ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ... ที่สรุปว่าเป็นวัดในสมัยพระเจ้าติโลก เป็นการสรุปเอง ไม่มีบันทึกใดรับรอง มิอาจใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้นะคะ
ป้าน แปลว่าขวาง ปิง คือน้ำปิง
อาจหมายถึงป้องกันภัยที่จะข้ามแม่น้ำปิงมา
อาจเป็นเพราะสมัยพระเจ้าติโลก มีสงครามหลายครั้ง
ตั้งในกำแพงเมืองเชียงใหม่ บนถนนราชภาคินัย ... ขอบคุณกูเกิลแมปค่ะ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีโบสถ์ตั้งอยู่
หน้าบันเป็นลวดลายพรรณพฤกษา อยู่เหนือซุ้มช้าง ... ปีกุญชร
บันไดมกรคายนาค
ในบริเวณวัด พบจารึกเก่าที่จารึกไม่เสร็จ คล้ายเสมาจึงนำมาไว้ที่ข้างโบสถ์
เป็นหินทรายสีเทา รูปเสมา
จารึกว่า จุลศักราช 943 หมื่นชลูนจ่าพร้อมด้วยภรรยาและบุตรได้สร้างพระพุทธรูป
... จ.ศ. เริ่มใช้ในพม่าหลัง พ.ศ. 1181 = 943+1181 คือ พ.ศ. 2124 ...
ตรงกับ สมัยของมังนรธาช่อ พระโอรสของบุเรงนองที่ส่งมาปกครองเชียงใหม่
โบสถ์
ยกเก็จผนังแบบล้านนา
เหนือหน้าต่างเป็นเทพพนม
คันทวยสลักรูปดอกพุดตาน
วิหาร
ซุ้มเทวดาหน้าวิหาร
เป็นซุ้มขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน
ก่อนขึ้นวิหาร จะจุดธูปเทียนปักดอกไม้บอกกล่าวเทวดาที่รักษาวิหารนี้
พร้อมแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้เทวดาด้วย
บันไดสิงห์
เป็นวิหารล้านนาคือยกเก็ดผนัง แบบปิด
ประตูข้างสำหรับพระสงฆ์
วิหารเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2024 สมัยพระเจ้าติโลก
ต่อมาถูกไฟไหม้ วิหารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่
หน้าบัน รูปคัมภีร์วางอยู่บนพานแว่นฟ้าสองชั้น ประดับพรรณพฤกษา
ถัดมาเป็นเกียรติมุขคายเถาพรรณพฤกษา
เหนือคิ้วโก่งเป็นลายพรรณพฤกษา
เสาบัวเป็นเสาแปดเหลี่ยม
เสาข้างกรอบประตูมีบัวคว่ำ บัวหงาย
เหนือกรอบประตูเป็นลวดลายเป็นรูปปั้นแบบจีน ปูนตำสูตรล้านนา เป็นฝีมือช่างหลวงยุคต้นล้านช้าง
ปูนตำ คือการนำเอาส่วนผสมซึ่งมี 4 องค์ประกอบคือ
ปูนขาว ... ทำให้เหลวแล้วแข็งคงรูปได้
ทราย ... เพิ่มความแข็งแรง ให้มีอนุภาดหลาย ๆ ขนาด
น้ำกาวจากหนังสัตว์ ... ยึดส่วนผสมต่าง ๆ ให้ติดกันในระยะแรกที่ปูนยังไม่แข็งตัวให้คงรูปอยู่ได้
น้ำยางจากเปลือกไม้ ... มีเส้นใยเป็นโครงช่วยให้ปูนเกาะกัน เปรียบเหมือนเหล็กในคอนกรีตแหละ
มาผสมกันโดยการตำ
ซุ้มประตู
ประตูกลางเป็นรูปธรรมจักร
วงล้อแห่งพระธรรมที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อเกิดปฐมเทศนา ไปยังดินแดนต่าง ๆ
ในซุ้มแก้วลายพรรณพฤกษา ปลายทั้งสองเป็นรูปนกยูง
เหนือซุ้มมีนกยูงเกาะ
ถัดขี้นไปเป็นซุ้มมกรคายนาคสามเศียร หางพันกัน เป็นยอดพระสุเมรุ
