เป็นวัดที่สันนิษฐานว่าสร้าง พ.ศ. 2105 จากจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่พบบริเวณนี้
ตั้งอยู่ที่ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด
https://maps.app.goo.gl/rk1nwZcYjJLQAikL9
ชื่อวัดสันทรายต้นกอก - เป็นสันทรายที่มีต้นกอกต้นใหญ่อยู่ ปัจจุบันตายไปหมดแล้ว
พ.ศ. 2325 เมื่อเจ้ากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ที่เรียกว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” คือกวาดต้อนคนให้เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่
ชาวไทเขินหรือไทยขึน คือคนที่มีบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำขึน เมืองลัง เชียงตุง รัฐฉาน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและนำชื่อหมู่บ้านมาด้วย คือบ้านเมืองลัง ตำบลป่าตัน
ได้อพยพข้ามแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออก พบเจดีย์ศิลปะทรงพม่า และพบพระพุทธรูป จึงแผ้วถางและสร้างวิหารมุงหญ้าคาประดิษฐานพระพุทธรูป
ตั้งหมู่บ้านรอบๆบริเวณวัดและได้อาราธนาครูบาแดง มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ใช้ชื่อวัดตามสันทรายในแม่น้ำปิงและต้นมะกอกใหญ่ ณ ตรงนั้นว่า
วัดสันทรายต้นกอก
ชื่อวัดสลีปิงจัยแก้วกว้าง
สลี คือ ศรีคำนี้หมายถึงต้นโพธิ์ , ปิง แม่น้ำปิง, จัย ชัยชนะ, แก้ว ดี สุกใสสว่าง, กว้าง แผ่ไพศาล
สลีหรือต้นโพธิ์ อยู่มุมด้านหน้าซ้ายและขวาของวัด
หอใต้ต้นโพธิ๋คือหอเสื้อวัด ของเจ้าเสื้อวัด เพื่อปกปักรักษาวัดวาอารามแห่งนี้
ซุ้มประตูเป็นทรงปราสาท 5 ชั้น 3 ยอดทรงดอกบัว ปกฉัตร
หน้าบันชั้นล่างเทพพนม ประดับลายดอกไม้
ซุ้มเรือนแก้วพญานาคเกี่ยวกระวัด ซุ้มด้านล่างเป็นต้วเหงาประดับลายดอกไม้
เจดีย์พบพร้อมกับพระพุทธรูปที่พบบริเวณนี้ ได้รับอิทธิพลจากพม่าซึ่งปกครองล้านนาอยู่
และเมื่อสร้างวัดได้มีการการบูรณะ จึงไม่ทราบว่าเหมือนเดิมหรือไม่
จึงขอวิเคราะห์เจดีย์ที่เห็น ตามความรู้ที่ตามมีตามค้นดังนี้
เป็นเจดีย์ทรงระฆังผสมผสานแบบพม่าและล้านนา
ฐานบัวผังรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น - พม่า
ฐานชั้นแรก ตรงกลางมีซุ้มพระเจ้ายอดสถูปทั้งสี่ด้าน มุมประดับสิงห์ - พม่า
ฐานชั้นสองและสามย่อมุมโดยมุมประธานเป็นมุมใหญ่มุมเดียว ที่เหลือเป็นมุมเล็ก - พม่า
เรือนธาตุ ยกสูง ย่อมุม มีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน - ล้านนา+พม่า
หลังคาประดับนรสิงห์ที่มุม - พม่า
หน้ากระดานชั้นถัดไปประดับกลีบบัว
ส่วนเชื่อมฐานและองค์ระฆัง - เป็นบัวแปดเหลี่ยม และ บัวปากระฆังผังกลม
องค์ระฆ้ง ด้านบนประดับลายทรงสามเหลี่ยมคว่ำลง และดอกไม้ - พม่า
บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนามีบัลลังก์ยกเก็จ สุโขทัยมีบัลลังก์ไม่ยกเก็จ พม่าไม่มีบัลลังก์
ก้านฉัตร ปล้องไฉน
ป้ทมบาท ปลี - แบบพม่า
ลูกแก้วปกฉัตร
วิหาร
ช่อฟ้ารูปนกหัสดีลิงค์
หน้าบันลายหม้อดอก ที่เหลือเป็นลวดลายพรรณพฤกษา
นาคตันลายนาค
บันไดมกรคายนาค
