เมื่อพญามังรายทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ทรงประทับที่เชียงใหม่
โปรดให้ ขุนครามราชบุตรไปครองเมืองเชียงราย ... เชียงรายเป็นเมืองลูกหลวง
เมื่อพญามังรายต้องอสนีบาต สวรรคต
ขุนครามได้ขึ้นปกครองอาณาจักรล้านนา เป็นพญาไชยสงคราม ทรงประทับที่เชียงราย
โปรดให้ เจ้าแสนภู (เกิดบนภูดอย) ราชบุตรครองเชียงใหม่ ... เชียงใหม่เป็นเมืองลูกหลวง
เจ้าแสนภูถูกขุนเครือซึ่งเป็นอา (พระอนุชาพญาไชยสงคราม) มาตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้
เพราะเป็นคนธรรมะธรรมโม ไม่อยากฆ่าฟันกันเอง ก็ทรงหนีไปเชียงราย
แต่พญาไชยสงครามไม่ยอม ให้เจ้าน้ำท่วมอนุชาเจ้าแสนภูมาปราบสำเร็จและให้ปกครองเชียงใหม่
ขุนเครืองให้ขังที่นอกมุมเมืองตะวันตกเฉียงใต้
มีหมื่นเรืองเป็นผู้คุม เมื่อหมื่นเรืองตายไป จึงสร้างกู่บรรจุอัฐิที่มุมเมืองด้านนี้
มุมเมืองนี้จึงเรียกว่า แจ่งกู่เฮือง
ต่อมาพญาไชยสงครามเกรง เจ้าน้ำท่วมจะกบฏจึงส่งไปครองเชียงตุง
และให้พญาแสนภูกลับมาครองเชียงใหม่อีกครั้ง
ตำนานเล่าว่า
พญาแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา
ไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ ๆ แม่น้ำสายเล็ก ห่างจากแม่น้ำระมิงค์พอประมาณ
จึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นชื่อ วัดแสนฝัง >> แสนฝาง
แสน มาจาก พญาแสนภู
ฝัง คือการบริจาคราชทรัพย์ของพระองค์
ก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงแสนประทับ และให้เป็นเมืองหลวงของล้านนา
และให้พญาคำฟูพระโอรสรักษาเมืองเชียงใหม่ อันเป็นเมืองลูกหลวง
แผนที่ปี พ.ศ.2433
หน้าวิหารหันไปทางตะวันออกด้านถนนช้างม่อยตัดใหม่ ที่มีคลองแม่ข่าไหลผ่าน
ตรงแนวกำแพงเมืองชั้นที่สอง มีหอคอยที่มุมเมือง
ขอบคุณภาพจากเน็ท
หอเวรยาม เป็นหอที่มีทหารมาเฝ้าเวรยาม ปัจจุบันมีอยู่ 2 หอด้านตะวันออกของวัด ด้านถนนช้างม่อยตัดใหม่
ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครและพระญาติได้มาปฏิบัติธรรม
ขอบคุณภาพจากกูเกิลสตรีทวิว
วิหาร
บันไดตัวเหงาหรือหางวัน
ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ยกเก็จผนัง
หลังคายื่นออกมาทางด้านหน้า 1 ซด ด้านข้างเป็นปีกนก 2 ตับ
ปราสาทเฟื้องเป็นรูปฉัตร
ช่อฟ้าเป็นนกหัสดีลิงค์
ปั้นลมเป็นนาคเบือน
นาคขะตัน คือไม้ค้ำยันรูปสามเหลี่ยมที่รับน้ำหนักของชายคาลงมาที่เสาด้านข้างวิหาร มักเป็นรูปนาค ถือว่านาคค้ำจุนศาสนา
เหนือกรอบหน้าต่างเป็นซุ้มลายพรรณพฤกษาและดอกไม้
ใต้กรอบหน้าต่างประดับรูปสุตว์ในหิมพานต์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพไกสรราชเทวี
... พระบิดาและพระมารดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ...
ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์(เจ้าพ่อของเจ้าแม่ทิพไกสร)
ไปปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารปิดทองล่องชาดทั้งหลังและถวายวัดเมื่อ พ.ศ. 2420
หน้าบันหรือดอกคอหน้าแหนบ ทำจากไม้ ตามโครงสร้างของหลังคาแบบม้าต่างไหม
ประดับ ปูนปั้น รักปั้น ประดับกระจก
กรอบโครงสร้างม้าต่างไหมเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา
ลูกฟักเป็นลวดลายลายสัตว์ต่าง ๆ
ลูกฟักคือ ... ชิ้นส่วนของประตู-หน้าต่างที่ใส่อยู่ในบานกรอบ ...
โก่งคิ้ว เป็นแผงไม้อยู่ใต้หน้าแหนบมีลักษณะเป็นแผงวงโค้ง
ด้านข้างใต้หลังคาคือหน้าแหนบปีกนก
ใต้แหนบปีกนกก็เรียกว่า โก่งคิ้วปีกนก
แผงแล เป็นแผ่นไม้อยู่ระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง
ทำจากไม้ ตามโครงสร้างของหลังคาแบบม้าต่างไหม
ประดับ ปูนปั้น รักปั้น ประดับกระจก ไม้แกะสลัก ... งามหยดย้อย
ภายใน
จากวิหารเดินวนซ้าย ซุ้มประตูทางเข้าทางทิศใต้
หอไตรกลางน้ำ
อุโบสถเจ้าดารารัศมี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453
หลวงโยนะการพิจิตรได้สร้างพระอุโบสถขึ้น
และพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงต้องการสร้างพระอุโบสถเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระบิดาและพระมารดา
จึงได้จ่ายเงินคืนให้แก่หลวงโยนะการพิจิตร 1000 รูปี
และถวายพระอุโบสถเป็นพระราชกุศลตามพระประสงค์
เป็นหลังคาทรงฮ่างหงส์
ช่อฟ้าเป็นรูปเทวดา
ปั้นลมนาคเบือน สันหลังคาปีกนกเป็นรูปเทวดาร่ายรำ
หน้าบันพระนารายณ์ทรงครุฑ เทพพนม
ที่สำคัญคือ มีรูปดาวห้าแฉก ... สัญญลักษณ์ของเจ้าดารารัศมีที่นักเรียนโรงเรียนดาราคุ้นเคย
หอไตรเก่า
เป็นหอไตรแบบหอสูง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครึ่งตึกครึ่งไม้
ระเบียงล้อมรอบตัวห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาดเข้าไปด้านใน
สร้างจากชิ้นส่วนประกอบของปราสาท(ที่ตั้งศพ) ของนางบัวจีน อุปะโยคินภรรยาคนที่ 2 ของหลวงโยนะการพิจิตร
ชาวล้านนาเชื่อว่า การสร้างคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาแล้วถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก เป็น มูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ
และการสร้างหอไตรเก็บคัมภีร์ก็ถือว่ามี อานิสงส์ผลบุญเท่ากับการสร้างวิหาร
พระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย
เป็นเจดีย์พม่าผสมผสานกับศิลปะล้านนาจากเจดีย์เก่า
เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ... ไม่มีบัลลังก์ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
สันนิษฐานว่ามาจากการที่ พระเจ้าอนิรุธทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากบัลลังก์ลงมาบรรจุอยู่ในใจกลางส่วนล่างของเจดิย์ จึงไม่ต้องมีบลัลังก์อีกต่อไป เรียกว่าแบบอนิรุธ
ยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรโลหะสีทอง
ถัดลงมาเป็น
ปลี ... ทรงพุ่มเตี้ย ๆ คล้ายดอกบัวตูม
ปัทมบาทคือส่วนที่มีบัวคว่ำบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
ปล้องไฉน
รับเจดีย์ทรงระฆัง มีรัดอกคือเส้นคาดกลางองค์ระฆัง
บัวปากระฆัง ... บัวคว่ำบัวหงายประดับกลีบบัว
รองรับด้วยฐานปัทม์แปดเหลี่ยม
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จสามชั้น
มุมของฐานประดับแต่ละชั้นด้วย เจดีย์(สถูปิกะ)ทำให้อาจดูเป็นเจดีย์ 5 ยอด , นรสิงห์ และหม้อดอกบัว(ปูรณฆฎะ)
ที่มุมของฐานเจดีย์ชั้นล่างสุดประดับฉัตร และรูปปั้นสิงห์สองตัว
องค์เจดีย์ล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ย ประดับใบเสมา
มีซุ้มพระ ตรงกลางด้านทั้งสี่ของกำแพงแก้ว
บันไดตัวมอม
ประตูท่าแพปัจจุบัน เป็นประตูท่าแพชั้นในของกำแพงเมืองเชียงใหม่ เดิมเรียกว่าประตูเชียงเรือก
ส่วนประตูท่าแพนั้นใช้เรียกประตูชั้นนอกของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ประมาณทางทิศใต้ของวัดแสนฝาง เยื้องกับประตูเชียงเรือก
ภายหลังเมื่อยกเลิกประตูท่าแพตรงนี้ จึงเรียกประตูเชียงเรือกหรือประตูท่าแพใน เป็นประตูท่าแพ
บริเวณนี้จึงน่าจะเคยเป็นที่ที่มีป้อม มีปืนใหญ่
ปืนใหญ่ที่พบจึงได้นำมาเก็บไว้บริเวณลานประทักษิณของเจดีย์
หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
โดยการ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง คือ กวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเหนืออีกครั้ง
และจะมีประเพณีที่เจ้าหลวงเชียงใหม่
จะอัญเชิญพระธาตุจอมทองไปเชียงใหม่ เพื่อสรงน้ำ และให้ประชาชนได้สรงน้ำทุกปีเพื่อเป็นสิริมงคล
จึงสร้างวัดต้นแกว๋นเพื่อเป็นสถานที่แวะพัก และให้ประชาชนในละแวกนี้ ... หางดง ... ได้สรงน้ำ
ก่อนจะนำไปเข้าไปแห่ในเมืองเชียงใหม่
ปี พ.ศ.2452 หลวงโยนการพิจิตรแห่พระธาตุจอมทอง
มาทางหน้าที่ประทับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งเสด็จมาทำบุญที่วัดแสนฝาง
รูปปั้นช้างที่เห็น เข้าใจว่าน่าจะเล่าถึงประเพณีนี้
กุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร
สร้างโดยศรัทธาของ หลวงโยนการพิจิตร หรือ หม่องปันโหย่ว อุปโยคิน
เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า ได้เข้ามาทำงานในคุ้มหลวง
ของเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7
พระบิดาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ได้รับพระราชทานนามสกุล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่า “อุปะโยคิน” (Upayogin)
วัดนี้เป็นวัดที่หลวงโยนการพิจิตรได้สร้างและบูรณะถาวรวัตถุมากมาย
เดิมท่านชื่อปันโหย่ ในภาษาพม่าแปลว่าดอกไม้
ซึ่งท่านได้ทิ้งสัญญลักษณ์ดอกไม้ ในวัดต่าง ๆ ที่ท่านได้บูรณะไว้
ประดับเจดีย์วัดแสนฝาง
ประดับวิหาร
