อินทราวาส ตั้งชื่อตาม ครูบาอินทร ผู้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2401
ในสมัยของ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ลำดับที่ 6 ( โดยลำดับจาก พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เป็นลำดับแรก )
ตามบนทึกอักษรไทยวน ที่เพดานภายในวิหารทางทิศเหนือ
ตั้งอยู่บ้านหนองควาย อ.หางดง ต้นทางไป อ.สะเมิง
ต้นเกว๋น เรียกชื่อตามต้น บะเกว๋น หรือตะขบป่า
บ้างก็ว่า เพราะขึ้นเป็นดงในบริเวณนี้
บ้างก็ว่า เพราะขึ้นตรงตำแหน่งที่สร้างวิหารนี้
ปัจจุบันที่วัดเหลือเพียงต้นเดียว
จากจารึกจารึกพระยาหลวงวชิรปราการ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง เล่าว่า
เมื่อกษัตริย์อยุธยา (หมายถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี) มีชัยเหนือล้านนา
ได้อภิเษกพระยาหลวงวิเชียรปราการ จากกำแพงเพชร ให้เป็นเจ้าเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
พระยาหลวงวิเชียรปราการทรงเป็นผู้มีใจเลื่อมใสในศาสนา
ได้มีศรัทธาให้ช่างสร้างแป๋ง (สร้าง) โกศเงินและโกศทองคำ เพื่อใช้ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า
อันองค์พระบรมธาตุเจ้าจอมทองนี้ ได้สูญหายไปแต่ พ.ศ. 2314
พระยาหลวงวชิรปราการ จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ
แล้วทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุ
ครั้งแรกพระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ได้อาราธนาอีก 2 ครั้ง
จนถึงแรม 4 ค่ำเวลาก๋องงาย ( 19.00 น) พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน
พระยาวิเชียรปราการ จึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่
ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ 7 วัน 7 คืน
แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม
เนื่องจากเชียงใหม่มีศึกสงครามต่อเนื่องยาวนาน
ในสมัยของพระยาวิเชียรปราการ จึงมีไพร่พลน้อยเกินกว่าจะตั้งเป็นเมืองต่อไปได้
จึงย้ายไปเมืองลำปาง เพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าเจ็ดตน ... ราชวงศ์ทิพย์จักร ปกครองลำปาง
เชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไป 20 ปี จนพระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง
โดยการ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง คือ กวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเหนืออีกครั้ง
และเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเชียงใหม่
จะอัญเชิญพระธาตุจอมทองไปเชียงใหม่ เพื่อสรงน้ำ และให้ประชาชนได้สรงน้ำทุกปี
วัดนี้จึงสร้างเพื่อเป็นสถานที่แวะพัก และให้ประชาชนในละแวกนี้ได้สรงน้ำ
สิงห์เฝ้าประตูวัด
* มณฑปจตุรมุข *
เป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาสี่ด้าน สี่ทิศ ... จตุรมุข
เป็นแบบพื้นเมืองล้านนา มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
ส่วนกลางมีจั่วซ้อนสองชั้น มีซุ้มมณฑปเล็กๆ เรียกปราสาทเฟื้อง ... รูปจำลองปราสาทที่วางอยู่กลางสันหลังคา ความหมายถึงเขาพระสุเมรุ
โครงสร้างหลังคาเข้าสลักไม้ ... ไม่ใช้ตะปู
* วิหาร *
ในครั้งพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ เช่นเดียวกับกุฏิ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพนิพาน มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนพระพุทธองค์
จึงสร้างอาคารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นสถานที่สมมุติ ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ เรียกว่าวิหาร
วิหารล้านนา จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จของผนัง
ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาค
หน้าบัน เป็น ฝาประกน ... ช่องรูปสี่เหลี่ยมซ้อนสลับกัน ...
