กำแพงเพชร หมายถึงเมืองที่มีกำแพงที่แข็งแรงและสวยงามดั่งแก้ววิเชียร
นักวิชาการได้สรุปแล้วว่า กำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงส่วนชากังราวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่าน ชากังราวจึงไม่ใช่กำแพงเพชร
ลุ่มน้ำปิงในบริเวณนี้ มีความสำคัญทางการค้าทางสายน้ำปิงมาแต่โบราณ
อยู่ตรงกลางระหว่างอยุธยา สุพรรณภูมิ สุโขทัย และล้านนา
เป็นเส้นทางการค้าไปเมาะตะมะ
เมืองที่เกิดขึ้นก่อนคือ นครชุม ตามจารึกศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)
ที่กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ ไว้ที่กลางเมืองนครชุม ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท แห่งกรุงสุโขทัย
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ขุนหลวงพงั่วได้บังคับให้พญาลิไทไปบวช
สถาปนาพระขนิษฐาของพญาลิไทขึ้นเป็นเจ้า แล้วอภิเษกด้วย
สุโขทัยจึงตกอยู่ในอำนาจของอยุธยา
ทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขต ปกครองตนเอง
ลุ่มน้ำปิง ได้แก่ กำแพงเพชร ระแหง (ตาก) และพระบาง (นครสวรรค์)
ลุ่มน้ำ ยม-น่าน ได้แก่ สองแคว สวรรคโลก พิจิตร
ถึงสมัยพระเจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็นโอรสของขุ่นหลวงพงั่วจึงได้ได้สร้างเมืองกำแพงเพชรขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง
ข้อมูลจากรายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว ‘กำแพงเพชร’ เกิดยุดจิ๋นซีฮ่องเต้: Matichon TV
http://www.youtube.com/watch?v=jnhX0-skkGQ
กำแพงเมืองกำแพงเพชร
สร้างจากศิลาแลงที่มีมาในบริเวณนั้น ก่อเป็นกำแพงที่แน่นหนา โดยพระเจ้านครอินทร์
ในกำแพงเมืองกำแพงเพชร มีโบราณสถานที่ได้ไปสองแห่งคือ
โบราณสถานวัดพระธาตุ
ผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแนวตะวันออก - ตะวันตก
ฐานวิหารก่อศิลาแลง
ส่วนท้ายของวิหารล้ำเข้ามาในระเบียงคตของเจดีย์ - นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น
เป็นเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐ มีระเบียงคตล้อมรอบ
พบพระพุทธรูปสำริดอิทธิพลล้านนา - พระพุทธสิหิงส์
และเสมาวัดพระธาตุกำแพงเพชร ในพิพิธภัณฑ์
วัดพระแก้ว
ตำนานว่าเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วก่อนไปยังเมืองเชียงราย
สิ่งก่อสร้างหลายเรียงจาก ตะวันออกมาตะวันตก สร้างขึ้นในระยะเวลาต่างกัน
ฐานพระอุโบสถ ฐานอาคารย่อมุมตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่
ถัดไปเป็นฐานของวิหาร ด้านหลังมีบันไดทางขึ้นสู่วิหาร
ทางตะวันออกมีบันไดสู่โขงพระเจ้าหรือกู่
น่าจะที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ หรือจะเป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว ?
ถัดไปเป็นวิหาร อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ทรงระฆังฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้นประดับด้วยสิงห์ล้อม สิงห์พังไปหมดแล้ว
ถัดไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม
ใต้ฐานบัวถลากลมประดิษฐานซุ้มพระพุทธรูปโดยรอบ
บัวถลาหรือบัวคว่ำ - นิยมสุโขทัย และ ล้านนา
องค์ระฆังกลม บัลลังก์ ปล้องไฉน - แบบลังกา
ถัดไปเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
และถัดไปเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สามพระองค์ มารวิชัย 2 องค์พระนอน 1 องค์
รอบวิหารตกแต่งปูนปั้นเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันกระเทาะเกือบหมด
ท้ายวัดมีเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างครึ่งตัง 32 เชือก - เจดีย์ช้างเผือก
***
นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร
มีวัดที่มีขนาดที่สร้างด้วยศิลาแลง มีขนาดใหญ่โตโดยเฉพาะเสามีขนาดใหญ่มาก
ผู้สร้างต้องมีบารมีมาก คือ คนสร้างต้องสำคัญ และรวยมาก วัดมีพระมาก มีประชาชนอยู่มาก
ส่วนมากทุกวัดจะมี บ่อน้ำ ส้วม
วัดพระนอน
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางตะวันออก มีอุโบสถ วิหาร และเจดีย์อยู่เรียงกันไป
อุโบสถมีเสาแปดเหลี่ยมทำด้วยศิลาแลง - ขนาดใหญ่ ... มาก
เสมาหินชนวนสลักลวดลายอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชร
วิหารพระนอน เสาในวิหารเป็นสี่เหลี่ยม และ ภาพฐานชุกชี
เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่
ฐานสี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยมลดหลั่นกัน
รับบัวถลาหรือบัวคว่ำสามชั้น
ท้องไม้ของบัวถลาแบ่งเป็นช่อง
องค์ระฆังกลม มีบัลลังก์
