กำแพงเพชร - นครชุม

นครชุมเป็นเมืองที่เกิดขึ้นก่อนกำแพงเพชร 
ผังเมืองนครชุมที่ยังมองเห็นแนวกำแพงเมืองได้ในแผนที่


ตามจารึกศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)
ที่กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ ไว้ที่กลางเมืองนครชุม ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ที่วัดพระบรมธาตุ

*วัดพระบรมธาตุ - นครชุม*

เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม
เป็นวัดประจำเมืองนครชุม
เดิมมีเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน

พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร
ได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ
ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้าม เมืองเก่าสามองค์
ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชน แผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึก

พ.ศ.2414 พ่อค้าไม้ชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่าหรือซงพอ ได้ขอราชานุญาตปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุนครชุม
ได้บูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์
แต่ไม่แล้วเสร็จ พ.ศ.2418 ซงพอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป

พ.ศ.2447-2448 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อได้นำยอดฉัตรมาจากพม่า ขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ก่อนที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพียง 3 เดือน


เจดีย์แบบพม่า
มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมย่อมุม 3 ชั้น มีซุ้มพระด้านละ 4 ซุ้ม - อดีตพระพุทธเจ้า 3 องค์ , กับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ... เดาเอาค่ะ
ฐานเขียงกลม 3 ชั้น รองรับองค์ระฆัง มีรัดอก
ไม่มีบัลลังก์ มีปล้องไฉน ปัทมบาท ปลี ฉัตร แผ่นบอกทิศทางลม ลูกแก้ว


โบสถ์ 
หน้าบัน - มหาวิเนษกรมณ , ตรัสรู้ 


คลองสวนหมาก คือลำคลองสายหนึ่ง อยู่ฝั่งขวา หรือฝั่งตะวันตกของลำน้ำปิงเมืองกำแพงเพชร
ต้นลำคลองเกิดจากภูเขาโมโกจู ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ ยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
สบน้ำปิงที่ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร - ปากคลองสวนหมาก
เป็นที่ตั้งของ บ้านห้าง และวัดสว่างอารมณ์ 

*บ้านห้าง*

พะโป้เป็น พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง อยู่เมืองกำแพงเพชรในสมัยรัชกาลที่ 5
ได้ขอตัดฟันชักลากไม้ในคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นป่าไม้สัก
จึงตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากคลองสวนหมาก
เพื่อควบคุมเส้นทางการชักลากลำเลียงไม้ ลงสู่แม่น้ำปิง
เมื่อเขาตายลง กิจการทำไม้ในป่าคลองสวนหมากถูกเปลี่ยนมือ
บ้านนี้ก็ได้ถูกขายไปด้วย พร้อมทั้งใช้เป็นที่ทำการของบริษัท
เมื่อไม้หมดไป บริษัทจึงปิดที่ทำการแห่งนี้ลง และ “บ้านห้าง” ก็ถูกทิ้งร้าง
ทางที่เดินมาจากวัดสว่างอารมณ์ เห็นสะพานข้ามคลองสวนหมาก


*วัดสว่างอารมณ์*

โบสถ์หันหน้าไปทางทิศใต้ สู่คลองสวนหมาก
ด้านหน้าของโบสถ์ เป็นที่ตั้งของวิหาร และ มณฑปหลวงพ่ออุโมงค์
เมื่อแรกพบดินที่นูนเหมือนจอมปลวก มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูป เมื่อขุดออกดูพบพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายใน ดูคล้ายในอุโมงค์
จึงสร้างมณฑปประดิษฐานหลวงพ่อไว้ เรียกหลวงพ่อว่า หลวงพ่ออุโมงค์

เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา - พระพุทธสิหิงค์ - สิงห์ 1
พุทธลักษณะคือ
พระรัศมีดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอยใหญ่
(บริเวณพระเมาลี ของหลวงพ่ออุโมงค์สามารถเปิดได้ เหมือน ฝาหม้อ ภายมีน้ำมนตร์ ปัจจุบัน ปิดไปแล้วเพราะมีผู้มาลักลอบ ตักน้ำมนตร์บ่อย โดยปีนขึ้นไปบนตักของหลวงพ่อ)
พระพักตร์กลมอมยิ้ม คางเป็นปม
ลำตัวอวบอูม พระอุระนูน ชายสังฆาฏิเหนือตักสั้น ปลายแตกเป็นปากตะขาบ (ถูกห่มผ้าปิด)
ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปรากฏพระบาททั้งสองข้าง
เล่าว่ามีพระพุทธคุณคือเกี่ยวการสอบ การศึกษา เช่นสอบบรรจุ การศึกษาต่อ แก้บนด้วย พวงมาลัย - เล่าให้ฟังเฉย ๆ


* ป้อมทุ่งเศรษฐี *

เป็นป้อมที่ทำจากศิลาแลงจากฝั่งเมืองกำแพงเพชร
รูปสี่เหลี่ยม กว้าง 83.5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร มีใบเสมา มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน
ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อกัน ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อไป เหลือเพียง 3 ด้าน
เล่าสืบต่อกันมาว่า กำแพงที่ถูกรื้อไปเพื่อนำไปใช้ก่อป้องกันน้ำปิงกัดเซาะวัดพระบรมธาตุ เมื่อคราวปฏิสังขรณ์วัด


