อาณาจักรหริภุญไชย นับถือศาสนาพุทธในวัฒนธรรมทวารวดี เมื่อก้าวสู่อาณาจักรล้านนา จากพญาเม็งราย >>> พญากือนา
พระสงฆ์อาจมีความหย่อนยาน การสอนรุ่นต่อรุ่นอาจดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ
พญากือนาได้ยินกิตติศัพท์ของนิการเถรวาทของลังกาว่าน่านับถือเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
จึงได้ส่งทูตไปนิมนต์ พระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี ที่เมืองพัน หรือเมาะตะมะให้มาเชียงใหม่
เพราะพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี เคยไปศึกษาและบวชในคณะสงฆ์มหาวิหารวาสิน ที่ลังกา
เมื่อกลับมาเมืองพันก็ได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1874
แต่พระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี อายุมากแล้ว และเคยมีลูกศิษย์เป็นพระชาวสุโขทัย คือพระสุมนะเถระ
ที่ได้รับมอบหมายให้บวชพระในนิกายลังกาวงศ์ได้
พ.ศ. 1912 พญากือนาจึงได้นิมนต์พระสุมนะจากสุโขทัยมาจำพรรษาวัดพระยืน หริภุญไชย อาจเพื่อให้เปลี่ยนพระสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ให้เป็นลังกาวงศ์
โดยให้พระในหริภุญไชยเดิม และในเวียงกุมกาม บวชใหม่ให้เป็นเถรวาทแบบลังกา
พระสุมนะสร้างพระพุทธรูปจากที่มี 1 องค์เป็นพระยืน 4 องค์
แล้ว
พระสุมนะเถระได้มาประดิษฐานพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ที่สวนดอกพยอมของพญากือนา ชื่อว่าเวียงสวนดอกมีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง
พระธาตุที่นำมาด้วยได้ ประดิษฐานที่วัดสวนดอก และวัดพระธาตุดอยสุเทพ
เกิดเป็นนิกายวัดสวนดอก หรือ รามัญวงศ์ โดยรับ เถรวาทแบบลังกา ผ่านทางพุกาม สุโขทัย ถึงเชียงใหม่
เมื่อ พ.ศ.2447 สถูปของพระสุมนะเถระพังทลายลง เหลือองค์พระยืนทางตะวันออก
พระคันธวงศ์เถระหรือครูบาวงศ์ พร้อมด้วยเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
ได้ก่อเจดีย์หุ้มพระปฏิมากรทั้ง 4 องค์เดิมไว้ภายใน
และได้สร้างก่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีก 4 องค์
... เจดีย์วัดพระยืนจึงเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ทรงปราสาทยอดเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบัน ...
จะขอทบทวนเรื่องสถูปเจดีย์ก่อนคือ
- ทรงระฆังกลม -
พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา
จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
วัดสวดดอก อำเภอเมือง เชียงใหม่
เป็นเจดีย์ทรงกลม หรือ ทรงระฆัง
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสองชั้น ยกสูง มีซุ้มโขงเข้าสู่ลานประทักษิณ
- ฐานสูง ไม่นิยมในลังกา แต่ในไทยอาจยกสูงขึ้นเพราะบรรจุพระธาตุก็เป็นได้
- เดิมเคยมีช้างล้อม เป็นคติอิทธิพลลังกาว่ามีช้างแบกจักรวาล
ตรีมาลา - หรือมาลัยสามชั้นอิทธิพลลังกา เป็นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น
- ถ้าเป็นบัวกลมซ้อนกันสามชั้นเรียกมาลัยเถา นิยมในอยุธยา
- เจดีย์วัดสวนดอกเป็น บัวคว่ำหรือบัวถลา ซ้อนกันสามชั้น นิยมในล้านนาและสุโขทัย
องค์ระฆัง เป็นระฆังคว่ำ
บัลลังก์ สี่เหลี่ยมแบบลังกา
ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี
ก้านฉัตร ไม่มีเสาหาน ... ล้านนาและสุโขทัยไม่มีเสาหาน ส่วนอยุธยามีเสาหาน
โดยรอบมีรูปพระพุทธรุปปางลีลา
จากพญากือนา >> พญาแสนเมืองมา >> พญาสามฝั่งแกน
ในสมัยพญาสามฝั่งแกนมีพระล้านนาคือ พระธัมมคัมภีร์และพระมหาเมธังกรได้นำคณะสงฆ์ไปบวชที่ลังกา
