วิหารล้านนา ... วัดสันทรายหลวง วัดงามของอำเภอสันทราย เชียงใหม่

ชื่ออำเภอสันทราย เพราะในฤดุฝน แม่น้ำปิงกับแม่น้ำคาวได้พัดพาทรายมาทับถมบริเวณนี้ เกิดเป็นสันทราย
ตำบลสันทรายหลวง น่าจะเป็นดินแดนที่มีสันทรายมาทับถมมากที่สุด หรืออาจเป็นตำบลหลักของอำเภอสันทรายก็ได้
เพราะวัดสันทรายหลวงก็อยู่เลยที่ว่าการอำเภอสันทรายไปทางพร้าวราว 500 เมตรเอง
ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461
แต่เป็นวัดโบราณเห็นได้จากเจ้าอาวาสรูปที่ 1 ที่ทราบนามคือพระอธิการบัณฑิตปญญาคโม พ.ศ. 2120 – 2159 (ล้านนาอยู่ในอาณัติบุเรงนอง พ.ศ. 2101 )
เดิมวิหารโบสถ์หอไตรเป็นแบบมาตรฐานทั่วไปตามส่วนกลางเขียนแบบให้สร้าง
เมื่อราว 7 ปีที่แล้วได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้สวยงามอย่างที่เห็น ... อ้างอิงภาพกำลังบูรณะจากกูเกิลสตรีทวิว (ปี 2017)

ผ่านเข้าประตูข้างเข้ามา จะได้ร่มเย็นจากต้นโพธิ์

อีกฝั่งประตูเป็นหอระฆังและกลอง
และศาลาครูบาคำตัน 2558
ครูบาคำตั๋น ติกขฺปญฺโญ วัดสันทรายหลวง ท่านเป็นคนสันทรายหลวง เป็นศิษย์ของครูบาศรีวิชัยตอนที่ท่านจำวัดอยู่ที่วัดพระสิงห์
ได้ร่วมสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ สร้างวัดจามเทวี และสร้างโน่นนี่ไป
เป็นศิษย์รุ่นเดียวกับ ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ ลำพูน
ด้านในถ่ายรูปมาไม่ชัด ประธานเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย
ด้านขวาของพระประธาน เดาว่าครูบาศรีวิชัย ด้ายซ้ายของพระประธานคือครูบาคำตัน

วิหาร
เป็นวิหารล้านนา คือยกเก็จผนังแบ่งพื้นที่ภายในออกเป็นสามส่วน ขนาด 5 ห้อง
มีฐานร่วมกับเจดีย์
ช่อฟ้า ตัวเป็นนก หัวเป็นนาค >> นาคปักษิณ
เฟื้องหลังคาสวยจริง ๆ เป็นรูปปราสาท 3 ยอด
ยอดกลางมีฉัตร 7 ชั้น ยอดข้างมีฉัตร 5 ชั้น
มีเทวดาร่ายรำ แสดงว่าปราสาททั้งสามนั้นอยู่บนสวรรค์
พระสีวลีข้างวิหาร
หางหงส์เป็นรูปหงส์
หน้าบันเป็นพระพุทธรูปยืน ทรงเครื่องกษัตริย์ ในปราสาท สองข้างเป็นเทพพนม
ซุ้มประตูเป็นรูปกินรีและดอกไม้ - ดอกไม้ใหญ่ตรงกลางเหมือนหน้ากาล
ในซุ้มประตูเป็นรูปนกยูงสีขาว - คงไม่ใช้ชาดกเรื่องยูงทองที่เคยเล่าเนาะ น่าจะหมายถึงเคยอยู่ในอาณัติพม่า
บันไดมกรคายนาคปากนกแก้ว
เจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์
ฐานขียงย่อมุมประดับมกรคายนาค หัวนาคมุดลงไปในฐานแล้วโผล่มาคายมกรเขาคำคู่
ฐานปัทม์ระฆังคว่ำสองชั้น มุมของชั้นที่สองประดับฉัตร
เรือนธาตุทางทิศเหนือและใต้ประดับพระพุทธรูปยืน และปางรำพึง ทางทิศตะวันตกเป็นบานประตู ส่วนทางทิศตะวันออกเชื่อมกับวิหาร
มุมหลังคาเรือนธาตุ ประดับด้วยมกร - เราดูจากขาหน้ามีกรงเล็บ
บัวถลาสามชั้น บัวปากระฆังรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ ก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว ปกฉัตร
ปิดท้ายด้วย อุโบสถแบบล้านนา และหอไตรแบบหอสูงด้านล่างทึบ หลังคาแบบฮ่างหงส์

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่