ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ นามว่า วัดเชียงยืน
ตำนานพงศาวดารโยนก นามว่า วัดฑีฆชีวะวัสสาราม
ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ นามว่า วัดฑีฆายวิสาราม หรือฑีฆาชีวิตสาราม
ฑีฆ แปลว่า ยาว, ชีวะ แปลว่า ชีพ, วัสสา มาจาก พรรษา แปลว่า ปี หมายถึง มีอายุยืนยาว
พญามังรายสร้างวัดเชียงมั่นเป็นวัดแรก
เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ ความหมายว่ามั่นคง อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่
และ
สร้างวัดเชียงยืน หมายถึงยั่งยืน อยู่นอกกำแพงเมือง
ในแนวคิดและความเชื่อของคนโบราณนั้นว่า
เมืองนั้นก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคน
การสร้างเมืองขึ้นมาก็เหมือนกับการให้ชีวิตเมืองต้องมีส่วนต่างๆ เหมือนคน
ดวงเมือง ก็เหมือนดวงคน
ทิศอุดรถือว่าสำคัญที่สุด เปรียบดังเป็นส่วนหัว
ประตูเมืองด้านนี้จึงเรียกว่า ประตูหัวเวียง หรือ ปัจจุบันเรียกประตูช้างเผือก
กษัตริย์ล้านนาในอดีตจะมาทำการสักการบูชา ก่อนเข้าเมือง ก่อนทำพิธีราชาภิเษก ก่อนและหลังออกศึกสงคราม
เพื่อให้เกิดสิริมงคล
ตำนานเล่าว่า
เมื่อพญาอุปปโย หรือพระไชยเชษฐาธิราชเมื่อเดินทางมาครองเมืองเชียงใหม่
ก็ได้ถอดเครื่องประดับทั้งหมด นุ่งขาวห่มขาวก่อนเข้าวัดเชียงยืน
เพื่อสักการะพระสัพพัญญู ด้วยขันข้าวตอกดอกไม้ เทียนเงิน เทียนคำ
ก่อนเข้าเมืองทางประตูหัวเวียง
เมื่อเจ้ากาวิละ ฟื้นม่านได้สำเร็จ (ม่าน ... พม่า)
ท่านก็ได้เข้าบูชาพระวัดเชียงยืนแล้วก็เข้าประตูทางด้านเหนือ คือประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก
โดยให้ลัวะจูงหมาเข้ามาก่อน
... เป็นความเฃื่อของคนลัวะ ชนพื้นเมืองเดิมเชียงใหม่ ว่า หากสงบเรียบร้อยหมาจะไม่เห่า ถือว่าฤกษ์ดี...
วิหารวัดเชียงยืน
บันไดมกรคายนาค
เห็นเกล็ดแบบนี้แล้วคิดถึงเกล็ดบันไดนาคทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพทันที
หน้าบันหรือหน้าแหนบ
โครงกรอบไม้ตกแต่งลายคำเป็นรูป ลายพรรณพฤกษาและดอกไม้
ภายในกรอบเป็นแผ่นไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาประดับกระจกสี
ที่สำคัญคือลายดอกไม้แปดกลีบ ร่องรอยที่หลวงโยนะการพิจิตรทิ้งไว้ในวัดที่ท่านได้ทำการบูรณะ
ท่านเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในภาคเหนือของไทย มีชื่อเดิมว่าปันโหย่ ในภาษาพม่า แปลว่าดอกไม้
เช่นเดียวกับลวดลายที่หน้าแหนบปีกนก
ที่น่าแปลกของวิหารนี้คือ
เสาด้านหน้าวิหารเป็นเสากลม ... หมายถึงขัดเกลาแล้ว ...
เหนือประตู
เป็นไม้แกะสลัก เดิมน่าจะลงรักษ์ปิดทอง ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าทาสีทองหรือเปล่า
เหนือขึ้นไปเป็นลายหม้อดอก ในซุ้มนาคเบือนสองตัวที่หางเกี่ยวกระหวัดกันด้านบน
แต่เสาในวิหารเป็นเสาเหลี่ยม ... หมายถึงยังไม่ได้ขัดเกลา ...