เมื่อกลับมา ชาวอยุธยาและสุโขทัยเกิดความเลื่อมใส จึงได้บวชใหม่แบบลังกาวงศ์ ให้พระที่อยุธยาและสุโขทัยจำนวนมาก
เมื่อกลับมาถึงเชียงใหม่ได้สถาปนาคณะสิหฬขึ้นที่วัดป่าแดง > นิกายวัดป่าแดง
พระคณะวัดป่าแดงเกิดการทะเลาะวิวาทกับคณะวัดสวนดอกถึงขั้นตีกัน พญาสามฝั่งแกนจึงเนรเทศให้ออกจากเชียงใหม่
คณะสงฆ์วัดป่าแดงจึงได้กระจายออกไป และสร้างวัดป่าแดงไว้ในที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งเชียงตุง
ครั้งถึงสมัยพระเจ้าติโลก
ได้กลับมาสถาปนาคณะวัดป่าแดงอีกครั้ง
ได้ถวายพระเพลิงพระราชชนก - พญาสามฝั่งแกน และพระราชชนนี
แล้วสร้างพระอุโบสถขึ้น ณ ที่ถวายพระเพลิง ที่วัดป่าแดง
วัดป่าแดงมหาวิหาร อำเภอเมือง เชียงใหม่
เจดีย์นี้ไม่ใช้เจดีย์หลักของวัดป่าแดง ปัจจุบันตั้งอยู่กลางชุมชนเบียดเสียดเจดีย์อยู่
และห่างจากอุโบสถที่เป็นที่ถวายพระเพลิงพระราชชนกและพระราชชนนีของพระเจ้าติโลกพอสมควร
- เจดีย์มีฐานเขียงสามชั้นสูง ซึ่งสูงกว่าองค์ระฆัง
- ฐานเขียงถัดมาเป็นฐานเขียงที่เคยมีช้างล้อมแบบลังกา - ช้างแบกจักรวาล
- ฐานเขียงบนสุดประดิษฐานซุ้มพระด้านละ 5 ซุ้ม
- ถัดไปเป็นฐานเขียงกลม 3 ชั้นเรียกว่า บัวลูกแก้ว
- ถัดไปเป็นตรีมาลาแบบบัวคว่ำ เรียกว่า บัวถลา
- องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉน
เข้าใจว่ารูปทรงน่าจะคล้ายเจดีย์ช้างล้อม ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
วัดอุโมงค์ อำเภอเมือง เชียงใหม่
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง เชียงใหม่
เจดีย์ล้านนา ... ตอน 3 เจดีย์ทรงระฆังกลม
พระสงฆ์อาจมีความหย่อนยาน การสอนรุ่นต่อรุ่นอาจดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ
พญากือนาได้ยินกิตติศัพท์ของนิการเถรวาทของลังกาว่าน่านับถือเคร่งครัดในพระธรรมวินัย
จึงได้ส่งทูตไปนิมนต์ พระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี ที่เมืองพัน หรือเมาะตะมะให้มาเชียงใหม่
เพราะพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี เคยไปศึกษาและบวชในคณะสงฆ์มหาวิหารวาสิน ที่ลังกา
เมื่อกลับมาเมืองพันก็ได้ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1874
แต่พระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามี อายุมากแล้ว และเคยมีลูกศิษย์เป็นพระชาวสุโขทัย คือพระสุมนะเถระ
ที่ได้รับมอบหมายให้บวชพระในนิกายลังกาวงศ์ได้
พ.ศ. 1912 พญากือนาจึงได้นิมนต์พระสุมนะจากสุโขทัยมาจำพรรษาวัดพระยืน หริภุญไชย อาจเพื่อให้เปลี่ยนพระสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ให้เป็นลังกาวงศ์
โดยให้พระในหริภุญไชยเดิม และในเวียงกุมกาม บวชใหม่ให้เป็นเถรวาทแบบลังกา
พระสุมนะสร้างพระพุทธรูปจากที่มี 1 องค์เป็นพระยืน 4 องค์
แล้ว
พระสุมนะเถระได้มาประดิษฐานพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ที่สวนดอกพยอมของพญากือนา ชื่อว่าเวียงสวนดอกมีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง
พระธาตุที่นำมาด้วยได้ ประดิษฐานที่วัดสวนดอก และวัดพระธาตุดอยสุเทพ
เกิดเป็นนิกายวัดสวนดอก หรือ รามัญวงศ์ โดยรับ เถรวาทแบบลังกา ผ่านทางพุกาม สุโขทัย ถึงเชียงใหม่
พระคันธวงศ์เถระหรือครูบาวงศ์ พร้อมด้วยเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
ได้ก่อเจดีย์หุ้มพระปฏิมากรทั้ง 4 องค์เดิมไว้ภายใน
และได้สร้างก่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีก 4 องค์
... เจดีย์วัดพระยืนจึงเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ทรงปราสาทยอดเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบัน ...
