วัดบวกค้าง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

วัดบวกค้าง เดิมชื่อ วัดบวกค่าง
บวกแปลว่าหนองน้ำ , ปลัก  ; บวกค่าง - ปลักที่มีค่าง ... เล่าว่าค่างมาขุดบวกนี้ขึ้น
มีวิหารหลังคาแฝด ... unseen

เจดีย์
หลังวิหารตรงกับกู่ดำ ด้านในวิหาร
เป็นเจดีย์ระฆังกลม ตั้งบนฐานบัวถลาแปดเหลี่ยม 3 ชั้น ฐานปัทม์ยกเก็ดมีลวดรัดสองเส้น ฐานเขียงสี่เหลี่ยม
เหนือระฆังเป็นปล้องไฉน ปัทมบาท ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ประดับกระจกสีเป็นลวดลายดอกไม้
มีกำแพงแก้วซุ้มประตู ซุ้มพระเจ้า ประดับสิงห์ และคชสีห์
อุโบสถ
หอไตร
แบบหอสูง ครึ่งตึกครึ่งไม้
หลังคาปีกนก 3 ซด 2 ตับ ชั้นล่างทึบ
ไม้สลักรูปเทวดา ค่างเจ้าถิ่น ประดับกระจกสี
นาคตัน หรือคันทวยล้านนาเป็นรูปค่างเจ้าถิ่นเช่นกัน
วิหาร
เป็นวิหารแฝด
บานประตูไม้ทิศเหนือ
สลักรูปพระพุทธประทับใต้ต้นไม้ มีบาตรวางอยู่ข้าง ๆ  พระองค์คงเสด็จผ่านมา
มีค่างมาขุดบวกหาน้ำ
ทิศใต้สลักรูปป่า มีสัตว์ต่าง ๆ เช่นกวาง หมี ลิง หงส์ นก
เดิมบริเวณนี้มีกู่ดำ ร้าง (สีดำเป็นสีของรักที่ลงไว้) แสดงว่ากู่นี้ในอดีตน่าจะปิดทอง
บ้างว่าสร้างในสมัยพญากือนา แต่ไม่มีจารึกบอกไว้
แต่ศิลปะลายปูนปั้นของมณฑปกำหนดเวลาว่าอยู่ในช่วงจากสมัยพญาม้งรายจนถึงมาจน ถึงพญาเมกุ กษัตริย์ล้านนาเชื้อสายพญามังรายองค์สุดท้าย
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-21
เป็นกู่พระเจ้า หรือมณฑปปราสาทพระเจ้า สร้างขึ้นประดิษฐานพระพุทธรูปพระประธานของวิหาร
สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปยืน

หลังขับไล่พม่า เจ้ากาวิละ ได้กวาดต้อนผู้คนดังที่เรียกกันว่า เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง
โปรดให้ เจ้ากระหม่อมสุริยวงศาเจ้าเมืองยององค์ที่ 34 มาตั้งถิ่นฐานที่บวกค้าง
ได้อาราธนาครูบาเจ้าญาณสิริ จากวัดบ้านแซมหลวง เมืองยอง มาเป็นเจ้าอาวาส
ได้สร้างวัดขึ้นใหม่เป็นวิหารหลังคาแฝด

หลังคาทางทิศเหนือด้านขวาของรูป ครอบกู่ดำโดยให้ผนังวิหารยึดกู่ทางทิศตะวันตกไว้ มีซุ้มโผล่มาทางด้านหลังวิหาร
บานทางตะวันออกเปิดเพื่อให้สรงน้ำเพราะมีช่องระบายน้ำออกทางด้านหลัง
ราว ช่วง พ.ศ. 2431-2468 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1ชาวบ้านกลัวภัยสงครามและโจรผู้ร้ายจึงได้ปิดกู่ดำ

หลังคาด้านทิศใต้ด้านซ้ายของรูป ประดิษฐานพระนอนหล้าที่ได้สร้างขึ้นใหม่ - คำว่าหล้า กำเมืองลูกหล้า คือลูกคนสุดท้อง
พระนอนหล้า น่าจะเป็นพระประธานองค์สุดท้อง

หลังจากปิดกู่ดำ ได้ก่อฐานพระพุทธรูปซ้ายขวาของกู่ดำให้เสมอกับแท่นแก้วพระนอนหล้า
ประดิษฐานพระพุทธรูปดินดิบ ที่ปั้นจากดินเหนียว พระเศียรบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ทาสีขาวเรียกพระเจ้าขาว ไว้บนฐานทั้งสองด้าน
ต่อมาหลังคารั่วพระเจ้าขาวทางทิศเหนือของกู่ถูกฝนชำรุดเสียหาย
จึงบูรณะวิหารและสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นมาแทนพระเจ้าขาวทางทิศเหนือ
ด้านหน้ามีสัตภัณฑ์โบราณทั้งเล็กและใหญ่
องค์ทางทิศใต้ของกู่ดำยังเป็นพระเจ้าดินดิบองค์เดิมอยู่
การปั้นพระพุทธรูปด้วยดินเหนียว เป็นความเชื่อตามธรรมชาดกล้านนาเรื่อง อะลองพระเจ้าดินเหนียว
เป็นเรื่องราวของพระโพธสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็นชายหนุ่มยากจน ได้ชักชวนภรรยาและแม่บุญธรรมปั้นพระพุทธรูปด้วยดินเหนียว
โดยมีพระอินทร์และชายามาช่วย
ซึ่งอานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูปดินเหนียวครั้งนั้น ทำให้ได้ปกครองเมือง เสวยสุขสมบัติในชั้นฟ้า
และได้กลับมาลงอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
ธรรมมาสทรงปราสาทล้านนา
หีบธรรม
และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ - เครื่องบวชพระเจ้า
ได้พามาเที่ยววิหารแฝดวัดบวกค้างเมื่อ 21/5/2566
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่