วัดทรายมูลพม่า ... หรือชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดทรายมูลม่าน"
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองเชียงใหม่และมีสถาปัตยกรรมแบบพม่าอันงดงาม
ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนบำรุงศรี ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
..........วัดทรายมูลพม่าหรือวัดทรายมูลม่าน
สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยทหารพม่าซึ่งนับถือศาสนาพุทธในสมัยที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลาถึง 262 ปี
โดยแม่ทัพใหญ่พม่าชื่อ "ทัพชัยสังราม" จ่าบ้านเป็นประธานสร้างอารามขึ้นแห่งหนึ่งใกล้กับวัดทรายมูลเมือง ให้ชื่อว่า "วัดทรายมูลพม่า"
ต่อมาบรรดาลูกหลานของชาวพม่าที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ได้พัฒนาและทำนุบำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ข้อความในตำนานกล่าวว่าแม่ทัพพม่าชื่อ "จ่ำสัง" และศรัทธาร่วมกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในสมัยพระมหาธรรมิกราช
ทว่าไม่ปรากฏปีที่สร้างอย่างแน่ชัด
ต่อมา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 จึงมีการบูรณะวิหารซึ่งเดิมสร้างด้วยไม้มาเป็นการก่ออิฐถือปูน
สำหรับเจดีย์องค์เดิมซึ่งมีขนาดเล็ก คณะศรัทธาก็ได้ทำการบูรณะใหม่โดยสร้างเจดีย์ใหม่ครอบองค์เดิม สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 200 กว่าปี
..........ภายในอาณาบริเวณของวัดทรายมูลพม่าซึ่งมีที่ดินตั้งวัด 7 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน
และสังกัดนิกายพม่า โดยอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์พม่านั้นมีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญ คือ
- พระประธานศิลปะพม่า 4 องค์ เป็นพระนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย
โดยองค์หนึ่งเป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในกุฏิ หน้าตักกว้าง 4 ศอก สร้างเมื่อ พ.ศ.2497 นางยอดคำ เป็นผู้สร้างถวาย
และอีก 3 องค์เป็นพระประธานในวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.2457 โดยหม่องซอนันตา หม่องจันหอมและหม่องตู่มอง
องค์ที่ 1 หน้าตักกว้าง 4 ศอก องค์ที่ 2 หน้าตักกว้าง 2 ศอก และองค์ที่ 3 มีขนาดเท่ากับองค์ที่ 2
ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปทั้ง 4 คือ พระหัตถ์ซ้ายพาดหงายอยู่บนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุด้านขวา นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ห้อยลง มีวงพระพักตร์เป็นวงกลม พระนลาฏแคบ
พระขนงโค้ง พระเนตรแคบยาว พระนาสิกโด่ง พระกรรณยาวจดพระอังสา มีไรพระศก พระเมาฬีมุ่นเป็นจุฬามณีอยู่กลางพระเศียร
- เจดีย์ 2 องค์ องค์ที่ 1 สูงประมาณ 20 เมตร สร้างโดยหม่องส่างดู่และด่อโอ เมื่อ พ.ศ.2384 เป็นเจดีย์แบบพม่าตอนใต้ (มอญ) ประดับด้วยแก้วสีต่างๆ
องค์ที่ 2 สูงประมาณ 9 เมตร สร้างโดยหม่องโพห่านและลูกหลานเมื่อ พ.ศ.2432 เป็นเจดีย์แบบพม่า ประดับด้วยแก้วสีต่างๆ เช่นเดียวกับองค์แรก
- ศาลาการเปรียญรูปทรงพม่า กว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2514 นางวันดี มณีวรรณ เป็นผู้สร้างถวาย
- กุฏิจำนวน 2 หลัง รูปทรงแบบพม่า หลังที่ 1 กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2497 โดยอองจินะและคณะศรัทธาชาวพม่า