- ทรงระฆังกลม -
พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา
จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสองชั้น ยกสูง มีซุ้มโขงเข้าสู่ลานประทักษิณ
- ฐานสูง ไม่นิยมในลังกา แต่ในไทยอาจยกสูงขึ้นเพราะบรรจุพระธาตุก็เป็นได้
- เดิมเคยมีช้างล้อม เป็นคติอิทธิพลลังกาว่ามีช้างแบกจักรวาล
ตรีมาลา - หรือมาลัยสามชั้นอิทธิพลลังกา เป็นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น
- ถ้าเป็นบัวกลมซ้อนกันสามชั้นเรียกมาลัยเถา นิยมในอยุธยา
- เจดีย์วัดสวนดอกเป็น บัวคว่ำหรือบัวถลา ซ้อนกันสามชั้น นิยมในล้านนาและสุโขทัย
องค์ระฆัง เป็นระฆังคว่ำ
บัลลังก์ สี่เหลี่ยมแบบลังกา
ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี
โดยรอบมีรูปพระพุทธรุปปางลีลา
ในสมัยพญาสามฝั่งแกนมีพระล้านนาคือ พระธัมมคัมภีร์และพระมหาเมธังกรได้นำคณะสงฆ์ไปบวชที่ลังกา
เมื่อกลับมา ชาวอยุธยาและสุโขทัยเกิดความเลื่อมใส จึงได้บวชใหม่แบบลังกาวงศ์ ให้พระที่อยุธยาและสุโขทัยจำนวนมาก
เมื่อกลับมาถึงเชียงใหม่ได้สถาปนาคณะสิหฬขึ้นที่วัดป่าแดง > นิกายวัดป่าแดง
พระคณะวัดป่าแดงเกิดการทะเลาะวิวาทกับคณะวัดสวนดอกถึงขั้นตีกัน พญาสามฝั่งแกนจึงเนรเทศให้ออกจากเชียงใหม่
คณะสงฆ์วัดป่าแดงจึงได้กระจายออกไป และสร้างวัดป่าแดงไว้ในที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งเชียงตุง
ครั้งถึงสมัยพระเจ้าติโลก
ได้กลับมาสถาปนาคณะวัดป่าแดงอีกครั้ง
ได้ถวายพระเพลิงพระราชชนก - พญาสามฝั่งแกน และพระราชชนนี
แล้วสร้างพระอุโบสถขึ้น ณ ที่ถวายพระเพลิง ที่วัดป่าแดง
วัดป่าแดงมหาวิหาร อำเภอเมือง เชียงใหม่
เจดีย์นี้ไม่ใช้เจดีย์หลักของวัดป่าแดง ปัจจุบันตั้งอยู่กลางชุมชนเบียดเสียดเจดีย์อยู่
และห่างจากอุโบสถที่เป็นที่ถวายพระเพลิงพระราชชนกและพระราชชนนีของพระเจ้าติโลกพอสมควร
- เจดีย์มีฐานเขียงสามชั้นสูง ซึ่งสูงกว่าองค์ระฆัง
- ฐานเขียงถัดมาเป็นฐานเขียงที่เคยมีช้างล้อมแบบลังกา - ช้างแบกจักรวาล
- ฐานเขียงบนสุดประดิษฐานซุ้มพระด้านละ 5 ซุ้ม
- ถัดไปเป็นฐานเขียงกลม 3 ชั้นเรียกว่า บัวลูกแก้ว
- ถัดไปเป็นตรีมาลาแบบบัวคว่ำ เรียกว่า บัวถลา
- องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉน