[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ เชียงราย จุลกฐิน 2016 : "วันดา"

การเขียนบทความเรื่องหนึ่ง ๆ นั้น บางครั้งปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานจนลืม
จนกระทั้งมีอีกเหตุการณ์ที่เหมือนกันกำลังจะเกิดขึ้น 
ทำให้นึกขึ้นได้ว่าเรื่องเก่ายังไม่ได้เขียนถึง จึงต้องรีบนำมาเขียน
เคยไปร่วมงานจุลกฐินครั้งหนึ่งที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เมื่อกว่า 7 ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้เขียนถึง
หลายเดือนก่อนคุยกับคุณวุฒิสาร พนารี นายกสมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ (สพวช.) 
ระหว่างการไปทอดผ้าป่าสามัคคีบูชาธรรม 2 แผ่นดิน (ไทย-กัมพูชา) และเที่ยวเขาพระวิหาร
ระหว่างวันที่ 10-12-1-2023 ที่ยังไม่ได้เขียนถึง โดยเสนอให้ปีนี้จัดงานจุลกฐินและงานกฐินตกค้างที่จัดทุกปีพร้อมกัน
ได้ข้อสรุปว่าจะจัดระหว่างวันศุกร์ที่ 24 ถึงวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง 
และเป็นวันสุดท้ายของวันทอดกฐินตามพุทธบัญญัติ โดยเลือกวัดป่าอาสภาวาส 
ตำบล หินตั้ง อำเภอบ้านไผ่ ขอนแก่น เป็นวัดแกนหลีกในการทำพิธี
ซึ่งได้ประสานงานและบางส่วนราชการให้การตอบรับ ในการเข้าร่วมและสนับสนุนการจัดงานบุญใหญ่ครั้งนี้
เช่น เจ้าคณะภาคและจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด
บางส่วนอยู่ระหว่างประสานงานและรอการตอบรับ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สื่อโทรทัศน์และสื่ออื่น ๆ
โดยจะเริ่มทำการเพาะปลูกต้นฝ้าย ในวันอังคารที่ 25 กค.เพื่อให้ทันการเก็บเกี่ยวดอกฝ้าย 
นำมาคัด ปั่นฝ้าย ตีเกลียวเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผืนผ้า ย้อมสีและตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวรสำหรับ 3 วัด
วันศุกร์ที่ 11-11-2016 7.30 น.ถึงสนามบินดอนเมือง 



คณะบุญออกเดินทางพร้อมกันไปสนามบินเชียงราย



เดินทางต่อด้วยรถตู้ 6 คัน





10.35 น.ออกจากสนามบินเชียงราย



มุ่งหน้าสู่อำเภอเชียงแสน ตามทางหลวงหมายเลข 1290





11.32 น.ถึงวัดพระธาตุจอมกิตติ นั่งรถขึ้นไปถึงยอดดอยน้อย
พระธาตุจอมกิตติ เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอมของจังหวัดเชียงราย
คือ พระธาตุเจดีย์สำคัญที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชื่อว่าหากสักการะครบทั้ง 9 จอมภายใน 1 วัน 
จะ​เกิดศิริมงคลเช่นเดียว​กับ​การปิดทอง​ 7 ​วัด​ภาย​ใน​ 1 ​วัน​ ประกอบด้วย
1 พระธาตุดอยจอมทอง - วัดพระธาตุดอยจอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
2 พระธาตุจอมหมอกแก้ว - วัดพระธาตุจอมหมอกแก้ว หมู่ที่ 9 บ้านดงมะเฟือง ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว
3 พระธาตุจอมผ่อ - วัดอรัญญวิเวกคีรี หมู่ที่ 7 บ้านดงหล่ายหน้า ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า
4 พระธาตุจอมแจ้ง - วัดจอมแจ้ง อำเภอแม่สรวย
5 พระธาตุจอมแว่ - วัดพระธาตุจอมแว่ หมู่ที่ 2 บ้านดอนตัน ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน
6 พระธาตุจอมจ้อ - วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง
7 พระธาตุจอมกิตติ - วัดพระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน
8 พระธาตุจอมจันทร์ - วัดจอมจัน หมู่ที่ 2 บ้านจอมจันทร์ ตำบลสันทราย อำเภอแม่จัน
9 พระธาตุจอมสัก - วัดพระธาตุจอมสัก หมู่ที่ 14 บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย (วิกิ)



วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนยอดดอยน้อย อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ตามตำนานสิงหนติโยนกกล่าวว่า พ.ศ. 1438 หลังจากพระพุทธโฆษาจารย์เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนา
จากประเทศลังกาแล้ว จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในมอญ พม่า ตามลำดับจนเข้ามาในโยนกนคร 
ได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระนลาฏ (หน้าผาก) 16 องค์มาด้วย พระองค์พังคราช พระองค์พรหมราช 
และพญาเรือนแก้ว ได้สร้างโกศเงิน โกศทอง โกศแก้ว บรรจุพระธาตุ แบ่งให้พญาเรือนแก้ว
นำไปบรรจุในพระธาตุจอมทอง กลางเวียงไชยนารายณ์เมืองมูล 5 องค์ ส่วนพระธาตุที่เหลืออีก 11 องค์ 
พระองค์พังคราช พระองค์พรหมราช และพระพุทธโฆษาจารย์ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้บนดอยน้อย 
ซึ่งเป็นสถานที่พุทธทำนายว่าต่อไปจะได้ชื่อ จอมกิตติ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่ค้นพบหลักฐาน
ที่เก่าถึงยุคสมัยโยนกนครตามที่ตำนานอ้างไว้
พ.ศ. 2030 หมื่นเชียงสง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ทำการสร้างพระธาตุจอมกิตติและวิหารขึ้น ตามพื้นเมืองเชียงแสน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระธาตุจอมกิตติ



เดินไปที่พระอุโบสถ หลังพระเจดีย์จอมแจ้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าบรรจุพระธาตุของพระอรหันต์
ที่น่าสับสน คือ ข้างพระเจดีย์ มีป้ายชื่อวัดจอมแจ้ง สร้างโดยเจ้าสุวรรณคำล้านนา เมื่อ พ.ศ.2030 เหมือนวัดซ้อนวัด
-วัดจอมแจ้ง แห่งอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายนี้ ตั้งอยู่บนดอยน้อย ใกล้กับพระธาตุจอมกิตติ 
วัดจอมแจ้ง ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงพระเจดีย์อยู่องค์เดียว อยู่ด้านหลังอุโบสถของวัดพระธาตุจอมกิตติ
ได้ใจความว่า พระเจ้าสุวรรณคำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสนให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๐๓๐ ตรงกับรัชสมัยของพระยอดเชียงราย
และเคยทรงบูรณะวัดพระธาตุจอมกิตติ และพระเจดีย์จอมแจ้งนี้ ก็ได้บรรจุอัฐิธาตุไว้ด้วยเช่นกัน 
แต่คงไม่ใช่พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ น่าจะเป็นพระอรหันต์ธาตุ
http://www.dooasia.com/thailandinfo/tour/vatphatatchom.shtml
ส่วนวัดจอมแจ้ง ซึ่งประดิษฐานพระธาตุจอมแจ้ง อยู่ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย







พระประธานในพระอุโบสถวัดพระธาตุจอมกิตติ 
เป็นพระพุทธรูปสีส้มห่มจีวรสีทอง ปางมารวิชัยศิลปล้านนา ด้านหลังแกะสลักไม้เป็นรูปต้นโพธิ์



