ขอทบทวนก่อนไปต่อนะคะ
เจดีย์ทรงระฆังกลม พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
เจดีย์ทรงระฆังลังกา เมื่อเข้าสู่อยุธยา สุโขทัย และล้านนา มีการพัฒนาฐาน เป็น
มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น - อาจมีช้างล้อมคติช้างแบกจักรวาล
มีฐานเขียงกลมสามชั้น - เรียกฐานบัวลูกแก้ว
มีมาลัยซ้อนสามชั้น - เรียกตรีมาลา ในอยุธยานิยมทรงวงแหวนกลมเรียกมาลัยเถา , ในสุโขทัยและล้านนานิยมเป็นรูปกระถางคว่ำ เรียกบัวถลา
ในส่วนสำคัญแสดงถึงแบบลังกาคือ
องค์ระฆัง - คือดินที่พอกพูนเป็นรูปไข่ หรือ อัณฑะ เป็นทรงระฆัง
บัลลังก์ - ตั้งไว้เหนือองค์ระฆัง แสดงความเป็นเจ้า
ปล้องไฉน - ปรับมาจากฉัตรที่กางร่มให้เจดีย์ ให้เป็นรูปร่างเหมือนปี่ไฉน
ยกตัวอย่างเจดีย์วัดอุโมงค์ อีกวัดหนึ่งที่เป็นทรงระฆังกลม
เอารูปมาลัยเถา ที่นิยมในอยุธยามาให้ดูเปรียบเทียบนะคะ
เราคิดเองนะว่า ตรงอุโมงค์อาจเป็นฐานเขียงของเจดีย์ก็ได้ ทำให้เดินขึ้นไปยังลานประทักษิณรอบเจดีย์ได้
@เจดีย์ทรงระฆังล้านนา@
วัดพระธาตุหริภุญไชย อำเภอเมือง ลำพูน
เจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง จากลังกา มาอยุธยา สุโขทัย มาถึงล้านนา ด้วยคณะสงฆ์สิหฬ จากล้านนามาตั้งอยู่ที่วัดป่าแดงนั้น
หลังจากถูกขับจ่กเชียงใหม่โดยพญาสามฝั่งแกน และกลับมารุ่งเรืองใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลก
พระเจ้าติโลก และ พระมหาเมธังกร ได้สร้างเจดีย์ครอบพระธาตุหริภุญไชยองค์เดิม
เป็นแบบทรงลังกา คือ
- ฐานเขียงกลมสามชั้น ... ฐานบัวลูกแก้ว
- ตรีมาลา แบบระฆังคว่ำ ... บัวถลา
- องค์ระฆังกลม บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ยืดทรงให้สูงขึ้นโดย ยกฐานปัทม์ ; สูงอย่างไร - สูงกว่าองค์ระฆัง
เพิ่มเก็จ - อิทธิพลพุกาม
และฐานปัทม์ที่มีลวดรัดสองเส้น - เป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา
หุ้มทองจังโก - อิทธิพลพุกาม
องค์ระฆังประดับดอกไม้ทิศ 8 ทิศ
ที่พิเศษคือของวัดพระธาตุหริภุญไชยคือ ระหว่างดอกไม้ทิศมีพระพุทธรูปปางลีลาอยู่
** สุรุปว่า ครบองค์ประกอบคือ องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉน - ลังกา
แล้ว ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้น มีลวดสองเส้นรัดฐาน เป็นลักษณะของเด่นเจดีย์ทรงระฆังล้านนา **
จังหวัดลำพูน
จังหวัดลำปาง
จังหวัดเชียงใหม่
เหนือฐานปัทม์ที่ยกสูงเป็นฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จ คล้ายทรงปราสาท
