หริแปลว่าสมอ ... ภุญไชยแปลว่าเสวย
เมืองหริภุญไชยแปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ
ตำนานพระธาตุเล่าว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาบิณฑบาตที่นี่ มีลั๊วะผู้หนึ่งได้นำเอาลูกสมอมาถวาย
พระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว ทิ้งเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดินและพยากรณ์ว่า
“ สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า จะเป็นที่ตั้งของหริภุญไชยนคร และจะเป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช หรือ พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม หมายถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ราชวงศ์เมาริยะ แห่งแคว้นมคธ เมืองหลวงคือกรุงราชคฤห์
ได้นำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่ พระเจ้าอชาติศัตรูไดัรับแบ่งมา 1 ส่วนจากเมืองกุสินารา
มอบให้พระเถระอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่าง ๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป ให้ได้ 84,000 แห่ง
ตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่านำมาโดย พระกุมาระกัสสะปะเถระ และ พระเมฆิยะเถระ
พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ในราชวงศ์จามเทวี ผู้ครองหริภุญไชย
โปรดให้ช่างสร้างปราสาท แล้วปลูกหอจัณฑาคาร (ที่พระบังคน) ไว้ใกล้กับปราสาทนั้น
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เวลาพระองค์เสด็จไปลงพระบังคนก็จะมีกาตัวหนึ่งที่บินมาถ่ายมูลต้องพระเศียร โฉบพระเศียร เหมือนขับไล่พระองค์ให้ไปพ้นจากที่นั้น
พระเจ้าอาทิตยราชต้องบนบานเทวดารักษาพระนครจึงจับกาตัวนั้นได้ และนำไปขังไว้
คืนนั้นทรงพระสุบินว่าเทพยดามาบอกว่า ให้เอาที่ทารกเกิดได้ 7 วัน ไปขังรวมกับกา ให้ทารกได้ฟังเสียงกาทุกวัน ก็จะฟังภาษากาออก
ผ่านไปบางตำนานก็ว่า 7 ปี บางตำนานก็ว่า 9 ปี เด็กก็ฟังแปลภาษากาถึงสาเหตุให้ฟังว่า
บริเวณหอจัณฑาคาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนกาได้รับคำสั่งให้เฝ้ารักษาสถานที่
พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้รื้อหอจัณฑาคาร และขุดดินไม่ดีออกไปทิ้งนอกพระนคร นำดินดีมาถมปรับพื้นให้เรียบ แล้วโรยด้วยทราย
ตั้งพิธีมณฑลปักราชวัตรฉัตรธง แต่งด้วยดอกไม้หอม และจุดเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
เมื่อประกอบพิธีสักการะบูชาแล้ว ผอบซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน
พระเจ้าอาทิตยราช จึงรื้อกำแพงวังชั้นนอกออก ทำกำแพงชั้นในเป็นศาลาบาตร แล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่งไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก
ทรงถวายวังให้เป็นวัดของสงฆ์ กลายเป็นวัดประจำนคร เมื่อ พ.ศ.1651
สร้างเจดีย์พระธาตุ สูง 3 วา แบบเจดีย์มอญ มีซุ้มทั้ง 4 ด้าน ครอบโกศทองคำสูง 3 ศอกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
จึงให้ถือกันในโบราณว่า หากผู้ใดจะปลูกบ้าน สร้างเรือน ในเมืองลำพูนนั้น จะต้องมีความสูง ไม่เกิน 3 วา เพราะเกรงว่า จะสูงกว่าพระธาตุ
สร้างพระวิหารการเปรียญ ศาลาน้อยใหญ่ขึ้น ประกอบ เสร็จแล้ว โปรดให้จัดงานฉลองใหญ่
ซุ้มประตู เป็นซุ้มยอดทรงปราสาท 5 ชั้น ... ดูจากกุฑุ หรือช่องหน้าต่าง ... มีสิงห์คู่เฝ้าอยู่ หัวเสาประตูเป็นหม้อดอก หรือ หม้อปูรณฆฏะ
วิหารหลวง
สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466
เป็นวิหารหลังใหญ่มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง
น้าบัน มงกุฎอยู่เหรือช้างสามเศียร สองข้างเป็นมกรคายนาค ประดับลวดลายพรรณพฤกษา
ถ้ดลงมาเป็นรูปเทพพนม
รวงผึ่งเป็นรูปหม้อดอก หม้อปูรณฆฏะ ต่างตาเป็นมกรคายนาคประดับลายพรรณพฤกษาล้านนา
ในวิหาร แต่เดิมแท่นแก่วมีสามชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมาย ก่อนโดยพายุพัดถล่มเมื่อ พ.ศ. 2466
ปจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และหมู่พระพุทธรูป
ความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ที่บันทึกในตำราพื้นเมืองโบราณ กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนมีพระธาตุเจดีย์ ประจำปีเกิดของตน
เมื่อวิญญาณลงมาจากแถน ... ผู้ส่งให้มาเกิด ... จะมาพักชั่วคราวอยู่ที่เจดีย์ประจำปีเกิด ก่อนปฏิสนธิในครรภ์มารดา
เมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตย์อยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา ... เกิดออกมา
เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไปอยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตน ก่อนกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา
ถ้าได้ไปกราบไหว้สักครั้งหนึ่งในชีวิต จะมีอานิสงส์ให้เมื่อตายแล้ว วิญญาณจะอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ไม่ต้องเร่ร่อนไปทุคติ
และยังช่วยสะเดาะเคราะห์ ขจัดอุปสรรคของชีวิต ขณะที่มีชีวิตอยู่
พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นพระธาตุประจำปีระกา หรือ ปีไก่
ต่อมา
พระเจ้าสัพพสิทธิ แห่งหริภุญไชย ทรงโปรดให้ สร้างโกศทองเสริมต่ออีก 1 ศอก สร้างมณฑปเสริมต่อพระธาตุขึ้นไปอีก 2 วา
สมัยพญามังราย ... ยุคล้านนา ทรงโปรดให้ สร้างมณฑปเสริมต่อพระบรมธาตุขึ้นอีก 10 วา หุ้มพระธาตุด้วยทองจังโก ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด
พระเจ้าติโลกราช ทรงโปรดให้ เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
สมัยพญาแก้ว (หลานปู่พระเจ้าติโลก) ทรงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุ สร้างสัตติบัญชร หรือระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อม 500 เล่ม 2 ชั้น
สร้างสำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ
พระเจ้ากาวิละทรงบูรณะพระบรมธาตุ สร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุมสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น สร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์
เจดีย์พระธาตุ - เจดีย์ทรงระฆ้งล้านนา
ฐานเขียง
ฐานปัทม์ยืดตัวขึ้น ท้องไม้มีช่องสี่เหลี่ยม ยกเก็จ - ลักษณะเฉพาะล้านนา
ฐานเขียงกลมสามชั้น
ฐานบัวลูกแก้วแบบบัวคว่ำบัวหงาย - ลักษณะเฉพาะล้านนา
รับองค์ระฆัง
บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ฉัตร บัวลูกแก้ว
สัตติบัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น
สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้
ซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม
และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ
จากจารึกหริปุญชปุรี - ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย
ระบุ พ.ศ.2043 สมัยของพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 11 เล่าว่า
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ได้สถาปนาธรรมที่มีอยู่นานแล้ว กับพระราชมารดา (นางโป่งน้อย) มีศรัทธาในพระศาสนามาก
อยากให้มั่นคง และปกปักรักษาเมืองหริภุญไชย จึงได้นำสมบัติทั้งหลายเช่นแก้วทั้ง 7 มาบูชาพระธาตุเจดีย์อันเป็นรากแห่งแผ่นดิน
พระเจ้าทั้งสอง ... พญาแก้วและพราะราชมารดานางโป่งน้อย ... ได้สร้างพระธรรมมณเฑียร
รวบรวม 84000 พระธรรมขันธ์ และคันถสัตตปกรณ์ คือ บทสวดอภิธรรมทั้ง 7 บรรยาย ได้ 420 คัมภีร์ใบลาน
และสร้างพระพุทธรูปทองประดิษฐานไว้ที่ พระธรรมมณเฑียร
เป็นหอไตรแบบหอสูง ชั้นล่างทึบ
สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญไชย
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยม 5 ชั้น ซึ่งแต่ละด้านมีซุ้มแก้ว 3 ซุ้ม
ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนดินเผา ทวารวดี
พระพุทธรูปยืนอิทธิพลทวารวดี คือ
พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ(เมตตา) พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หยักปลายตวัดขึ้น มีร่องเหนือพระโอษฐ์
ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวยกขึ้นสูงขึ้นมาอย่างมากเพราะมักจะทำเป็นดินเผาก่อนนำมาติด อุษณีษะทรงกรวยขนาดใหญ่
