เถิน มาจากคำว่า สังฆะเติ๋น หมายถึงพระสงฆ์เตือน
เป็นเมืองที่มีพระสงฆ์ปกครอง จึงปรึกษาพระสงฆ์ให้อนุญาตก่อนจึงจะทำอะไร ๆ ได้
ต่อมากร่อนเหลือเพียงคำว่า เถิน
จากตำนานในใบลานว่า
ปางเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราช
ได้มาประสูติบริเวณที่ตั้ง วัดเวียง
https://ppantip.com/topic/36725708
แม่โคได้พาลูกน้อยออกไปหากินและได้พลัดพรากกัน ลูกโคได้เรียกร้องหาแม่ว่า อุลอ….อุลอ
ส่วนแม่โคได้รอลูกน้อยอยู่ที่บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดอุมลอง จนลูกโคตามหาแม่จนพบ ณ ที่นั้น
อุลอ จึงเป็นที่มาของ อุมลอง
แม่โคก็ได้พาลูกน้อยไปหากิน และได้อาศัยนอน ที่เนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่จนโต
เรียกว่า ม่อนงัวนอน ... บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดดอยป่าตาล
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชาติเมื่อเสวยชาติครั้งหนหลังได้
จึงทรงสั่งให้สาวกนำเอาเกศาหรืออัฐิไปบรรจุไว้ในที่ต่างๆ
250 ปีหลังพระพุทธเจ้าได้ดับขันปรินิพพาน
พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเจดีย์ขึ้นจำนวนแปดหมื่นสี่พันองค์
และได้ส่งทูตมาบรรจุอัฐิตามคำสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดเวียง บรรจุ พระธาตุเล็บมือ
วัดอุมลอง บรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า
วัดดอยป่าตาล บรรจุ พระธาตุลิ้นไก่
ขณะที่ทูตนำผอบบรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้ามาพักอยู่ที่จวนเจ้าเมือง
ได้บอกเจ้าเมืองว่าจะนำอัฐิของพระพุทธเจ้า ไปบรรจุที่วัดดอยต้อก(วัดศิลาวารี)
พอพูดจบพระอัฐิซึ่งบรรจุอยู่ในผอบแก้ว
ก็ลอยออกจากผอบ แล้วร่วงลงสู่พื้นดิน แผ่นดินก็สลุบ(ยุบลง)
เจ้าเมืองจึงย้ายจวนออกแล้วทำการสร้างพระเจดีย์ครอบไว้
วัดอุมลองและวัดดอยป่าตาลก็สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
วัดทั้งสามเป็นวัดสามเส้าคู่บ้านคู่เมือง
ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า
จึงมีจารีตประเพณีสรงน้ำพระธาตุแต่ก่อนดังนี้
เดือนห้าเป็งเหนือ หื้อสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดเวียง
เดือนเจ็ดปี๋ใหม่พยาวันหื้อปากั๋นไปสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดอุมลอง
พอถึงเดือนแปดเป็งหื้อปากั่นล่องไปสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาล
และหื้อปากั๋นบำรุงรักษาบูชากราบไหว้ทั้งสามวัด
บ้านเมืองจักรุ่งเรืองตลอด ทั้งฝนก็จะตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าจักงอกงาม
หากปากั๋นเพิกเฉยเสีย
บ้านเมืองก็จะแห้งแล้งเกิดยุคเข็ญ ข้าวกล้าในนาจักเหี่ยวแห้ง ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เจดีย์พระธาตุวัดอุมลอง บรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า
วิหารวัดอุมลอง
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2463 สถาปัตยกรรมแบบไทยล้านนา แบบปิด ... ผนังวิหารยกเก็จเพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ส่วน
บานประตู, หน้าต่าง และเสาทุกต้นเป็นไม้สักทอง
