วัดท่าข้าม หรือ วัดสุปัตตนาราม
ข้อสังเกตถึงชื่อวัด คำว่า สุ แปลว่าดี, ปัฏนะ อ่านว่า ปัต-ตะ-นะ แปลว่าท่าน้ำ, + อาราม คือที่อยู่พระสงฆ์
สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2407 โดย ครูบาพรหม สรวิจา ณ ที่เนินป่าสัก เดิมจึงเรียกชื่อว่าชื่อวัดสันป่าสัก
เป็นจุดข้ามฟากแม่น้ำฮาวจึงตั้งชื่อวัดท่าข้าม
ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ พ.ศ.2525
อยากมาเพราะจิตรกรรมฝาผนังเขียนของสล่าพื้นบ้าน
วิหาร
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จผนังขนาด 5 ห้อง มีโถงระเบียงด้านหน้า
หลังคาลดชั้นด้านหน้าและด้านหลังข้างละ 3 ซด 2 ตับ มีหลังคาลดชั้นคลุมโถงระเบียงด้านหน้า
เฟื่องปราสาทรูปหงส์ปกฉัตร ช่อฟ้านกหัสดีลิงค์ นาคเบือน
สองข้างทางเข้าสู่บริเวณวิหาร มีสิงห์เฝ้าบันไดมกรคายนาค
ด้านข้างเป็นทางขึ้นสำหรับพระสงฆ์ซึ่งจะสะดวกกว่าหากมีญาติโยมนั่งอยู่เต็มในวิหาร
หน้าบัน คอกีด โก่งคิ้ว หน้าบันปีกนก ลายก้านขด เป็นหม้อดอกอยู่ตรงกลาง
เสาเขียนด้วยลายคำ
เหนือประตู จะเห็นโครงหลังคาแบบม้าต่างไหม
หน้าบันตกแต่งปิดกระจกสี ดูไม่ชัดว่าเป็นรูปอะไร
คอกีดเป็นลายดอกไม้รูปขนมเปียกปูนต่อกัน
โก่งคิ้ว ตรงกลางเป็นแท่งรูปดอกบัว สองข้างเป็นรูปมังกร และ นก ประดับด้วย ดอกไม้และ เมฆลอย
เสากรอบประตูแปดเหลี่ยมเขียนด้วยลายคำ
ประตูทวารบาลถือดอกบัวและพระะขรรคยืนบนดอกบัว
เหนือประตูเป็นหน้ากาลคายช่อดอกไม้ลายก้านขด
ภายในวิหารด้านหน้าของพระประธาน
โครงหลังคาม้าต่างไหม ภาพเขียนที่ผนังลบเลือนไปมาก
ภายในวิหาร พระประธาน ธรรมมาส และธรรมาสทรงปราสาทล้านนา
จิตรกรรมฝาผนังเขียนด้านบนจากข้างกรอบหน้าต่างขึ้นไป ด้านล่างปล่อยว่างไว้
ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทองปางมารวิชัย
แท่นแก้วประดับตกแต่งด้วยลวดลายแก้วจืน
ด้านหลังเป็นลายคำพรรณพฤกษา - มืดไปหน่อย
จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างไทยใหญ่ พิเศษคือ จะใช้ คู่สี ครามกับ น้ำตาลแดง
ผนังด้านซ้ายและขวาขององค์พระประธานในแต่ละช่องที่ตรงกัน จะเขียนเรื่องเดียวกัน
ช่องแรก เรื่องปราบท้าวมหาชมพู
สัมพันธ์กับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ดูมั่งคั่งและงดงาม ที่ท้าวมหาชมพูมิอาจเทียมได้
ท้าวมหาชมพู มีฤทธิ์เพราะมีฉลองพระบาท พระขรรค์และลูกศรปราบได้ทั่วหล้า จึงถือตนว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป
ได้เหาะมาเห็นปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารอร่ามหรูก็ไม่พอใจ ทำลายยอดปราสาท แต่ไม่สำเร็จเพราะมีพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า
