[SR] เมืองรอง มองให้ลึก 6 วัน...น่านไง ใช่เลย 18-23.12.24

พาพันแอบดู

ลมหนาวพัดมา ถึงเวลาออกเดินทางไปรับลงหนาวกันบนดอย ทริปนี้ลงตัวกันที่เมืองรอง ที่ต้องมองให้ลึกซี้ง นั่นก็คือ "เมืองน่าน" นั่นเอง เมืองรองที่มีดีทั้งศิลปะ วัฒนธรรม อัตลักษณ์ อาหารและพืชพันธุ์พื้นถิ่นของชาวล้านนา ชาวไทยลื้อ ชาวเขา

ต้นชมพูภูคา ต้นเต่าร้างยักษ์ ต้นลูกต๋าว (ลูกชิด) มะหลอด มะเขาควาย มะไฟจีน ผ้าซิ่นลายน้ำไหลของชาวไทยลื้อ อาหารเหนือทั้ง แกงแค แกงฮังเล แกงก้าม (แกงกระด้าง) ไกยี เตา รวมถึงความเป็นมิตรของผู้คนและความ Slow life 

ไม่รอช้า ไปรับชมกันเลยคร๊าบ............


............................................................................................


.............................................................................................

tripnote002

ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง

บินลัดฟ้าด้วยสายการบินไทยแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD 3554 เวลา 08:10 ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที 

ของดีมีจริงในโลก แลกไอศครีมกับพาย สิทธิ์บัตร Krungsri Boarding Card ครับ

ได้เวลาขึ้นเครื่องแล้วครับ


ท่าอากาศยานน่าน

เดินออกจากอาคาร เป็นที่จอดรถ ร้านเช่ามารอแล้วครับ รถใหม่ มีตระกร้าท้ายรถไว้วางกระเป๋า มีที่ตั้งมือถือ และสายห้อยกุญแจ ตั้งแต่เช่ารถมายังไม่เคยเจอร้านที่ใส่ใจขนาดนี้ครับ และไม่มีมัดจำรวมทั้งไม่ซีเรียสและต้องตรวจรอยรอบรถ ครับ


วัดมิ่งเมือง
ตั้งอยู่ริมถนนสุริยพงษ์ เป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูง 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์ มีชื่อว่าเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
 
เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 มีการพบเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงขนาดใหญ่สองคนโอบที่ซากวิหาร ต่อมา เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านได้สถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ และตั้งชื่อว่าวัดมิ่งเมือง ตามชื่อที่เรียกเสาหลักเมืองว่า “เสามิ่งเมือง” ต่อมา ปี
พ.ศ. 2527 มีการรื้อถอนและสร้างอุโบสถหลังใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน ลักษณะเด่นคือลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน
 
เปิดให้เข้าชม : 08.00-17.00 น.


วัดภูมินทร์
ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองน่าน อีกหนึ่งวัดที่หากมาถึงน่านแล้วไม่ได้แวะ  จะเรียกว่ามาไม่ถึง วัดภูมินทร์ วัดชื่อดัง ที่มีความของภาพวาดฝาผนัง ปู่ม่าน ย่าม่าน หรือ ภาพกระซิบรักบรรลือโลก กลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองน่าน  ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน  คือ พระอุโบสถทรงจตุรมุข มีบันไดนาคทั้งสี่ทิศ ข้างในประดิษฐานพระประธานจตุรพักตร์ 4 ด้าน ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันไดทิศไหนก็จะพบพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกด้าน
วัดภูมินทร์ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง เมืองน่านได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ผู้สร้างวัดแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์
 
เปิดให้เข้าชม : 08.00 - 18.00 น.


วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
 
หนึ่งในวัดกลางเมืองน่านที่พลาดชมไม่ได้เด็ดขาดไม่ว่าจะเดินชม ปั่นจักรยานชม หรือนั่งรถรางชม ล้วนรื่นรมย์ไม่ต่างกัน วัดหลวงกลางเวียงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 ถือเป็นวัดหลวง ที่เจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดนั่นเอง สถานที่น่าชม ได้แก่ – เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) ได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมยุคสุโขทัย รอบฐานนั้นก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ซึ่งคงเป็นที่มาของชื่อ “ช้างค้ำ” และลักษณะดังกล่าวนั้นมีความคล้ายกับวัดช้างล้อมของสุโขทัย – พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานภายในพระวิหาร โดยเป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีส่วนผสมของทองคำ 65 % – พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก
 
เปิดให้เข้าชม : 06.00-18.00 น.


