อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยในวงเวียน
เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด
อยู่เชียงใหม่มาตลอดจนเรียนจบ
บ้านไม่ไกลจากวัดพระสิงห์
ความทรงจำที่ยังแจ่มชัด
ไปซื้อผลไม้ดองร้านปู่แอ๋ม
ไปซื้อขนมปังเนยสด ร้านฝ้าย ยุคแรก ๆ เขาเอาโต๊ะมาตั้งวางขายหน้าประตูบ้าน
ไปซื้อข้าวขาหมูข้าวหมูแดงนครปฐม ก๋วยเตี๋ยวเนื้อก็อร่อย
ไปทานร้านไก่ย่างแม่บุญเรือน
หาเพื่อนแถวหลังวัดพระสิงห์เป็นประจำ
แต่เพิ่งได้เข้าวัดพระสิงห์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554
อันเป็นที่มาของภาพวัดพระสิงห์ในกระทู้นี้
ภาพถ่ายเก่าวัดพระสิงห์ ... อยู่ในพระอุโบสถของวัด
หอไตรล้านนา หรือ หอธรรมล้านนา
หอ หมายถึงอาคารหรือเรือน
ไตร มาจาก ไตรปิฎก, ธรรม มาจาก พระธรรม
เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 หมวดคือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม
เชื่อว่า
การสร้างหอธรรม หรือการจารคัมภีร์ในพุทธศาสนาได้อานิสงส์ผลบุญมาก เทียบได้กับการสร้างวิหาร
จึงเป็นสิ่งจูงใจให้การคัดลอกคัมภีร์ทั้งพระไตรปิฎก กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไปถวายวัด
และได้สร้างหอธรรมเพื่อใช้เก็บคัมภีร์ต่าง
ถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก
เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนา หรือจารเรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์
นิยมสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น หรืออยู่กลางน้ำ
เอกสารของล้านนามีการกล่าวถึงการสร้างหอไตร
ที่มีมาหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช
แต่ไม่พบหอไตรสมัยนั้นหลงเหลืออยู่
หอไตรของล้านนาอาจจำแนกได้ 3 รูปแบบคือ
หอไตรแบบหอสูง นิยมสร้างมากที่สุดของล้านนา
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีมุขยื่นออกจากตัวอาคาร ทางด้านหน้า,ด้านหลัง
หอไตรกลางน้ำ
จะสร้างบนเสาไม้ที่ปักเข้าไปในน้ำ ใต้ถุนโล่ง
มีระเบียงเดินล้อมรอบห้องเก็บรักษาคัมภีร์
เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่รับมาจากภาคกลาง
คติเดิมของการสร้างหอไตรกลางน้ำ ... ไม่มีการสร้างสะพาน
หอไตรแบบพิเศษ
ไม่เข้ากับหอไตรทั้งสองแบบที่กล่าวมา เช่นที่วัดดวงดี เชียงใหม่
หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นหอไตรแบบหอสูง
โครงสร้างครึ่งตึกครึ่งไม้ มีมุขด้านหน้า
อ่านมาพบว่ามีระเบียงล้อมรอบห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ คือเมื่อเข้าไปข้างในจะมีระเบียงโดยรอบห้องอีกที
มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาด
สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากาวิละเมื่อ พ.ศ. 2354
มีการประดับประติมากรรมเทวดา และรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก
งานปูนปั้นที่หน้าแหนบ ... รูปสามเหลี่ยมด้านหน้าและด้านหลังของโครงหลังคา ...