พระเจ้าพิมพิสารเกิดความกลัวจึงหนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาชมพูใช้ศรวิเศษให้ไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งตามไปถึงเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของท้าวมหาชมพู
ท้าวมหาชมพูให้ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปจับพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าบันดาลให้พญาครุฑไล่จับนาค จนต้องจึงดำดินหนี
พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญท้าวมหาชมพูมาเฝ้า
พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์เข้ามาในเมือง
ทั้งหมดไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่ง ประชาชนงดงามดังเทวดา
ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ และสำเร็จเป็นอรหันต์
ภาพแรกด้านของพระประธาน ดูไม่ออก ลอกการบ้านเขามา
ภาพแรกซ้ายพอจะดูออก จากภาพบุคคลที่มือขวาถือพระขรรค์ มือขวาถือธนู ใส่รองเท้าดำ
ภาพที่สองขวา พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
ภาพที่สองซ้าย มารผจญ บนหลังช้างมียักษ์แบบว่ายี่สิบแขนแบบทศกัณฐ์
พระแม่ธรณียืนบีบมวยผม และมารชูอาวุธจะทำร้ายพระพุทธเจ้า
ภาพที่สามขวา
เหนือประตูทางขึ้นพระสงฆ์ มีท่านผู้รู้อ่านว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่า
ด้านซ้าย มีท่านผู้รู้อ่านไว้ว่า เรื่องแม่กาเผือก พระพุทธเจ้าห้าพระองค์
ภาพชาดกนอกนิบาตร หรือ ชาดกนอกพระไตรปิฎกเรื่อง แสงเมืองหลงถ้ำ
เรื่องยาวมาก
ท้าวมันธราชและนางสุมิรา แห่งเมืองเชียงทองไม่มีโอรสจึงให้นางสุมิรารักษาศีล 7 วันเพื่อขอลูก
พระอินทร์จึงไปเชิญพระโพธิสัตว์มาปฏิสนธิในครรภ์นางสุมิรา ชื่อแสนเมือง
พรานป่าได้ลูกหงส์คู่หนึ่งจากป่าหิมพานต์ พูดภาษาคนได้
เจ้าแสงเมืองฝันว่าหงส์ทั้งคู่นำนางรูปงามผู้หนึ่งมาถวาย
จึงโปรดให้คนมาวาดภาพนางตามฝัน แล้วให้หงส์ไปค้นหา
จนถึงเมืองเขมรัฐ แห่งโยนกนาคพันธุ์
ท้าวสิริวังโสและนางทาริกามีธิดาชื่อนางเกี๋ยงคำ (ดอกลำเจียกสีทอง)
เมื่อหงส์ทราบข่าวนางเกี๋ยงคำจึงไปพบ
นางมอบแหวนวิเศษที่มีรูปของนางไปถวายเจ้าแสงเมือง
ทั้งสองเมือง ต่างก็เตรียมจัดงานอภิเษก จึงทำพิธีสังเวยเทพารักษ์ประจำเมืองก่อนกำหนด
เมื่อเสร็จพิธีได้ไปเที่ยวไปในถ้ำที่ดอยหลวงก็หลงถ้ำอยู 11 เดือน
เหลือบริวารอยู่ 6 คนและเจ้าแสงเมืองที่ยังไม่สิ้นพระชนม์
เจ้าแสงเมืองจึงอธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าจริงแล้ว ก็ขอให้พระอินทร์มาช่วย
พระอินทร์แปลงเป็นพรานป่ามาช่วย และสอนมนตร์ชุบชีวิตคน
แล้วเดินไปถึงอาศรมสุทธฤาษีฤาษีได้สอนวิชาการบางให้
แล้วเดินทางไปเขมรัฐ
พบนายบ้านปัจฉิมคามได้ยกลูกสาวสองคนให้เจ้าแสงเมือง และคนสนิทยิ่งของเจ้าแสงเมือง
แล้วเจ้าแสงเมืองเหาะไปหานางเกี๋ยงคำอภิเษกนางเกี๋ยงคำ
พระยาจัมปาก็ยกพลมาจะเข้าตีเมืองเพื่อชิงนางเกี๋ยงคำสุดท้ายก็ยอมอ่อนน้อม
