วัดธาตุขาว
..........ธาตุขาว เป็นชื่อเรียกตามคนท้องถิ่น หมายถึงเจดีย์สีขาว
ซึ่งคงจะมาจากสีขาวของปูนฉาบเมื่อครั้งที่เจดีย์ยังคงสภาพดีอยู่
กรมศิลปากรเข้าดำเนินงานขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.2528 พบวิหารอยู่ด้านหน้าของเจดีย์
ถัดไปทางด้านหลังของเจดีย์เป็นแท่นบูชา วัดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางด้านทิศใต้ของวิหารพบซากฐานอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ
ด้านหลังของอุโบสถพบชิ้นส่วนขององค์พระพุทธรูปสร้างจากอิฐหุ้มด้วยปูนขาว
สำหรับพระพุทธรูปองค์ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่โดยศรัทธาชาวบ้าน
โดยมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปองค์เดิมประกอบอยู่ด้วย
นอกจากนี้ยังพบจารึกอักษรฝักขาม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21
และพระพิมพ์แบบหริภุญไชยอายุราวศตวรรษที่ 18 ตอนปลาย ซึ่งน่าจะนำเข้ามาในระยะหลัง
..........โบราณสถานแห่งนี้บูรณะแล้วในปี พ.ศ.2529
จากการสำรวจโดยรอบบริเวณพบร่องรอยของกำแพงแก้วอยู่ด้านหลังขององค์เจดีย์
ดังนั้นวัดนี้จึงมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ อีกและน่าจะเป็นวัดอีกแห่งหนึ่งในเวียงกุมกามที่มีขนาดใหญ่มาก
แต่ยังไม่สามารถขุดแต่งขยายเพิ่มเติมออกไปได้อีกเนื่องจากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
..........พิจารณาจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
Wat Thatkhao
..........The locals, referring to the white Chedi, which must have earlier been coated with lime, have given the name "Thatkhao" to this temple. The Department of Fine Arts started the excavation in A.D. 1985 and found a Vihara in front of the Chedi. Behind the Chedi was a worship altar. The temple faced northeast. To the south of the Vihara ruins of a building were found, speculated to have been the rite pavilion. Behind the rite pavilion, parts of a Buddha image were found. This Buddha image would have been made of brick and coated with lime. The present main Buddha image of the temple had been contributed by the locals, it does not contain any of the parts from the old one. Found also were Fak Kham alphabet tablet dated in the 16th centuries A.D., and Hariphunchai-style Buddha amulets dated in the 15th centuries A.D., the latter must have been brought here at a later date.
..........The restoration was finished in A.D. 1986. A wall was found behind the Chedi. This temple must have been another very big temple in Wiang Kum Kam, completed with other religious buildings. However, the excavation can not be continued due to conflicts on land ownership.
..........From its architecture, it could be speculated that this temple was built around the 16th-17th centuries A.D.
ที่ตั้ง
..........อยู่ทางทิศใต้วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ในเส้นทางผ่านทางเข้าวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำมาทางใต้ ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกาม สภาพปัจจุบันเป็นวัดร้าง และขึ้นบัญชีเป็นวัดร้างของกรมการศาสนา สภาพแวดล้อมทั่วไปแวดล้อมด้วยสวนลำไยของเอกชน มีถนนบุญรักษ์สายใหม่ตัดผ่านด้านหน้าวัด วัดที่ตั้งอยู่เขตใกล้เคียงคือวัดพญามังราย (ร้าง) - พระเจ้าองค์ดำ (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และวัดปู่เบี้ย (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์ประธาน วัดธาตุขาว The main Chedi of Wat Tadkhaw
ประวัติความสำคัญ
..........จากหลักฐานด้านเอกสาร ไม่ปรากฏการกล่าวอ้างอิงถึงประวัติของวัดนี้ว่าก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เข้าใจว่าสภาพความเป็นวัดคงเกิดขึ้นแล้วในสมัยเวียงกุมกาม และดำรงอยู่ร่วมสมัยล้านนาเรื่อยมา ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาว ก็เนื่องมาจากแต่เดิมเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาว (ธาตุ หรือ กู่ เป็นคำเรียกขานในท้องถิ่นล้านนา หมายถึง เจดีย์) ลักษณะพิเศษทางด้านการก่อสร้าง พบการทำ (ฐาน) มณฑป หรือแท่นแก้วชุกชี ที่สร้างอยู่ตรงกลางอาคารใกล้เคียงทางด้านใต้พระเจดีย์
พระพุทธรูปปูนปั้น (พระเศียรซ่อมใหม่) วัดธาตุขาว
ผังรูปแบบการก่อสร้างวัด และลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม
..........วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างที่ขุดแต่งพบในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ตั้งอยู่ตอนหลังพระวิหาร อาคารวิหารเล็ก และอุโบสถ ที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใกล้กับเจดีย์ประธานทางด้านใต้ เจดีย์ประธานสร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว จากรูปแบบสภาพปัจจุบันที่คงเหลือเฉพาะส่วนฐานเขียงเตี้ยตอนล่าง และชั้นปัทม์ย่อเก็จ 2 ฐานซ้อนกัน พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง วิหาร สภาพคงเหลือหลักฐานเพียงส่วนฐานก่ออิฐสอดินเช่นเดียวกัน ลักษณะเดิมเมื่อพิจารณาจากตำแหน่ง และร่องรอยโครงสร้างเสาแล้วเป็นวิหารที่มีหลังคาทรงหน้าจั่วเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และเนื่องจากการขุดแต่งไม่พบหลักฐานการก่อเรียงอิฐในส่วนผนัง ทำให้เข้าใจว่าเป็นวิหารแบบโถง องค์พระประธานพังทลายไม่เหลือหลักฐาน ที่คงเหลือร่องรอยเฉพาะแท่นฐานชุกชีวิหารเล็ก ด้านใต้มีแท่นฐานชุกชีหรือโขงพระเจ้าตั้งอยู่กลางห้อง อุโบสถ ปรากฏหลักฐานเพียงส่วนกรอบฐานก่ออิฐในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างยกพื้นเตี้ย โดยรอบพบก้อนหินธรรมชาติตั้งวางไว้แสดงขอบเขตพัทธสีมา
..........จากการขุดแต่งวัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2528 ได้พบองค์พระพุทธรูปปูนปั้น ที่แต่เดิมเคยตั้งประดิษฐานบนอาคารวิหารเล็ก แต่ได้ล้มตกลงหงายพระองค์ลงมาที่ขอบฐานด้านหลัง มีส่วนขององค์พระยังค่อนข้างสมบูรณ์แต่พระเศียรชำรุด ระยะต่อมาชาวบ้านได้หาช่างมาปั้นแต่งเสริมใหม่ให้มีลักษณะพื้นเมือง ดังเช่นในปัจจุบัน และในระยะเวลาใกล้เคียงกันได้มีผู้พบพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กรูปแบบศิลปะอินเดียที่มีร่องรอยเดือนแกนด้านหลังสำหรับติดกับวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย แบบมีวงโค้งประภามณฑล ด้านหลังมีจารึกรูปแบบอักษรอินเดีย ที่เป็นข้อความคาถาหัวใจพุทธศาสนา (เย ธมฺมา)
เชียงใหม่-นำชมโบราณสถานเวียงกุมกาม ราชธานีแรกเริ่มของล้านนา วัดธาตุขาว 1 ใน 21 วัดในเวียงกุมกาม
..........ธาตุขาว เป็นชื่อเรียกตามคนท้องถิ่น หมายถึงเจดีย์สีขาว
ซึ่งคงจะมาจากสีขาวของปูนฉาบเมื่อครั้งที่เจดีย์ยังคงสภาพดีอยู่
กรมศิลปากรเข้าดำเนินงานขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.2528 พบวิหารอยู่ด้านหน้าของเจดีย์
ถัดไปทางด้านหลังของเจดีย์เป็นแท่นบูชา วัดนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ทางด้านทิศใต้ของวิหารพบซากฐานอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ
ด้านหลังของอุโบสถพบชิ้นส่วนขององค์พระพุทธรูปสร้างจากอิฐหุ้มด้วยปูนขาว
สำหรับพระพุทธรูปองค์ปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่โดยศรัทธาชาวบ้าน
โดยมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปองค์เดิมประกอบอยู่ด้วย
นอกจากนี้ยังพบจารึกอักษรฝักขาม อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21
และพระพิมพ์แบบหริภุญไชยอายุราวศตวรรษที่ 18 ตอนปลาย ซึ่งน่าจะนำเข้ามาในระยะหลัง
..........โบราณสถานแห่งนี้บูรณะแล้วในปี พ.ศ.2529
จากการสำรวจโดยรอบบริเวณพบร่องรอยของกำแพงแก้วอยู่ด้านหลังขององค์เจดีย์
ดังนั้นวัดนี้จึงมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ อีกและน่าจะเป็นวัดอีกแห่งหนึ่งในเวียงกุมกามที่มีขนาดใหญ่มาก
แต่ยังไม่สามารถขุดแต่งขยายเพิ่มเติมออกไปได้อีกเนื่องจากปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
..........พิจารณาจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
Wat Thatkhao
..........The locals, referring to the white Chedi, which must have earlier been coated with lime, have given the name "Thatkhao" to this temple. The Department of Fine Arts started the excavation in A.D. 1985 and found a Vihara in front of the Chedi. Behind the Chedi was a worship altar. The temple faced northeast. To the south of the Vihara ruins of a building were found, speculated to have been the rite pavilion. Behind the rite pavilion, parts of a Buddha image were found. This Buddha image would have been made of brick and coated with lime. The present main Buddha image of the temple had been contributed by the locals, it does not contain any of the parts from the old one. Found also were Fak Kham alphabet tablet dated in the 16th centuries A.D., and Hariphunchai-style Buddha amulets dated in the 15th centuries A.D., the latter must have been brought here at a later date.