แกะสลักลวดลายโดยช่างชาวพม่า ชื่อ หม่องละ
สิงห์คู่ ข้างบันไดเหงา
บานประตูแกะสลักลายพรรณพฤกษา และดอกพุดตานอลังการณ์มาก
ประตูเป็นบานเฟี้ยม ... พระท่านเปิดให้เข้าไปไหว้พระ
เสาไม้ หุ้มด้วยไม้แกะสลัก
ปี พ.ศ. 2463 เกือบร้อยปีแล้ว
ฐานชุกชีปิดกระจกสี
ธรรมมาส
ลวดลายหม้อดอกสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์
บันไดขึ้นวิหารด้านข้าง สำหรับพระสงฆ์รูปเทวดา
เขาว่าเมืองเถินมีคนพื้นบ้านเป็นคนลำปาง และ คนพม่า
พระอุโบสถคล้ายแบบนี้เคยเห็นที่ วัดศรีรองเมือง วัดพระเจ้าทันใจ อ.เมือง ลำปาง ... ศิลปะพม่า
ข้างประตูวัดทางทิศตะวันตก ... เดิมก็คือหลังวัด
เป็นหอสรงน้ำหรือห้องอาบน้ำ สร้างปี พ.ศ. 2472 แปลกดีน่าอนุรักษ์ไว้
หอพิพิธภัณฑ์ หรือเดิมคือ หอจำศีล
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยศรัทธา ของนายป้อง มั่นคง เพื่อใช้จำศีลภาวนาในวันโกน และว้นพระ
สล่าเจ๊ก คือ ช่างคนจีน มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมจีน (สล่า แปลว่าช่าง)
ปัจจุบันใช้เป็นหอพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บโบราณวัตถุ
นาคเบือนเป็นรูปครุฑยุดนาค ต่างกันในแต่ละมุม
ไม้แกะลวดลาย
เหนือกรอบประตู
บานหน้าต่าง
เทพพนมที่หัวเสา
ภาพเลือนมาก ใส่หมายเลขหากมีใครอ่านภาพให้ค่ะ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
ลงภาพเท่าที่มองเห็นทั้งหมดเผื่อท่านที่สนใจในจิตรกรรมฝาผนังพื้นบ้าน
12
พระประธานในหอ และภาพพระพุทธประวัติ
และภาพปลงอะสุพกรรมฐาน 10 ภาพ
ภาพสุดท้ายค่ะ
วัดอุมลอง - วัดงามเมืองเถิน จ.ลำปาง
เถิน มาจากคำว่า สังฆะเติ๋น หมายถึงพระสงฆ์เตือน
เป็นเมืองที่มีพระสงฆ์ปกครอง จึงปรึกษาพระสงฆ์ให้อนุญาตก่อนจึงจะทำอะไร ๆ ได้
ต่อมากร่อนเหลือเพียงคำว่า เถิน
จากตำนานในใบลานว่า
ปางเมื่อพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราช
ได้มาประสูติบริเวณที่ตั้ง วัดเวียง https://ppantip.com/topic/36725708
แม่โคได้พาลูกน้อยออกไปหากินและได้พลัดพรากกัน ลูกโคได้เรียกร้องหาแม่ว่า อุลอ….อุลอ
ส่วนแม่โคได้รอลูกน้อยอยู่ที่บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดอุมลอง จนลูกโคตามหาแม่จนพบ ณ ที่นั้น
อุลอ จึงเป็นที่มาของ อุมลอง
แม่โคก็ได้พาลูกน้อยไปหากิน และได้อาศัยนอน ที่เนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่จนโต
เรียกว่า ม่อนงัวนอน ... บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดดอยป่าตาล
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชาติเมื่อเสวยชาติครั้งหนหลังได้
จึงทรงสั่งให้สาวกนำเอาเกศาหรืออัฐิไปบรรจุไว้ในที่ต่างๆ
250 ปีหลังพระพุทธเจ้าได้ดับขันปรินิพพาน
พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเจดีย์ขึ้นจำนวนแปดหมื่นสี่พันองค์
และได้ส่งทูตมาบรรจุอัฐิตามคำสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดเวียง บรรจุ พระธาตุเล็บมือ
วัดอุมลอง บรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า
วัดดอยป่าตาล บรรจุ พระธาตุลิ้นไก่
ขณะที่ทูตนำผอบบรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้ามาพักอยู่ที่จวนเจ้าเมือง
