เจดีย์มาจากคำว่า เจติยะ หมายถึง สิ่งที่เป็นที่ระลึกถึง มีทั้งเป็น ปูชนียวัตถุ และ สถาปัตยกรรม
เจดีย์ในพุทธศาสนา หรือ สิ่งที่เป็นที่ระลึกถึงพุทธสาสนามี 4 ประเภทคือ
1. ธาตุเจดีย์ => พระบรมสารีริกธาตุ
2. ธรรมเจดีย์ => พระธรรม เช่น
* ธรรมจักร : จักรใช้เป็นอาวุธในการขยายดินแดน ธรรมจักรจึงเครืองใช้ในการเผยแพร่พระธรรม
* ใบลานทอง หรือพระพิมพ์ หรือวัตถุใดที่สลักคาถา เย ธัมมา
พระคาถาเยธัมมา
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ เหตํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ
คำแปล
ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้า ทรงสังสอนอย่างนี้
เป็นคาถาในการปลุกเสกปูชนียวัตถุในพุทธศาสนา และ เชื่อว่าเป็นคาถาในการสืบอายุพระพุทธศาสนา
เล่าว่าเป็นคำพูดของพระอัสสชิ (อดีตปัญจวัคคีย์) บอกพระสารีบุตรตอนที่ยังเป็นฆราวาสถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเสมอ ทำให้พระสารีบุตรบรรลุอรหันต์ทันที
3. บริโภคเจดีย์ => สิ่งที่พระพุทธเจ้าใช้สอย คือ สังเวชนียสถาน
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร -
บอกพระอานนท์ว่า หากจะระลึกถึงพระพุทธองค์ ให้ไปที่สังเวชนียสถาน ให้ไปปลงสังเวช ว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังทรงอยู่ในไตรลักษณ์
4. อุเทสิกเจดีย์ => พุทธศาสนิกชนเห็นว่าเหมาะสมที่จะใช้ระลึกถึงพระองค์
เช่น พระพุทธรูป สถูป พระพุทธบาท
@ พระเจดีย์ล้านนา @
องค์เจดีย์ในล้านนา เป็นเจดีย์หรือเจติยะที่เป็นสถาปัตยกรรม
มีสองรูปแบบใหญ่ ๆ จากการพัฒนาฐานของของเจดีย์ได้แก่ ทรงฆังกลม และ ทรงปราสาท
- ทรงระฆังกลม -
พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา
จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
- เจดีย์ทรงปราสาท -
พัฒนามาจากเทวาลัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของอินเดีย
โดยสร้างเป็นวิมานที่มีหลังคาซ้อนชั้นหลายชั้น ให้เทพอยู่
แต่ละชั้นมีการประดับอาคารจำลอง - เพื่อแสดงจำนวนชั้น
เช่นหน้าต่างหลอกแทนชั้นหลอกของอาคาร - กุฑุ
ห้องใช้งานมีชั้นล่างชั้นเดียว เรียก ครรภคฤหะ
ทรงของวิมานที่เหมือนภูเขา เรียกว่า ศิขร (อ่าน สิ-ขะ-ระ)
เมื่อปราสาทต่อมุกยื่นออกมาด้านหน้าเรียก มณฑปปราสาท
เช่นมี ซุ้มหน้าบันตรงกลางชั้น , กลีบขนุนที่มุมชั้น แสดงการซ้อนชั้นของปราสาท
-@-เจดีย์ทรงมณฑปปราสาทล้านนา-@-
ภาพด้านหน้าปรางค์ประธานปราสาทหินพิมาย ภายในครรภคฤหะประดิษฐานพระพุทธรูป
เปรียบเทียบกับพระพิมพ์ - พระแปด หรือ พระสิบสองวัดประตูลี้
มีพระประทับสมาธิเพชรอยู่ 3 องค์บนแท่นแก้ว ขนาบด้วยพระสาวกสององค์
องค์กลางอยู่ในซุ้มแก้ว ซุ้มแก้วแสดงว่าอยู่ภายในมณฑปปราสาท
รูปพระด้านบนที่เหลือเป็นพระประดับอาคาร ที่บนหัวเสาภายนอกของอาคารมณฑป
มีกลีบขนุนรูปนาค
ทำให้เชื่อได้ว่า
ปรางค์ในศิลปะเขมร ที่ดัดแปลงมาจากเทวาลัยของอินเดีย
เป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงมณฑปปราสาทล้านนา
ซึ่งมีองค์ระฆังอยู่บนยอดปราสาท
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ อำเภอเมือง เชียงใหม่
ห้องครรภคฤหะ
เหนือเรือนธาตุของปราสาทขึ้นไปจะมีเจดีย์องค์ระฆังอยู่ด้านบน
วิหารลายคำวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง เชียงใหม่
