วัดพระธาตุเสด็จ ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ช่วง ลำปาง-งาว กม. ที่ 17 แยกซ้ายไปอีก 2 กม.
เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวีได้มาสร้างเมืองเขลางค์นคร อยู่ระหว่างพระบรมสารีริกธาตุธาตุสองแห่ง ตามลำน้ำวังคือ
ทางเหนือเมืองวัดพระธาตุเสด็จ ทางใต้เมืองวัดพระธาตุลำปางหลวง
ด้วยความสงสัยจึงดูระยะทางในกูเกิลแมป ได้ระยะห่างด้งนี้
ประวัติวัดที่ติดไว้ที่วัด
เมื่อตอนไปเที่ยววัดพระธาตุจอมปิง ได้ค้นเรื่องเจดีย์วัดพระธาตุจอมปิง ได้เรื่องราวของเจ้าหาญแต่ท้องมาว่า
พระเจ้าแสนเมืองมาปู่ของพระเจ้าติโลกเคยเสด็จว่าสัตว์ที่แม่วาง ได้แม่นางคนแม่วางเป็นสนม
มีพระโอรสที่ชอบนอนในกระด้ง - มีศักดิ์เป็นอาพระเจ้าติโลก
ภายหลังเข้ารับราชการชื่อว่าหมื่นด้ง ได้มาครองเมืองละกอน หรือลำปาง จึงชื่อหมื่นด้งนคร
เมื่อพระเจ้าติโลกชิงราชสมบัติจากพญาสามฝั่งแกน พระราชบิดาสำเร็จขึ้นครองล้านนา
ครั้งหนึ่งเกิดสงครามกับเมืองใต้ หมื่นด้งไม่อยู่ไปราชการ แม่เมืองคือพระเทวีซึ่งกำลังท้องได้แต่งตัวเป็นชายเข้านำทัพต่อสู้ได้ชัยชนะ
จึงได้สร้างเจดีย์ที่สนามรบ ชื่อ เจดีย์จอมพิงค์ชัยมงคล คือ เจดีย์วัดพระธาตุจอมปิง
บุตรที่ออกมาจึงมีชื่อว่า หาญแต่ท้อง ต่อมาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง - ผู้สร้างเจดีย์พระธาตุ
ซุ้มประตูโขง
เชื่อม ชมพูทวีปที่อยู่ด้านใต้คือโลกที่เราอยู่ กับยอดเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณี - พระจุฬา (จุก) เกศาของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่พระอินทร์อัญเชิญมาเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาเพื่อออกผนวช
ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เฉพาะเรื่องซุ้มประตูโขงว่า
เป็นซุ้มประตู 7 ชั้น เทียบกับภูเขาที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ 7 ทิว ด้านบนเป็นสถูป
ที่เชิงเขาพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของป่าหิมพานต์และสระอโนดาด จึงมีรูปสัตว์ในหิมพานต์ประดับ เช่นกินรี มกร เทพ นาค
ด้านบนเป็นสถูปพระจุฬามณี
เหนือประตูประดับรูปธรรมจักร หมายถึงการเผยแพร่พระธรรม
ผังเขตพุทธาวาสของวัดของวัด
มีวิหาร 3 หลังอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ของเจดีย์
ทิศเหนือ และทิศใต้ของเจดีย์เป็นวิหารทิศ
ทางทิศตะวันออกเป็นวิหารหลวง
วิหารหลวง - เมื่อ 23 มกราคม 2567 กำลังเข้าเฝือก น่าเสียดายมาก
หน้าบันเข้าใจว่าเป็นรูปพระรามรบทศกัณฑ์ เพราะเห็นคนที่ล้มอยู่มีนูน ๆ เหนือศรีษะเป็นชั้น มือซ้ายถือกระบอง มือขวาถือศรน่าจะเป็นทศกัณฑ์
หน้าบันปีกนกเป็นรูปนางลอย อยู่ในลวดลายก้านขด ประดับกระจกสี
เป็นวิหารโถง มีฝาย้อย - เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ถูกแพคป้องกันความเสียหาย ด้านบนเป็นเจดีย์ - จุฬามณีเจดีย์
น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าไปโปรดพระพุทธมารดา แล้วเดิน หรือหย่อนตีน หรือ ปางลีลากลับลงมายังโลก
ฝาย้อยจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องเวสสันดรชาดก
วิหารทิศเหนือเป็นวิหารจามเทวี
ทิศใต้เป็นวิหารโคมคำ หนึ่งในสองสิ่งที่เราตั้งใจมา
วิหารโคมคำ เทียบได้กับวิหารพระพุทธของวัดพระธาตุลำปางหลวง
สร้างในสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ลำดับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2366
เป็นวิหารเครื่องไม้ เปิดโล่ง มีฝาย้อย แบบล้านนา
หลังคาลดชั้น ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น ผืนหลังคามี 2 ตับ ช่อฟ้าชูเชิดขึ้นมีปลายงอน หางหงส์เป็นตัวเหงา
โครงหลังคา ม้าต่างไหม เสาลวดลายประดับเป็นลายคำ
คันทวยไม้ แกะสลักรูปนาค - นาคะตัน
ยกเก็ดผนัง และซ้อนชั้นหลังคา แบ่งพื้นที่ออกเป้น 3 ส่วน
ด้านหน้าเป็นมุขโถง ด้านหลังเป็นแท่นพระเจ้า
การบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2500 ได้ก่อผนังเป็นวิหารปิด เจาะช่องลมยาวในแนวตั้ง ขนาบด้วยช่องรูปกากบาท
วิหารปิด ภาพด้านในได้แต่ภาพที่ผ่านช่องลม
รูปด้านซ้าย ราวไม้ยาวปลายเป็นรูปนาค เป็นพนักพิง ของพระสงฆ์ที่นั่งบนแท่นไม้ยาว เรียกแท่นสังฆ์ หรือจองสังฆ์
อีกสิ่งที่ตั้งใจมา
องค์พระธาตุเสด็จ - ทางล้านนาเรียกเจดีย์ว่าธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เป็นเจดีย์ทรงระฆังล้านนา ได้รับอิทธิพลลังกา ผ่านทางสุโขทัยจึงมีศิลปะสุโขทัยผสมอยู่
รอบเจดีย์มีกำแพงแก้ว และกุมภกัณฑ์กั้นธาตุ (คือปกปักรักษาเจดีย์) อยู่ข้างซุ้มประตูทางเข้าพระธาตุ
องค์เจดีย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมรับฐานปัทม์
ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้น มีลูกแก้วอกไก่ประดับท้องไม้สองเส้น - ศิลปะล้านนา
ฐานหน้ากระดานรับบัวถลา - บัวคว่ำ - ศิลปะสุโขทัย
ถัดไปเป็นบัวปากระฆังรับองค์ระฆังกลม - ศิลปะลังกา ... รัดอก รูปดอกประจำยาม - ศิลปะล้านนา
บัลลังก์สี่เหลี่ยม ย่อมุม - ศิลปะล้านนา
ก้านฉัตร บัวสาละมี ปล้องไฉน ปลี ยอดฉัตร 7 ชั้น
มณฑปพระพุทธบาท
พระพุทธบาทถือเป็นอุเทสิกเจดีย์ => เป็นสิ่งที่ใช้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เหมือน พระพุทธรูป สถูป
แต่ถ้าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ => ถือเป็นพระธาตุเจดีย์
ปิดท้ายด้วย วิหารไม้สวย ๆ วิหารพระพุทธโสธร
วิหารล้านนา และเจดีย์ทรงระฆังล้านนา ... วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง
เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวีได้มาสร้างเมืองเขลางค์นคร อยู่ระหว่างพระบรมสารีริกธาตุธาตุสองแห่ง ตามลำน้ำวังคือ
ทางเหนือเมืองวัดพระธาตุเสด็จ ทางใต้เมืองวัดพระธาตุลำปางหลวง
ด้วยความสงสัยจึงดูระยะทางในกูเกิลแมป ได้ระยะห่างด้งนี้
ประวัติวัดที่ติดไว้ที่วัด
เมื่อตอนไปเที่ยววัดพระธาตุจอมปิง ได้ค้นเรื่องเจดีย์วัดพระธาตุจอมปิง ได้เรื่องราวของเจ้าหาญแต่ท้องมาว่า
พระเจ้าแสนเมืองมาปู่ของพระเจ้าติโลกเคยเสด็จว่าสัตว์ที่แม่วาง ได้แม่นางคนแม่วางเป็นสนม
มีพระโอรสที่ชอบนอนในกระด้ง - มีศักดิ์เป็นอาพระเจ้าติโลก
ภายหลังเข้ารับราชการชื่อว่าหมื่นด้ง ได้มาครองเมืองละกอน หรือลำปาง จึงชื่อหมื่นด้งนคร
เมื่อพระเจ้าติโลกชิงราชสมบัติจากพญาสามฝั่งแกน พระราชบิดาสำเร็จขึ้นครองล้านนา
ครั้งหนึ่งเกิดสงครามกับเมืองใต้ หมื่นด้งไม่อยู่ไปราชการ แม่เมืองคือพระเทวีซึ่งกำลังท้องได้แต่งตัวเป็นชายเข้านำทัพต่อสู้ได้ชัยชนะ
จึงได้สร้างเจดีย์ที่สนามรบ ชื่อ เจดีย์จอมพิงค์ชัยมงคล คือ เจดีย์วัดพระธาตุจอมปิง
บุตรที่ออกมาจึงมีชื่อว่า หาญแต่ท้อง ต่อมาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง - ผู้สร้างเจดีย์พระธาตุ
ซุ้มประตูโขง
เชื่อม ชมพูทวีปที่อยู่ด้านใต้คือโลกที่เราอยู่ กับยอดเขาพระสุเมรุศูนย์กลางของจักรวาล เป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประดิษฐานเจดีย์จุฬามณี - พระจุฬา (จุก) เกศาของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่พระอินทร์อัญเชิญมาเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะทรงปลงพระเกศาเพื่อออกผนวช