มีสี่ทวีป ... สี่ทิศ
มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ แสดงขอบจักรวาล
ประตูข้าง
ลวดลายบานประตู หน้าต่าง
โครงหลังคาเป็นม้าต่างไหม
เสาภายในวิหารจะกลม หมายถึงได้ขัดเกลาจิตใจแล้ว
เหนือพระประธานเป็นลายดอกพุดตาน
แหนบปีกนกข้างพระประทานเขียนด้วยลายคำ
พระประธาน
ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่ง
จึงเรียกหลวงพ่อว่า พระเพชรสิงห์หนึ่ง
พุทธลักษณะคือ
พระรัศมีดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว มีพระอุษณีษะ พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยใหญ่
พระพักตร์กลมอมยิ้ม คางเป็นปม
ลำตัวอวบอูม พระอุระนูน
ชายสังฆาฏิเหนือตัดสั้น ปลายแตกเป็นปากตะขาบ (ถูกห่มผ้าปิด)
ชายจีวรใกล้ข้อพระบาทสองเส้น
ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปรากฏพระบาททั้งสองข้าง
เหมือนพระเชียงแสนสิงห์ 1 ที่วัดพระเจ้าเม็งราย ที่มีจารึกว่าสร้างในสมัยพระเจ้าติโลก พ.ศ. 2012
และจากที่ว่าพระเชียงแสนสิงห์ 1 ที่เก่ากว่าสมัยพระเจ้าติโลก
ฐานจะเป็นหน้ากระดาน หรือถ้าเป็นฐานบัวจะไม่เป็นชิ้นเดียวกัน
จึงคิดเอาเองว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช
จนราว พ.ศ. 2326 พระเจ้ากาวิละได้ให้บูรณะวัดต่างๆ ขึ้นมาใหม่
พระพุทธรูปด้านขวา เป็นพระพุทธศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่งเช่นกัน
สององค์นี้ต่างออกไปคือ
ขัดสมาธิราบ
อีกองค์มีเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี ชายจีวรอยู่ใต้เข่า
อีกสององค์เบื้องซ้าย อืทธิพลสุโขทัยชัดเจนคือ
นิ้วมือยาวเสมอกัน
เกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี
องค์ในภาพซ้าย คิ้วต่อกันเป็นปีกกา อิทธิพลทวารวดี > อู่ทอง?
เฟื้องเป็นรูปฉัตร
หอระฆัง
ใต้หอระฆังเป็นดินจี่ ภาษาเหนือแปลว่าอิฐ
เป็นแบบของจีนฮ่อ จากมณฑลยูนานของจีน
ยาว 60 หนา 28 เซนต์ ขุดพบเป็นฐานกุฎิเจ้าอาวาสหลังเก่า เมื่อคราวสร้างกุฎิเจ้าอาวาสหลังใหม่
เจดีย์
ฐานเขียงอยู่บนเป็นฐานเดียวกันกับวิหาร
ฐานบัวย่อมุม 28
บัวลูกแก้วทรงหกเหลี่ยม
รับองค์ระฆัง 6 เหลี่ยม
บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด
ลูกแก้ว ปกฉัตร
พบเจดีย์แบบนี้อีกสองที่คือ วัดลี อ.เมืองพะเยา
วัดลีสร้างเมื่อ เมื่อพ.ศ.2038 ตรงกับสมัยของ พระเจ้ายอดเชียงราย
และ
วัดพระธาตุเบ็งสกัด อ.ปัว น่าน สร้างโดยพญาภูคาในปี พ.ศ. 1826
ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์
หอไตรแบบหอสูง
มีทางเดินรอบหอ
จิตรกรรมฝาผนังลายคำ บนหอไตร
และย้ำอีกครั้งนะคะว่าว่า ... ที่สรุปว่าเป็นวัดในสมัยพระเจ้าติโลก เป็นการสรุปเอง ไม่มีบันทึกใดรับรอง มิอาจใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้ค่ะ