และการลงรักปิดทองที่ผนังไม้ คงเป็นงานคราวซ่อมเมื่อพ.ศ.2471
หอไตร สมัยรัชกาลที่ 7
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์
พญาผายู กษัตริย์ล้านนา ราชวงศ์เม็งราย รัชกาลที่ 5
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา ขึ้นในปี พ.ศ. 1888
เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู กษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 4 พระราชบิดา
พ.ศ.1890 โปรดให้วัดขึ้นในบริเวณนี้
เนื่องจากหน้าวัดเป็นสถานที่ชุมนุมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง
จึงเรียกว่า วัดลีเชียง ... ลี แปลว่า ตลาด ,เชียง น่าจะแปลว่าเมือง ... ตลาดในเมือง
ชาวบ้านเรียกกันว่า กาดลี
ต่อมา พ.ศ. 2088 หักลงเพราะแผ่นดินไหว
และได้รับบรูณะซ่อมแซมมาโดยตลอด
เป็นเจดีย์ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสูง มีช้างล้อม
ถัดไปเป็นฐานกลม 3 ชั้น ฐานบัวลูกแก้วรับองค์ระฆัง
บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร ... อืทธิพลลังกา
เจดีย์รายในสี่ทิศ
ทางทิศเหนือของอุโบสถ มีกู่อีกองค์หนึ่ง
เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยมาปฏิสังขรณ์วัด ได้พบโกฏิบรรจุอัฐิ พร้อมของมีค่าอื่นๆ
ไม่ชัดเจนว่าสิ่งที่พบ พบที่มหาเจดีย์หรือที่กู่นี้
สิ่งของเหล่านั้นสูญหายไปแล้ว เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2485
กู่นี้ปัจจุบันเรียกว่า กู่อัฐิพญาคำฟู
เมื่อสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่
โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย
โดยแม่น้ำปิง ขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำ
เมื่อขบวนช้างอัญเชิญมาถึงหน้าวัด ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน
ณ วัดลีเชียง เรียกว่า วัดลีเชียงพระ
ประชาชนทางเหนือนิยมเรียกพระพุทธสิหิงค์ ว่า "พระสิงห์"
จึงเป็นที่มาของชื่อ " วัดพระสิงห์ "
อุโบสถสองสงฆ์
สร้างในสมัยของพระเจ้ากาวิละ
ป็นอุโบสถล้านนาแบบปิด
โครงสร้างไม้ ฐานก่ออิฐถือปูน
มีทางขึ้นสองทาง
ด้านทิศเหนือ เป็นโบสถ์ของพระภิกษุ
บันไดตัวเหงา สองข้างตั้งสิงห์ปูนปั้นข้างละตัว ... สิงห์ศิลปะขอมในไทย
ตรงกลางเป็นซุ้มโขงพระประธาน พระเจ้าทองทิพย์จำลอง
เชื่อว่าเป็นการแบ่งเขตสังฆกรรม ของภิกษุ ภิกษุณี
ด้านพระภิกษู
ด้านพระภิกษุณี
ทวารบาล
ด้านทิศใต้ เป็นโบสถ์ของภิกษุณี
ทางขึ้นลงเป็นมังกรคายนาค สองข้างตั้งสิงห์ปูนปั้นข้างละตัว
กลองใต้หอระฆัง
วิหารพระนอน
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2094
วิหารลายคำ
สร้างขึ้นสมัยของพญาธรรมลังกาช้างเผือก ระหว่าง พ.ศ. 2358-2364
ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
จิตรกรรมฝาผนังในพุทธศตวรรษที่ 25
ด้านทิศเหนือ เป็นสกุลช่างเชียงใหม่ เขียนเรื่องสังข์ทอง
พระสังข์ชุบตัวลงในบ่อทอง
แล้วสวมชุดเงาะ รองเท้าทอง และไม้เท้า หนีนางยักษ์พันธุรัต
ชายหนุ่มมาให้เลือกคู่
เจ้าเงาะอาศัยอยู่กับเด็กเลี้ยงวัว
เอาลูกแก้วมาล่อ
ด้านทิศใต้เป็นเรื่องสุพรรณหงส์ ช่างสกุลกรุงเทพ
รูปจะเสียหายมากกว่า
ช่างช่างไม้ และช่างพยนต์ นำเรือหงส์มาถวายสุวรรณหงส์
จะสื่อว่าเกศสุริยงที่พระอินทร์แปลงร่างให้เป็นชาย รบกับยักษ์กุมภัณฑ์ใช่หรือเปล่าไม่ทราบค่ะ?
