วัดที่สร้างในสมัยพญากือนา ... วัดหมื่นเงินกอง อ.เมือง เชียงใหม่





สร้างขึ้นในสมัยพญากือนาหรือท้าวสองแสนนา
กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 6 (พ.ศ. 1882-1916)
โดย
หมื่นเงินกองขุนคลัง ผู้ซึ่งเคยโปรดเกล้าให้
ไปอาราธนาพระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 1913 เพื่อมากระทำสังฆกรรมทั้งปวงในนครพิงค์




วัดตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองชั้นใน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้





วิหารหลวง หรือ วิหารประธาน
เป็นวิหารปิดแบบล้านนารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จของผนัง เพื่อแบ่งพื้นที่ใช้สอย

ในครั้งพุทธกาลหมายถึงที่อยู่ของสงฆ์ เช่นเดียวกับกุฏิ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพนิพาน มีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนพระพุทธองค์
จึงสร้างอาคารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าว เป็นสถานที่สมมุติ ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ เรียกว่าวิหาร





ป้านลม
เป็นส่วนของโครงสร้าง ทำหน้าที่เพื่อปิดช่องว่างด้านสกัด ที่เกิดจากการมุงหลังคา
เพื่อป้องกันลมตีกระเบื้อง
ประกอบด้วย ช่อฟ้า-หัวนาค ใบระกา-ตัวนาค หางวัน-หางนาค
อันเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์





หน้าบันหรือหน้าแหนบ
สร้างขึ้นเพื่อใช้ปิดช่องว่างที่เกิดจากโครงสร้างหลังคา
มักทำเป็นแผ่นไม้ตีเป็นช่องๆ ตามกับโครงสร้างม้าต่างไหมที่อยู่ภายใน
แกะสลักลายพรรณพฤกษา ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงลงรักปิดทอง
หน้าบันแผ่นกลางดูเผิน ๆ คล้ายเป็นรูปเกียรติมุขด้วย

ด้านล่างของแผ่นไม้เป็นรูปวงโค้งเรียกว่า โก่งคิ้ว

เสาคู่หน้าสุดของพระวิหารเป็นรูปแปดเหลี่ยมเปรียบเหมือนจิตใจมนุษย์ที่ยังไม่ได้ขัดเกลา
ซึ่งเสาคู่ในวิหารเป็นรูปทรงกลม เปรียบเหมือนจิตใจที่บริสุทธิ์ขัดเกลาแล้ว

หัวบันไดรูปลายกนกตัวเหงา





โครงสร้างหลังคา ... ม้าต่างไหม
ห้องโถงของอาคาร
เป็นพื้นที่ของสงฆ์ ... บ้างก็ยกแท่นอยู่ตรงกลาง บ้างก็ยกแท่นติดผนัง
และพื้นที่ของฆราวาส





พื้นที่ในสุดของวิหารคือ ฐานชุกชี หรือแท่นแก้ว
ประดิษฐานพระประธานของวัด
ส่วนองค์พระที่เป็นสีแดงเข้มคือส่วนของโลหะที่ไม่ได้ปิดทอง














หลังวิหารด้านนอก







เจดีย์

อยู่ด้านหลังวิหาร เมื่อกราบพระในวิหารจะกราบพระธาตุในเจดีย์ด้วย
ทรงปราสาท
ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุม
เรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน
บัวถลาสามชั้น
รับองค์ระฆังกลมด้านบน
ถัดไปเป็น บัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร ลูกแก้ว





วิหารพระเจ้าทันใจ








วิหารพระนอน
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดก














ราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องท้าว 5 ประการ
เป็นสิ่งที่คู่กับอาสนะพระเจ้า ... ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า

แสดงถึงความเป็นชนชั้นกษัตริย์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ของล้านนา หรือ ประกอบด้วย
1. เพิงกษัตริย์ หรือฉัตร
2. พัดค้าว หรือพัดโบก
3. จาวมอร หรือ บังแทรก
4. ละแอ หรือ บังวัน บังสูรย์
5. ไม้เท้า หรือ ไม้วา ธารพระกรมักประดับด้วยหัวพญานาค
ใช้ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูป
นิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป ชาวล้านนาเรียกว่า ... แท่นแก้ว





ข้างวิหารพระนอนที่ปิดอยู่ เข้าใจว่าเป๋นอุโบสถ แต่ไม่เห็นเสมา
บันไดมกรคายนาค ... ดูนาคเจ็บปวดมาก





เล่ากันว่า

มหาอำมาตย์หมื่นเงินกองเคยอุปสมบทและสึกออกมาเรียกว่า หนานเมธัง
มีภรรยาชื่อ นางแก้ว มีที่อยู่ก็เป็นที่ตั้งของวัดหมื่นเงินกองในปัจจุบัน
เกิดข้าวยากหมากแพง
หนานเมธังและนางแก้วจึงไปหาซื้อวัว ซื้อข้าวสาร เดินทางค้าขายไปเรื่อย ๆ จนร่ำรวย

วันหนึ่งมาถึงวัดพระนอนขอนม่วง (พระนอนบนขอนไม้มะม่วง)
อากาศร้อนมาก และเป็นเวลาเที่ยงจึงหยุดพัก
หนานเมธังจึงได้มัดวัวให้นางแก้วดูแล แล้วเข้าไปกราบพระนอน
เวลาผ่านไปนานสามียังไม่กลับออกมา นางแก้วจึงได้เข้าไปตาม
ขณะเดียวกันเชือกวัวตัวหนึ่งขาด วัวตัวนั้นวิ่งไปขวิดตลิ่งจนพัง
หนานเมธังจึงอธิษฐานต่อเทวดาว่า
หากสมบัติเหล่านี้เคยเป็นของตนเองในอดีตหรือปัจจุบันชาตินี้ก็ขอให้อยู่อย่างเดิม แต่ถ้าไม่ใช่ก็ขอให้หายไป
ปรากฏว่าเงินทองทั้งหมดยังอยู่ครบ จึงได้นำมาบรรทุกหลังวัวทั้ง 4 แล้วเดินทางต่อ

มาถึงบ่อน้ำที่ชื่อบ่อหมาเลีย วัวตัวหนึ่งเกิดสะดุดก้อนหินหกล้มตาย
สองสามีภรรยานำสมบัติบรรทุกวัวทั้ง 3 ตัวไม่หมด จึงฝังดินใกล้ๆน้ำบ่อ แล้วเดินทางกลับบ้าน
ถึงเวลาเข้านอนก็นอนไม่หลับจึงปรึกษาภรรยาเอาเงินทองที่ได้มาไป สร้างวัดช่างลาน หรือวัดเมธัง
ภายหลังเมื่อรับยศให้เป็นหมื่นเงินกอง จึงสร้างวัดหมื่นเงินกอง เพื่อเป็นอนุสรณ์ยศที่ตนเองได้รับ





ภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2558
สารบัญ ที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่