วันหนึ่งขณะกำลังเดินไปร้านขนมจีนน้ำเงี้ยวแถวกาดก้อม
สะดุดตากับการเรียงอิฐที่ซุ้มประตู มีรอยต่อสนิทมาก น่าจะเป็นฝีมือคนโบราณ
พบว่า จากซุ้มประตูโขง จะทอดตรงไปยังเพิงชั่วคราว
ภายในมีพระประธานประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วประดับกระจกสี
ด้านหลังพระประธานมีร่องรอยของลายคำ
มีร่องรอยของอิฐเก่าเป็นธรรมมาส
มีร่องรอยของอิฐเก่าเป็นฐานของวิหาร แต่มีเสาปูนโผล่มา
เพราะได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารเก่า มีพระประธานองค์เดิม
เมื่อวัดนี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน และถูกประกาศว่าเป็นโบราณสถานมานานแล้ว และพบร่องรอยนี้
จึงต้องรื้อวิหารใหม่ออกเพื่อรอการบูรณะของกรมศิลปากร
เสาวิหารเดิม
วิหารหลังนี้สร้างขึ้นเในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยชาวไทยเขินที่พระเจ้ากาวิละไปกวาดต้อนมาจากเชียงตุง เมื่อ พ.ศ. 2339
จึงตั้งชื่อว่ายางกวง ตามชื่อบ้านที่จากมา แต่ต่อมาวัดนี้ถูกทิ้งร้างในช่วงสงครามโลก
แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ
เจดีย์ของวัดไม่ได้ตั้งอยู่ทางตะวันตก หรือด้านหลังของวิหารวัดยางกวงที่ชาวไทเขินสร้าง แต่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของวิหาร
แสดงว่าน่าจะมีอีกวิหารหนึ่งทางตะวันออกของเจดีย์ที่สร้างมาพร้อมเจดีย์ ... ในภาพทางขึ้นเจดีย์ที่บูรณะไปแล้วอยู่ทางทิศใต้
ได้เคยพบพระเศียรของพระเจ้าแสนแสร้อยู่บนพื้นดิน
แสน คือ มีมากเป็นแสน ๆ , แสร้ แปลว่าสลัก เป็นตัวที่ยึดกันไว้
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้อัญเชิญไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร
เพราะเอาเข้าวิหารไม่ได้เนื่องจากมีขนาดใหญ่ 1.7 เมตร จึงวางไว้ใต้ต้นไม้
มีชาวบ้านไปขอหวย กข แล้วถูก จึงถูกคนนำตะปูไปตอกริมฝีปากบนและล่าง
ปัจจุบันถูกนำมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เชียงใหม่
นิราศหริภุญไชย
ผู้แต่งไม่ทราบชื่อ บรรยายถึงบรรยากาศการเดินทางจากวัดพระสิงห์ไปไหว้พระธาตุหริภุญไชย
ระบุวันเดือนปีที่เดินทางตรงกับ พ.ศ. 2060 ตรงกับสมัยพญาแก้ว
ขาไปจากวัดพระสิงห์ ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
วัดพระสิงห์ - วัดทุงยู - วัดศรีเกิด - วัดชัยพระเกียรติ - วัดกุฎาราม (วัดเจดีย์หลวง) - วัดอูปแป้น - หอมังราช(หอพญามังราย) - วัดเจดีย์หลวงอีกครั้ง (มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และพระแก้วมรกต) - วัดเจ็ดลิน(มีศาลาอันดีเยี่ยม) - วัดฟ่อนสร้อย - ประตูเมือง -
-วัดพันง้อม - วัดเถียงเส่า- วัดกุฎีคำ - วัดน่างรั้ว (วัดอันรุ่งเรืองสว่างงามเป็นยอดแห่งเมือง) - ประตูเมืองชั้นสองเพิ่งสร้างเสร็จป้องกันกษัตริย์พม่า ... ประตูก้อม ) -
-วัดกู่คำหลวง(วัดเจดีย์เหลี่ยม พญามังราย ได้สร้างเจดีย์ไว้กระดูกนางสนมของท่านที่วัดนี้ด้วย ) - พระนอนขวางน้ำปิง (น่าจะเป็นพระนอนหนองผึ้ง)
** อ่านแล้วทำให้คิดว่า แยกประตูเชียงใหม่ที่เป็นแยกสองทาง ยังคงเห็นได้อยู่ในปัจจุบัน
น่าจะเป็นเส้นทางโบราณ ทางหนึ่งไปเวียงกุมกาม ไปวัดพระธาตุหริภุญไชย
อีกทางก็น่าจะผ่านประตูหายยาไปหางดง สันป่าตอง จอมทอง ฮอด ก็เป็นได้ **
เมื่อล้านนาถูกพม่ายึดครองราว พ.ศ.2100 ผู้คนอพยพหนีออกนอกเมืองเชียงใหม่ไป ไปวัดในเมืองเชียงใหม่ถูกทิ้งร้างหลายวัด
จากนิราศหริภุญไชย สันนิษฐานว่าวัดยางกวง สร้างขึ้นตั้งแต่พญาแก้วขึ้นไป ชื่อเดิมคือวัดน่างรั้ว หรือ หน่างรั้ว
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. มณี พยอมยงค์ ให้ความหมายไว้ว่า
หน่างรั้ว คือ รั้ว หรือแนวกัน ที่ทำให้คนหรือสัตว์เข้ามาติดแล้วออกไปไม่ได้
ซึ่งปรากฏในตำนานเมืองเชียงใหม่ว่า พญามังรายพญามังรายทรงโปรดให้ทำหน่างรั้วป้องกันข้าศึกไว้รอบเวียง
เจดีย์มีลักษณะ
ฐานเขียงแปดเหลี่ยม สองชั้น ชั้นล่างถมเป็นลานประทักษิณเรียบร้อยแล้ว
เรือนธาตุแปดเหลี่ยมลดหลั่นลงสองชั้น ชั้นบนมีซุ้มพระเจ้าทั้งแปดด้าน
รับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ปล้องไฉน ปลี ฉัตร
ลวดลายของซุ้มพระเจ้าคล้ายวัด พวกหงษ์ และวัดเชียงโฉม
สุดท้ายนี้ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ไม่มีชื่อร้านอยู่เยื้อง ๆ วัดยางกวงมีทั้งน้ำเงี้ยว น้ำยา ข้าวซอย น้ำแข็งไส อร่อยค่ะ
วัดเก่าเมืองเชียงใหม่ ... วัดยางกวง
สะดุดตากับการเรียงอิฐที่ซุ้มประตู มีรอยต่อสนิทมาก น่าจะเป็นฝีมือคนโบราณ
ลวดลายของซุ้มพระเจ้าคล้ายวัด พวกหงษ์ และวัดเชียงโฉม