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ
https://ppantip.com/topic/38109220
วัดที่สร้างในสมัยพญาแสนภู ... วัดแสนฝาง
เมื่อพญามังรายทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ทรงประทับที่เชียงใหม่
โปรดให้ ขุนครามราชบุตรไปครองเมืองเชียงราย ... เชียงรายเป็นเมืองลูกหลวง
เมื่อพญามังรายต้องอสนีบาต สวรรคต
ขุนครามได้ขึ้นปกครองอาณาจักรล้านนา เป็นพญาไชยสงคราม ทรงประทับที่เชียงราย
โปรดให้ เจ้าแสนภู (เกิดบนภูดอย) ราชบุตรครองเชียงใหม่ ... เชียงใหม่เป็นเมืองลูกหลวง
เจ้าแสนภูถูกขุนเครือซึ่งเป็นอา (พระอนุชาพญาไชยสงคราม) มาตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้
เพราะเป็นคนธรรมะธรรมโม ไม่อยากฆ่าฟันกันเอง ก็ทรงหนีไปเชียงราย
แต่พญาไชยสงครามไม่ยอม ให้เจ้าน้ำท่วมอนุชาเจ้าแสนภูมาปราบสำเร็จและให้ปกครองเชียงใหม่
ขุนเครืองให้ขังที่นอกมุมเมืองตะวันตกเฉียงใต้
มีหมื่นเรืองเป็นผู้คุม เมื่อหมื่นเรืองตายไป จึงสร้างกู่บรรจุอัฐิที่มุมเมืองด้านนี้
มุมเมืองนี้จึงเรียกว่า แจ่งกู่เฮือง
ต่อมาพญาไชยสงครามเกรง เจ้าน้ำท่วมจะกบฏจึงส่งไปครองเชียงตุง
และให้พญาแสนภูกลับมาครองเชียงใหม่อีกครั้ง
ตำนานเล่าว่า
พญาแสนภูทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้กับพุทธศาสนา ตามอย่างพระเจ้าปู่และพระราชบิดา
ไว้ในที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ ๆ แม่น้ำสายเล็ก ห่างจากแม่น้ำระมิงค์พอประมาณ
จึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นชื่อ วัดแสนฝัง >> แสนฝาง
แสน มาจาก พญาแสนภู
ฝัง คือการบริจาคราชทรัพย์ของพระองค์
ก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงแสนประทับ และให้เป็นเมืองหลวงของล้านนา
และให้พญาคำฟูพระโอรสรักษาเมืองเชียงใหม่ อันเป็นเมืองลูกหลวง
แผนที่ปี พ.ศ.2433
หน้าวิหารหันไปทางตะวันออกด้านถนนช้างม่อยตัดใหม่ ที่มีคลองแม่ข่าไหลผ่าน
ตรงแนวกำแพงเมืองชั้นที่สอง มีหอคอยที่มุมเมือง
หอเวรยาม เป็นหอที่มีทหารมาเฝ้าเวรยาม ปัจจุบันมีอยู่ 2 หอด้านตะวันออกของวัด ด้านถนนช้างม่อยตัดใหม่
ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครและพระญาติได้มาปฏิบัติธรรม
วิหาร
บันไดตัวเหงาหรือหางวัน
ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ยกเก็จผนัง
หลังคายื่นออกมาทางด้านหน้า 1 ซด ด้านข้างเป็นปีกนก 2 ตับ
ปราสาทเฟื้องเป็นรูปฉัตร
ช่อฟ้าเป็นนกหัสดีลิงค์
ปั้นลมเป็นนาคเบือน
นาคขะตัน คือไม้ค้ำยันรูปสามเหลี่ยมที่รับน้ำหนักของชายคาลงมาที่เสาด้านข้างวิหาร มักเป็นรูปนาค ถือว่านาคค้ำจุนศาสนา
เหนือกรอบหน้าต่างเป็นซุ้มลายพรรณพฤกษาและดอกไม้
ใต้กรอบหน้าต่างประดับรูปสุตว์ในหิมพานต์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์และเจ้าแม่ทิพไกสรราชเทวี
... พระบิดาและพระมารดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ...