ส่วนหงส์ทองขถูกเหยี่ยวลวงไปให้เสือจับกิน นายพรานที่เคยนำจำเศษขนได้
จึงนำขนหงส์ไปถวายเจ้าแสงเมือง
เจ้าแสงเมืองจึงโปรดให้เอาขนนั้นไปทำเป็นพัด
มีความสุข จบ
ทราบเรื่องเพราะมีตั๋วเมืองเขียนบอกไว้ที่ใต้ภาพ
เห็นภาพบุคคลถือหอกตีกันก็เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าคงเป็นเจ้าแสนเมืองรบจาม
ภาพนี้เราอ่านว่าเรื่องเวสสันดรชาดก
ภาพนี้เห็นแท่ง ๆ น่าจะแทนสัตตบรรพตแบบภาคตัดขวางล้อมเขาพระสุเมรุ ด้านข้างไล่ลงมาเป็น สวรรค์ มนุษย์ นรก
ผนังชำรุด ภาพชำรุด
บรรยากาศสวย ๆ เมื่อจากมา
วิหารล้านนา ... วัดท่าข้าม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ข้อสังเกตถึงชื่อวัด คำว่า สุ แปลว่าดี, ปัฏนะ อ่านว่า ปัต-ตะ-นะ แปลว่าท่าน้ำ, + อาราม คือที่อยู่พระสงฆ์
สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2407 โดย ครูบาพรหม สรวิจา ณ ที่เนินป่าสัก เดิมจึงเรียกชื่อว่าชื่อวัดสันป่าสัก
เป็นจุดข้ามฟากแม่น้ำฮาวจึงตั้งชื่อวัดท่าข้าม
ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ พ.ศ.2525
อยากมาเพราะจิตรกรรมฝาผนังเขียนของสล่าพื้นบ้าน
วิหาร
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จผนังขนาด 5 ห้อง มีโถงระเบียงด้านหน้า
หลังคาลดชั้นด้านหน้าและด้านหลังข้างละ 3 ซด 2 ตับ มีหลังคาลดชั้นคลุมโถงระเบียงด้านหน้า
เฟื่องปราสาทรูปหงส์ปกฉัตร ช่อฟ้านกหัสดีลิงค์ นาคเบือน
สองข้างทางเข้าสู่บริเวณวิหาร มีสิงห์เฝ้าบันไดมกรคายนาค
ด้านข้างเป็นทางขึ้นสำหรับพระสงฆ์ซึ่งจะสะดวกกว่าหากมีญาติโยมนั่งอยู่เต็มในวิหาร
เสาเขียนด้วยลายคำ
หน้าบันตกแต่งปิดกระจกสี ดูไม่ชัดว่าเป็นรูปอะไร
คอกีดเป็นลายดอกไม้รูปขนมเปียกปูนต่อกัน
โก่งคิ้ว ตรงกลางเป็นแท่งรูปดอกบัว สองข้างเป็นรูปมังกร และ นก ประดับด้วย ดอกไม้และ เมฆลอย
ประตูทวารบาลถือดอกบัวและพระะขรรคยืนบนดอกบัว
เหนือประตูเป็นหน้ากาลคายช่อดอกไม้ลายก้านขด
โครงหลังคาม้าต่างไหม ภาพเขียนที่ผนังลบเลือนไปมาก
จิตรกรรมฝาผนังเขียนด้านบนจากข้างกรอบหน้าต่างขึ้นไป ด้านล่างปล่อยว่างไว้
แท่นแก้วประดับตกแต่งด้วยลวดลายแก้วจืน
ด้านหลังเป็นลายคำพรรณพฤกษา - มืดไปหน่อย
ผนังด้านซ้ายและขวาขององค์พระประธานในแต่ละช่องที่ตรงกัน จะเขียนเรื่องเดียวกัน
ช่องแรก เรื่องปราบท้าวมหาชมพู
สัมพันธ์กับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ดูมั่งคั่งและงดงาม ที่ท้าวมหาชมพูมิอาจเทียมได้
ท้าวมหาชมพู มีฤทธิ์เพราะมีฉลองพระบาท พระขรรค์และลูกศรปราบได้ทั่วหล้า จึงถือตนว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป
ได้เหาะมาเห็นปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารอร่ามหรูก็ไม่พอใจ ทำลายยอดปราสาท แต่ไม่สำเร็จเพราะมีพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า
