พระราชพงศาวดารเหนือ
เป็นเรื่องราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา(น้อย) กรมราชบัณฑิตย์ขวา รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ จากที่เล่าต่อกันมาและมีบันทึก
ตั้งแต่บาธรรมราชสร้างเมืองสัชชนาไลยเมืองสวรรคโลก เสวยราชสมบัติพระนามพระเจ้าธรรมราชาธิราช
เป็นลำดับลงมาจนถึงพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุทธยาโบราณราชธานี
สำหรับเมืองสุพรรณบุรี เล่าว่า
พระเจ้ากาแตเชื่อสายพระนเรศร์หงษา
ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน หรือสุพรรณบุรี
แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์
ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี
ในบริเวณวัดสนามชัยมีเจดีย์ใหญ่เป็นองค์ประธาน
ด้านทิศใต้มีช่องเข้าไปยังกลางเจดีย์ เป็นห้องสี่เหลี่ยม
ทางตะวันออกของเจดีย์ พบอัฐิธาตุป่นปนอยู่กับเถ้าถ่านเป็นจำนวนมาก
เชื่อกันว่าเป็นอัฐิของทหารที่เสียชีวิตในการทำสงครามกับพม่าบนแผ่นดินเมืองสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหาร
ทิศตะวันตกนอกระเบียงคตของเจดีย์เป็นอุโบสถ
วัดป่าเลไลยก์
เป็นวัดเก่าแก่ ได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ สุพรรณบุรี
ทรงพบว่าเป็นวัดรกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา สภาพเสื่อมโทรมมาก
จึงทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ ได้โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์
โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์
สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น
ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย
พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
ได้สร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ ในวิหารหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้ายและขวา
หลวงพ่อโต
เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ คือประทับนั่งห้อยพระบาท
แต่บางท่านว่าเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้ง
พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทอง เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ที่อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี
ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย
สุพรรณบุรี - วัดสนามชัย วัดป่าเลไลยก์ วัดเก่าแก่ในพงศาวดารเหนือ
เป็นเรื่องราวที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา(น้อย) กรมราชบัณฑิตย์ขวา รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ จากที่เล่าต่อกันมาและมีบันทึก
ตั้งแต่บาธรรมราชสร้างเมืองสัชชนาไลยเมืองสวรรคโลก เสวยราชสมบัติพระนามพระเจ้าธรรมราชาธิราช
เป็นลำดับลงมาจนถึงพระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุทธยาโบราณราชธานี
สำหรับเมืองสุพรรณบุรี เล่าว่า
พระเจ้ากาแตเชื่อสายพระนเรศร์หงษา
ได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน หรือสุพรรณบุรี
แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์
ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี
เชื่อกันว่าเป็นอัฐิของทหารที่เสียชีวิตในการทำสงครามกับพม่าบนแผ่นดินเมืองสุพรรณบุรี
เป็นวัดเก่าแก่ ได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ สุพรรณบุรี
ทรงพบว่าเป็นวัดรกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา สภาพเสื่อมโทรมมาก
จึงทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ ได้โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์
โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์
สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น
ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย
พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ คือประทับนั่งห้อยพระบาท
แต่บางท่านว่าเดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้ง
พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทอง เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ที่อาจได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี
ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย