วันเสาร์ที่ 19-6-21 มีนัดไปงานศพสามีคุณครู ที่วัดกระทุ่มเสือปลา ในซอยอ่อนนุช 67 ใกล้วัดลานบุญ
พระเริ่มสวดพระอภิธรรมศพ 6 โมงเย็น ไปถึงที่วัดเกือบห้าโมงเย็น มีพิธีฌาปนกิจจึงชวนกันเดินเล่น
เคยไปแต่วัดลานบุญ มาวัดกระทุ่มเสือปลาเป็นครั้งแรก วัดนี้มีเตาเผาสัตว์เลี้ยงด้วย
คนไทยมีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยวสูง เมื่อสัตว์เลี้ยงตาย หลายคนเลือกทำพิธีทางพุทธ
ให้กับสัตว์เลี้ยงของตนที่จากไป เมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว จำได้ว่าวัดคลองเตยใน เป็นวัดแรกที่มีเตาเผาสัตว์เลี้ยง
เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น หลายวัดจึงหันมาสร้างเตาเผาสัตว์เลี้ยงและมีพิธีทำบุญให้
แม้แต่เมื่อตอนที่ลัคกี้จากไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ยังไปทำพิธีที่วัดยาง อ่อนนุช
"เที่ยวไปกินไป by laser @ ศูนย์อาหารศูนย์หนังสือจุฬาฯ & Lucky"
https://ppantip.com/topic/34778405/page1
วัดกระทุ่มเสือปลา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งใต้ ในแขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2345 ไม่ปรากฏนามของผู้สร้าง แต่มีหลักฐานว่า
ผู้บูรณปฏิสังขรณ์คือ ขุนประเวศชนารักษ์หรือเถ้าแก่เอี๋ยว ชาวจีนที่อพยพเข้ามาและได้เข้ารับราชการ
พร้อมกับนางสั้น กิตติโกวิท ผู้เป็นภรรยา สาเหตุที่ชื่อวัดกระทุ่มเสือปลานั้น
เนื่องจากเมื่อก่อนพื้นที่รอบวัดมีต้นกระทุ่มขึ้นอยู่มากและมีเสือปลาอาศัยอยู่ชุกชุม (วิกิ)
จากที่จอดรถเดินผ่านห้องสุขาหรูเสียค่าเข้า 20 บาท เช่นเดียวกับในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.บางแห่ง
ไม่ได้เสียดายเงิน 20 บาท แต่ไม่เข้าเพราะต้องถอดรองเท้า
เดินผ่านร้านกาแฟริมบ่อมาถึงกำแพง 8 มังกร แสดงว่ามีศาลเจ้าจีนอยู่ในวัดแห่งนี้ด้วย
แต่ไม่คิดว่าจะสร้างใหญโตขนาดนี้ เดินผ่านซอกข้างกำแพงมังกรและวิหารของวัดมาที่ด้านหน้า
จะพบกับวิหารเทพประทานพร หรือเต๋าบ้อเก็ง หรือวังมารดาแห่งดวงดาว
ซึ่งสร้างอย่างวิจิตรสวยงาม ด้วยศิลปแบบพุทธฝ่ายมหายาน
มีข้อมูลว่าสร้างโดยช่างฝีมือชาวจีน ชุดเดียวกับที่สร้างวัดกาณจนาภิเษก หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2
ด้านหน้าทางซ้าย คือ ศาลทีตีแป่บ้อ หรือศาลฟ้าดิน หรือศาลทีกง
ทางด้านขวาเป็นเตาเผากระดาษไหว้ทรงเจดีย์ 4 ชั้น
เสาวิหารทั้ง 4 ด้านหน้าแกะเป็นลายมังกรโอบม้วนเสา
ซ้ายขวาหน้าประตูเข้าวิหารมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ผู้พิทักษ์โลกทั้ง 4 ทิศ
ทางด้านซ้าย องค์ซ้าย คือ ท้าวธตรฐ (ถะ-ตะ-รด) เทพเจ้าแห่งคนธรรพ์
ทรงพิณจีน (ผีผา) ประจำทิศตะวันออก ปกป้องประเทศ
องค์ขวา คือ ท้าววิรุฬหก ประจำทิศใต้ ปกป้องพระธรรม ทรงกระบี่วิเศษ
ทางด้านขวา องค์ซ้าย คือ ท้าววิรุฬปักษ์ ประจำทิศตะวันตก คอยปกป้องราษฎร ทรงมังกรแดง
องค์ด้านขวา คือ ท้าวกุเวร ประจำทิศเหนือ ปกป้องความมั่งคั่ง ทรงร่มวิเศษ