ต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เฉพาะเรื่องซุ้มประตูโขงว่า
เป็นซุ้มประตู 7 ชั้น เทียบกับภูเขาที่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ 7 ทิว ด้านบนเป็นสถูป
ที่เชิงเขาพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของป่าหิมพานต์และสระอโนดาด จึงมีรูปสัตว์ในหิมพานต์ประดับ เช่นกินรี มกร เทพ นาค
ด้านบนเป็นสถูปพระจุฬามณี
เหนือประตูประดับรูปธรรมจักร หมายถึงการเผยแพร่พระธรรม
ผังเขตพุทธาวาสของวัดของวัด
มีวิหาร 3 หลังอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ของเจดีย์
ทิศเหนือ และทิศใต้ของเจดีย์เป็นวิหารทิศ
ทางทิศตะวันออกเป็นวิหารหลวง
วิหารหลวง - เมื่อ 23 มกราคม 2567 กำลังเข้าเฝือก น่าเสียดายมาก
หน้าบันเข้าใจว่าเป็นรูปพระรามรบทศกัณฑ์ เพราะเห็นคนที่ล้มอยู่มีนูน ๆ เหนือศรีษะเป็นชั้น มือซ้ายถือกระบอง มือขวาถือศรน่าจะเป็นทศกัณฑ์
หน้าบันปีกนกเป็นรูปนางลอย อยู่ในลวดลายก้านขด ประดับกระจกสี
เป็นวิหารโถง มีฝาย้อย - เหมือนวัดพระธาตุลำปางหลวง
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางลีลา ถูกแพคป้องกันความเสียหาย ด้านบนเป็นเจดีย์ - จุฬามณีเจดีย์
น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าไปโปรดพระพุทธมารดา แล้วเดิน หรือหย่อนตีน หรือ ปางลีลากลับลงมายังโลก
ฝาย้อยจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องเวสสันดรชาดก
วิหารทิศเหนือเป็นวิหารจามเทวี
ทิศใต้เป็นวิหารโคมคำ หนึ่งในสองสิ่งที่เราตั้งใจมา
วิหารโคมคำ เทียบได้กับวิหารพระพุทธของวัดพระธาตุลำปางหลวง
สร้างในสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ลำดับที่ 3 ในปี พ.ศ. 2366
เป็นวิหารเครื่องไม้ เปิดโล่ง มีฝาย้อย แบบล้านนา
หลังคาลดชั้น ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น ผืนหลังคามี 2 ตับ ช่อฟ้าชูเชิดขึ้นมีปลายงอน หางหงส์เป็นตัวเหงา
โครงหลังคา ม้าต่างไหม เสาลวดลายประดับเป็นลายคำ
คันทวยไม้ แกะสลักรูปนาค - นาคะตัน
ยกเก็ดผนัง และซ้อนชั้นหลังคา แบ่งพื้นที่ออกเป้น 3 ส่วน
ด้านหน้าเป็นมุขโถง ด้านหลังเป็นแท่นพระเจ้า
การบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2500 ได้ก่อผนังเป็นวิหารปิด เจาะช่องลมยาวในแนวตั้ง ขนาบด้วยช่องรูปกากบาท
วิหารปิด ภาพด้านในได้แต่ภาพที่ผ่านช่องลม
รูปด้านซ้าย ราวไม้ยาวปลายเป็นรูปนาค เป็นพนักพิง ของพระสงฆ์ที่นั่งบนแท่นไม้ยาว เรียกแท่นสังฆ์ หรือจองสังฆ์
อีกสิ่งที่ตั้งใจมา
องค์พระธาตุเสด็จ - ทางล้านนาเรียกเจดีย์ว่าธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
เป็นเจดีย์ทรงระฆังล้านนา ได้รับอิทธิพลลังกา ผ่านทางสุโขทัยจึงมีศิลปะสุโขทัยผสมอยู่
รอบเจดีย์มีกำแพงแก้ว และกุมภกัณฑ์กั้นธาตุ (คือปกปักรักษาเจดีย์) อยู่ข้างซุ้มประตูทางเข้าพระธาตุ
องค์เจดีย์
ฐานเขียงสี่เหลี่ยมรับฐานปัทม์
ฐานปัทม์ยืดสูงขึ้น มีลูกแก้วอกไก่ประดับท้องไม้สองเส้น - ศิลปะล้านนา
ฐานหน้ากระดานรับบัวถลา - บัวคว่ำ - ศิลปะสุโขทัย
ถัดไปเป็นบัวปากระฆังรับองค์ระฆังกลม - ศิลปะลังกา ... รัดอก รูปดอกประจำยาม - ศิลปะล้านนา
บัลลังก์สี่เหลี่ยม ย่อมุม - ศิลปะล้านนา
ก้านฉัตร บัวสาละมี ปล้องไฉน ปลี ยอดฉัตร 7 ชั้น
มณฑปพระพุทธบาท
พระพุทธบาทถือเป็นอุเทสิกเจดีย์ => เป็นสิ่งที่ใช้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า เหมือน พระพุทธรูป สถูป
แต่ถ้าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ => ถือเป็นพระธาตุเจดีย์
ปิดท้ายด้วย วิหารไม้สวย ๆ วิหารพระพุทธโสธร