..........The restoration was finished in A.D. 1986. A wall was found behind the Chedi. This temple must have been another very big temple in Wiang Kum Kam, completed with other religious buildings. However, the excavation can not be continued due to conflicts on land ownership.
..........From its architecture, it could be speculated that this temple was built around the 16th-17th centuries A.D.
ที่ตั้ง
..........อยู่ทางทิศใต้วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ในเส้นทางผ่านทางเข้าวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำมาทางใต้ ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกาม สภาพปัจจุบันเป็นวัดร้าง และขึ้นบัญชีเป็นวัดร้างของกรมการศาสนา สภาพแวดล้อมทั่วไปแวดล้อมด้วยสวนลำไยของเอกชน มีถนนบุญรักษ์สายใหม่ตัดผ่านด้านหน้าวัด วัดที่ตั้งอยู่เขตใกล้เคียงคือวัดพญามังราย (ร้าง) - พระเจ้าองค์ดำ (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และวัดปู่เบี้ย (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์ประธาน วัดธาตุขาว The main Chedi of Wat Tadkhaw
ประวัติความสำคัญ
..........จากหลักฐานด้านเอกสาร ไม่ปรากฏการกล่าวอ้างอิงถึงประวัติของวัดนี้ว่าก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เข้าใจว่าสภาพความเป็นวัดคงเกิดขึ้นแล้วในสมัยเวียงกุมกาม และดำรงอยู่ร่วมสมัยล้านนาเรื่อยมา ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาว ก็เนื่องมาจากแต่เดิมเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาว (ธาตุ หรือ กู่ เป็นคำเรียกขานในท้องถิ่นล้านนา หมายถึง เจดีย์) ลักษณะพิเศษทางด้านการก่อสร้าง พบการทำ (ฐาน) มณฑป หรือแท่นแก้วชุกชี ที่สร้างอยู่ตรงกลางอาคารใกล้เคียงทางด้านใต้พระเจดีย์
พระพุทธรูปปูนปั้น (พระเศียรซ่อมใหม่) วัดธาตุขาว
ผังรูปแบบการก่อสร้างวัด และลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม
..........วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สิ่งก่อสร้างที่ขุดแต่งพบในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ตั้งอยู่ตอนหลังพระวิหาร อาคารวิหารเล็ก และอุโบสถ ที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใกล้กับเจดีย์ประธานทางด้านใต้ เจดีย์ประธานสร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว จากรูปแบบสภาพปัจจุบันที่คงเหลือเฉพาะส่วนฐานเขียงเตี้ยตอนล่าง และชั้นปัทม์ย่อเก็จ 2 ฐานซ้อนกัน พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง วิหาร สภาพคงเหลือหลักฐานเพียงส่วนฐานก่ออิฐสอดินเช่นเดียวกัน ลักษณะเดิมเมื่อพิจารณาจากตำแหน่ง และร่องรอยโครงสร้างเสาแล้วเป็นวิหารที่มีหลังคาทรงหน้าจั่วเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และเนื่องจากการขุดแต่งไม่พบหลักฐานการก่อเรียงอิฐในส่วนผนัง ทำให้เข้าใจว่าเป็นวิหารแบบโถง องค์พระประธานพังทลายไม่เหลือหลักฐาน ที่คงเหลือร่องรอยเฉพาะแท่นฐานชุกชีวิหารเล็ก ด้านใต้มีแท่นฐานชุกชีหรือโขงพระเจ้าตั้งอยู่กลางห้อง อุโบสถ ปรากฏหลักฐานเพียงส่วนกรอบฐานก่ออิฐในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างยกพื้นเตี้ย โดยรอบพบก้อนหินธรรมชาติตั้งวางไว้แสดงขอบเขตพัทธสีมา
..........จากการขุดแต่งวัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2528 ได้พบองค์พระพุทธรูปปูนปั้น ที่แต่เดิมเคยตั้งประดิษฐานบนอาคารวิหารเล็ก แต่ได้ล้มตกลงหงายพระองค์ลงมาที่ขอบฐานด้านหลัง มีส่วนขององค์พระยังค่อนข้างสมบูรณ์แต่พระเศียรชำรุด ระยะต่อมาชาวบ้านได้หาช่างมาปั้นแต่งเสริมใหม่ให้มีลักษณะพื้นเมือง ดังเช่นในปัจจุบัน และในระยะเวลาใกล้เคียงกันได้มีผู้พบพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กรูปแบบศิลปะอินเดียที่มีร่องรอยเดือนแกนด้านหลังสำหรับติดกับวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย แบบมีวงโค้งประภามณฑล ด้านหลังมีจารึกรูปแบบอักษรอินเดีย ที่เป็นข้อความคาถาหัวใจพุทธศาสนา (เย ธมฺมา)