วัดนอกกำแพงเมือง เมืองนครชุม

นิยมสร้างด้วยอิฐ ซึ่งทำจากดิน เนื่องจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงนี้ไม่มีแหล่งศิลาแลง
อยู่บริเวณทุ่งเศรษฐี เป็นบริเวณที่มีพระเครืองที่นี่ได้รับความนิยมสูง - เชื่อว่าเป็นเศรษฐี
เรียกว่าพระซุ้มกอ เนื่องจากพระพิมพ์มีลักษณะเป็นโค้งเป็นรูป ก.ไก่ 
วัดที่ตั้งตามชื่อพระเครื่องคือ วัดซุ้มกอ อยู่ริมถนนที่จะข้ามน้ำไปศาลากลางเมืองกำแพงเพชร - ไม่ได้แวะ
ปัจุจุบันเหลือเพียงองค์เจดีย์ ทรงระฆังคว่ำ หรือทรงลังกา บน ฐานเขียงแปดเหลี่ยม !! เท่านั้น  


*วัดหม่องกาเล*

ตั้งชื่อตามบุคคลที่คาดว่าอยู่บริเวณนั้น
อยู่บนแนวถนนโบราณ ระหว่างเมืองนครชุม และ ไตรตรึงษ์ ชาวบ้านเรียกว่าถนนพระร่วง
เหลือฐานวิหารและเจดีย์ ที่มีร่องรอยว่ามีคูน้ำล้อมรอบ

เจดีย์ - ฐานสี่เหลี่ยม !! 
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสองชั้น
ฐานปัทม์สี่เหลี่ยม ยืดตัวสูงขึ้น ท้องไม้แบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นฐานเขียงกลม บัวถลา 3 ชั้น รับองค์ระฆังกลม มีบัลลังก์แบบลังกา
ฐานของเจดีย์มีมุขสามด้าน หรือจะเป็นซุ้มพระ
ด้านทางทิศตะวันตกไม่มีซุ้มพระ หรือ อาจมีแต่ถูกทำลายหายไป - ก็น่าจะมีซากหินให้เห็นเนาะ
เป็นเจดีย์พบพระซุ้มกอจำนวนมาก


* วัดหนองลังกา *

เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุด มีคูน้ำล้อมรอบ ... อุทกสีมา - ลังกาวงศ์ที่นิยมในสมัยสุโขทัย
มีวิหาร และเจดีบ์ทอดไปทางตะวันตก 3 องค์
เจดีย์องค์กลางมีเจดียบริวารเล็ก ๆ อีกสององค์อยู่ทางเหนือและใต้
จากสิ่งที่เหลืออยู่
ด้านหน้าสุดเป็นวิหารทำด้วยอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานชุกชีมีร่องรอยการขุด


เจดีย์ประธาน - ฐานสี่เหลี่ยม!! 
เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมเตี้ย ๆ
ฐานปัทม์ยืดตัวสูง ท้องไม้แบ่งเป็นช่อง
ฐานล่างทำเป็นซุ้มยื่นมาทั้ง 4 ด้าน มีพระพุทธรูป อยู่ประจำทิศ
บัวถลา 3 ชั้น รองรับองค์ระฆังคว่ำ
บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน
แล้วเป็นบัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลียอด


ถัดไปทางทิศตะวันตก - เจดีย์องค์กลาง เป็น เจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม!!
ยอดพังทลายลงมาแล้ว
ผังของเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์รายทางทิศเหนือและใต้
ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ มีเสาศิลาแลง


ถัดไปทางตะวันตก มีเจดีย์องค์หลังสุด - เป็นเจดีย์ฐานสี่หลี่ยม!!
ฐานเขียงเตี้ย ๆ ฐานปัทม์ยืดตัวสูง ท้องไม้แบ่งเป็นช่อง
ถัดไปเป็นฐานเขียงกลม บัวถลา 3 ชั้นรับองค์ระฆัง


กำแพงด้านในมีซุ้มสามเหลี่ยม ที่วางผางประทีบ ? 


ประตูเขตพุทธาวาสด้านหลัง - ทิศตะวันตก



*วัดหนองยายช่วย*
ตั้งชื่อตามยายช่วยเจ้าของที่ เจดีย์มีอายุ กว่า 700 ปี
เป็นเจดีย์ ฐานแปดเหลี่ยม !! ทรงระฆังแบบลังกา
ฐานเขียงแปดเหลี่ยม
ฐานปัทม์แปดเหลี่ยมยืดสูงมีอกไก่
บัวถลา 3 ชั้น รับองค์ระฆังกลม มีบัลลังก์
ฐานพระเจดีย์ มีซุ้มพระ อีก 4 ซุ้ม มีลักษณะซุ้มที่ใหญ่มาก แต่ไม่พบพระ
ต้องเดินไปตามคันนา ดูข้างนอกก็พอนะ


* วัดเจดีย์กลางทุ่ง *
สันนิษฐานว่าสร้างในช่วง พ.ศ. 1900-1950 มีน้ำรอบบริเวณวัดนี้ จึงเข้าได้ทางเดียวคือที่เดินเข้ามา


ด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีฐานวิหาร



เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ !!
ฐานเขียงสูงสามชั้น
ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้น
ถัดไปเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ฐานบัวสี่เหลี่ยมยกเก็จซ้อนกันสามชั้น มีอกไก่ - มาลัยเถา นิยมในอยุธยา
ชั้นบนของมาลัยเถาสุดยืดตัวสูงมีลวดรัด 2 เส้น - ยกเก็จเหมือนปรางค์อยุธยา
ถัดไปเป็นองค์ระฆังคว่ำรูปดอกบัวตูม - มีฝาหม้อปล้องไฉนอันแรกถือเป็นบัลลังก์
ปล้องไฉน - หรือฉัตรวลีเป็นร่มบังแดดพระธาตุ
จะว่าไปเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ก็คือเจดีย์ทรงปรางค์ยอดเจดีย์ - แต่ยืดฐานขึ้นสูงมากจนเหลือองค์ระฆังรูปดอกบัวตูมเล็กนิดเดียว


ทางทิศตะวันตกมีเจดีย์บริวารองค์เดียว

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่