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เทศบาลเมืองน่าน

กิจกรรม "น่านไง...ใช่เลย" เริ่ม 1 พ.ย. 67 ถึง 31 มี.ค. 67 ได้รับของรางวัล 2 ชิ้น สวยงาม มีรูปเฉลยในรีวิวนะคร๊าบ
ชื่อสินค้า:   วัดมิ่งเมือง,วัดภูมินทร์,วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร,ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เทศบาลเมืองน่าน,เฮือนเจ้านาง,ดอยกว่าง,โค้งรูปตัวยู,ถนนเลข 3,จุดชมทะเลหมอกภูฟ้า,ที่พักศูนย์ภูฟ้าพัฒนา,บ่อเกลือสินเธาว์โบราณ,ถนนคนเดินสะปัน (สะพานสะปัน),สวนชาอูหลง ภูฟ้า,ห้องอาหารภูฟ้า,จุดชมวิวถนนพับผ้า,บ่อเกลือโบราณ เจ้าซางคำ,บ่อเกลือสินเธาว์,น้ำตกสะปัน,วัดสะปัน,สะพานเก่าบ้านสะปัน,ร้านลาบสะปัน อาหารเหนืออีสาน,ชมดอยวิว,จุดชมวิวดอยภูคา 1715,ตำหนักเจ้าหลวงภูคา,ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูคา,ที่พักอุทยานภูคา 105/4 (นางพญาเสือโคร่ง),เส้นทางศึกษาธรรมชาติบ้านเกวียน,ลานดูเดือน,สถูปเจดีย์พระมหามุนีศรีภูคา,น้ำตกต้นตอง,ถนนลอยฟ้า ดอยภูคา,ไร่สตรอเบอรี่อิงดอยเสมอดาว,สวนผักกูดฮิมม่อน,บ้านพาสุข ขนมจีน ข้าวซอย,พระธาตุจอมแจ้ง,วัดร้องแง,วัดพระธาตุเบ็งสกัด,กำแพงเวียงนคร,วัดภูเก็ต,วัด:),วัดบ้านก๋ง,บ้านนากาสะลอง,ถนนคนเดินปัว (เตียวกาดแลงเมืองปัว),วัดพระธาตุจอมพริก,น้ำตกศิลาเพชร,วัดนาคำ,วัดป่าดอยภูคา (สาขาวัดตาลเอน),กาแฟบ้านไทลื้อ,ร้านลำดวนผ้าทอ,พระธาตุศิลาแลง,วังศิลาแลง,ฟาร์มเห็ดบ้านหัวน้ำ,ตลาดสดเทศบาลท่าวังผา,วัดหนองบัว,ศูนย์ OTOP และหัตถกรรมไทลื้อ บ้านหนองบัว,พระธาตุหนองหยิบ,พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์,บุญระพีเฮ้าส์,วัดมิ่งเมือง,ถนนคนเดินกลางคืนน่าน,วัดสวนตาล,กำแพงเมืองเก่าน่าน,ตลาดตั้งจิตนุสรณ์,วัดศรีพันต้น,ซุ้มอุโมงค์ลีลาวดี,วัดหัวข่วง,วัดสวนตาล,วัดพระธาตุแช่แห้ง,งาน "วัฒนธรรมเป็นศรี ของดีนาน้อย",ตลาดชุมชนวัดใหม่ไชยสถาน บ้านใหม่,เสาดินนาน้อย,คอกเสือ,พระธาตุเชียงของ ดอยปุ่มข้าว,บ้านพักศรีน่าน 203 (พญาไพร 2),จุดชมวิวอุทยานแห่งชาติศรีน่าน,จุดชมวิวปลายฟ้า,ดอยเสมอดาว,ผาหัวสิงห์,ผาชู้,บ้านทาร์ซาน (ศูนย์ศึกษาการพัฒนาการอนุรักษ์ต้นน้ำลุ่มน้ำน่าน),วัดผาเวียง,เพียงตะวัน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์มะไฟจีนบ้านกอก,บ้านน้ำเงี้ยว,วัดพระธาตุเขาน้อย,ตลาดน่านเจ้า (ปางค่า),ของฝากน่าน บ้านถั่วลิสง,ท่าอากาศน่าน
คะแนน:     

SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างแต่ได้รับผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น บัตรกำนัล ค่าเดินทางตามจริง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่