กลับกันกับวัดที่เคยเห็นมา
สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียนบูชาทั้ง 7
หมายถึงทิวเขาทั้ง 7 ที่เรียงรายลดหลั่นล้อมรอบเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
ลวดลายเทพพนมในซุ้มนาค
ประดิษฐาน หลวงพ่อสัพพัญญู
แปลว่าผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
พระเกษาขมวดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่
เปลวพระเกษา อิทธิพลสุโขทัย? ... ละไว้ก่อนยังไม่ได้ศึกษาเรื่องพระพุทธปฏิมาค่ะ
พระธาตุเจดีย์
จากจารึกตำนานชินกาลบาลีปกรณ์ โดยพระรัตนปัญญาเถระว่า
จ.ศ.881 หรือ พ.ศ.2062
พระเมืองแก้วและพระมหาเทวีพระมารดา
ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดฑีฆาชีวิตสาราม
พระราชาและพระราชมารดาได้โปรดให้จัดงานยกฉัตรเมื่อ จ.ศ.882
จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์นี้สร้างในสมัยพญาแก้ว
เป็นเจดีย์ที่ผสมผสานล้านนากับพม่า
ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม
เรือนธาตุยืดสูงเหมือนทรงปราสาท มีมุขแต่ไม่มีซุ้มจระนำ
ฐานบัวลูกแก้วทรงแปดเหลี่ยม ... สังเกตลายดอกแปดกลีบ ... รับองค์ระฆังกลม
ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด ลูกแก้ว ฉัตร
มุมฐานเจดีย์ประดับด้วยรูปปั้นสิงห์
เทวดาปูนปั้น
ตุงกระด้าง
เป็นพุทธบูชา ถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร
ปีล่างสุด คือปีกุญล้านนาคือช้าง ... กุญชร
วิหารพระเจ้าทันใจ
และนอกกำแพงวัด ในรั้วโรงเรียนวัดเชียงยืน ด้านติดถนนสนามกีฬา เป็นโบสถ์ทรงแปดเหลี่ยม
ซุ้มประตู
เป็นซุ้มประตู 4 ชั้น
กลางซุ้มเป็นเทวดาร่ายรำ ขาซ้ายกระดกขึ้น มือเหมือนกำอะไรบางอย่าง
ลายพรรณพฤกษา เทวดา และดอกไม้แปดกลีบ
โบสถ์ทรงแปดเหลี่ยม หลังคา 3 ชั้น
เหนือประดับปูนปั้นประตูลายพรรณพฤกษา
เหนือกรอบหน้าล่างประดับปูนปั้นรูปนกยูง
อันว่าโบสถ์ทางเหนือมีขนาดเล็ก และจะห้ามผู้หญิงเข้า
ใช้เป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์เท่านั้น จะขึด ... กาลกิณี ... ถ้าผู้หญิงเข้าไป
จากคำแนะนำจากท่านสมาชิกหมายเลข 1903295
ขอบคุณค่ะ
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ
https://ppantip.com/topic/36574038
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดเชียงยืน อ.เมือง เชียงใหม่
ตำนานพงศาวดารโยนก นามว่า วัดฑีฆชีวะวัสสาราม
ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ นามว่า วัดฑีฆายวิสาราม หรือฑีฆาชีวิตสาราม
ฑีฆ แปลว่า ยาว, ชีวะ แปลว่า ชีพ, วัสสา มาจาก พรรษา แปลว่า ปี หมายถึง มีอายุยืนยาว
พญามังรายสร้างวัดเชียงมั่นเป็นวัดแรก
เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ ความหมายว่ามั่นคง อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่
และ
สร้างวัดเชียงยืน หมายถึงยั่งยืน อยู่นอกกำแพงเมือง
ในแนวคิดและความเชื่อของคนโบราณนั้นว่า
เมืองนั้นก็มีชีวิตเช่นเดียวกับคน
การสร้างเมืองขึ้นมาก็เหมือนกับการให้ชีวิตเมืองต้องมีส่วนต่างๆ เหมือนคน
ดวงเมือง ก็เหมือนดวงคน
ทิศอุดรถือว่าสำคัญที่สุด เปรียบดังเป็นส่วนหัว
ประตูเมืองด้านนี้จึงเรียกว่า ประตูหัวเวียง หรือ ปัจจุบันเรียกประตูช้างเผือก
กษัตริย์ล้านนาในอดีตจะมาทำการสักการบูชา ก่อนเข้าเมือง ก่อนทำพิธีราชาภิเษก ก่อนและหลังออกศึกสงคราม
เพื่อให้เกิดสิริมงคล
ตำนานเล่าว่า
เมื่อพญาอุปปโย หรือพระไชยเชษฐาธิราชเมื่อเดินทางมาครองเมืองเชียงใหม่
ก็ได้ถอดเครื่องประดับทั้งหมด นุ่งขาวห่มขาวก่อนเข้าวัดเชียงยืน
เพื่อสักการะพระสัพพัญญู ด้วยขันข้าวตอกดอกไม้ เทียนเงิน เทียนคำ
ก่อนเข้าเมืองทางประตูหัวเวียง
เมื่อเจ้ากาวิละ ฟื้นม่านได้สำเร็จ (ม่าน ... พม่า)
ท่านก็ได้เข้าบูชาพระวัดเชียงยืนแล้วก็เข้าประตูทางด้านเหนือ คือประตูหัวเวียง หรือ ประตูช้างเผือก
โดยให้ลัวะจูงหมาเข้ามาก่อน
... เป็นความเฃื่อของคนลัวะ ชนพื้นเมืองเดิมเชียงใหม่ ว่า หากสงบเรียบร้อยหมาจะไม่เห่า ถือว่าฤกษ์ดี...