องค์พระธาตุจอมกิตติ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส
รองรับฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ย่อเก็จ ระหว่างชั้นฐานปัทม์ฐานเขียงมีชั้นบัวคว่ำคั่นกลาง
ส่วนกลาง เป็นเรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยมมีจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทุกด้าน 
เรือนธาตุอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จที่ต่อเนื่องมาจากฐานด้านล่าง 
มุมที่เกิดจากการยกเก็จค่อนข้างใหญ่และลึกมากกว่าการยกเก็จในศิลปะล้านนา 
เรือนธาตุของพระธาตุจอมกิตติมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในรายละเอียดของส่วนประกอบคือ
บัวเชิงและบัวรัดเกล้ามีลักษณะคล้ายกับฐานปัทม์ลูกแก้วอกไก่ โดยเฉพาะบัวเชิง
มีความต่อเนื่องจากฐานปัทม์ของส่วนฐาน ดูคล้ายกับเป็นฐานปัทม์สองชั้น 
แต่ที่จริงเป็นส่วนหนึ่งของเรือนธาตุเพราะจระนำได้เจาะลึกลงไปจนถึงหน้ากระดานบนของฐานปัทม์ด้านล่าง
ส่วนยอด เหนือเรือนธาตุประกอบด้วยชั้นหลังคาลาดที่มีแนวยกเก็จต่อเนื่องขึ้นมาจากยกเก็จของเรือนธาตุ 
ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานปัทม์สิบสองเหลี่ยมซ้อนลดหลั่งกับองค์ระฆังทรงกลม 
บัลลังก์กลมบัวกลุ่มกลีบยาว ปล้องไฉน และปลียอดตามลำดับ
จากลักษณะของส่วนฐาน เรือนธาตุ ชุดฐานบัวเหนือชั้นหลังคาลาดและบัวกลุ่มกลีบยาว 
อาจสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบของเจดีย์วัดพระธาตุจอมกิตติในปัจจุบันคงมีการปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22
เมื่อวันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เวลา 15.57 น. เกิดแผ่นดินไหววัดขนาดได้ 5.8 
มีศูนย์กลางบริเวณชายแดนไทย-ลาว ห่างจากจังหวัดเชียงราย 57 กิโลเมตร ส่งผลให้ยอดฉัตรพระธาตุจอมกิตติ 
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย หักโค่นลงมาได้รับความเสียหาย ทางวัดได้นำไปเก็บรักษาไว้ 
ณ พิพิธภัณฑ์เชียงแสน สิ่งของที่บรรจุในยอดปลีองค์พระธาตุ ซึ่งมีอัญมณี 9 ชนิด 
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 
ได้พระราชทานบรรจุในยอดฉัตรเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ซึ่งพบแล้ว 7 อย่าง สูญหายไป 2 อย่าง
ต่อมา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมฉัตรจากของเดิม ให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรงมากขึ้น 
รวมทั้งได้เปลี่ยนก้านและแกนฉัตรเป็นสแตนเลส จากเดิมที่เป็นเหล็ก ซึ่งผุกร่อนเป็นสนิม ส่วนตัวฉัตรนั้น 
ช่างได้ทำให้เข้ารูปเดิม และเปลี่ยนวิธีห่อหุ้มทองคำ 99 เปอร์เซ็นต์ จากวิธีเปียกทองโบราณ 
มาใช้เทคโนโลยีใหม่วิธีฟอร์มทอง โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวหล่อและหุ้ม ซึ่งทำให้ทองคำอยู่ติดคงทน 
และสีไม่หมอง ส่วนยอดฉัตรที่ประดับด้วยอัญมณีนพเก้า และมีอัญมณีหลุดหายไป 2 ชนิดนั้น 
ได้มีประชาชนบริจาคโกเมนและนิล ซึ่งช่างได้นำขึ้นไปประดับไว้ครบทั้ง 9 ชนิดแล้ว 
ส่วนองค์พระธาตุ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งในส่วนโครงสร้างและฐานราก
เสริมอิฐซ่อมแซมส่วนที่เสียหายและเสริมความมั่นคงรอยแตกร้าวด้วยกาววิทยาศาสตร์ (Epoxy) และอัดฉีดน้ำปูนเข้าไป
ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 09.00 น. 
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระธาตุจอมกิตติ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 
ทรงประกอบพิธียกฉัตรประดับยอดพระธาตุกลับคืนดังเดิม (วิกิ)



ซุ้มกระจกบรรจุส่วนยอดพระธาตุที่หักโค่นลงมาจากเหตุแผ่นดินไหว



ศาลพระสยามเทวาธิราช



พระบรมรูปพระองค์พรหมราช ผู้สร้างเจดีย์บรรจุพระธาตุไว้บนดอยน้อย 



ลงจากวัดพระธาตจอมกิตติเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1290
12.15 น.นั่งรถไปประมาณ 13 กม.ถึงร้านครัวไท ร้านอยู่ริมแม่น้ำโขง







รายการอาหารแนะนำ



น้ำพริกกุ้งเสียบ 120 บาท



เห็ดหอมสดอบซีอิ๊ว 90 บาท



ต้มยำไก่ไทย 120 บาท



หมูยูนนานผัดเต้าหู้ 120 บาท



ไส้อั่วทรงเครื่อง 90 บาท



ห่อหมกปลาน้ำโขง 180 บาท



ผักกาดแก้วผัดน้ำปลา 90 บาท

ชื่อสินค้า:   ขันโตก
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่