ได้โปรดให้รื้อพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์(เจ้าพ่อของเจ้าแม่ทิพไกสร)
ไปปรับปรุงดัดแปลงสร้างเป็นวิหารปิดทองล่องชาดทั้งหลังและถวายวัดเมื่อ พ.ศ. 2420
หน้าบันหรือดอกคอหน้าแหนบ ทำจากไม้ ตามโครงสร้างของหลังคาแบบม้าต่างไหม
ประดับ ปูนปั้น รักปั้น ประดับกระจก
กรอบโครงสร้างม้าต่างไหมเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา
ลูกฟักเป็นลวดลายลายสัตว์ต่าง ๆ
ลูกฟักคือ ... ชิ้นส่วนของประตู-หน้าต่างที่ใส่อยู่ในบานกรอบ ...
โก่งคิ้ว เป็นแผงไม้อยู่ใต้หน้าแหนบมีลักษณะเป็นแผงวงโค้ง
ด้านข้างใต้หลังคาคือหน้าแหนบปีกนก
ใต้แหนบปีกนกก็เรียกว่า โก่งคิ้วปีกนก
แผงแล เป็นแผ่นไม้อยู่ระหว่างแปรับกลอนหลังคากับคอสองรับปีกนกด้านข้าง
ทำจากไม้ ตามโครงสร้างของหลังคาแบบม้าต่างไหม
ประดับ ปูนปั้น รักปั้น ประดับกระจก ไม้แกะสลัก ... งามหยดย้อย
ภายใน
จากวิหารเดินวนซ้าย ซุ้มประตูทางเข้าทางทิศใต้
หอไตรกลางน้ำ
อุโบสถเจ้าดารารัศมี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453
หลวงโยนะการพิจิตรได้สร้างพระอุโบสถขึ้น
และพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงต้องการสร้างพระอุโบสถเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระบิดาและพระมารดา
จึงได้จ่ายเงินคืนให้แก่หลวงโยนะการพิจิตร 1000 รูปี
และถวายพระอุโบสถเป็นพระราชกุศลตามพระประสงค์
เป็นหลังคาทรงฮ่างหงส์
ช่อฟ้าเป็นรูปเทวดา
ปั้นลมนาคเบือน สันหลังคาปีกนกเป็นรูปเทวดาร่ายรำ
หน้าบันพระนารายณ์ทรงครุฑ เทพพนม
ที่สำคัญคือ มีรูปดาวห้าแฉก ... สัญญลักษณ์ของเจ้าดารารัศมีที่นักเรียนโรงเรียนดาราคุ้นเคย
หอไตรเก่า
เป็นหอไตรแบบหอสูง ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครึ่งตึกครึ่งไม้
ระเบียงล้อมรอบตัวห้องที่ใช้เก็บรักษาคัมภีร์ มีชายคาปีกนกป้องกันฝนสาดเข้าไปด้านใน
สร้างจากชิ้นส่วนประกอบของปราสาท(ที่ตั้งศพ) ของนางบัวจีน อุปะโยคินภรรยาคนที่ 2 ของหลวงโยนะการพิจิตร
ชาวล้านนาเชื่อว่า การสร้างคัมภีร์ในทางพุทธศาสนาแล้วถือกันว่าจะได้อานิสงส์ผลบุญเป็น อย่างมาก เป็น มูลเหตุจูงใจให้มีการคัดลอกคัมภีร์ประเภทต่างๆ
และการสร้างหอไตรเก็บคัมภีร์ก็ถือว่ามี อานิสงส์ผลบุญเท่ากับการสร้างวิหาร
พระเจดีย์มงคลแสนมหาชัย
เป็นเจดีย์พม่าผสมผสานกับศิลปะล้านนาจากเจดีย์เก่า
เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ... ไม่มีบัลลังก์ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
สันนิษฐานว่ามาจากการที่ พระเจ้าอนิรุธทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากบัลลังก์ลงมาบรรจุอยู่ในใจกลางส่วนล่างของเจดิย์ จึงไม่ต้องมีบลัลังก์อีกต่อไป เรียกว่าแบบอนิรุธ
ยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรโลหะสีทอง
ถัดลงมาเป็น