วิหารวัดเชียงยืน
บันไดมกรคายนาค
เห็นเกล็ดแบบนี้แล้วคิดถึงเกล็ดบันไดนาคทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพทันที
หน้าบันหรือหน้าแหนบ
โครงกรอบไม้ตกแต่งลายคำเป็นรูป ลายพรรณพฤกษาและดอกไม้
ภายในกรอบเป็นแผ่นไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษาประดับกระจกสี
ที่สำคัญคือลายดอกไม้แปดกลีบ ร่องรอยที่หลวงโยนะการพิจิตรทิ้งไว้ในวัดที่ท่านได้ทำการบูรณะ
ท่านเป็นชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในภาคเหนือของไทย มีชื่อเดิมว่าปันโหย่ ในภาษาพม่า แปลว่าดอกไม้
เช่นเดียวกับลวดลายที่หน้าแหนบปีกนก
ที่น่าแปลกของวิหารนี้คือ
เสาด้านหน้าวิหารเป็นเสากลม ... หมายถึงขัดเกลาแล้ว ...
เหนือประตู
เป็นไม้แกะสลัก เดิมน่าจะลงรักษ์ปิดทอง ปัจจุบันไม่แน่ใจว่าทาสีทองหรือเปล่า
เหนือขึ้นไปเป็นลายหม้อดอก ในซุ้มนาคเบือนสองตัวที่หางเกี่ยวกระหวัดกันด้านบน
แต่เสาในวิหารเป็นเสาเหลี่ยม ... หมายถึงยังไม่ได้ขัดเกลา ...
กลับกันกับวัดที่เคยเห็นมา
สัตตภัณฑ์ หรือเชิงเทียนบูชาทั้ง 7
หมายถึงทิวเขาทั้ง 7 ที่เรียงรายลดหลั่นล้อมรอบเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
ลวดลายเทพพนมในซุ้มนาค
ประดิษฐาน หลวงพ่อสัพพัญญู
แปลว่าผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
พระเกษาขมวดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่
เปลวพระเกษา อิทธิพลสุโขทัย? ... ละไว้ก่อนยังไม่ได้ศึกษาเรื่องพระพุทธปฏิมาค่ะ
พระธาตุเจดีย์
จากจารึกตำนานชินกาลบาลีปกรณ์ โดยพระรัตนปัญญาเถระว่า
จ.ศ.881 หรือ พ.ศ.2062
พระเมืองแก้วและพระมหาเทวีพระมารดา
ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดฑีฆาชีวิตสาราม
พระราชาและพระราชมารดาได้โปรดให้จัดงานยกฉัตรเมื่อ จ.ศ.882
จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์นี้สร้างในสมัยพญาแก้ว
เป็นเจดีย์ที่ผสมผสานล้านนากับพม่า
ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม
เรือนธาตุยืดสูงเหมือนทรงปราสาท มีมุขแต่ไม่มีซุ้มจระนำ
ฐานบัวลูกแก้วทรงแปดเหลี่ยม ... สังเกตลายดอกแปดกลีบ ... รับองค์ระฆังกลม
ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด ลูกแก้ว ฉัตร
มุมฐานเจดีย์ประดับด้วยรูปปั้นสิงห์
เทวดาปูนปั้น
ตุงกระด้าง
เป็นพุทธบูชา ถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร
ปีล่างสุด คือปีกุญล้านนาคือช้าง ... กุญชร
วิหารพระเจ้าทันใจ
และนอกกำแพงวัด ในรั้วโรงเรียนวัดเชียงยืน ด้านติดถนนสนามกีฬา เป็นโบสถ์ทรงแปดเหลี่ยม
ซุ้มประตู
เป็นซุ้มประตู 4 ชั้น
กลางซุ้มเป็นเทวดาร่ายรำ ขาซ้ายกระดกขึ้น มือเหมือนกำอะไรบางอย่าง
ลายพรรณพฤกษา เทวดา และดอกไม้แปดกลีบ
โบสถ์ทรงแปดเหลี่ยม หลังคา 3 ชั้น
เหนือประดับปูนปั้นประตูลายพรรณพฤกษา
เหนือกรอบหน้าล่างประดับปูนปั้นรูปนกยูง
อันว่าโบสถ์ทางเหนือมีขนาดเล็ก และจะห้ามผู้หญิงเข้า
ใช้เป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์เท่านั้น จะขึด ... กาลกิณี ... ถ้าผู้หญิงเข้าไป
จากคำแนะนำจากท่านสมาชิกหมายเลข 1903295
ขอบคุณค่ะ
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038