พระเจ้าพิมพิสารเกิดความกลัวจึงหนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวมหาชมพูใช้ศรวิเศษให้ไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งตามไปถึงเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของท้าวมหาชมพู
ท้าวมหาชมพูให้ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปจับพระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าบันดาลให้พญาครุฑไล่จับนาค จนต้องจึงดำดินหนี
พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญท้าวมหาชมพูมาเฝ้า
พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์เข้ามาในเมือง
ทั้งหมดไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่ง ประชาชนงดงามดังเทวดา
ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ และสำเร็จเป็นอรหันต์
ภาพแรกด้านของพระประธาน ดูไม่ออก ลอกการบ้านเขามา
เหนือประตูทางขึ้นพระสงฆ์ มีท่านผู้รู้อ่านว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกที่พม่า
เรื่องยาวมาก
ท้าวมันธราชและนางสุมิรา แห่งเมืองเชียงทองไม่มีโอรสจึงให้นางสุมิรารักษาศีล 7 วันเพื่อขอลูก
พระอินทร์จึงไปเชิญพระโพธิสัตว์มาปฏิสนธิในครรภ์นางสุมิรา ชื่อแสนเมือง
พรานป่าได้ลูกหงส์คู่หนึ่งจากป่าหิมพานต์ พูดภาษาคนได้
เจ้าแสงเมืองฝันว่าหงส์ทั้งคู่นำนางรูปงามผู้หนึ่งมาถวาย
จึงโปรดให้คนมาวาดภาพนางตามฝัน แล้วให้หงส์ไปค้นหา
จนถึงเมืองเขมรัฐ แห่งโยนกนาคพันธุ์
ท้าวสิริวังโสและนางทาริกามีธิดาชื่อนางเกี๋ยงคำ (ดอกลำเจียกสีทอง)
เมื่อหงส์ทราบข่าวนางเกี๋ยงคำจึงไปพบ
นางมอบแหวนวิเศษที่มีรูปของนางไปถวายเจ้าแสงเมือง
ทั้งสองเมือง ต่างก็เตรียมจัดงานอภิเษก จึงทำพิธีสังเวยเทพารักษ์ประจำเมืองก่อนกำหนด
เมื่อเสร็จพิธีได้ไปเที่ยวไปในถ้ำที่ดอยหลวงก็หลงถ้ำอยู 11 เดือน
เหลือบริวารอยู่ 6 คนและเจ้าแสงเมืองที่ยังไม่สิ้นพระชนม์
เจ้าแสงเมืองจึงอธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าจริงแล้ว ก็ขอให้พระอินทร์มาช่วย
พระอินทร์แปลงเป็นพรานป่ามาช่วย และสอนมนตร์ชุบชีวิตคน
แล้วเดินไปถึงอาศรมสุทธฤาษีฤาษีได้สอนวิชาการบางให้
แล้วเดินทางไปเขมรัฐ
พบนายบ้านปัจฉิมคามได้ยกลูกสาวสองคนให้เจ้าแสงเมือง และคนสนิทยิ่งของเจ้าแสงเมือง
แล้วเจ้าแสงเมืองเหาะไปหานางเกี๋ยงคำอภิเษกนางเกี๋ยงคำ
พระยาจัมปาก็ยกพลมาจะเข้าตีเมืองเพื่อชิงนางเกี๋ยงคำสุดท้ายก็ยอมอ่อนน้อม
ส่วนหงส์ทองขถูกเหยี่ยวลวงไปให้เสือจับกิน นายพรานที่เคยนำจำเศษขนได้
จึงนำขนหงส์ไปถวายเจ้าแสงเมือง
เจ้าแสงเมืองจึงโปรดให้เอาขนนั้นไปทำเป็นพัด
มีความสุข จบ
ทราบเรื่องเพราะมีตั๋วเมืองเขียนบอกไว้ที่ใต้ภาพ
เห็นภาพบุคคลถือหอกตีกันก็เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าคงเป็นเจ้าแสนเมืองรบจาม
ผนังชำรุด ภาพชำรุด