ภายในวิหาร
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเวสสันดรชาดก
ประดิษฐานของหลวงพ่อดวงดีสลีปิงจัย
พระพุทธรูปยิ้มปากแดง ปางมารวิชัย ประทับใต้ต้นสลี
ศิลปะล้านนาผสมไทเขิน - พระพุทธรูปล้านนาจะไม่มีเส้นขอบไรพระศก
ด้านหลังและเบื้องหน้าพระประธานมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ
มีท้าวเวสสุวรรณตนสีเขียวและสีแดงเป็นทวารบาล
พระอุโบสถ
วิหารหลวงพ่อเพ็ชร
และสำหรับสายมู
ท้าวเวสสุวรรณมหาเทพแห่งความมั่งคั่ง
วัดสันทรายต้นกอก หรือ วัดสลีปิงจัยแก้วกว้าง ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่
ชื่อวัดสันทรายต้นกอก - เป็นสันทรายที่มีต้นกอกต้นใหญ่อยู่ ปัจจุบันตายไปหมดแล้ว
พ.ศ. 2325 เมื่อเจ้ากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ที่เรียกว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” คือกวาดต้อนคนให้เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่
ชาวไทเขินหรือไทยขึน คือคนที่มีบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำขึน เมืองลัง เชียงตุง รัฐฉาน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและนำชื่อหมู่บ้านมาด้วย คือบ้านเมืองลัง ตำบลป่าตัน
ได้อพยพข้ามแม่น้ำปิงมาทางทิศตะวันออก พบเจดีย์ศิลปะทรงพม่า และพบพระพุทธรูป จึงแผ้วถางและสร้างวิหารมุงหญ้าคาประดิษฐานพระพุทธรูป
ตั้งหมู่บ้านรอบๆบริเวณวัดและได้อาราธนาครูบาแดง มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ใช้ชื่อวัดตามสันทรายในแม่น้ำปิงและต้นมะกอกใหญ่ ณ ตรงนั้นว่า
วัดสันทรายต้นกอก
ชื่อวัดสลีปิงจัยแก้วกว้าง
สลี คือ ศรีคำนี้หมายถึงต้นโพธิ์ , ปิง แม่น้ำปิง, จัย ชัยชนะ, แก้ว ดี สุกใสสว่าง, กว้าง แผ่ไพศาล
สลีหรือต้นโพธิ์ อยู่มุมด้านหน้าซ้ายและขวาของวัด
หน้าบันชั้นล่างเทพพนม ประดับลายดอกไม้
ซุ้มเรือนแก้วพญานาคเกี่ยวกระวัด ซุ้มด้านล่างเป็นต้วเหงาประดับลายดอกไม้
และเมื่อสร้างวัดได้มีการการบูรณะ จึงไม่ทราบว่าเหมือนเดิมหรือไม่
จึงขอวิเคราะห์เจดีย์ที่เห็น ตามความรู้ที่ตามมีตามค้นดังนี้
ฐานบัวผังรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น - พม่า
ฐานชั้นแรก ตรงกลางมีซุ้มพระเจ้ายอดสถูปทั้งสี่ด้าน มุมประดับสิงห์ - พม่า
หลังคาประดับนรสิงห์ที่มุม - พม่า
หน้ากระดานชั้นถัดไปประดับกลีบบัว
องค์ระฆ้ง ด้านบนประดับลายทรงสามเหลี่ยมคว่ำลง และดอกไม้ - พม่า
บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนามีบัลลังก์ยกเก็จ สุโขทัยมีบัลลังก์ไม่ยกเก็จ พม่าไม่มีบัลลังก์
ก้านฉัตร ปล้องไฉน
ป้ทมบาท ปลี - แบบพม่า
ลูกแก้วปกฉัตร
ช่อฟ้ารูปนกหัสดีลิงค์
หน้าบันลายหม้อดอก ที่เหลือเป็นลวดลายพรรณพฤกษา
นาคตันลายนาค
บันไดมกรคายนาค
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเวสสันดรชาดก
พระพุทธรูปยิ้มปากแดง ปางมารวิชัย ประทับใต้ต้นสลี
ศิลปะล้านนาผสมไทเขิน - พระพุทธรูปล้านนาจะไม่มีเส้นขอบไรพระศก
มีท้าวเวสสุวรรณตนสีเขียวและสีแดงเป็นทวารบาล