หลังที่ 2 กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2509 นางวันดี มณีวรรณ และบุตรหลานเป็นผู้สร้างถวาย
- วิหารลักษณะคล้ายงานสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างด้วยไม้ทั้งหลังและใช้เป็นกุฏิสงฆ์ด้วย ใต้ถุนสูง รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ยอดของหลังคาทำเป็นชั้นๆ ซ้อนขึ้นไปเป็น 3 ชั้น ช่องลมมีการแกะสลักลวดลายเป็นลายเครือเถา
บันไดทางขึ้นทำเป็นมุขยื่นออกมาจากอาคารทางด้านทิศเหนือ ภายในตัววิหารไม่มีการตกแต่งมากนัก ใช้สีแดงทาเพื่อรักษาเนื้อไม้เท่านั้น
พระประธานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ประดิษฐานอยู่ภายใต้ซุ้มหลังคาที่โค้งสูงขึ้นไปและได้รับการตกแต่งประดับลวดลาย
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
สำหรับวัดทรายมูลพม่านี้ มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า และศาสนิกชนที่เข้ามาในวัด ล้วนแต่เป็นชาวพม่า
หากนักท่องเที่ยวหรือชาวไทยสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวชาวพม่า อยากแนะนำให้มาวัดนี้ เพราะอัธยาศัยของศาสนิกชนที่นี่
รวมถึงภิกษุที่จำพรรษาที่วัดนี้ ยินดีต้อนรับและให้ข้อมูลความรู้ได้ดีทีเดียวครับ
ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ที่วัดนี้ก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจและตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยเห็นวิถีชนชาวพม่า
เห็นกลองแบบนี้ ไม่ใช่จะหาดูได้ง่ายๆ นะครับ มาวัดนี้ในช่วงงานบุญ จะมีกิจกรรมที่แปลกตาอีกมากมายครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งกายที่สวยงามมากๆ ครับ
เชียงใหม่-วัดทรายมูลพม่า (วัดทรายมูลม่าน) วัดเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมพม่าอันงดงาม
วัดทรายมูลพม่า ... หรือชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดทรายมูลม่าน"
เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเมืองเชียงใหม่และมีสถาปัตยกรรมแบบพม่าอันงดงาม
ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนบำรุงศรี ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
..........วัดทรายมูลพม่าหรือวัดทรายมูลม่าน
สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดยทหารพม่าซึ่งนับถือศาสนาพุทธในสมัยที่อาณาจักรล้านนาตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลาถึง 262 ปี
โดยแม่ทัพใหญ่พม่าชื่อ "ทัพชัยสังราม" จ่าบ้านเป็นประธานสร้างอารามขึ้นแห่งหนึ่งใกล้กับวัดทรายมูลเมือง ให้ชื่อว่า "วัดทรายมูลพม่า"
ต่อมาบรรดาลูกหลานของชาวพม่าที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ได้พัฒนาและทำนุบำรุงวัดนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ข้อความในตำนานกล่าวว่าแม่ทัพพม่าชื่อ "จ่ำสัง" และศรัทธาร่วมกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในสมัยพระมหาธรรมิกราช
ทว่าไม่ปรากฏปีที่สร้างอย่างแน่ชัด
ต่อมา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 จึงมีการบูรณะวิหารซึ่งเดิมสร้างด้วยไม้มาเป็นการก่ออิฐถือปูน
สำหรับเจดีย์องค์เดิมซึ่งมีขนาดเล็ก คณะศรัทธาก็ได้ทำการบูรณะใหม่โดยสร้างเจดีย์ใหม่ครอบองค์เดิม สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 200 กว่าปี