สุวรรณหงส์ฟันคอเกศสุริยง เพราะเข้าใจผิดว่าถูกเกศสุริยงฆ่า
ระฆัง น่าจะมีจารึก
ปิดท้ายด้วยพระประธานวิหารวัดพระสิงห์
พระวิหารหลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยครูบาศรีวิชัยแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมากจนต้องสร้างขึ้นมาใหม่
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ
https://ppantip.com/topic/36574038
วัดที่สร้างในสมัยพญาผายู ... วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
อยู่เชียงใหม่มาตลอดจนเรียนจบ
บ้านไม่ไกลจากวัดพระสิงห์
ความทรงจำที่ยังแจ่มชัด
ไปซื้อผลไม้ดองร้านปู่แอ๋ม
ไปซื้อขนมปังเนยสด ร้านฝ้าย ยุคแรก ๆ เขาเอาโต๊ะมาตั้งวางขายหน้าประตูบ้าน
ไปซื้อข้าวขาหมูข้าวหมูแดงนครปฐม ก๋วยเตี๋ยวเนื้อก็อร่อย
ไปทานร้านไก่ย่างแม่บุญเรือน
หาเพื่อนแถวหลังวัดพระสิงห์เป็นประจำ
แต่เพิ่งได้เข้าวัดพระสิงห์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2554
อันเป็นที่มาของภาพวัดพระสิงห์ในกระทู้นี้
ภาพถ่ายเก่าวัดพระสิงห์ ... อยู่ในพระอุโบสถของวัด
หอไตรล้านนา หรือ หอธรรมล้านนา
หอ หมายถึงอาคารหรือเรือน
ไตร มาจาก ไตรปิฎก, ธรรม มาจาก พระธรรม
เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 หมวดคือ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม
เชื่อว่า
การสร้างหอธรรม หรือการจารคัมภีร์ในพุทธศาสนาได้อานิสงส์ผลบุญมาก เทียบได้กับการสร้างวิหาร
จึงเป็นสิ่งจูงใจให้การคัดลอกคัมภีร์ทั้งพระไตรปิฎก กฎหมาย ประวัติศาสตร์ ตำรายา โหราศาสตร์ ฯลฯ แล้วนำไปถวายวัด
และได้สร้างหอธรรมเพื่อใช้เก็บคัมภีร์ต่าง
ถือว่าเป็นสถานที่หวงห้ามสำหรับบุคคลภายนอก
เพราะถือว่าคัมภีร์ที่ได้รับการสังคายนา หรือจารเรียบร้อยแล้ว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์
นิยมสร้างเป็นอาคารสูงสองชั้น หรืออยู่กลางน้ำ
เอกสารของล้านนามีการกล่าวถึงการสร้างหอไตร
ที่มีมาหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช
แต่ไม่พบหอไตรสมัยนั้นหลงเหลืออยู่
หอไตรของล้านนาอาจจำแนกได้ 3 รูปแบบคือ
หอไตรแบบหอสูง นิยมสร้างมากที่สุดของล้านนา
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีมุขยื่นออกจากตัวอาคาร ทางด้านหน้า,ด้านหลัง
หอไตรกลางน้ำ
จะสร้างบนเสาไม้ที่ปักเข้าไปในน้ำ ใต้ถุนโล่ง
มีระเบียงเดินล้อมรอบห้องเก็บรักษาคัมภีร์
เข้าใจว่าเป็นอิทธิพลที่รับมาจากภาคกลาง
คติเดิมของการสร้างหอไตรกลางน้ำ ... ไม่มีการสร้างสะพาน
หอไตรแบบพิเศษ
ไม่เข้ากับหอไตรทั้งสองแบบที่กล่าวมา เช่นที่วัดดวงดี เชียงใหม่
หอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นหอไตรแบบหอสูง
โครงสร้างครึ่งตึกครึ่งไม้ มีมุขด้านหน้า
อ่านมาพบว่ามีระเบียงล้อมรอบห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ คือเมื่อเข้าไปข้างในจะมีระเบียงโดยรอบห้องอีกที
มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาด
สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากาวิละเมื่อ พ.ศ. 2354
มีการประดับประติมากรรมเทวดา และรูปสัตว์ในกรอบช่องกระจก
งานปูนปั้นที่หน้าแหนบ ... รูปสามเหลี่ยมด้านหน้าและด้านหลังของโครงหลังคา ...
