ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ กับสถาปัตยกรรมไทย ในพระบรมมหาราชวัง มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งที่เป็นอาคารฐานันดรสูงเหมือนกัน ดังจะเปรียบเทียบความเหมือนคล้าย และความแตกต่างได้ดังนี้
1. ชั้นหลังคาลาดแบบปราสาทพม่ามีเสาบุฝาคอสองรองรับแต่ละชั้น คือตัวเรือน เป็นการจำลองตัวเรือนชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพื้นที่ใช้งาน ไว้เหนือหลังคาลาดชั้นแรกลดหลั่นขนาดไร่เรียงระดับกันขึ้นไปด้านบน ผลที่เกิดขึ้นคือชุดจำลองที่ซ้อนลดหลั่นเป็นกรวยเหลี่ยมทรงสูง(ภาพที่ 1) แตกต่างจากทรงกรวยเหลี่ยมที่ไม่ยืดสูงเท่า กล่าวได้ว่าอยู่ในทรงที่เรียกว่า จอมแห คือยอดของมณฑปทางไทย เพราะชุดหลังคาลาดเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นชิดกันโดยไม่มีฝาคอสองคั่นจึงทำให้เรือนยอดทรงจอมแหของไทยสามารถทำชั้นซ้อนได้ถี่กว่า เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในส่วนของฝาคอสองที่มากั้นระหว่างชั้นหลังคาลาดแบบพม่า ทำให้รูปทรงดูยืดสูงมากกว่า (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 1 ชุดหลังคาลาด พระมหาปราสาท พระราชวังมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า : แต่ละชั้นมีผนังคั่นอยู่ในรูปกรวยเหลี่ยมทรงสูง
ภาพที่ 2 หลังคายอดทรงจอดแห ของพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยชุดหลังคาลาดชั้นซ้อนลดหลั่น แต่ละชั้นไม่มีผนังคั่น
2. ซึ่งแต่ละชั้นหลังคาลาดของปราสาทแบบพม่าอยู่ในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทุกด้านประดับซุ้มจั่ว (ไทยเรียกว่าบรรพแถลง) ที่กลางด้าน
(ภาพที่ 1) ซึ่งในส่วนนี้จะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมแบบไทย กล่าวคือ ทุกด้านประดับด้วยซุ้มบรรพแถลง เพียงแต่การประดับบรรพแถลงในมณฑปแบบไทยนั้นจะมีขนาดใหญ่น้อยตามจังหวะ (ภาพที่ 2) ต่างจากการประดับซุ้มจั่วของปราสาทแบบพม่าซึ่งจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และที่มุมเงยขึ้นอันเป็นงานประดับที่ลาดขึ้นมาจากกลางด้านตามลักษณะเฉพาะของทางพม่า ซึ่งต่างจากหลังคาลาดของมณฑปไทย กล่าวคือ หลังลาดมณฑปไทยจะอยู่ในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า แต่ละด้านมีกระเปาะยื่นทำให้เกิดมุมเพิ่มเรียงรายกันอย่างงดงาม และที่ปลายสันหลังคาประดับหัวพญานาคเรียกว่า “นาคปัก”(ภาพที่ 3) ซึ่งในส่วนนี้ปราสาทแบบพม่าจะไม่มีแต่ใช้การทำเป็นไม้แกะสลักลวดลาย หรือกะหลุ่งต่องแทน
(ภาพที่ 4)
ภาพที่ 3 รายละเอียดส่วนของชั้นซ้อนลดหลั่น และการประดับนาคปัก
ภาพที่ 4 รายละเอียดของชั้นซ้อนลดหลั่น และการประดับกะหลุ่งต่อง