..........ภายในอาณาบริเวณของวัดทรายมูลพม่าซึ่งมีที่ดินตั้งวัด 7 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน
และสังกัดนิกายพม่า โดยอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์พม่านั้นมีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญ คือ
- พระประธานศิลปะพม่า 4 องค์ เป็นพระนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย
โดยองค์หนึ่งเป็นพระประธานประดิษฐานอยู่ในกุฏิ หน้าตักกว้าง 4 ศอก สร้างเมื่อ พ.ศ.2497 นางยอดคำ เป็นผู้สร้างถวาย
และอีก 3 องค์เป็นพระประธานในวิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.2457 โดยหม่องซอนันตา หม่องจันหอมและหม่องตู่มอง
องค์ที่ 1 หน้าตักกว้าง 4 ศอก องค์ที่ 2 หน้าตักกว้าง 2 ศอก และองค์ที่ 3 มีขนาดเท่ากับองค์ที่ 2
ลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปทั้ง 4 คือ พระหัตถ์ซ้ายพาดหงายอยู่บนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุด้านขวา นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ห้อยลง มีวงพระพักตร์เป็นวงกลม พระนลาฏแคบ
พระขนงโค้ง พระเนตรแคบยาว พระนาสิกโด่ง พระกรรณยาวจดพระอังสา มีไรพระศก พระเมาฬีมุ่นเป็นจุฬามณีอยู่กลางพระเศียร
- เจดีย์ 2 องค์ องค์ที่ 1 สูงประมาณ 20 เมตร สร้างโดยหม่องส่างดู่และด่อโอ เมื่อ พ.ศ.2384 เป็นเจดีย์แบบพม่าตอนใต้ (มอญ) ประดับด้วยแก้วสีต่างๆ
องค์ที่ 2 สูงประมาณ 9 เมตร สร้างโดยหม่องโพห่านและลูกหลานเมื่อ พ.ศ.2432 เป็นเจดีย์แบบพม่า ประดับด้วยแก้วสีต่างๆ เช่นเดียวกับองค์แรก
- ศาลาการเปรียญรูปทรงพม่า กว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2514 นางวันดี มณีวรรณ เป็นผู้สร้างถวาย
- กุฏิจำนวน 2 หลัง รูปทรงแบบพม่า หลังที่ 1 กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2497 โดยอองจินะและคณะศรัทธาชาวพม่า
หลังที่ 2 กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2509 นางวันดี มณีวรรณ และบุตรหลานเป็นผู้สร้างถวาย
- วิหารลักษณะคล้ายงานสถาปัตยกรรมแบบพม่า สร้างด้วยไม้ทั้งหลังและใช้เป็นกุฏิสงฆ์ด้วย ใต้ถุนสูง รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ยอดของหลังคาทำเป็นชั้นๆ ซ้อนขึ้นไปเป็น 3 ชั้น ช่องลมมีการแกะสลักลวดลายเป็นลายเครือเถา
บันไดทางขึ้นทำเป็นมุขยื่นออกมาจากอาคารทางด้านทิศเหนือ ภายในตัววิหารไม่มีการตกแต่งมากนัก ใช้สีแดงทาเพื่อรักษาเนื้อไม้เท่านั้น
พระประธานหันหน้าไปทางทิศเหนือ ประดิษฐานอยู่ภายใต้ซุ้มหลังคาที่โค้งสูงขึ้นไปและได้รับการตกแต่งประดับลวดลาย
<<< บันทึกท้ายกระทู้ >>>
สำหรับวัดทรายมูลพม่านี้ มีสถาปัตยกรรมแบบพม่า และศาสนิกชนที่เข้ามาในวัด ล้วนแต่เป็นชาวพม่า
หากนักท่องเที่ยวหรือชาวไทยสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวชาวพม่า อยากแนะนำให้มาวัดนี้ เพราะอัธยาศัยของศาสนิกชนที่นี่
รวมถึงภิกษุที่จำพรรษาที่วัดนี้ ยินดีต้อนรับและให้ข้อมูลความรู้ได้ดีทีเดียวครับ
ส่วนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ที่วัดนี้ก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจและตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยเห็นวิถีชนชาวพม่า
เห็นกลองแบบนี้ ไม่ใช่จะหาดูได้ง่ายๆ นะครับ มาวัดนี้ในช่วงงานบุญ จะมีกิจกรรมที่แปลกตาอีกมากมายครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งกายที่สวยงามมากๆ ครับ