวเหนียวสุกทั่วแน่นอน ผูกเสร็จใช้เวลาในการนึ่งไม่นาน แต่เสียเวลาตอนผสม เพราะต้องอาศัยความเร็ว ข้าวเหนียวเสร็จปุ๊บต้องผสมตอนร้อนๆทันที หอมพริกไทยมาก อาโหง่วแจ้กินยั่วก่อนใครเลยค่ะ
“ปักจ่าง” เป็นคำกิริยาสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า "มัดหรือผูกขนมบ้ะจ่าง" ซึ่งก็คือการทำบ้ะจ่างนั่นเอง คนจีนเวลาเจอหน้ากันในช่วงนี้มักจะถามกันไปมาว่า
“กิมนี้ ลื่อ อู่ ปักจ่าง บ๊อ” (ปีนี้เธอทำบ้ะจ่างรึเปล่า)
“เต๊กเฮียะ กิมนี้ กุ๊ยซี่” (ใบจ่างปีนี้แพงเหลือเกิน)
บ๊ะจ่าง วัตถุดิบหลักคือข้าวเหนียว วัตถุดิบรองคือส่วนผสมอื่นๆ เช่น กุนเชียง หมู กุ้งแห้ง ไข่แดง ถั่วลิสง ลูกบัว เห็ดหอม แปะก้วย เผือกกวน ปีนี้แม่นันจัดเต็มใส่เกาลัดให้ด้วย กุนเชียงก็ต้องไร้มันย่างเตาถ่านด้วยนะคะ
วัตถุดิบทุกอย่างต้องผ่านการคัดสรรค์มาอย่าง คุณภาพและความสะอาดต้องมาก่อน ความใส่ใจในการปรุงอย่างพิถีพิถันจะยิ่งเพิ่มอรรถรสในการกินมาก เห็ดหอมอย่างดีแช่น้ำให้นุ่มก่อนนำมาหมักซีอิ๊ว ผัดเคี่ยวจนหอม กุ้งแห้งเนื้อตัวโตๆ ล้างให้สะอาดแล้วสะเด็ดน้ำให้แห้ง (แช่นานไม่ได้เดี๋ยวหมดเค็ม ไม่อร่อย) เนื้อหมูหมักรสชาติกลมกล่อม ปีนี้สุดพิเศษ แม่นันใช้กุนเชียงเนื้อไร้มันย่างเต่าถ่าน ถั่วลิสงต้มสุก (นิยมใช้ถั่วเม็ดเล็ก ให้ความหอมมัน.อร่อย) เกาลัดเนื้อดี แปะก้วย.เม็ดบัวต้มเอง ทุกอย่างต้องพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการผัด กระบวนการห่อการมัด ซึ่งต้องมัดให้แน่น (ใบตองต้องไม่แตก) เพื่อที่เวลานำไปต้ม หรือนึ่งแล้วบ๊ะจ่างจะได้ไม่แตก ข้าวเหนียวไม่หลุดร่วงจากใบจ่าง การห่อบ๊ะจ่างในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีการห่อในรูปทรงที่ต่างกัน แต่ส่วนมากนิยมห่อเป็นกรวยแหลม ห่อสวยไม่สวยก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญของแต่ละคนค่ะ กว่าแม่นันจะห่อเป็นก็ฝึกกับอาตั่วแจ้อยู่นานเหมือนกันค่ะ สมัยยังห่อไม่เป็นรู้สึกสมเพศตัวเองมาก ๕๕
มาดูวิธีห่อบ้ะจ่างของปีนี้ที่แม่นันทำขายค่ะ ว่าอลังการขนาดไหน เครื่องพรีเมี่ยมมากๆ ถึงบอกว่าลูกเดียว "จุก" ทำเอาหลับเพิ่งตื่นนี่ล่ะค่ะ
“บ้ะจ่าง” แม้จะมองว่าเป็นเมนูที่แสนจะจุกจิก เดินตลาดหนึ่งวัน เตรียมหนึ่งวัน ห่ออีกหนึ่งวัน แต่พอใกล้ถึงเทศกาลทีไร ก็จะเห็นอาม้า อาม่า อากิ๋ม อาอี๊ อาโกว (ที่แม้จะชราภาพลงทุกวัน) ยังคงตื่นเต้นที่จะได้อวดสูตรอันแสนอร่อยของตัวเอง แม้ในวันนั้นจะ..ก้มก็โอย เงยก็โอย มัดจ่างไปบ่นไป เดือดร้อนถึงลูกหลานต้องคอยผลัดกันนวดผลัดกันประคบประหงม (กำลังเหน็บแนมอาตั่วแจ้กับมาม้าบุญธรรมของตัวเอง) อย่าเอ็ดไปนะคะ