แต่ไม่มีซุ้มพระที่ด้านทั้งสี่ จึงไม่ใช่ทรงปราสาท - ถ้าปราสาทต้องมีพระอยู่ได้
แบบที่ฐานบัวลูกแก้วเป็นบัวคว่ำ หรือบัวถลา
แบบฐานบัวลูกแก้วและบัวถลาเป็นแปดเหลี่ยม บ้างก็เป็นฐานแปดเหลี่ยมทั้งหมด
องค์ระฆังแปดเหลี่ยมด้วย ... วัดพระธาตุดอยสุเทพ
อ่านย้อนได้ที่นี่ค่ะ
เจดีย์ล้านนา ... ตอน 4 เจดีย์ทรงระฆังกลมล้านนา
เจดีย์ทรงระฆังกลม พัฒนามาจากสถูป ซึ่งแปลว่าการพอกพูน
มาจากการฝังศพชนเผ่าอารยัน จะเอาศพฝังดิน แล้วพูนดินขึ้นเป็นสถูป
ในพุทธศาสนา จะฝังพระบรมสารีริกธาตุลงใต้ดิน
ดินที่พูนขึ้นมาเป็นรูปไข่ - อัณฑะ แปลว่าไข่ คนไทยเรียก ระฆัง
มีร่มกางให้ด้านบน - ฉัตรวลี คนไทยเรียก ปล้องไฉน เพราะเป็นปล้องเหมือนปี่ไฉน
บัลลังก์วางไว้เหนือดินที่พูนแสดงถึงเจ้าที่สูงส่ง - หรรมิกา คนไทยเรียก บัลลังก์
ฐาน - เพื่อยกให้เจดีย์สูงขั้น
นั่นคือ เจดีย์ประกอบด้วย ฐาน 1 - ระฆัง 2 - บัลลังก์ 3 - ฉัตรวลี (ปล้องไฉน) 4
มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น - อาจมีช้างล้อมคติช้างแบกจักรวาล
มีฐานเขียงกลมสามชั้น - เรียกฐานบัวลูกแก้ว
มีมาลัยซ้อนสามชั้น - เรียกตรีมาลา ในอยุธยานิยมทรงวงแหวนกลมเรียกมาลัยเถา , ในสุโขทัยและล้านนานิยมเป็นรูปกระถางคว่ำ เรียกบัวถลา
ในส่วนสำคัญแสดงถึงแบบลังกาคือ
องค์ระฆัง - คือดินที่พอกพูนเป็นรูปไข่ หรือ อัณฑะ เป็นทรงระฆัง
บัลลังก์ - ตั้งไว้เหนือองค์ระฆัง แสดงความเป็นเจ้า
ปล้องไฉน - ปรับมาจากฉัตรที่กางร่มให้เจดีย์ ให้เป็นรูปร่างเหมือนปี่ไฉน
ยกตัวอย่างเจดีย์วัดอุโมงค์ อีกวัดหนึ่งที่เป็นทรงระฆังกลม
เจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง จากลังกา มาอยุธยา สุโขทัย มาถึงล้านนา ด้วยคณะสงฆ์สิหฬ จากล้านนามาตั้งอยู่ที่วัดป่าแดงนั้น
หลังจากถูกขับจ่กเชียงใหม่โดยพญาสามฝั่งแกน และกลับมารุ่งเรืองใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลก
พระเจ้าติโลก และ พระมหาเมธังกร ได้สร้างเจดีย์ครอบพระธาตุหริภุญไชยองค์เดิม
เป็นแบบทรงลังกา คือ
- ฐานเขียงกลมสามชั้น ... ฐานบัวลูกแก้ว
- ตรีมาลา แบบระฆังคว่ำ ... บัวถลา
- องค์ระฆังกลม บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
เพิ่มเก็จ - อิทธิพลพุกาม
และฐานปัทม์ที่มีลวดรัดสองเส้น - เป็นลักษณะเฉพาะของล้านนา
องค์ระฆังประดับดอกไม้ทิศ 8 ทิศ
ที่พิเศษคือของวัดพระธาตุหริภุญไชยคือ ระหว่างดอกไม้ทิศมีพระพุทธรูปปางลีลาอยู่
แต่ไม่มีซุ้มพระที่ด้านทั้งสี่ จึงไม่ใช่ทรงปราสาท - ถ้าปราสาทต้องมีพระอยู่ได้