3. ชั้นจำลองเรือนชั้นบนสุดของปราสาทพม่า คือ ทรงสี่เหลี่ยมเข้าลักษณะของบัลลังก์ ต่อขึ้นเป็นยอดปลีเหลี่ยมปลายต่อด้วยมงกุฎ หรือฉัตรแบบพม่า (ภาพที่ 1) ซึ่งต่างจากหลังคาลาดชั้นบนสุดของมณฑปไทย กล่าวคือ ต่อขึ้นด้วยทรงระฆังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ตามการเพิ่มมุมที่ขึ้นมาจากชุดหลังคาลาด เหนือทรงระฆังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมคือบัลลังก์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม และต่อขึ้นไปเป็นชุดชั้นเหม ซึ่งประกอบด้วยเหมสามชั้นลดหลั่นกัน ถัดขึ้นไปเป็นบัวทรงคลุ่มเถา แล้วจึงถึงปลีเรียวสูงยาวขึ้นไปมีลูกแก้ว คั่นจังหวะออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างยังเรียกว่า “ปลี” ส่วนบนคือเหนือลูกแก้วขึ้นไปเรียกว่า “ปลียอด” ซึ่งต่อปลายยอดด้วยทรงพุ่มเล็กๆเรียกว่าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ภาพที่ 2)
จากข้อเปรียบเทียบที่ได้กล่าวมานั้น เราจะพบว่าปราสาทแบบพม่า จะมีการตีฝาบุ หรืออาจเรียกว่า ฝาสองคอ ระหว่างชั้นหลังคา จึงทำให้ชั้นหลังแต่ละชั้นค่อนข้างห่างจากกัน และเป็นผลสืบเนื่องทำให้ไม่สามารถทำชั้นซ้อนได้ในจำนวนหลายๆชั้น ซึ่งจะต่างจากสถาปัตยกรรมแบบไทยที่ไม่นิยมตีฝาบุ หรือฝาคอสอง ระหว่างชั้นหลังคา จึงทำให้สามารถทำชั้นซ้อนได้ถี่กว่า และดูไม่สูงชลูดเท่าปราสาทแบบพม่า
ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะยังสามารถพบได้ในประเทศไทยในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้ถึงความการติดต่อระหว่างกัน และยังแสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยของชาวพม่า, ชาวไทใหญ่, ที่เคยอยู่อาศัยในประเทศพม่าอีกเ้วย
ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะ : ความแตกต่างกับสถาปัตยกรรมไทย ในพระบรมมหาราชวัง ตอนที่ 2 (จบ)
1. ชั้นหลังคาลาดแบบปราสาทพม่ามีเสาบุฝาคอสองรองรับแต่ละชั้น คือตัวเรือน เป็นการจำลองตัวเรือนชั้นล่างสุดซึ่งเป็นพื้นที่ใช้งาน ไว้เหนือหลังคาลาดชั้นแรกลดหลั่นขนาดไร่เรียงระดับกันขึ้นไปด้านบน ผลที่เกิดขึ้นคือชุดจำลองที่ซ้อนลดหลั่นเป็นกรวยเหลี่ยมทรงสูง(ภาพที่ 1) แตกต่างจากทรงกรวยเหลี่ยมที่ไม่ยืดสูงเท่า กล่าวได้ว่าอยู่ในทรงที่เรียกว่า จอมแห คือยอดของมณฑปทางไทย เพราะชุดหลังคาลาดเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นชิดกันโดยไม่มีฝาคอสองคั่นจึงทำให้เรือนยอดทรงจอมแหของไทยสามารถทำชั้นซ้อนได้ถี่กว่า เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในส่วนของฝาคอสองที่มากั้นระหว่างชั้นหลังคาลาดแบบพม่า ทำให้รูปทรงดูยืดสูงมากกว่า (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 1 ชุดหลังคาลาด พระมหาปราสาท พระราชวังมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า : แต่ละชั้นมีผนังคั่นอยู่ในรูปกรวยเหลี่ยมทรงสูง
ภาพที่ 2 หลังคายอดทรงจอดแห ของพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยชุดหลังคาลาดชั้นซ้อนลดหลั่น แต่ละชั้นไม่มีผนังคั่น