ทุกปี แม่นันมักเห็นอาซิ่มหน้าตาคุ้นเคย นั่งปักจ่างอยู่ในบ้านอย่างตั้งอกตั้งใจ บทสนทนาเดิมๆ ก็มักจะหลุดออกมา
“อาซิ่ม กิมนี้ อิ๋วสี่กากี่ปักจ่าง” (อาซิ่มปีนี้ลงมือทำบ้ะจ่างเองอีกแล้วเหรอคะ) แม่นันเรียกแกว่าอาซิ่มตั้งแต่แกยังสาวๆ
“สี สี หนี่หนี่ กากี่ปั้ก” “กิมนี้ ปัก บ่อโจ่ย” “คาชิ่ว บ่อเฮียะฮ่อ” (ใช่ อาซิ่มทำเองทุกปี แต่ปีนี้ทำน้อยหน่อยเพราะสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว) แต่แม่นันก็เห็นข้าวเหนียวในกะละมังเยอะหลายกิโลอยู่เหมือนทุกปี ในวัน "ปักจ่าง" ที่จะถึงในปีนี้ แม่นันหวังว่าจะได้สนทนากับอาซิ่มอีกครั้ง
นี่แหละความงดงามของธรรมเนียมประเพณีจีน ถ้ามองผ่านๆก็เป็นแค่การไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษที่ทำตามๆกันมา แต่มองลึกๆแล้ว ทุกเทศกาลล้วนมีคุณค่าและความหมายลึกซึ้งต่อจิตใจของบรรพบุรุษที่ยังมีชีวิตอยู่ และพยายามสืบทอดต่อให้ลูกหลานได้เห็น
อิ่มอร่อยกับ "บ้ะจ่าง" มาดูเบื้องหลังความจุกจิกในการ "ปักจ่าง" ห่อบ้ะจ่างกันค่ะ
เทศกาลบ้ะจ่างผ่านพ้นไปเมื่อวานนี้ มีบ้านไหนไหว้หรือทำบ้ะจ่างเองบ้างคะ แม่นันเองก็เพิ่งจะมีเวลาว่างจริงๆ วันนี้ต้องขอนำบ้ะจ่างของที่บ้านมายั่วๆๆค่ะ ไม่อยากจะบอกเลยว่าแม่นันเพิ่งตื่น เพราะโดนพิษบ้ะจ่างไปหนึ่งลูกโตๆ ทำเอาหนังตาหย่อนแบบเอาไม่อยู่จริงๆ ๕๕
ไหว้บ้ะจ่างปีนี้ ผ่านพ้นไปเมื่อวานนี้เอง จันทร์ที่ 10 มิย. 2567 (5 ค่ำ เดือน 5) ตามจันทรคติจีน
เวลาผ่านพ้นไปเร็วๆมากๆเลยนะคะ ยิ่งเฉพาะปีนี้ แม่นันมีความรู้สึกว่าเวลาเดินเร็วเหมือนติดจรวด เชงเม้งไปเมื่อเมษ. เทศกาลบ้ะจ่างผ่านพ้นอีกแล้ว ก่อนเทศกาลแต่ละบ้านก็จะวุ่นวายกับการเตรียมทำบ้ะจ่าง
ตั้งแต่การจับจ่ายซื้อวัตถุดิบในการ "ปักจ่าง" (ห่อขนมบ้ะจ่าง) อาตั่วแจ้ซาแจ้ซี้แจ้ฝั่งสามพรานเตรียมนัดน้องๆเดินเยาวราชกัน ฝั่งมาม้า (บุญธรรม) ที่กรุงเทพก็วุ่นวายไม่แพ้กันค่ะ คนนี้ทำอย่าง คนนั้นทำอย่าง
แต่หลายๆบ้านก็ซื้อเอาค่ะ เพราะทำบ้ะจ่างแต่ละครั้ง (ไม่นับการกินแล้ว) มันวุ่นวายพอๆกับจัดงานแต่งงานเลยค่ะ
สูตรของอาตั่วแจ้จะใช้วิธีนึ่งข้าวเหนียวก่อน ข้าวเหนียวสุกทั่วแน่นอน ผูกเสร็จใช้เวลาในการนึ่งไม่นาน แต่เสียเวลาตอนผสม เพราะต้องอาศัยความเร็ว ข้าวเหนียวเสร็จปุ๊บต้องผสมตอนร้อนๆทันที หอมพริกไทยมาก อาโหง่วแจ้กินยั่วก่อนใครเลยค่ะ
“กิมนี้ ลื่อ อู่ ปักจ่าง บ๊อ” (ปีนี้เธอทำบ้ะจ่างรึเปล่า)
“เต๊กเฮียะ กิมนี้ กุ๊ยซี่” (ใบจ่างปีนี้แพงเหลือเกิน)
บ๊ะจ่าง วัตถุดิบหลักคือข้าวเหนียว วัตถุดิบรองคือส่วนผสมอื่นๆ เช่น กุนเชียง หมู กุ้งแห้ง ไข่แดง ถั่วลิสง ลูกบัว เห็ดหอม แปะก้วย เผือกกวน ปีนี้แม่นันจัดเต็มใส่เกาลัดให้ด้วย กุนเชียงก็ต้องไร้มันย่างเตาถ่านด้วยนะคะ
วัตถุดิบทุกอย่างต้องผ่านการคัดสรรค์มาอย่าง คุณภาพและความสะอาดต้องมาก่อน ความใส่ใจในการปรุงอย่างพิถีพิถันจะยิ่งเพิ่มอรรถรสในการกินมาก เห็ดหอมอย่างดีแช่น้ำให้นุ่มก่อนนำมาหมักซีอิ๊ว ผัดเคี่ยวจนหอม กุ้งแห้งเนื้อตัวโตๆ ล้างให้สะอาดแล้วสะเด็ดน้ำให้แห้ง (แช่นานไม่ได้เดี๋ยวหมดเค็ม ไม่อร่อย) เนื้อหมูหมักรสชาติกลมกล่อม ปีนี้สุดพิเศษ แม่นันใช้กุนเชียงเนื้อไร้มันย่างเต่าถ่าน ถั่วลิสงต้มสุก (นิยมใช้ถั่วเม็ดเล็ก ให้ความหอมมัน.อร่อย) เกาลัดเนื้อดี แปะก้วย.เม็ดบัวต้มเอง ทุกอย่างต้องพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการผัด กระบวนการห่อการมัด ซึ่งต้องมัดให้แน่น (ใบตองต้องไม่แตก) เพื่อที่เวลานำไปต้ม หรือนึ่งแล้วบ๊ะจ่างจะได้ไม่แตก ข้าวเหนียวไม่หลุดร่วงจากใบจ่าง การห่อบ๊ะจ่างในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีการห่อในรูปทรงที่ต่างกัน แต่ส่วนมากนิยมห่อเป็นกรวยแหลม ห่อสวยไม่สวยก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญของแต่ละคนค่ะ กว่าแม่นันจะห่อเป็นก็ฝึกกับอาตั่วแจ้อยู่นานเหมือนกันค่ะ สมัยยังห่อไม่เป็นรู้สึกสมเพศตัวเองมาก ๕๕
มาดูวิธีห่อบ้ะจ่างของปีนี้ที่แม่นันทำขายค่ะ ว่าอลังการขนาดไหน เครื่องพรีเมี่ยมมากๆ ถึงบอกว่าลูกเดียว "จุก" ทำเอาหลับเพิ่งตื่นนี่ล่ะค่ะ
ทุกปี แม่นันมักเห็นอาซิ่มหน้าตาคุ้นเคย นั่งปักจ่างอยู่ในบ้านอย่างตั้งอกตั้งใจ บทสนทนาเดิมๆ ก็มักจะหลุดออกมา
“อาซิ่ม กิมนี้ อิ๋วสี่กากี่ปักจ่าง” (อาซิ่มปีนี้ลงมือทำบ้ะจ่างเองอีกแล้วเหรอคะ) แม่นันเรียกแกว่าอาซิ่มตั้งแต่แกยังสาวๆ
“สี สี หนี่หนี่ กากี่ปั้ก” “กิมนี้ ปัก บ่อโจ่ย” “คาชิ่ว บ่อเฮียะฮ่อ” (ใช่ อาซิ่มทำเองทุกปี แต่ปีนี้ทำน้อยหน่อยเพราะสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว) แต่แม่นันก็เห็นข้าวเหนียวในกะละมังเยอะหลายกิโลอยู่เหมือนทุกปี ในวัน "ปักจ่าง" ที่จะถึงในปีนี้ แม่นันหวังว่าจะได้สนทนากับอาซิ่มอีกครั้ง
นี่แหละความงดงามของธรรมเนียมประเพณีจีน ถ้ามองผ่านๆก็เป็นแค่การไหว้เจ้าไหว้บรรพบุรุษที่ทำตามๆกันมา แต่มองลึกๆแล้ว ทุกเทศกาลล้วนมีคุณค่าและความหมายลึกซึ้งต่อจิตใจของบรรพบุรุษที่ยังมีชีวิตอยู่ และพยายามสืบทอดต่อให้ลูกหลานได้เห็น