สารบัญ ที่นี่ค่ะ
https://ppantip.com/topic/36574038
วัดที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช ... วัดป้านปิง
ป้าน แปลว่าขวาง ปิง คือน้ำปิง
อาจหมายถึงป้องกันภัยที่จะข้ามแม่น้ำปิงมา
อาจเป็นเพราะสมัยพระเจ้าติโลก มีสงครามหลายครั้ง
ตั้งในกำแพงเมืองเชียงใหม่ บนถนนราชภาคินัย ... ขอบคุณกูเกิลแมปค่ะ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีโบสถ์ตั้งอยู่
หน้าบันเป็นลวดลายพรรณพฤกษา อยู่เหนือซุ้มช้าง ... ปีกุญชร
บันไดมกรคายนาค
ในบริเวณวัด พบจารึกเก่าที่จารึกไม่เสร็จ คล้ายเสมาจึงนำมาไว้ที่ข้างโบสถ์
เป็นหินทรายสีเทา รูปเสมา
จารึกว่า จุลศักราช 943 หมื่นชลูนจ่าพร้อมด้วยภรรยาและบุตรได้สร้างพระพุทธรูป
... จ.ศ. เริ่มใช้ในพม่าหลัง พ.ศ. 1181 = 943+1181 คือ พ.ศ. 2124 ...
ตรงกับ สมัยของมังนรธาช่อ พระโอรสของบุเรงนองที่ส่งมาปกครองเชียงใหม่
โบสถ์
ยกเก็จผนังแบบล้านนา
เหนือหน้าต่างเป็นเทพพนม
คันทวยสลักรูปดอกพุดตาน
วิหาร
ซุ้มเทวดาหน้าวิหาร
เป็นซุ้มขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูน
ก่อนขึ้นวิหาร จะจุดธูปเทียนปักดอกไม้บอกกล่าวเทวดาที่รักษาวิหารนี้
พร้อมแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้เทวดาด้วย
บันไดสิงห์
เป็นวิหารล้านนาคือยกเก็ดผนัง แบบปิด
ประตูข้างสำหรับพระสงฆ์
วิหารเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. 2024 สมัยพระเจ้าติโลก
ต่อมาถูกไฟไหม้ วิหารนี้ได้สร้างขึ้นมาใหม่
หน้าบัน รูปคัมภีร์วางอยู่บนพานแว่นฟ้าสองชั้น ประดับพรรณพฤกษา
ถัดมาเป็นเกียรติมุขคายเถาพรรณพฤกษา
เหนือคิ้วโก่งเป็นลายพรรณพฤกษา
เสาบัวเป็นเสาแปดเหลี่ยม
เสาข้างกรอบประตูมีบัวคว่ำ บัวหงาย
เหนือกรอบประตูเป็นลวดลายเป็นรูปปั้นแบบจีน ปูนตำสูตรล้านนา เป็นฝีมือช่างหลวงยุคต้นล้านช้าง
ปูนตำ คือการนำเอาส่วนผสมซึ่งมี 4 องค์ประกอบคือ
ปูนขาว ... ทำให้เหลวแล้วแข็งคงรูปได้
ทราย ... เพิ่มความแข็งแรง ให้มีอนุภาดหลาย ๆ ขนาด
น้ำกาวจากหนังสัตว์ ... ยึดส่วนผสมต่าง ๆ ให้ติดกันในระยะแรกที่ปูนยังไม่แข็งตัวให้คงรูปอยู่ได้
น้ำยางจากเปลือกไม้ ... มีเส้นใยเป็นโครงช่วยให้ปูนเกาะกัน เปรียบเหมือนเหล็กในคอนกรีตแหละ
มาผสมกันโดยการตำ
ซุ้มประตู
ประตูกลางเป็นรูปธรรมจักร
วงล้อแห่งพระธรรมที่มีจุดเริ่มต้นเมื่อเกิดปฐมเทศนา ไปยังดินแดนต่าง ๆ
ในซุ้มแก้วลายพรรณพฤกษา ปลายทั้งสองเป็นรูปนกยูง
เหนือซุ้มมีนกยูงเกาะ
ถัดขี้นไปเป็นซุ้มมกรคายนาคสามเศียร หางพันกัน เป็นยอดพระสุเมรุ
มีสี่ทวีป ... สี่ทิศ
มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ แสดงขอบจักรวาล
