วัดที่สร้างในสมัยพญาสามฝั่งแกน ... วัดป่าแดงมหาวิหาร เชียงใหม่




ทางรถขึ้นวัดข้างบันไดนาค




พ.ศ. 236 หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สาม
ทรงโปรดให้พระมหินทเถระ พระราชโอรส ได้ทรงเป็นสมณฑูตไปยังศรีลังกา
กษัตริย์ศรีลังกาได้ยกอุทยานให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนา ชื่อว่า สำนักมหาวิหาร

พุทธศาสนาของล้านนา
เริ่มแรกรับอิทธิพลจากหริภุญไชย

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากือนา (ราชวงศ์มังรายรัชกาลที่ 6)
ตรงกับสมัยสมเด็จพระธรรมราชาลิไท
ได้นิมนต์พระสุมนเถระ
ศิษย์ของอุทุมพรมหาสามีเมืองพัน (เมาะตะมะ) ที่เคยไปศึกษาที่สำนักมหาวิหาร ณ ลังกา
จากสุโขทัย มาอยู่ที่วัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก
พระสุมนได้นำพระบรมธาตุมาด้วย
ประดิษฐาน ณ. วัดสวนดอก และ วัดพระธาตุดอยสุเทพ


จนถึงสมัยพญาสามฝั่งแกน (ราชวงศ์มังรายรัชกาลที่ 8)
... พระนามสามฝั่งแกน ประสูติที่เมืองแกน อันมีแม่น้ำสามสาย
สันนิษฐานว่าเป็น แม่น้ำแกน , แม่น้ำปิง และ แม่น้ำสงัด หรืองัด
คือที่ ต.อินทขิล อ.แม่แตง เชียงใหม่ ...

พญาสามฝั่งแกนจึงได้สนับสนุน พระญาณคัมภีร์ และ พระมหาเมธังกร
และพระมหาเถระรวมทั้งสิ้น 25 รูป
เดินทางไปศึกษาศาสนาที่สำนักมหาวิหาร ศรีลังกา
พระญาณคัมภีร์ได้ทำอุปสมบทใหม่บนแพที่ผูกไว้ในแม่น้ำกัลยาณี
ปี พ.ศ.1967 ศรีลังกาเกิดทุพภิกขภัย จึงได้เดินทางกลับ
ได้นำคำสอนไปเผยแผ่ที่อยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เรื่อย
จนปี พ.ศ.1973 พระญาณคัมภีร์ กลับถึงเชียงใหม่
ได้นำต้นโพธิ์ พระไตรปิฎก กลับมาด้วย


ต้นโพธิ์นี้ถูกได้แบ่งไปปลูกที่วัดเจ็ดยอดหรือวัดโพธารามมหาวิหาร
ในสมัยที่พระเจ้าติโลกสร้างวัดเจ็ดยอด ด้วยเลื่อมใสในอานิสงส์ในการปลูกต้นโพธิ์




ได้สถาปนานิกายลังกาวงศ์ใหม่ เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี
เรียกว่าคณะ สีหฬภิกขุ เพราะได้ประกอบพิธีอุปสมบทจากลังกา

ปี พ.ศ.1974 พระราชมารดาพระเจ้าติโลกราช
ทรงโปรดให้สถาปนา วัดป่าแดง หรือ รัตตนวนราม
ให้เป็นที่พำนักของพระญาณคัมภีร์

คณะสีหฬภิกขุแห่งวัดป่าแดง กับ พระสงฆ์คณะวัดสวนดอก
เกิดการทะเลาะวิวาททุบตีกัน เกี่ยวกับพระธรรมวินัย
พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงขับไล่คณะสีหฬภิกขุออกจากเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1977
ทำให้เกิดนิกายวัดป่าแดงขึ้นที่เชียงราย เชียงแสน พะเยา ลำปาง และเชียงตุง ... ดังปรากฎชื่อวัดป่าแดง ตามสถานที่เหล่านี้


ต่อมาพระเจ้าติโลกยึดเมืองจากพระราชบิดาพญาสามฝั่งแกน
ขึ้นครองล้านนา (พ.ศ. 1984 – 2030)
พระองค์ทรงเป็นพระราชูปถัมภกของคณะสีหฬภิกขุ
... อาจเปลี่ยนคณะวัดสวนดอกมาเป็นคณะป่าแดงเพื่อเปลี่ยนความศรัทธาเดิมของประชาชน ...
สงฆ์คณะสีหฬภิกขุกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ที่เชียงใหม่
มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดป่าแดง จึงเรียกอีก อย่างว่า “คณะวัดป่าแดง”

ทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่พระราชทานให้กับคณะวัดป่าแดง ถึง 500 แห่ง
คาดว่ามีพื้นที่บริเวณราว 400 ไร่

เพราะเป็นที่รกร้างจึงมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่มากมาย เส้นทางก็วกวนชวนหลง
เมื่อมีการสร้างสิ่งก่อสร้างเช่นหอพัก คอนโด
ทำให้ขุดพบสิ่งก่อสร้างโบราณ และร่องรอยของวัด

กระทู้นี้จะพาไปในสามแห่งคือ

อุโบสถ เจดีย์ และ วัดป่าแดงมหาวิหาร หรือวัดป่าแดงน้อยในอดีต




ปี พ.ศ. 1990 วัดป่าแดงได้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชบิดาพระเจ้าติโลกคือพญาสามฝั่งแกน
ปี พ.ศ. 1991 พระเจ้าติโลกทรงทรงผนวช ณ วัดป่าแดง
ปี พ.ศ. 1992 วัดป่าแดงได้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระราชมารดา
จากนั้นจึงได้สร้างพระอุโบสถไว้บนที่ที่ได้ถวายพระเพลิง
ตอนนี้เป็นโบราณสถานอยู่นอกเขตวัดป่าแดง
มีการสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ไม่ทราบเวลาที่แน่นอน










ด้านหลังพระอุโบสถ มีมณฑปน่าจะประดิษฐานพระประธาน




หน้าบัน รูปยักษ์ และลายเถาก้านขด







เจดีย์เก่า
สันนิษฐานว่าบรรจุพระอัฐิพญาสามฝั่งแกนและพระเทวี
ฐานเขียงมีร่องรอยว่าเป็นเจดีย์ช้างล้อม ... เก่าที่สุดในเชียงใหม่
ช้างล้อมน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา ... ช้างแบกจักรวาลไว้
สัมพันธ์กับคณะสีหฬภิกขุ ที่ได้รับการบวชจากลังกา




ได้ไปถ่ายรูปวัดป่าแดงมหาวิหาร เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558
พระท่านเห็นลงรถปุ๊บก็เดินวน ๆ
จึงมาสอบถาม ได้ความว่ามาถ่ายภาพวัดท่านจึงพานำชม




บันไดนาคทอดตรงขึ้นสู่วิหาร




วิหาร โขงพระเจ้า หอไตร พระเจดีย์
ผนังยกเก็จตามลักษณะวิหารล้านนา แบบปิด




วิหาร ขนาด 6 ห้อง
ห้องด้านหลังเป็นปราสาทที่ประดิษฐานพระประธาน เรียกโขงพระเจ้า
คล้ายวิหารวัดปราสาท (อยู่ข้างวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่)
หลังวิหาร เป็นหอไตร




ประตูหน้า ลวดลายแกะไม้ ปูนปั้น ประดับกระจก




ในวิหาร




พระประธานจำลองมาจากพระเจ้าเก้าตื้อวัดสวนดอก







พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี




ด้านหลังพระประธานเป็นโขงพระเจ้า




ลวดลายวิจิตร




บาตรน้ำมนต์




หอไตร หลังโขงพระเจ้า ศิลปะพม่า







เจดีย์ทรงระฆัง
ฐานเดิม เป็นฐานรูปแปดเหลี่ยม วางอบู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม
เรือนธาตุยกสูงขึ้น
บัวลูกแก้วแปดเหลี่ยม
รับองค์ระฆังทรงกลม







รอบฐานมีระเบียงแก้ว




ตรงกลางเป็นมุกเด็ดซุ้มพระเจ้า ... พระพุทธรูป อยู่ตรงกลาง







ด้านบนของมุมระเบียงแก้ว
มีปูนที่ถูกกระเทาะมีลักษณะว่าหุ้มวัตถุทรงกระบอกอยู่
พระท่านเล่าว่า
สมัยก่อนเขาเอาสิ่งมีค่า เช่น แก้วแหวนเงินทอง พระ บรรจุกระบอกไม้ไผ่ใส่ไว้




เพราะประทับใจในความสวยงาม สงบร่มรื่นของวัด
งาน reunion ครบรอบ 44 ปี จึงเสนอให้มาทำบุญที่วัดนี้

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่