2. ซึ่งแต่ละชั้นหลังคาลาดของปราสาทแบบพม่าอยู่ในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า ทุกด้านประดับซุ้มจั่ว (ไทยเรียกว่าบรรพแถลง) ที่กลางด้าน
(ภาพที่ 1) ซึ่งในส่วนนี้จะคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมแบบไทย กล่าวคือ ทุกด้านประดับด้วยซุ้มบรรพแถลง เพียงแต่การประดับบรรพแถลงในมณฑปแบบไทยนั้นจะมีขนาดใหญ่น้อยตามจังหวะ (ภาพที่ 2) ต่างจากการประดับซุ้มจั่วของปราสาทแบบพม่าซึ่งจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และที่มุมเงยขึ้นอันเป็นงานประดับที่ลาดขึ้นมาจากกลางด้านตามลักษณะเฉพาะของทางพม่า ซึ่งต่างจากหลังคาลาดของมณฑปไทย กล่าวคือ หลังลาดมณฑปไทยจะอยู่ในผังสี่เหลี่ยมด้านเท่า แต่ละด้านมีกระเปาะยื่นทำให้เกิดมุมเพิ่มเรียงรายกันอย่างงดงาม และที่ปลายสันหลังคาประดับหัวพญานาคเรียกว่า “นาคปัก”(ภาพที่ 3) ซึ่งในส่วนนี้ปราสาทแบบพม่าจะไม่มีแต่ใช้การทำเป็นไม้แกะสลักลวดลาย หรือกะหลุ่งต่องแทน
(ภาพที่ 4)
ภาพที่ 3 รายละเอียดส่วนของชั้นซ้อนลดหลั่น และการประดับนาคปัก
ภาพที่ 4 รายละเอียดของชั้นซ้อนลดหลั่น และการประดับกะหลุ่งต่อง
3. ชั้นจำลองเรือนชั้นบนสุดของปราสาทพม่า คือ ทรงสี่เหลี่ยมเข้าลักษณะของบัลลังก์ ต่อขึ้นเป็นยอดปลีเหลี่ยมปลายต่อด้วยมงกุฎ หรือฉัตรแบบพม่า (ภาพที่ 1) ซึ่งต่างจากหลังคาลาดชั้นบนสุดของมณฑปไทย กล่าวคือ ต่อขึ้นด้วยทรงระฆังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ตามการเพิ่มมุมที่ขึ้นมาจากชุดหลังคาลาด เหนือทรงระฆังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมคือบัลลังก์สี่เหลี่ยมเพิ่มมุม และต่อขึ้นไปเป็นชุดชั้นเหม ซึ่งประกอบด้วยเหมสามชั้นลดหลั่นกัน ถัดขึ้นไปเป็นบัวทรงคลุ่มเถา แล้วจึงถึงปลีเรียวสูงยาวขึ้นไปมีลูกแก้ว คั่นจังหวะออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างยังเรียกว่า “ปลี” ส่วนบนคือเหนือลูกแก้วขึ้นไปเรียกว่า “ปลียอด” ซึ่งต่อปลายยอดด้วยทรงพุ่มเล็กๆเรียกว่าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ภาพที่ 2)
จากข้อเปรียบเทียบที่ได้กล่าวมานั้น เราจะพบว่าปราสาทแบบพม่า จะมีการตีฝาบุ หรืออาจเรียกว่า ฝาสองคอ ระหว่างชั้นหลังคา จึงทำให้ชั้นหลังแต่ละชั้นค่อนข้างห่างจากกัน และเป็นผลสืบเนื่องทำให้ไม่สามารถทำชั้นซ้อนได้ในจำนวนหลายๆชั้น ซึ่งจะต่างจากสถาปัตยกรรมแบบไทยที่ไม่นิยมตีฝาบุ หรือฝาคอสอง ระหว่างชั้นหลังคา จึงทำให้สามารถทำชั้นซ้อนได้ถี่กว่า และดูไม่สูงชลูดเท่าปราสาทแบบพม่า
ปราสาทแบบพม่าโดยเฉพาะยังสามารถพบได้ในประเทศไทยในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้ถึงความการติดต่อระหว่างกัน และยังแสดงให้เห็นถึงการเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยของชาวพม่า, ชาวไทใหญ่, ที่เคยอยู่อาศัยในประเทศพม่าอีกเ้วย