ประตูข้าง
ลวดลายบานประตู หน้าต่าง
โครงหลังคาเป็นม้าต่างไหม
เสาภายในวิหารจะกลม หมายถึงได้ขัดเกลาจิตใจแล้ว
เหนือพระประธานเป็นลายดอกพุดตาน
แหนบปีกนกข้างพระประทานเขียนด้วยลายคำ
พระประธาน
ปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่ง
จึงเรียกหลวงพ่อว่า พระเพชรสิงห์หนึ่ง
พุทธลักษณะคือ
พระรัศมีดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว มีพระอุษณีษะ พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยใหญ่
พระพักตร์กลมอมยิ้ม คางเป็นปม
ลำตัวอวบอูม พระอุระนูน
ชายสังฆาฏิเหนือตัดสั้น ปลายแตกเป็นปากตะขาบ (ถูกห่มผ้าปิด)
ชายจีวรใกล้ข้อพระบาทสองเส้น
ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปรากฏพระบาททั้งสองข้าง
เหมือนพระเชียงแสนสิงห์ 1 ที่วัดพระเจ้าเม็งราย ที่มีจารึกว่าสร้างในสมัยพระเจ้าติโลก พ.ศ. 2012
และจากที่ว่าพระเชียงแสนสิงห์ 1 ที่เก่ากว่าสมัยพระเจ้าติโลก
ฐานจะเป็นหน้ากระดาน หรือถ้าเป็นฐานบัวจะไม่เป็นชิ้นเดียวกัน
จึงคิดเอาเองว่าวัดนี้น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช
จนราว พ.ศ. 2326 พระเจ้ากาวิละได้ให้บูรณะวัดต่างๆ ขึ้นมาใหม่
พระพุทธรูปด้านขวา เป็นพระพุทธศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่งเช่นกัน
สององค์นี้ต่างออกไปคือ
ขัดสมาธิราบ
อีกองค์มีเกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี ชายจีวรอยู่ใต้เข่า
อีกสององค์เบื้องซ้าย อืทธิพลสุโขทัยชัดเจนคือ
นิ้วมือยาวเสมอกัน
เกตุมาลาเป็นเปลวรัศมี
องค์ในภาพซ้าย คิ้วต่อกันเป็นปีกกา อิทธิพลทวารวดี > อู่ทอง?
เฟื้องเป็นรูปฉัตร
หอระฆัง
ใต้หอระฆังเป็นดินจี่ ภาษาเหนือแปลว่าอิฐ
เป็นแบบของจีนฮ่อ จากมณฑลยูนานของจีน
ยาว 60 หนา 28 เซนต์ ขุดพบเป็นฐานกุฎิเจ้าอาวาสหลังเก่า เมื่อคราวสร้างกุฎิเจ้าอาวาสหลังใหม่
เจดีย์
ฐานเขียงอยู่บนเป็นฐานเดียวกันกับวิหาร
ฐานบัวย่อมุม 28
บัวลูกแก้วทรงหกเหลี่ยม
รับองค์ระฆัง 6 เหลี่ยม
บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด
ลูกแก้ว ปกฉัตร
พบเจดีย์แบบนี้อีกสองที่คือ วัดลี อ.เมืองพะเยา
วัดลีสร้างเมื่อ เมื่อพ.ศ.2038 ตรงกับสมัยของ พระเจ้ายอดเชียงราย
และ
วัดพระธาตุเบ็งสกัด อ.ปัว น่าน สร้างโดยพญาภูคาในปี พ.ศ. 1826
ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์
หอไตรแบบหอสูง
มีทางเดินรอบหอ
จิตรกรรมฝาผนังลายคำ บนหอไตร
และย้ำอีกครั้งนะคะว่าว่า ... ที่สรุปว่าเป็นวัดในสมัยพระเจ้าติโลก เป็นการสรุปเอง ไม่มีบันทึกใดรับรอง มิอาจใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้ค่ะ
สารบัญ ที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038