ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม หรือ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย
“โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว
เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในล้านนา คือ สูงประมาณ ๘๐ เมตร เมตร
ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ ๖๐ เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. ๑๙๒๘ - ๑๙๔๕)
กษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น
สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า
พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า
ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่
พอให้คนที่อยู่ไกล ๒๐๐๐ วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา
เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จ
ในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง ๕ ปี
ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต
นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ ของวัดโชติการาม
(วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้
ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ
สมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้
แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานมุขตะวันออกของพระเจดีย์หลวง เป็นเวลาถึง ๘๐ ปี
ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์
ทางเชียงใหม่ขอคืน ก็คืนแต่พระพุทธสิหิงค์
ปี พ.ศ. ๒๐๕๕ พระเมืองแก้ว พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง
๓ ชั้นได้เงิน ๒๕๔ กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน ๓๐ กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่น
ทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง ๒,๓๘๒.๕๑๗ กิโลกรัม
ปี พ.ศ. ๒๐๘๘ สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี รัชกาลที่ ๑๕ แห่งราชวงศ์มังราย
ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา
หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า ๔๐๐ ปี
กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๒๓ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๑ สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่า
เป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง
แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา
ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง
มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น
พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว ๓ ลูก
ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง ๔ ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขง
ทั้ง ๔ ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว ๘ ตัว ตัวละ ๕ หัว อยู่ใน ๒ ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ ๔ ตัว
ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี ๒๘ เชือก
แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง ๘ เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ
ซึ่งชื่อช้าง ๘ เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
(ทิศอีสาน) เวียนมาตามทอศตะวันออก มีดังนี้
ตัวที่ ๑ เมฆบังวัน
ตัวที่ ๒ ข่มพลแสน
ตัวที่ ๓ ดาบแสนด้าม
ตัวที่ ๔ หอกแสนลำ
ตัวที่ ๕ ก๋องแสนแหล้ง
ตัวที่ ๖ หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ ๗ แสนเขื่อนก๊าน
ตัวที่ ๘ ไฟแสนเต๋า
การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง ๘ เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล
นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น
เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด
ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้
๑. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ
ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก
ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
๒. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน
ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป
จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
๓. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม
ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
๔. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว
หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
๕. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก
ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
๖. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ
ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
๗. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก
ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น
จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
๘. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน
เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”
หมายเหตุ : ประวัติพระแก้วมรกต
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะ
ก่อนเชียงแสน ถึง ศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์
วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗
(หรือ ค.ศ. ๑๔๓๔) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง
จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกะเทาะปูนออก
ทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น ทางเมืองเชียงราย จึงแจ้งมายังพระเจ้าสามฝั่งแกน แห่งเชียงใหม่ ทราบข่าว
พระเจ้าสามฝั่งแกน จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกต
กลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปาง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในพระราชอาณาจักร
จึงนำไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้า
ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่อีกครั้ง โดยสร้างปราสาประดิษฐาน
แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานมุขตะวันออกของพระเจดีย์หลวง
ครั้นเมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์
ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์
เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปนครเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงไปด้วย
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง
พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบก
ในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน
ส่วนพระบางพระราชทานคืนให้แก่ลาว
อ้างอิง ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
เทวพงศ์พันธ์ เชียงใหม่มหานคร
http://www.chiangmai-thailand.net
ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม นครเชียงใหม่ สถานที่สถิตพระแก้วมรกต
ราชกุฏาคาร วัดโชติการาม หรือ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย
“โชติการามวิหาร” แปลว่า พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว
เนื่องจากเป็นสถานที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในล้านนา คือ สูงประมาณ ๘๐ เมตร เมตร
ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณด้านละ ๖๐ เมตร ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ถือว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองเชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. ๑๙๒๘ - ๑๙๔๕)
กษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น
สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า
พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า
ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่
พอให้คนที่อยู่ไกล ๒๐๐๐ วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา
เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จ
ในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง ๕ ปี
ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต
นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ ของวัดโชติการาม
(วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้
ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ
สมัยพระเจ้าติโลกราช ได้เชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมายังเชียงใหม่ สร้างปราสาทประดิษฐานไว้
แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานมุขตะวันออกของพระเจดีย์หลวง เป็นเวลาถึง ๘๐ ปี
ครั้นเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาแห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์
ทางเชียงใหม่ขอคืน ก็คืนแต่พระพุทธสิหิงค์
ปี พ.ศ. ๒๐๕๕ พระเมืองแก้ว พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย เอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวง
๓ ชั้นได้เงิน ๒๕๔ กิโลกรัม จากนั้นจึงได้เอาเงินมาแลกเป็นทองคำจำนวน ๓๐ กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่น
ทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อรวมกับทองคำที่หุ้มองค์พระเจดีย์หลวงอยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง ๒,๓๘๒.๕๑๗ กิโลกรัม
ปี พ.ศ. ๒๐๘๘ สมัยพระนางจิระประภามหาเทวี รัชกาลที่ ๑๕ แห่งราชวงศ์มังราย
ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเชียงใหม่ จึงทำให้ยอดพระเจดีย์หลวงหักพังทลายลงมา
หลังจากนั้นพระเจดีย์หลวงจึงถูกทิ้งให้ร้างมานานกว่า ๔๐๐ ปี
กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๒๓ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗
ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่ด้วยไม้ทั้งหลัง
ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๑ สมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ถือได้ว่า
เป็นทศวรรษแห่งการบูรณะครั้งสำคัญของวัดพระเจดีย์หลวง ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง
แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา
ช้างรอบพระธาตุเจดีย์หลวง
มหาเจดีย์หลวงที่พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีทรงก่อสร้างนั้น
พระนางทรงให้ยกฉัตรยอดมหาเจดีย์ แล้วปิดด้วยทองคำ พร้อมทั้งเอาแก้ว ๓ ลูก
ใส่ยอดมหาเจดีย์นั้นไว้ ประดับด้วยโขงประตูทั้ง ๔ ด้าน มี พระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งในโขง
ทั้ง ๔ ด้าน มีรูป พญานาคปั้นเต็มตัว ๘ ตัว ตัวละ ๕ หัว อยู่ใน ๒ ข้างบันได รูปปั้นราชสีห์ ๔ ตัว
ตั้งอยู่ตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี ๒๘ เชือก
แต่ในประวัติศาสตร์มีเพียง ๘ เชือกเท่านั้น ที่มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ
ซึ่งชื่อช้าง ๘ เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
(ทิศอีสาน) เวียนมาตามทอศตะวันออก มีดังนี้
ตัวที่ ๑ เมฆบังวัน
ตัวที่ ๒ ข่มพลแสน
ตัวที่ ๓ ดาบแสนด้าม
ตัวที่ ๔ หอกแสนลำ
ตัวที่ ๕ ก๋องแสนแหล้ง
ตัวที่ ๖ หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ ๗ แสนเขื่อนก๊าน
ตัวที่ ๘ ไฟแสนเต๋า
การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง ๘ เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล
นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น
เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด
ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้
๑. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ
ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก
ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
๒. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน
ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป
จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
๓. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม
ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
๔. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว
หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
๕. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก
ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
๖. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ
ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
๗. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก
ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น
จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
๘. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน
เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”
หมายเหตุ : ประวัติพระแก้วมรกต
พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะ
ก่อนเชียงแสน ถึง ศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์
วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้วงามเมือง อำเภอเมืองเชียงราย) ในปี พ.ศ. ๑๙๗๗
(หรือ ค.ศ. ๑๔๓๔) ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง
จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกะเทาะปูนออก
ทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์
หลังจากนั้น ทางเมืองเชียงราย จึงแจ้งมายังพระเจ้าสามฝั่งแกน แห่งเชียงใหม่ ทราบข่าว
พระเจ้าสามฝั่งแกน จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่เชียงใหม่ แต่ช้างทรงพระแก้วมรกต
กลับไม่เดินทางไปยังเชียงใหม่ แต่ไปทางลำปาง เชียงใหม่เห็นว่าลำปางก็อยู่ในพระราชอาณาจักร
จึงนำไปประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้า
ถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังเชียงใหม่อีกครั้ง โดยสร้างปราสาประดิษฐาน
แต่ถูกฟ้าผ่าหลายครั้ง จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานมุขตะวันออกของพระเจดีย์หลวง
ครั้นเมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งล้านช้าง ซึ่งเป็นญาติกับราชวงศ์ล้านนามาครองเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับหลวงพระบาง ก็เชิญพระแก้วมรกตไปด้วยพร้อมกับพระพุทธสิหิงค์
ทางเชียงใหม่ขอคืนก็ได้แต่พระพุทธสิหิงค์
เมื่อล้านช้างย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางไปนครเวียงจันทน์ก็เชิญพระแก้วมรกตลงไปด้วย
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวง
พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต และ พระบาง มาจากอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
ในครั้งนั้นประดิษฐานไว้ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระองค์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรลงบุษบก
ในเรือพระที่นั่ง เสด็จข้ามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มาประดิษฐานยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงปัจจุบัน
ส่วนพระบางพระราชทานคืนให้แก่ลาว
อ้างอิง ประวัติวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
เทวพงศ์พันธ์ เชียงใหม่มหานคร
http://www.chiangmai-thailand.net