http://www.chinatalks.co/chinatalks/chinesegods/ท้าวจตุโลกบาล/
ภายในวิหารมีภาพวาดบนผนังฝั่งละ 3 ห้อง ห้องกลางฝั่งซ้ายเป็นภาพ 3 พี่น้อง
สาบานในสวนดอกท้อ จากวรรณกรรมสามก๊ก ประกอบด้วยเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย
ส่วนฝั่งขวา เป็นภาพเล่าปี กวนอูและเตียวหุยออกรบ ซึ่งน่าจะเป็นการร่วมต่อสู้ร่วมกันเพื่อปราบลิโป้
ด้านซ้ายของโต๊ะวางชุดไหว้ เป็นรูปปั้นไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือเทพเจ้าเห้งเจีย ส่วนด้านขวาเป็นรูปปั้นนาจา
โต๊ะที่สองด้านขวาประดิษฐานเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
ตรงกลางประดิษฐานเทพเจ้าเต๋าบ้อ พระมาดา (เทพเจ้า) แห่งดวงดาง ปางสี่เศียรสี่กร
ซ้ายสุดประดิษฐานไท้ส้วย
เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา
ทางด้านขวาของโต๊ะประดิษฐานรูปปั้นเทพเจ้ากวนอู
ทางด้านซ้ายของโต๊ะประดิษฐานรูปปั้นเทพเจ้าอุ่ยท้อ หรือพระเวทโพธิสัตว์ (อุ่ยท้อผ่อสัก?)
เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา และศาสนสถาน ตามความเชื่อพุทธฝ่ายมหายาน
ปกติจะหันหน้าเข้าหาพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ หรือประธานของศาล
หลังโต๊ะที่สองประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมปางพันเศียรพันกร
แท่นด้านหลังสุดประดิษฐานพระประธาน คือ พระพุทธเจ้า 3 พระองค์
หรือไตรรัตนพุทธเจ้า (ซำปกฮุกโจ้ว) ตามความเชื่อพุทธฝ่ายมหายาน
องค์กลาง คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ายุคปัจจุบัน พระหัตถ์ทรงแก้วมณี
องค์ขวา คือ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้เป็นครูแห่งยารักษาโรค
องค์ซ้ายมือ คือ พระอมิตาภพุทธเจ้า พระหัตถ์ทรงดอกบัว พระหัตถ์ทรงมหาเจดีย์
ห้าโมงเย็นเล็กน้อย หลังผู้เยี่ยมชมคนสุดท้ายเก็บภาพเสร็จวิหารปิด
บานประตูเป็นภาพ "หมึ่งซิ้ง" หรือทวารบาลผู้ปกป้องประตู
กระถางปักธูปหมึ่งซิ้งเป็นรูปปั้นปลาหลีฮื้อ หรือปลาไน
จากการก่อสร้างและการประดิษฐานรูปเคารพภายในวิหาร
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวัดจีนพุทธฝ่ายมหายาน
ซ้อนอยูในวัดพุทธฝ่ายมหานิกาน เพียงแต่ไม่มีพระจีน
แต่แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันได้ของพุทธต่างนิกายได้อย่างลงตัว
และแสดงให้เห็นว่า กรรมการวัดฝ่ายคนจีน มีบทบาทพอสมควรในวัดนี้
นอกจากนี้ ยังเป็นการอยู่ร่วมกันได้ของคนต่างศาสนา
ซึ่งริมคลองประเวศฯ นั้น มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
อาคารสองชั้นทางด้านซ้ายของวิหารเทพประทานพรสร้างแบบไทย
ชั้นล่างจำหน่ายชุดไหว้ และเป็นที่ตั้งป้ายผู้วายชนม์ตามแบบจีน
ออกมาที่ริมถนนทางเข้าวิหารเทพประทานพร
สองข้างถนนมีเสาไฟมังกรฝั่งละ 4 ต้นรวม 8 ต้น ตามจำนวนมังกรบนกำแพงมังกร
ไม่มีแผงไฟพลังแสงอาทิตย์เหมือนเสาไฟกินรีอื้อฉาวแห่งตำบลราชาเทวะ