ปลี ... ทรงพุ่มเตี้ย ๆ คล้ายดอกบัวตูม
ปัทมบาทคือส่วนที่มีบัวคว่ำบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
ปล้องไฉน
รับเจดีย์ทรงระฆัง มีรัดอกคือเส้นคาดกลางองค์ระฆัง
บัวปากระฆัง ... บัวคว่ำบัวหงายประดับกลีบบัว
รองรับด้วยฐานปัทม์แปดเหลี่ยม
ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จสามชั้น
มุมของฐานประดับแต่ละชั้นด้วย เจดีย์(สถูปิกะ)ทำให้อาจดูเป็นเจดีย์ 5 ยอด , นรสิงห์ และหม้อดอกบัว(ปูรณฆฎะ)
ที่มุมของฐานเจดีย์ชั้นล่างสุดประดับฉัตร และรูปปั้นสิงห์สองตัว
องค์เจดีย์ล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ย ประดับใบเสมา
มีซุ้มพระ ตรงกลางด้านทั้งสี่ของกำแพงแก้ว
บันไดตัวมอม
ประตูท่าแพปัจจุบัน เป็นประตูท่าแพชั้นในของกำแพงเมืองเชียงใหม่ เดิมเรียกว่าประตูเชียงเรือก
ส่วนประตูท่าแพนั้นใช้เรียกประตูชั้นนอกของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ประมาณทางทิศใต้ของวัดแสนฝาง เยื้องกับประตูเชียงเรือก
ภายหลังเมื่อยกเลิกประตูท่าแพตรงนี้ จึงเรียกประตูเชียงเรือกหรือประตูท่าแพใน เป็นประตูท่าแพ
บริเวณนี้จึงน่าจะเคยเป็นที่ที่มีป้อม มีปืนใหญ่
ปืนใหญ่ที่พบจึงได้นำมาเก็บไว้บริเวณลานประทักษิณของเจดีย์
หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
โดยการ เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง คือ กวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเหนืออีกครั้ง
และจะมีประเพณีที่เจ้าหลวงเชียงใหม่
จะอัญเชิญพระธาตุจอมทองไปเชียงใหม่ เพื่อสรงน้ำ และให้ประชาชนได้สรงน้ำทุกปีเพื่อเป็นสิริมงคล
จึงสร้างวัดต้นแกว๋นเพื่อเป็นสถานที่แวะพัก และให้ประชาชนในละแวกนี้ ... หางดง ... ได้สรงน้ำ
ก่อนจะนำไปเข้าไปแห่ในเมืองเชียงใหม่
ปี พ.ศ.2452 หลวงโยนการพิจิตรแห่พระธาตุจอมทอง
มาทางหน้าที่ประทับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งเสด็จมาทำบุญที่วัดแสนฝาง
รูปปั้นช้างที่เห็น เข้าใจว่าน่าจะเล่าถึงประเพณีนี้
กุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร
สร้างโดยศรัทธาของ หลวงโยนการพิจิตร หรือ หม่องปันโหย่ว อุปโยคิน
เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า ได้เข้ามาทำงานในคุ้มหลวง
ของเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7
พระบิดาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ได้รับพระราชทานนามสกุล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ว่า “อุปะโยคิน” (Upayogin)
วัดนี้เป็นวัดที่หลวงโยนการพิจิตรได้สร้างและบูรณะถาวรวัตถุมากมาย
เดิมท่านชื่อปันโหย่ ในภาษาพม่าแปลว่าดอกไม้
ซึ่งท่านได้ทิ้งสัญญลักษณ์ดอกไม้ ในวัดต่าง ๆ ที่ท่านได้บูรณะไว้
ประดับเจดีย์วัดแสนฝาง
ประดับวิหาร
สารบัญท่องเที่ยวที่นี่ค่ะ https://ppantip.com/topic/38109220