วิหารโถงล้านนา วัดเวียง อ.เถิน ลำปาง








เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโคอุสุภราช ได้มาประสูติบริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดเวียง




ครั้งหนึ่ง ได้พลัดหลงกับแม่โค จึงร้องหาแม่ว่า อุลอ .. อุลอ จนพบแม่โคที่รออยู่ บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดอุมลอง




แม่โคก็ได้พาลูกน้อยไปหากิน และได้อาศัยนอน ที่เนินเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่จนโต
เรียกว่า ม่อนงัวนอน ... บริเวณที่ตั้งพระธาตุวัดดอยป่าตาล




เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกชาติเมื่อเสวยชาติครั้งหนหลังได้
จึงทรงสั่งให้สาวกนำเอาเกศาหรืออัฐิไปบรรจุไว้ในที่ต่างๆ
250 ปีหลังพระพุทธเจ้าได้ดับขันปรินิพพาน
พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างเจดีย์ขึ้นจำนวนแปดหมื่นสี่พันองค์
และได้ส่งทูตมาบรรจุอัฐิตามคำสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วัดเวียง บรรจุ พระธาตุเล็บมือ
วัดอุมลอง บรรจุ พระธาตุกระดูกด้ามพร้า
วัดดอยป่าตาล บรรจุ พระธาตุลิ้นไก่

ขณะที่ทูตนำผอบบรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้ามาพักอยู่ที่จวนเจ้าเมือง
ได้บอกเจ้าเมืองว่าจะนำอัฐิของพระพุทธเจ้า ไปบรรจุที่วัดดอยต้อก(วัดศิลาวารี)
พอพูดจบพระอัฐิซึ่งบรรจุอยู่ในผอบแก้ว
ก็ลอยออกจากผอบ แล้วร่วงลงสู่พื้นดิน แผ่นดินก็สลุบ(ยุบลง)
เจ้าเมืองจึงย้ายจวนออกแล้วทำการสร้างพระเจดีย์ครอบไว้

วัดอุมลองและวัดดอยป่าตาลก็สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
วัดทั้งสามเป็นวัดสามเส้าคู่บ้านคู่เมือง
ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า

จึงมีจารีตประเพณีสรงน้ำพระธาตุแต่ก่อนดังนี้
เดือนห้าเป็งเหนือ หื้อสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดเวียง
เดือนเจ็ดปี๋ใหม่พยาวันหื้อปากั๋นไปสรงน้ำพระธาตุเจ้าวัดอุมลอง
พอถึงเดือนแปดเป็งหื้อปากั่นล่องไปสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาล
และหื้อปากั๋นบำรุงรักษาบูชากราบไหว้ทั้งสามวัด
บ้านเมืองจักรุ่งเรืองตลอด ทั้งฝนก็จะตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าจักงอกงาม
หากปากั๋นเพิกเฉยเสีย
บ้านเมืองก็จะแห้งแล้งเกิดยุคเข็ญ ข้าวกล้าในนาจักเหี่ยวแห้ง ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล




ต่อมาก็เกิดสงครามกับพม่าจึงกลายเป็นที่รกร้าง
พม่ารู้ว่าพระธาตุเจ้าวัดเวียงมีความศักดิ์สิทธิ์เพราะมีในตำนานของพม่า
จึงได้บูรณะให้เป็นปูชนียสถานอันสำคัญ
ต่อมาได้เกิดสงครามกับพม่าอีกเมืองก็รกร้างไปอีกครั้ง เพราะการเทครัว

จนมีพระครูบาอาทิตย์ ได้ธุดงค์มาปักกลดเมตตาภาวนาอยู่ที่เมืองร้าง
จึงนำญาติบ้านเดียวกับท่านคือบ้านปงยางคก (ห้างฉัตร ลำปาง)
มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆวัดสามครอบครัว ได้ทำการบูรณะ จนเป็นเมืองขึ้น

ต่อมาศิษย์ของท่านคือ ครูบาอินทร์จันทร์ ก็ติดตามมา
บังเอิญญาติที่ตามมาด้วยล้มป่วยลง
ครูบาอินทร์จันทร์ จึงออกไปหายาสมุนไพร บริเวณม่อนเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ คือ ม่อนงัวนอน เพื่อรักษา
ได้ไปขุดพบหลามคำแผ่นหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม
ใหัครูบาอาทิตย์อ่านดูจึงรู้ว่ามีพระธาตุอยู่ 3 แห่ง
จึงค้นหาและพบพระธาตุเจดีย์ 3 ดังกล่าว
บูรณะซ่อมแซมจนเป็นปูชนียสถานที่สำคัญสืบมา

เกิดความเจริญรุ่งเรืองเป็นเมืองอีกครั้งหนึ่ง ... ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองสังฆะเติ๋น
แปลว่า เมืองที่เตือนโดยพระสงฆ์ หรือมีพระสงฆ์ปกครองบ้านเมือง
ต่อมาเหลือเพียงคำว่า เมืองเถิน
มีวัดเวียงเป็นใจกลางของเมือง
รอบๆ วัดเวียงจะมีกำแพงดินล้อมรอบสองชั้น
มีคูเมืองหรือที่เรียกว่า คือเมือง ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
... วัดสบคือ น่าจะเป็นวัดที่คูเมืองหรือคือเมือง มาสบกับแม่น้ำ คิดว่าน่าจะเป็นแม่น้ำวัง ...

ต่อมาปี พ.ศ. 1157 เจ้าดาวแก้วไข่ฟ้า เจ้าเมืองเถิน ได้สร้างวิหารอุโบสถขึ้น
โดยพระนางจามเทวี พระสหายของเจ้าเมืองได้ช่วยก่อสร้าง
พระนางจามเทวี ได้ปลูกต้นขนุนขึ้นเพื่อเป็นหลักเมืองเรียกว่า ขนุนนางจามเทวี
ต้นขนุนจามเทวีมี 3 ต้น อยู่ที่ วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุลำปางหลวง และวัดเวียงที่ละ

1 ต้น






ต่อมาพม่าได้อพยพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนืออีก
พม่าได้บูรณะวัดเวียงอีกครั้ง
ได้เกณฑ์พวกญวณมาเป็นช่างสร้างวิหารให้ใหญ่กว่าเดิม
รวมทั้งอุโบสถและซุ้มประตูจนเสร็จสมบูรณ์
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพมาตีพม่าจนถอยกลับไป วัดเวียงจึงเป็นวัดร้างอีกครั้งหนึ่ง

ถึงสมัยรัชกาลที่ 5
หลวงปู่แสนคำก็ได้มาบูรณะซ่อมแซมและย้ายมาประจำอยู่ที่วัดวียงแห่งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


ประตูโขง
พัฒนาขึ้นจากเจดีย์แบบมณฑปปราสาท 5 ยอดของล้านนา เมื่อลอดซุ้มประตูสู่แดนศักดิ์สิทธิ์




ฐานประตูโขง ยกเก็จย่อมุมสิบหก
ขอบซุ้มประตูเป็นลายพันธุ์พฤกษา สองข้างเป็นกินรี
ตรงกลางเป็นมกรคายนาค หางมกรพันกันเหนือซุ้ม




ใต้ซุ้มประตู วงล้อพระธรรม
ด้านข้างเป็น คชสีห์ และ สกุณไกรสร ... หัวเป็นนก ตัวเป็นสิงห์ ไม่มีปีก




ด้านข้างเป็นกินรีร่ายรำ







หอธรรม วัดเวียง







พระธาตุเจดีย์







วิหาร




เป็นวิหารโถงล้านนา  
วิหารล้านนาจะแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็นสามส่วน
ไม่มีฝาผนังด้านข้าง ยกเว้นส่วนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งอยู่หล้งสุด เรียกวิหารโถง
ด้านหน้าหลังคาซ้อน 3 ชั้น  ตามความยาวของวิหาร
แบ่งเป็นส่วนหน้าสุดของคนทั่วไป ตรงกลางที่หลังคาสูง เป็นที่สำหรับพระสงฆ์




ด้านหลังซ้อน 2 ชั้น ตามความยาวของวิหาร ผนังปิด เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน




หน้าวิหาร




ปูนปั้นรูปลิงมีหางเป็นปลา ... มัจฉานุ




หน้าบัน




ด้านล่างวิหารเปิดโล่ง ... วิหารโถง
เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดไหล่หิน และวัดปงยางคก




หลังจากหลวงปู่แสนคำ และพระสงฆ์ได้ช่วยกันบูรณะวัดเวียงแล้ว
มีเสาวิหารต้นหนึ่งมีนางไม้ออกไปเล่นน้ำที่หนองท่วม ห่างจากวัดประมาณ 2 กิโลเมตร
ตอนเช้าจะมีจอกแหนติดอยู่ปลายเสา บางทีหอยติดมาด้วย
หลวงปู่แสนคำจึงใช้คาถาสะกดเสาต้นนี้และเอาโซ่เหล็กมาผูกไว้ที่โคนเสา
จากนั้นก็มีผึ้งมาทำรังในโพรงเสาและมีหมีมาควักกินน้ำผึ้ง ทำให้เสาแตก
หลวงปู่แสนคำจึงสั่งให้เอาเสานั้นออก แล้วก่ออิฐฉาบปูนขึ้นแทนเสาต้นเดิม

โครงหลังคา ม้าต่างไหม




เสาเขียนลายคำ




ซุ้มพระเจ้า เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดไหล่หิน และวัดปงยางคก




ประดิษฐานพระเพชร ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน




ซุ้มพระเจ้ายกเก็จย่อมุม




ซุ้มด้านข้าง




ลวดลายฐานชุกชี




เครื่องสูงหรือราชกุธภัณฑ์




ธรรมาสน์ ล้านนา







พ.ศ. 2534 ทางวัดได้ขออนุญาตไปยังกรมศาสนา
เพื่อซ่อมแซมภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝาน้ำย้อยด้านในวิหาร ซึ่งเป็นลายรดน้ำและขออนุรักษ์ลวดลายคงเดิมไว้
ก็ได้รับอนุญาตให้บูรณะได้ จึงได้ลงมือบูรณะซ่อมแซม โดยช่างเขียนลวดลายจากเชียงใหม่

ฝาน้ำย้อยคือผนังไม้ที่ยื่นลงมาจากขื่อลงมาเพื่อกันแดดและฝน เนื่องจากวิหารโถงล้านนาไม่มีผนัง
จิตรกรรมฝาผนังที่ฝาน้ำย้อย

























ปิดท้ายด้วยคันทวยสวย ๆ






สารบัญท่องเที่ยว 1 - https://ppantip.com/topic/36574038
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่