วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ... อำเภอเมือง น่าน


เพราะเป็นวัดพระธาตุกลางเมือง เดิมจึงมีชื่อว่า วัดหลวงกลางเวียง สร้างโดยพญาภูเข่ง เจ้านครน่าน
เป็นศูนย์กลางของ เวียงใต้ - เมืองน่านในอดีตยุคที่ 3 
ทบทวนประวัติเมืองน่านที่เราย่อมาได้ที่กระทู้นี้ วิหารไทลื้อ ... วัดพระธาตุเบ็งสกัด อำเภอปัว จังหวัดน่าน


วิหาร
ด้านหน้า มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทำเป็นประตูใหญ่ และประตูเล็ก ซ้าย-ขวา มีสิงห์คู่ยืนตรงเชิงบันใดด้านละตัว
หน้าบันลวดลายหม้อดอก ปูรณฆฏะ
เสาบัวด้านหน้าประดับลายทอง
หน้าแหนบรวงผึ้งเป็นลายพรรณพฤกษา มีนาคเลื้อยลงมายังเสาบัวคู่กลาง
หน้าบันปีกนกเป็นลายกายขดล้อมเทพสองตน ... ปีกนกเป็นรูปหยาดน้ำ

 

มีขนาดใหญ่ 8 ห้อง หลังคา 2 ซด 2 ตับ ไม่มีเฟื้อง
ด้านข้างมีบันไดตัวเหงา

ภายในพระวิหาร
พระประธานปางมารวิชัยประทับสมาธิราบ
เสาปูนกลมขนาดใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้นนูนสูง กนกระย้าย้อย

โครงหลังคาม้าต่างไหม


ธรรมาสน์ทรงปราสาท

เจดีย์ช้างค้ำ
ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย - อิทธิพลลังกา
ฐานเขียงเป็นรูปสี่เหลื่ยมจัตุรัสยกสูง
ถัดไปเป็นฐานสี่เหลี่ยม มีช้าง24เชื่อก โผล่มาครึ่งต้ว - อิทธิพลลังกา
ถัดไปฐานเขียง 3 ชั้น ฐานปัทม์ยืดต้วสูงขึ้นประดับลวดตรงกลาง
ถัดไปเป็นฐานเขียงกลมรับบัวถลา 3 ชั้น (มาลัยเถาที่เป๋นบัวคว่ำอย่างเดียว = บัวถลา นิยมในสุโขทัยและล้านนา)
รับบัวปากระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตรไม่มีเสาหาน (ไม่มีเสาหาน นิยมในสุโขทัยและล้านนา)
ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร

หอไตร
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พ.ศ. 2453
เดิมเครื่องบนเป็นไม้สัก มุงกระเบื้องไม้สัก
ทำเป็นห้องไว้พระธรรม และพระไตรปิฏก ... ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สล่า ( ช่าง ) คือ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง กับจีนอิ๋ว จีนซาง
อาคารก่ออิฐโบกปูน ยกพื้นสูง เสาราย รับหลังคาเชิงชาย

ปัจจุบันเป็นวิหาร ใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี
เป็นพระพุทธรูปทองคำปางลีลา
สร้างโดยเจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14
แห่งราชวงค์ภูคา พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย

.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่