ปากทางเข้าวิหารเทพประทานพร ทางด้านซ้ายเป็นศาลเจ้าแม่นางไม้ และศาลสามกุมาร
ทางด้านขวาเป็นรูปปั้น 18 อรหันต์
ปกติแล้วจะประดิษฐานอยู่สองข้างพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ฝั่งละ 8 องค์
ถัดไปเป็นวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
หน้าทางเข้ามีรูปปั้นเสือขนาดใหญ่เหยียบเหรียญโบราณฝั่งละตัว
ด้านในประดิษฐานรูปปั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพจากพม่า
และรูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ติดกันยังมีวิหารย่อยและศาลย่อย เช่น
วิหารเกจิอาจารย์ดัง
วิหารเสด็จพ่อ ร.5 ร.4 และเสด็จเตี่ย
ศาลเจ้าพ่อเสือ (หลีเอี๊ย) มาในรูปครึ่งเสือครึ่งคน
ปกติจะเห็นเป็นรูปปั้นเสือลายพาดกลอน
การทำรูปเคารพเป็นกึ่งเสือกึ่งคน แสดงถึงการยกย่องเป็นเทพ
ศาลเจ้าพ่อเสือมีสองศาล
หน้าทางเช้าศาลฝั่งขวามือเป็นพระราหู และจตุคามรามเทพ
ศาลด้านในประกอบด้วย พระพุทธ หลีเอี๊ยครึ่งเสือครึ่งคน
หลวงปู่ชีวกโกมารภัจจ์
ท่านปู่ฤาษีเรืองฤทธิ์
เสือทองเหยียบบนเหรียญทองคำเหมือนประทานทรัพย์
ชุดไหว้
ฝั่งตรงข้าม คือ อาคารธนาคารบุญริมคลองประเวศบุรีรมย์
เดินเข้าไปขมด้านใน
พระพุทธชินราชจำลอง
หลวงพ่อโสธรและพระเจ้า 5 พระองค์
พระปาลิไลยก์
พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป 80 ปาง และพิพิธภัณฑ์วัดกระทุ่มเสือปลา
ศาลาลานบุญริมคลองประเวศฯ
เป็นศาลากว้างประมาณ 20 เมตร สำหรับนั่งพักผ่อนริมน้ำและให้อาหารปลา
ด้านขวาติดกับประตูระบายน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ ตอนกระทุ่มเสือป่า
สองข้างของศาลาลานบุญ มีเรือนำเที่ยวจอดอยู่ด้านละลำ
ด้านซ้ายมีห้องน้ำสะอาดไม่เสียเงิน
บ้านเรือนริมคลองประเวศฯ ฝั่งเหนือ
หกโมงเย็นพระเริ่มสวดพระอภิธรรมศพ ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง
ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับคุณครูที่เคยสอนชั้นประถมก่อนกลับ
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ เก้อเซียง
พระเริ่มสวดพระอภิธรรมศพ 6 โมงเย็น ไปถึงที่วัดเกือบห้าโมงเย็น มีพิธีฌาปนกิจจึงชวนกันเดินเล่น
เคยไปแต่วัดลานบุญ มาวัดกระทุ่มเสือปลาเป็นครั้งแรก วัดนี้มีเตาเผาสัตว์เลี้ยงด้วย
คนไทยมีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยวสูง เมื่อสัตว์เลี้ยงตาย หลายคนเลือกทำพิธีทางพุทธ
ให้กับสัตว์เลี้ยงของตนที่จากไป เมื่อสัก 30 ปีที่แล้ว จำได้ว่าวัดคลองเตยใน เป็นวัดแรกที่มีเตาเผาสัตว์เลี้ยง
เมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น หลายวัดจึงหันมาสร้างเตาเผาสัตว์เลี้ยงและมีพิธีทำบุญให้
แม้แต่เมื่อตอนที่ลัคกี้จากไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ยังไปทำพิธีที่วัดยาง อ่อนนุช
"เที่ยวไปกินไป by laser @ ศูนย์อาหารศูนย์หนังสือจุฬาฯ & Lucky"
https://ppantip.com/topic/34778405/page1