วัดพระสี่อิริยาบถ
วิหารที่สร้างบนฐานประทักษิณขนาดใหญ่
ด้านหลังวิหารเป็นมณฑปที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด
มณฑป มีผนังทั้ง 4 ด้านประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถ เดิน นั่ง ยืน และนอน
ปัจจุบันเหลือเฉพาะพระยืนที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประดิษฐานด้านทิศตะวันตก
พระพักตร์มีลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร
วัดสิงห์
เคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์
กำแพงโกลนจากศิลาแลง ปักเรียงกันเป็นแนวกำแพงมีทับหลัง
พระอุโบสถขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าวัด
เดิมเป็นวิหารแบบสุโขทัย ภายหลังได้ใช้เป็นพระอุโบสถตามแบบแผนอยุธยา
ตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดฐานหน้ากระดานล่างโดยรอบเป็นบัวลูกแก้วอกไก่
พระประธานซึ่งประดิษฐานบนฐานชุกชี ผิวขององค์พระได้กะเทาะออกไป เหลือแกนในที่โกลนจากศิลาแลง มีทวารบาล
วัดช้างรอบ
ตั้งอยู่บนยอดเนินสูงสุด มีหัตถีปราการ - กำแพงช้าง
ด้วยคติที่ว่า ช้างแบกจักรวาล - ใช้ช้างทำให้เจดีย์นี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ด้านหน้าเจดีย์มีวิหาร
และบ่อแลง
เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว
ฐานสี่เหลี่ยมด้านล่างสูงใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่เพื่อขึ้นไปถึงลานด้านบนหรือลานประทักษิณ
ฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก
ตัวช้างทรงเครื่อง เป็นลายดาวล้อมเดือน - ลายเงินพดด้วงสมัยพระเจ้าทรงธรรม
ลายกำไลเท้า เป็นลายรัดร้อยอิทธิพลอิหร่าน
ลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา อิทธิพลเขมร - สมัยพระเจ้าปราสาททอง ถึง พระนารายณ์
ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา ให้ดูเป็นป่า ( แต่ช้างป่าไม่ทรงเครื่อง) อิทธิพลเปอร์เซีย พบได้ในตู้พระธรรมสมัยอยุธยา
มีทวารบาลและสิงห์ อิทธิพลเขมร
ฐานเขียงเหนือผังแปดเหลี่ยมเคยประดับลวดลายปูนปั้น เล่าเรืองพระพุทธประวัติ
ใต้ภาพมีปูนปั้นหงส์โดยรอบ หายหมดแล้ว
อุโบสถเล็กๆ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ไปเที่ยวกันนะคะ
กำแพงเพชร - กำแพงเพชร
นักวิชาการได้สรุปแล้วว่า กำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงส่วนชากังราวตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่าน ชากังราวจึงไม่ใช่กำแพงเพชร
ลุ่มน้ำปิงในบริเวณนี้ มีความสำคัญทางการค้าทางสายน้ำปิงมาแต่โบราณ
อยู่ตรงกลางระหว่างอยุธยา สุพรรณภูมิ สุโขทัย และล้านนา
เป็นเส้นทางการค้าไปเมาะตะมะ
เมืองที่เกิดขึ้นก่อนคือ นครชุม ตามจารึกศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม)
ที่กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ ไว้ที่กลางเมืองนครชุม ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท แห่งกรุงสุโขทัย
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ขุนหลวงพงั่วได้บังคับให้พญาลิไทไปบวช
สถาปนาพระขนิษฐาของพญาลิไทขึ้นเป็นเจ้า แล้วอภิเษกด้วย
สุโขทัยจึงตกอยู่ในอำนาจของอยุธยา
ทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขต ปกครองตนเอง
ลุ่มน้ำปิง ได้แก่ กำแพงเพชร ระแหง (ตาก) และพระบาง (นครสวรรค์)
ลุ่มน้ำ ยม-น่าน ได้แก่ สองแคว สวรรคโลก พิจิตร
ถึงสมัยพระเจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็นโอรสของขุ่นหลวงพงั่วจึงได้ได้สร้างเมืองกำแพงเพชรขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง
ข้อมูลจากรายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว ‘กำแพงเพชร’ เกิดยุดจิ๋นซีฮ่องเต้: Matichon TV
http://www.youtube.com/watch?v=jnhX0-skkGQ
กำแพงเมืองกำแพงเพชร
สร้างจากศิลาแลงที่มีมาในบริเวณนั้น ก่อเป็นกำแพงที่แน่นหนา โดยพระเจ้านครอินทร์
ฐานวิหารก่อศิลาแลง
ส่วนท้ายของวิหารล้ำเข้ามาในระเบียงคตของเจดีย์ - นิยมในสมัยอยุธยาตอนต้น
เป็นเจดีย์ทรงระฆังก่ออิฐ มีระเบียงคตล้อมรอบ
และเสมาวัดพระธาตุกำแพงเพชร ในพิพิธภัณฑ์
สิ่งก่อสร้างหลายเรียงจาก ตะวันออกมาตะวันตก สร้างขึ้นในระยะเวลาต่างกัน
ฐานพระอุโบสถ ฐานอาคารย่อมุมตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่
ถัดไปเป็นฐานของวิหาร ด้านหลังมีบันไดทางขึ้นสู่วิหาร
ทางตะวันออกมีบันไดสู่โขงพระเจ้าหรือกู่
น่าจะที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ หรือจะเป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว ?