ด้านหลังต่อกับปราสาท มีหลังคาซ้อนชั้นยอดระฆังรูปดอกบัวตูม
วัดปราสาท อำเภอเมือง เชียงใหม่
เหนือปราสาทหลังวิหาร มีเจดีย์ห้ายอด
วัดป่าแดงมหาวิหาร อำเภอเมือง เชียงใหม่
ปราสาทที่ติดหลังวิหารมียอดเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยม บัลลังก์ ปลียอด
เมื่อปราสาทเข้าไปอยู่ในอาคาร จึงเกิดเป็นโขงพระเจ้า เช่นที่
มณฑปพระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา ลำปาง
มียอดเจดีย์เล็ก ๆ ด้านบนสุด
มณฑปพระธาตุจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง เชียงใหม่
เจดีย์ล้านนา ... ตอน 1 เจดีย์ทรงมณฑปปราสาท
เจดีย์ในพุทธศาสนา หรือ สิ่งที่เป็นที่ระลึกถึงพุทธสาสนามี 4 ประเภทคือ
1. ธาตุเจดีย์ => พระบรมสารีริกธาตุ
2. ธรรมเจดีย์ => พระธรรม เช่น
* ธรรมจักร : จักรใช้เป็นอาวุธในการขยายดินแดน ธรรมจักรจึงเครืองใช้ในการเผยแพร่พระธรรม
* ใบลานทอง หรือพระพิมพ์ หรือวัตถุใดที่สลักคาถา เย ธัมมา
พระคาถาเยธัมมา
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ เหตํ ตถาคโต อาห เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ
คำแปล
ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้า ทรงสังสอนอย่างนี้
เป็นคาถาในการปลุกเสกปูชนียวัตถุในพุทธศาสนา และ เชื่อว่าเป็นคาถาในการสืบอายุพระพุทธศาสนา
เล่าว่าเป็นคำพูดของพระอัสสชิ (อดีตปัญจวัคคีย์) บอกพระสารีบุตรตอนที่ยังเป็นฆราวาสถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเสมอ ทำให้พระสารีบุตรบรรลุอรหันต์ทันที
3. บริโภคเจดีย์ => สิ่งที่พระพุทธเจ้าใช้สอย คือ สังเวชนียสถาน
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร -
บอกพระอานนท์ว่า หากจะระลึกถึงพระพุทธองค์ ให้ไปที่สังเวชนียสถาน ให้ไปปลงสังเวช ว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังทรงอยู่ในไตรลักษณ์
4. อุเทสิกเจดีย์ => พุทธศาสนิกชนเห็นว่าเหมาะสมที่จะใช้ระลึกถึงพระองค์
เช่น พระพุทธรูป สถูป พระพุทธบาท
มีสองรูปแบบใหญ่ ๆ จากการพัฒนาฐานของของเจดีย์ได้แก่ ทรงฆังกลม และ ทรงปราสาท
- ทรงระฆังกลม -
พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา
จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
พัฒนามาจากเทวาลัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของอินเดีย
โดยสร้างเป็นวิมานที่มีหลังคาซ้อนชั้นหลายชั้น ให้เทพอยู่
แต่ละชั้นมีการประดับอาคารจำลอง - เพื่อแสดงจำนวนชั้น
เช่นหน้าต่างหลอกแทนชั้นหลอกของอาคาร - กุฑุ
ห้องใช้งานมีชั้นล่างชั้นเดียว เรียก ครรภคฤหะ
ทรงของวิมานที่เหมือนภูเขา เรียกว่า ศิขร (อ่าน สิ-ขะ-ระ)
เมื่อปราสาทต่อมุกยื่นออกมาด้านหน้าเรียก มณฑปปราสาท
เช่นมี ซุ้มหน้าบันตรงกลางชั้น , กลีบขนุนที่มุมชั้น แสดงการซ้อนชั้นของปราสาท
มีพระประทับสมาธิเพชรอยู่ 3 องค์บนแท่นแก้ว ขนาบด้วยพระสาวกสององค์
องค์กลางอยู่ในซุ้มแก้ว ซุ้มแก้วแสดงว่าอยู่ภายในมณฑปปราสาท
รูปพระด้านบนที่เหลือเป็นพระประดับอาคาร ที่บนหัวเสาภายนอกของอาคารมณฑป
มีกลีบขนุนรูปนาค
ทำให้เชื่อได้ว่า
ปรางค์ในศิลปะเขมร ที่ดัดแปลงมาจากเทวาลัยของอินเดีย
เป็นต้นแบบของเจดีย์ทรงมณฑปปราสาทล้านนา
ซึ่งมีองค์ระฆังอยู่บนยอดปราสาท