ภูทอก ภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว วัดภูทอก ตั้งอยู่ที่บ้านนาคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2483 โดยวัดแห่งนี้ เป็นสถานที่ปฏิบัติ ที่มีธรรมชาติสวยงาม เต็มไปด้วยป่าเขา แถมอากาศยังเย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นภูเขาหินทราย มองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วยภูทอกใหญ่และภูทอกน้อย บริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระปฏิบัติกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ได้เข้ามาจัดตั้งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่อันเงียบสงบ
ภูทอกน้อย เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้ เวียนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระ สามเณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2512 ใช้เวลานานถึง 5 ปี บันไดที่ขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้ เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้หลุดพ้น ด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น
ภูทอก ยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน บันไดทางขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานไม้เวียนรอบเขา สภาพเป็นป่า มีโขดหิน ลานหิน ชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 แต่เป็นทางชันมาก ต้องผ่านอุโมงค์มืด ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 4 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู”
บนชั้นที่ 4 นี้ เป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้น มีระยะทางเดินประมาณ 400 เมตร มีที่พักระหว่างทางเป็นระยะ ๆ ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง เป็นชั้นที่สำคัญที่สุด เพราะมีศาลาพระพุทธรูปให้สักการะ มีกุฏิที่อาศัยของพระสงฆ์ แทรกตามช่องหินที่เป็นทางเดิน และมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ บนชั้นนี้ มีสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกคือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่างได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา ชั้นที่ 6 ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมา ทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิต ผาหัวช้าง และผาเทพสถิต ในช่วงฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกลอยอยู่รอบ ๆ ยอดภู
จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชัน ดูน่าหวาดเสียวอันตราย สิ่งศักดิ์สิทธิ์และจุดน่าชมของชั้นนี้คือปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัสกับหินและมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังตลอดปีอยู่ในบริเวณเดียวกัน ชั้นที่ 7 มีบันไดไม้พาดขึ้นไป และจะเจอทางแยกสองทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้า ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะเกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้ เดินค่อนข้างลำบาก ควรใช้อีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางอ้อม โดยเดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันที่ด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโปร่ง มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่
นอกจาก ภูทอกแล้ว ยังมีเจดีย์พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ประดับด้วยหินอ่อนขนาดกว้าง 16 เมตร สูง 31 เมตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2529 ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะละสังขาร ท่านได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้ และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์ คือการท่องเที่ยวในเชิงการแสวงบุญหรือธรรมจาริก ไม้ทุกชิ้น ตะปูทุกตัว ล้วนมาจากศรัทธา ของชาวบึงกาฬ
วัดภูทอก (วัดเจติยาคีรีวิหาร) บันใดไม้แห่งศรัทธา สู่ภูผาแห่งบึงกาฬ
ภูทอกน้อย เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้ เวียนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระ สามเณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2512 ใช้เวลานานถึง 5 ปี บันไดที่ขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้ เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้หลุดพ้น ด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น
ภูทอก ยังเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน บันไดทางขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น ดังนี้ ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานไม้เวียนรอบเขา สภาพเป็นป่า มีโขดหิน ลานหิน ชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 แต่เป็นทางชันมาก ต้องผ่านอุโมงค์มืด ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 4 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู”
บนชั้นที่ 4 นี้ เป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้น มีระยะทางเดินประมาณ 400 เมตร มีที่พักระหว่างทางเป็นระยะ ๆ ชั้นที่ 5 หรือชั้นกลาง เป็นชั้นที่สำคัญที่สุด เพราะมีศาลาพระพุทธรูปให้สักการะ มีกุฏิที่อาศัยของพระสงฆ์ แทรกตามช่องหินที่เป็นทางเดิน และมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ บนชั้นนี้ มีสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พุทธวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีลักษณะแปลกคือ เป็นหินแยกตัวออกมาจากหินก้อนใหญ่ แต่ไม่ตกลงมา เพราะตั้งอยู่อย่างได้ฉากกับพื้นโลกพอดี ปัจจุบันมีสะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างสะพานหินกับพุทธวิหาร มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน และมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขา ชั้นที่ 6 ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ตลอดทางเดินจะเป็นหน้าผายื่นออกมา ทำให้ในบางครั้งเวลาเดินต้องเบี่ยงตัวออกมาเล็กน้อย โดยแต่ละจุดมีชื่อของหน้าผาที่แตกต่างกัน เช่น ผาเทพนิมิต ผาหัวช้าง และผาเทพสถิต ในช่วงฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกลอยอยู่รอบ ๆ ยอดภู
จากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชัน ดูน่าหวาดเสียวอันตราย สิ่งศักดิ์สิทธิ์และจุดน่าชมของชั้นนี้คือปากทางเข้าเมืองพญานาค ซึ่งอยู่หลังพระปางนาคปรก มีจุดให้สังเกตคือ มีรอยสีขาวขูดติดกับหินปูน ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นรอยถลอกที่เกิดจากท้องพญานาคสัมผัสกับหินและมีบ่อน้ำเล็ก ๆ มีน้ำขังตลอดปีอยู่ในบริเวณเดียวกัน ชั้นที่ 7 มีบันไดไม้พาดขึ้นไป และจะเจอทางแยกสองทางเพื่อขึ้นไปบนดาดฟ้า ทางแรกเป็นทางชัน ต้องเกาะเกี่ยวกิ่งไม้และรากไม้ เดินค่อนข้างลำบาก ควรใช้อีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางอ้อม โดยเดินเวียนไปทางขวามือ แต่ก็จะมาบรรจบกันที่ด้านบนชั้น 7 หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าโปร่ง มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่