วัดกระทุ่มเสือปลา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ริมคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งใต้ ในแขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2345 ไม่ปรากฏนามของผู้สร้าง แต่มีหลักฐานว่า
ผู้บูรณปฏิสังขรณ์คือ ขุนประเวศชนารักษ์หรือเถ้าแก่เอี๋ยว ชาวจีนที่อพยพเข้ามาและได้เข้ารับราชการ
พร้อมกับนางสั้น กิตติโกวิท ผู้เป็นภรรยา สาเหตุที่ชื่อวัดกระทุ่มเสือปลานั้น
เนื่องจากเมื่อก่อนพื้นที่รอบวัดมีต้นกระทุ่มขึ้นอยู่มากและมีเสือปลาอาศัยอยู่ชุกชุม (วิกิ)
จากที่จอดรถเดินผ่านห้องสุขาหรูเสียค่าเข้า 20 บาท เช่นเดียวกับในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.บางแห่ง
ไม่ได้เสียดายเงิน 20 บาท แต่ไม่เข้าเพราะต้องถอดรองเท้า
เดินผ่านร้านกาแฟริมบ่อมาถึงกำแพง 8 มังกร แสดงว่ามีศาลเจ้าจีนอยู่ในวัดแห่งนี้ด้วย
แต่ไม่คิดว่าจะสร้างใหญโตขนาดนี้ เดินผ่านซอกข้างกำแพงมังกรและวิหารของวัดมาที่ด้านหน้า
จะพบกับวิหารเทพประทานพร หรือเต๋าบ้อเก็ง หรือวังมารดาแห่งดวงดาว
ซึ่งสร้างอย่างวิจิตรสวยงาม ด้วยศิลปแบบพุทธฝ่ายมหายาน
มีข้อมูลว่าสร้างโดยช่างฝีมือชาวจีน ชุดเดียวกับที่สร้างวัดกาณจนาภิเษก หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2
ด้านหน้าทางซ้าย คือ ศาลทีตีแป่บ้อ หรือศาลฟ้าดิน หรือศาลทีกง
ทางด้านขวาเป็นเตาเผากระดาษไหว้ทรงเจดีย์ 4 ชั้น
เสาวิหารทั้ง 4 ด้านหน้าแกะเป็นลายมังกรโอบม้วนเสา
ซ้ายขวาหน้าประตูเข้าวิหารมีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ผู้พิทักษ์โลกทั้ง 4 ทิศ
ทางด้านซ้าย องค์ซ้าย คือ ท้าวธตรฐ (ถะ-ตะ-รด) เทพเจ้าแห่งคนธรรพ์
ทรงพิณจีน (ผีผา) ประจำทิศตะวันออก ปกป้องประเทศ
องค์ขวา คือ ท้าววิรุฬหก ประจำทิศใต้ ปกป้องพระธรรม ทรงกระบี่วิเศษ
ทางด้านขวา องค์ซ้าย คือ ท้าววิรุฬปักษ์ ประจำทิศตะวันตก คอยปกป้องราษฎร ทรงมังกรแดง
องค์ด้านขวา คือ ท้าวกุเวร ประจำทิศเหนือ ปกป้องความมั่งคั่ง ทรงร่มวิเศษ
http://www.chinatalks.co/chinatalks/chinesegods/ท้าวจตุโลกบาล/
ภายในวิหารมีภาพวาดบนผนังฝั่งละ 3 ห้อง ห้องกลางฝั่งซ้ายเป็นภาพ 3 พี่น้อง
สาบานในสวนดอกท้อ จากวรรณกรรมสามก๊ก ประกอบด้วยเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย
ส่วนฝั่งขวา เป็นภาพเล่าปี กวนอูและเตียวหุยออกรบ ซึ่งน่าจะเป็นการร่วมต่อสู้ร่วมกันเพื่อปราบลิโป้
ด้านซ้ายของโต๊ะวางชุดไหว้ เป็นรูปปั้นไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือเทพเจ้าเห้งเจีย ส่วนด้านขวาเป็นรูปปั้นนาจา
โต๊ะที่สองด้านขวาประดิษฐานเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
ตรงกลางประดิษฐานเทพเจ้าเต๋าบ้อ พระมาดา (เทพเจ้า) แห่งดวงดาง ปางสี่เศียรสี่กร
ซ้ายสุดประดิษฐานไท้ส้วย เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา
ทางด้านขวาของโต๊ะประดิษฐานรูปปั้นเทพเจ้ากวนอู
ทางด้านซ้ายของโต๊ะประดิษฐานรูปปั้นเทพเจ้าอุ่ยท้อ หรือพระเวทโพธิสัตว์ (อุ่ยท้อผ่อสัก?)
เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาพระพุทธศาสนา และศาสนสถาน ตามความเชื่อพุทธฝ่ายมหายาน
ปกติจะหันหน้าเข้าหาพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ หรือประธานของศาล
หลังโต๊ะที่สองประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมปางพันเศียรพันกร
แท่นด้านหลังสุดประดิษฐานพระประธาน คือ พระพุทธเจ้า 3 พระองค์
หรือไตรรัตนพุทธเจ้า (ซำปกฮุกโจ้ว) ตามความเชื่อพุทธฝ่ายมหายาน
องค์กลาง คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ายุคปัจจุบัน พระหัตถ์ทรงแก้วมณี
องค์ขวา คือ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าผู้เป็นครูแห่งยารักษาโรค
องค์ซ้ายมือ คือ พระอมิตาภพุทธเจ้า พระหัตถ์ทรงดอกบัว พระหัตถ์ทรงมหาเจดีย์
ห้าโมงเย็นเล็กน้อย หลังผู้เยี่ยมชมคนสุดท้ายเก็บภาพเสร็จวิหารปิด
บานประตูเป็นภาพ "หมึ่งซิ้ง" หรือทวารบาลผู้ปกป้องประตู
กระถางปักธูปหมึ่งซิ้งเป็นรูปปั้นปลาหลีฮื้อ หรือปลาไน
จากการก่อสร้างและการประดิษฐานรูปเคารพภายในวิหาร
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นวัดจีนพุทธฝ่ายมหายาน
ซ้อนอยูในวัดพุทธฝ่ายมหานิกาน เพียงแต่ไม่มีพระจีน
แต่แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันได้ของพุทธต่างนิกายได้อย่างลงตัว
และแสดงให้เห็นว่า กรรมการวัดฝ่ายคนจีน มีบทบาทพอสมควรในวัดนี้
นอกจากนี้ ยังเป็นการอยู่ร่วมกันได้ของคนต่างศาสนา
ซึ่งริมคลองประเวศฯ นั้น มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
อาคารสองชั้นทางด้านซ้ายของวิหารเทพประทานพรสร้างแบบไทย
ชั้นล่างจำหน่ายชุดไหว้ และเป็นที่ตั้งป้ายผู้วายชนม์ตามแบบจีน
ออกมาที่ริมถนนทางเข้าวิหารเทพประทานพร
สองข้างถนนมีเสาไฟมังกรฝั่งละ 4 ต้นรวม 8 ต้น ตามจำนวนมังกรบนกำแพงมังกร
ไม่มีแผงไฟพลังแสงอาทิตย์เหมือนเสาไฟกินรีอื้อฉาวแห่งตำบลราชาเทวะ
ปากทางเข้าวิหารเทพประทานพร ทางด้านซ้ายเป็นศาลเจ้าแม่นางไม้ และศาลสามกุมาร
ทางด้านขวาเป็นรูปปั้น 18 อรหันต์
ปกติแล้วจะประดิษฐานอยู่สองข้างพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ฝั่งละ 8 องค์
ถัดไปเป็นวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
หน้าทางเข้ามีรูปปั้นเสือขนาดใหญ่เหยียบเหรียญโบราณฝั่งละตัว
ด้านในประดิษฐานรูปปั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
รูปปั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพจากพม่า
และรูปปั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ติดกันยังมีวิหารย่อยและศาลย่อย เช่น
วิหารเกจิอาจารย์ดัง
วิหารเสด็จพ่อ ร.5 ร.4 และเสด็จเตี่ย
ศาลเจ้าพ่อเสือ (หลีเอี๊ย) มาในรูปครึ่งเสือครึ่งคน
ปกติจะเห็นเป็นรูปปั้นเสือลายพาดกลอน
การทำรูปเคารพเป็นกึ่งเสือกึ่งคน แสดงถึงการยกย่องเป็นเทพ
ศาลเจ้าพ่อเสือมีสองศาล
หน้าทางเช้าศาลฝั่งขวามือเป็นพระราหู และจตุคามรามเทพ
ศาลด้านในประกอบด้วย พระพุทธ หลีเอี๊ยครึ่งเสือครึ่งคน
หลวงปู่ชีวกโกมารภัจจ์
ท่านปู่ฤาษีเรืองฤทธิ์
เสือทองเหยียบบนเหรียญทองคำเหมือนประทานทรัพย์
ชุดไหว้
ฝั่งตรงข้าม คือ อาคารธนาคารบุญริมคลองประเวศบุรีรมย์
เดินเข้าไปขมด้านใน
พระพุทธชินราชจำลอง
หลวงพ่อโสธรและพระเจ้า 5 พระองค์
พระปาลิไลยก์
พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป 80 ปาง และพิพิธภัณฑ์วัดกระทุ่มเสือปลา
ศาลาลานบุญริมคลองประเวศฯ
เป็นศาลากว้างประมาณ 20 เมตร สำหรับนั่งพักผ่อนริมน้ำและให้อาหารปลา
ด้านขวาติดกับประตูระบายน้ำคลองประเวศบุรีรมย์ ตอนกระทุ่มเสือป่า
สองข้างของศาลาลานบุญ มีเรือนำเที่ยวจอดอยู่ด้านละลำ
ด้านซ้ายมีห้องน้ำสะอาดไม่เสียเงิน
บ้านเรือนริมคลองประเวศฯ ฝั่งเหนือ
หกโมงเย็นพระเริ่มสวดพระอภิธรรมศพ ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง
ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับคุณครูที่เคยสอนชั้นประถมก่อนกลับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น