เสาคู่หน้าสุดของพระวิหารเป็นรูปแปดเหลี่ยม แสดงถึงความหยาบกระด้าง เปรียบเสมือนกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลา
มีบัวหัวเสา
ทั้งหมดประดับกระจกแก้วสี
โก่งคิ้ว ( ใต้หน้าบัน ระหว่างเสา ) จำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค
โก่งคิ้วด้านข้าง จำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค
เสามีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้
บันได มกรสองตัวคายนาค
ช่องระบายอากาศ
หน้าต่าง
คันทวยหูช้างจำหลักไม้
คนอื่นได้รูปกินนรฟ้อนรำ เราได้รูป คุรฑ
กับมกรคายนาค
องค์พระเจ้าที่ระเบียงแก้ว ไม่ค่อยเข้ากันกับฐานชุกชี
เข้าสู่วิหาร
โครงหลังคาแบบ ม้าต่างไหม ... ต่างแปลว่าบรรทุก เป็นลักษณะที่บรรทุกไหมไว้บนหลังม้า
เสาคู่รูปทรงกระบอกกลม เปรียบเสมือนจิตใจของผู้ที่เข้าสู่ภายในวิหารพุทธภูมิ ที่บริสุทธิ์ขัดเกลาแล้ว
ลายทอง
พื้นที่ใช้สอยในวิหารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งด้านนอกจะแบ่งส่วนยกเก็จผนัง 4 ส่วน คือ เป็นโถงระเบียง และวิหารที่ถูกแบ่งเป็นสามส่วน
คือ
๑ ฐานชุกชี หรือ แท่นแก้ว ๑
เป็นพื้นที่ด้านในสุดของวิหาร
เป็นแท่นยกพื้นสูงกว่าอาสนสงฆ์
ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป พระประธานของวัด
๑ พื้นที่ของพระสงฆ์ ๑
- อาสนสงฆ์ -เป็นที่นั่งพระภิกษุสามเณร มักทำเป็นแท่นยกพื้นอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน
- บุษบกธรรมมาสน์ - คือแท่นสำหรับใช้เทศนาของพระภิกษุสงฆ์ในวันสำคัญทาง ศาสนา ... อยากเห็นพระขึ้นเทศบนธรรมาสน์แบบนี้มาก
๑ พื้นที่ของฆาวาส ๑
เป็นโถงส่วนกลางของอาคาร เป็นพื้นสำหรับชาวบ้านนั่งเพื่อฟังเทศน์ในวันพระ
จะต่ำกว่าพื้นที่ของ พระสงฆ์ และพระประธาน โดยมักจะให้ผู้อาวุโสชายนั่งด้านหน้าสุดใกล้พระประธาน
ส่วน คนผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก จะนั่งถัดออกไป ด้านหลัง
ช่องหน้าต่าง เป็นฝาไหล เพื่อปิดเปิด
ปิดท้ายด้วยภาพวาดหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่
วิหารล้านนา วัดต้นเกว๋น หรือ วัดอินทราวาส อ.หางดง เชียงใหม่
อินทราวาส ตั้งชื่อตาม ครูบาอินทร ผู้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2401
ในสมัยของ พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ลำดับที่ 6 ( โดยลำดับจาก พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เป็นลำดับแรก )
ตามบนทึกอักษรไทยวน ที่เพดานภายในวิหารทางทิศเหนือ
ตั้งอยู่บ้านหนองควาย อ.หางดง ต้นทางไป อ.สะเมิง
ต้นเกว๋น เรียกชื่อตามต้น บะเกว๋น หรือตะขบป่า
บ้างก็ว่า เพราะขึ้นเป็นดงในบริเวณนี้
บ้างก็ว่า เพราะขึ้นตรงตำแหน่งที่สร้างวิหารนี้
ปัจจุบันที่วัดเหลือเพียงต้นเดียว
จากจารึกจารึกพระยาหลวงวชิรปราการ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง เล่าว่า
เมื่อกษัตริย์อยุธยา (หมายถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี) มีชัยเหนือล้านนา
ได้อภิเษกพระยาหลวงวิเชียรปราการ จากกำแพงเพชร ให้เป็นเจ้าเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
พระยาหลวงวิเชียรปราการทรงเป็นผู้มีใจเลื่อมใสในศาสนา
ได้มีศรัทธาให้ช่างสร้างแป๋ง (สร้าง) โกศเงินและโกศทองคำ เพื่อใช้ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า
อันองค์พระบรมธาตุเจ้าจอมทองนี้ ได้สูญหายไปแต่ พ.ศ. 2314
พระยาหลวงวชิรปราการ จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ
แล้วทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุ
ครั้งแรกพระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ได้อาราธนาอีก 2 ครั้ง
จนถึงแรม 4 ค่ำเวลาก๋องงาย ( 19.00 น) พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน
พระยาวิเชียรปราการ จึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่
ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ 7 วัน 7 คืน
แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม
เนื่องจากเชียงใหม่มีศึกสงครามต่อเนื่องยาวนาน
ในสมัยของพระยาวิเชียรปราการ จึงมีไพร่พลน้อยเกินกว่าจะตั้งเป็นเมืองต่อไปได้
จึงย้ายไปเมืองลำปาง เพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าเจ็ดตน ... ราชวงศ์ทิพย์จักร ปกครองลำปาง
เชียงใหม่จึงถูกทิ้งร้างไป 20 ปี จนพระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง
โดยการ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง คือ กวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเหนืออีกครั้ง
และเป็นประเพณีที่เจ้าหลวงเชียงใหม่
จะอัญเชิญพระธาตุจอมทองไปเชียงใหม่ เพื่อสรงน้ำ และให้ประชาชนได้สรงน้ำทุกปี
วัดนี้จึงสร้างเพื่อเป็นสถานที่แวะพัก และให้ประชาชนในละแวกนี้ได้สรงน้ำ
สิงห์เฝ้าประตูวัด
* มณฑปจตุรมุข *
เป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาสี่ด้าน สี่ทิศ ... จตุรมุข
เป็นแบบพื้นเมืองล้านนา มุงด้วยกระเบื้องดินขอ
ส่วนกลางมีจั่วซ้อนสองชั้น มีซุ้มมณฑปเล็กๆ เรียกปราสาทเฟื้อง ... รูปจำลองปราสาทที่วางอยู่กลางสันหลังคา ความหมายถึงเขาพระสุเมรุ
โครงสร้างหลังคาเข้าสลักไม้ ... ไม่ใช้ตะปู
* วิหาร *
ในครั้งพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ เช่นเดียวกับกุฏิ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพนิพาน มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนพระพุทธองค์
จึงสร้างอาคารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นสถานที่สมมุติ ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ เรียกว่าวิหาร
วิหารล้านนา จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จของผนัง
ปั้นลมและหางหงส์แกะรูปมกรคายนาค
หน้าบัน เป็น ฝาประกน ... ช่องรูปสี่เหลี่ยมซ้อนสลับกัน ...
เสาคู่หน้าสุดของพระวิหารเป็นรูปแปดเหลี่ยม แสดงถึงความหยาบกระด้าง เปรียบเสมือนกิเลสตัณหาของมนุษย์ที่ยังไม่ได้รับการขัดเกลา
มีบัวหัวเสา
ทั้งหมดประดับกระจกแก้วสี
โก่งคิ้ว ( ใต้หน้าบัน ระหว่างเสา ) จำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค
โก่งคิ้วด้านข้าง จำหลักไม้ลายเครือเถาสอดสลับรูปเศียรนาค
เสามีลายปูนปั้นรูปเทพพนมและดอกไม้
บันได มกรสองตัวคายนาค
ช่องระบายอากาศ
หน้าต่าง
คันทวยหูช้างจำหลักไม้
คนอื่นได้รูปกินนรฟ้อนรำ เราได้รูป คุรฑ
กับมกรคายนาค
องค์พระเจ้าที่ระเบียงแก้ว ไม่ค่อยเข้ากันกับฐานชุกชี
เข้าสู่วิหาร
โครงหลังคาแบบ ม้าต่างไหม ... ต่างแปลว่าบรรทุก เป็นลักษณะที่บรรทุกไหมไว้บนหลังม้า
เสาคู่รูปทรงกระบอกกลม เปรียบเสมือนจิตใจของผู้ที่เข้าสู่ภายในวิหารพุทธภูมิ ที่บริสุทธิ์ขัดเกลาแล้ว
ลายทอง
พื้นที่ใช้สอยในวิหารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งด้านนอกจะแบ่งส่วนยกเก็จผนัง 4 ส่วน คือ เป็นโถงระเบียง และวิหารที่ถูกแบ่งเป็นสามส่วน
คือ
๑ ฐานชุกชี หรือ แท่นแก้ว ๑
เป็นพื้นที่ด้านในสุดของวิหาร
เป็นแท่นยกพื้นสูงกว่าอาสนสงฆ์
ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป พระประธานของวัด
๑ พื้นที่ของพระสงฆ์ ๑
- อาสนสงฆ์ -เป็นที่นั่งพระภิกษุสามเณร มักทำเป็นแท่นยกพื้นอยู่ทางด้านขวามือของพระประธาน
- บุษบกธรรมมาสน์ - คือแท่นสำหรับใช้เทศนาของพระภิกษุสงฆ์ในวันสำคัญทาง ศาสนา ... อยากเห็นพระขึ้นเทศบนธรรมาสน์แบบนี้มาก
๑ พื้นที่ของฆาวาส ๑
เป็นโถงส่วนกลางของอาคาร เป็นพื้นสำหรับชาวบ้านนั่งเพื่อฟังเทศน์ในวันพระ
จะต่ำกว่าพื้นที่ของ พระสงฆ์ และพระประธาน โดยมักจะให้ผู้อาวุโสชายนั่งด้านหน้าสุดใกล้พระประธาน
ส่วน คนผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก จะนั่งถัดออกไป ด้านหลัง
ช่องหน้าต่าง เป็นฝาไหล เพื่อปิดเปิด
ปิดท้ายด้วยภาพวาดหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่