ถัดไปเป็นวิหาร อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ทรงระฆังฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้นประดับด้วยสิงห์ล้อม สิงห์พังไปหมดแล้ว
ถัดไปเป็นฐานแปดเหลี่ยม
ใต้ฐานบัวถลากลมประดิษฐานซุ้มพระพุทธรูปโดยรอบ
บัวถลาหรือบัวคว่ำ - นิยมสุโขทัย และ ล้านนา
องค์ระฆังกลม บัลลังก์ ปล้องไฉน - แบบลังกา
ถัดไปเป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
และถัดไปเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่สามพระองค์ มารวิชัย 2 องค์พระนอน 1 องค์
รอบวิหารตกแต่งปูนปั้นเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันกระเทาะเกือบหมด
ท้ายวัดมีเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างครึ่งตัง 32 เชือก - เจดีย์ช้างเผือก
มีวัดที่มีขนาดที่สร้างด้วยศิลาแลง มีขนาดใหญ่โตโดยเฉพาะเสามีขนาดใหญ่มาก
ผู้สร้างต้องมีบารมีมาก คือ คนสร้างต้องสำคัญ และรวยมาก วัดมีพระมาก มีประชาชนอยู่มาก
ส่วนมากทุกวัดจะมี บ่อน้ำ ส้วม
อุโบสถมีเสาแปดเหลี่ยมทำด้วยศิลาแลง - ขนาดใหญ่ ... มาก
เสมาหินชนวนสลักลวดลายอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชร
วิหารพระนอน เสาในวิหารเป็นสี่เหลี่ยม และ ภาพฐานชุกชี
เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่
ฐานสี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยมลดหลั่นกัน
รับบัวถลาหรือบัวคว่ำสามชั้น
ท้องไม้ของบัวถลาแบ่งเป็นช่อง
องค์ระฆังกลม มีบัลลังก์
ด้านหลังวิหารเป็นมณฑปที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด
ปัจจุบันเหลือเฉพาะพระยืนที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ประดิษฐานด้านทิศตะวันตก
พระพักตร์มีลักษณะศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร
กำแพงโกลนจากศิลาแลง ปักเรียงกันเป็นแนวกำแพงมีทับหลัง
เดิมเป็นวิหารแบบสุโขทัย ภายหลังได้ใช้เป็นพระอุโบสถตามแบบแผนอยุธยา
ตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดฐานหน้ากระดานล่างโดยรอบเป็นบัวลูกแก้วอกไก่
พระประธานซึ่งประดิษฐานบนฐานชุกชี ผิวขององค์พระได้กะเทาะออกไป เหลือแกนในที่โกลนจากศิลาแลง มีทวารบาล
ด้วยคติที่ว่า ช้างแบกจักรวาล - ใช้ช้างทำให้เจดีย์นี้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ด้านหน้าเจดีย์มีวิหาร
ฐานสี่เหลี่ยมด้านล่างสูงใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่เพื่อขึ้นไปถึงลานด้านบนหรือลานประทักษิณ
ฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก
ตัวช้างทรงเครื่อง เป็นลายดาวล้อมเดือน - ลายเงินพดด้วงสมัยพระเจ้าทรงธรรม
ลายกำไลเท้า เป็นลายรัดร้อยอิทธิพลอิหร่าน
ลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา อิทธิพลเขมร - สมัยพระเจ้าปราสาททอง ถึง พระนารายณ์
ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา ให้ดูเป็นป่า ( แต่ช้างป่าไม่ทรงเครื่อง) อิทธิพลเปอร์เซีย พบได้ในตู้พระธรรมสมัยอยุธยา
มีทวารบาลและสิงห์ อิทธิพลเขมร
ฐานเขียงเหนือผังแปดเหลี่ยมเคยประดับลวดลายปูนปั้น เล่าเรืองพระพุทธประวัติ
ใต้ภาพมีปูนปั้นหงส์โดยรอบ หายหมดแล้ว
อุโบสถเล็กๆ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ไปเที่ยวกันนะคะ