และการลงรักปิดทองที่ผนังไม้ คงเป็นงานคราวซ่อมเมื่อพ.ศ.2471
หอไตร สมัยรัชกาลที่ 7
จากเอกสารทางประวัติศาสตร์
พญาผายู กษัตริย์ล้านนา ราชวงศ์เม็งราย รัชกาลที่ 5
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา ขึ้นในปี พ.ศ. 1888
เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู กษัตริย์ล้านนา รัชกาลที่ 4 พระราชบิดา
พ.ศ.1890 โปรดให้วัดขึ้นในบริเวณนี้
เนื่องจากหน้าวัดเป็นสถานที่ชุมนุมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง
จึงเรียกว่า วัดลีเชียง ... ลี แปลว่า ตลาด ,เชียง น่าจะแปลว่าเมือง ... ตลาดในเมือง
ชาวบ้านเรียกกันว่า กาดลี
ต่อมา พ.ศ. 2088 หักลงเพราะแผ่นดินไหว
และได้รับบรูณะซ่อมแซมมาโดยตลอด
เป็นเจดีย์ฐานเขียงสี่เหลี่ยมสูง มีช้างล้อม
ถัดไปเป็นฐานกลม 3 ชั้น ฐานบัวลูกแก้วรับองค์ระฆัง
บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร ... อืทธิพลลังกา
เจดีย์รายในสี่ทิศ
ทางทิศเหนือของอุโบสถ มีกู่อีกองค์หนึ่ง
เมื่อครั้งครูบาศรีวิชัยมาปฏิสังขรณ์วัด ได้พบโกฏิบรรจุอัฐิ พร้อมของมีค่าอื่นๆ
ไม่ชัดเจนว่าสิ่งที่พบ พบที่มหาเจดีย์หรือที่กู่นี้
สิ่งของเหล่านั้นสูญหายไปแล้ว เมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.2485
กู่นี้ปัจจุบันเรียกว่า กู่อัฐิพญาคำฟู
เมื่อสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่
โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย
โดยแม่น้ำปิง ขึ้นที่ท่าวังสิงห์คำ
เมื่อขบวนช้างอัญเชิญมาถึงหน้าวัด ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ
พระเจ้าแสนเมืองมาจึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน
ณ วัดลีเชียง เรียกว่า วัดลีเชียงพระ
ประชาชนทางเหนือนิยมเรียกพระพุทธสิหิงค์ ว่า "พระสิงห์"
จึงเป็นที่มาของชื่อ " วัดพระสิงห์ "
อุโบสถสองสงฆ์
สร้างในสมัยของพระเจ้ากาวิละ
ป็นอุโบสถล้านนาแบบปิด
โครงสร้างไม้ ฐานก่ออิฐถือปูน
มีทางขึ้นสองทาง
ด้านทิศเหนือ เป็นโบสถ์ของพระภิกษุ
บันไดตัวเหงา สองข้างตั้งสิงห์ปูนปั้นข้างละตัว ... สิงห์ศิลปะขอมในไทย
ตรงกลางเป็นซุ้มโขงพระประธาน พระเจ้าทองทิพย์จำลอง
เชื่อว่าเป็นการแบ่งเขตสังฆกรรม ของภิกษุ ภิกษุณี
ด้านพระภิกษู
ด้านพระภิกษุณี
ทวารบาล
ด้านทิศใต้ เป็นโบสถ์ของภิกษุณี
ทางขึ้นลงเป็นมังกรคายนาค สองข้างตั้งสิงห์ปูนปั้นข้างละตัว
กลองใต้หอระฆัง
วิหารพระนอน
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2094
วิหารลายคำ
สร้างขึ้นสมัยของพญาธรรมลังกาช้างเผือก ระหว่าง พ.ศ. 2358-2364
ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
จิตรกรรมฝาผนังในพุทธศตวรรษที่ 25
ด้านทิศเหนือ เป็นสกุลช่างเชียงใหม่ เขียนเรื่องสังข์ทอง
พระสังข์ชุบตัวลงในบ่อทอง
แล้วสวมชุดเงาะ รองเท้าทอง และไม้เท้า หนีนางยักษ์พันธุรัต
ชายหนุ่มมาให้เลือกคู่
เจ้าเงาะอาศัยอยู่กับเด็กเลี้ยงวัว
เอาลูกแก้วมาล่อ
ด้านทิศใต้เป็นเรื่องสุพรรณหงส์ ช่างสกุลกรุงเทพ
รูปจะเสียหายมากกว่า
ช่างช่างไม้ และช่างพยนต์ นำเรือหงส์มาถวายสุวรรณหงส์
จะสื่อว่าเกศสุริยงที่พระอินทร์แปลงร่างให้เป็นชาย รบกับยักษ์กุมภัณฑ์ใช่หรือเปล่าไม่ทราบค่ะ?
สุวรรณหงส์ฟันคอเกศสุริยง เพราะเข้าใจผิดว่าถูกเกศสุริยงฆ่า
ระฆัง น่าจะมีจารึก
ปิดท้ายด้วยพระประธานวิหารวัดพระสิงห์
พระวิหารหลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 โดยครูบาศรีวิชัยแทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมากจนต้องสร้างขึ้นมาใหม่
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038