ได้บอกเจ้าเมืองว่าจะนำอัฐิของพระพุทธเจ้า ไปบรรจุที่วัดดอยต้อก(วัดศิลาวารี)
พอพูดจบพระอัฐิซึ่งบรรจุอยู่ในผอบแก้ว
ก็ลอยออกจากผอบ แล้วร่วงลงสู่พื้นดิน แผ่นดินก็สลุบ(ยุบลง)
เจ้าเมืองจึงย้ายจวนออกแล้วทำการสร้างพระเจดีย์ครอบไว้
วัดอุมลองและวัดดอยป่าตาลก็สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
วัดทั้งสามเป็นวัดสามเส้าคู่บ้านคู่เมือง
ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า
จึงมีจารีตประเพณีสรงน้ำพระธาตุแต่ก่อนดังนี้
เดือนห้าเป็งเหนือ หื้อสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดเวียง
เดือนเจ็ดปี๋ใหม่พยาวันหื้อปากั๋นไปสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดอุมลอง
พอถึงเดือนแปดเป็งหื้อปากั่นล่องไปสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาล
และหื้อปากั๋นบำรุงรักษาบูชากราบไหว้ทั้งสามวัด
บ้านเมืองจักรุ่งเรืองตลอด ทั้งฝนก็จะตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าจักงอกงาม
หากปากั๋นเพิกเฉยเสีย
บ้านเมืองก็จะแห้งแล้งเกิดยุคเข็ญ ข้าวกล้าในนาจักเหี่ยวแห้ง ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล
เจดีย์พระธาตุวัดอุมลอง บรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า
วิหารวัดอุมลอง
สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2463 สถาปัตยกรรมแบบไทยล้านนา แบบปิด ... ผนังวิหารยกเก็จเพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ส่วน
บานประตู, หน้าต่าง และเสาทุกต้นเป็นไม้สักทอง
แกะสลักลวดลายโดยช่างชาวพม่า ชื่อ หม่องละ
สิงห์คู่ ข้างบันไดเหงา
บานประตูแกะสลักลายพรรณพฤกษา และดอกพุดตานอลังการณ์มาก
ประตูเป็นบานเฟี้ยม ... พระท่านเปิดให้เข้าไปไหว้พระ
เสาไม้ หุ้มด้วยไม้แกะสลัก
ปี พ.ศ. 2463 เกือบร้อยปีแล้ว
ฐานชุกชีปิดกระจกสี
ธรรมมาส
ลวดลายหม้อดอกสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์
บันไดขึ้นวิหารด้านข้าง สำหรับพระสงฆ์รูปเทวดา
เขาว่าเมืองเถินมีคนพื้นบ้านเป็นคนลำปาง และ คนพม่า
พระอุโบสถคล้ายแบบนี้เคยเห็นที่ วัดศรีรองเมือง วัดพระเจ้าทันใจ อ.เมือง ลำปาง ... ศิลปะพม่า
ข้างประตูวัดทางทิศตะวันตก ... เดิมก็คือหลังวัด
เป็นหอสรงน้ำหรือห้องอาบน้ำ สร้างปี พ.ศ. 2472 แปลกดีน่าอนุรักษ์ไว้
หอพิพิธภัณฑ์ หรือเดิมคือ หอจำศีล
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยศรัทธา ของนายป้อง มั่นคง เพื่อใช้จำศีลภาวนาในวันโกน และว้นพระ
สล่าเจ๊ก คือ ช่างคนจีน มีสถาปัตยกรรมแบบล้านนาผสมจีน (สล่า แปลว่าช่าง)
ปัจจุบันใช้เป็นหอพิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บโบราณวัตถุ
นาคเบือนเป็นรูปครุฑยุดนาค ต่างกันในแต่ละมุม
ไม้แกะลวดลาย
เหนือกรอบประตู
บานหน้าต่าง
เทพพนมที่หัวเสา
ภาพเลือนมาก ใส่หมายเลขหากมีใครอ่านภาพให้ค่ะ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
ลงภาพเท่าที่มองเห็นทั้งหมดเผื่อท่านที่สนใจในจิตรกรรมฝาผนังพื้นบ้าน
12
พระประธานในหอ และภาพพระพุทธประวัติ
และภาพปลงอะสุพกรรมฐาน 10 ภาพ
ภาพสุดท้ายค่ะ
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038