มุมเจดีย์มีสถูปจำลอง - เหลือแต่ชั้นบน
ยอดเรียวแหลม รองด้วยกลีบบัวหุ้มด้วยโลหะแผ่น
ภายในวัดยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่าง เช่น
วิหารพระเจ้าทันใจ
วิหารพระเจ้าองค์แดง
รอยพระพุทธบาทสี่ดวง
วิหารพระนอน
วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร ... อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เมืองหริภุญไชยแปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ
พระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว ทิ้งเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดินและพยากรณ์ว่า
“ สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า จะเป็นที่ตั้งของหริภุญไชยนคร และจะเป็นที่ประดิษฐานพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช หรือ พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม หมายถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ราชวงศ์เมาริยะ แห่งแคว้นมคธ เมืองหลวงคือกรุงราชคฤห์
ได้นำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่ พระเจ้าอชาติศัตรูไดัรับแบ่งมา 1 ส่วนจากเมืองกุสินารา
มอบให้พระเถระอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่าง ๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป ให้ได้ 84,000 แห่ง
ตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่านำมาโดย พระกุมาระกัสสะปะเถระ และ พระเมฆิยะเถระ
พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ในราชวงศ์จามเทวี ผู้ครองหริภุญไชย
โปรดให้ช่างสร้างปราสาท แล้วปลูกหอจัณฑาคาร (ที่พระบังคน) ไว้ใกล้กับปราสาทนั้น
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เวลาพระองค์เสด็จไปลงพระบังคนก็จะมีกาตัวหนึ่งที่บินมาถ่ายมูลต้องพระเศียร โฉบพระเศียร เหมือนขับไล่พระองค์ให้ไปพ้นจากที่นั้น
พระเจ้าอาทิตยราชต้องบนบานเทวดารักษาพระนครจึงจับกาตัวนั้นได้ และนำไปขังไว้
คืนนั้นทรงพระสุบินว่าเทพยดามาบอกว่า ให้เอาที่ทารกเกิดได้ 7 วัน ไปขังรวมกับกา ให้ทารกได้ฟังเสียงกาทุกวัน ก็จะฟังภาษากาออก
ผ่านไปบางตำนานก็ว่า 7 ปี บางตำนานก็ว่า 9 ปี เด็กก็ฟังแปลภาษากาถึงสาเหตุให้ฟังว่า
บริเวณหอจัณฑาคาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนกาได้รับคำสั่งให้เฝ้ารักษาสถานที่
พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้รื้อหอจัณฑาคาร และขุดดินไม่ดีออกไปทิ้งนอกพระนคร นำดินดีมาถมปรับพื้นให้เรียบ แล้วโรยด้วยทราย
ตั้งพิธีมณฑลปักราชวัตรฉัตรธง แต่งด้วยดอกไม้หอม และจุดเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
เมื่อประกอบพิธีสักการะบูชาแล้ว ผอบซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน
พระเจ้าอาทิตยราช จึงรื้อกำแพงวังชั้นนอกออก ทำกำแพงชั้นในเป็นศาลาบาตร แล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่งไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก
ทรงถวายวังให้เป็นวัดของสงฆ์ กลายเป็นวัดประจำนคร เมื่อ พ.ศ.1651
สร้างเจดีย์พระธาตุ สูง 3 วา แบบเจดีย์มอญ มีซุ้มทั้ง 4 ด้าน ครอบโกศทองคำสูง 3 ศอกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
จึงให้ถือกันในโบราณว่า หากผู้ใดจะปลูกบ้าน สร้างเรือน ในเมืองลำพูนนั้น จะต้องมีความสูง ไม่เกิน 3 วา เพราะเกรงว่า จะสูงกว่าพระธาตุ
สร้างพระวิหารการเปรียญ ศาลาน้อยใหญ่ขึ้น ประกอบ เสร็จแล้ว โปรดให้จัดงานฉลองใหญ่
สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466
เป็นวิหารหลังใหญ่มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง
น้าบัน มงกุฎอยู่เหรือช้างสามเศียร สองข้างเป็นมกรคายนาค ประดับลวดลายพรรณพฤกษา
ถ้ดลงมาเป็นรูปเทพพนม
รวงผึ่งเป็นรูปหม้อดอก หม้อปูรณฆฏะ ต่างตาเป็นมกรคายนาคประดับลายพรรณพฤกษาล้านนา
ในวิหาร แต่เดิมแท่นแก่วมีสามชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมาย ก่อนโดยพายุพัดถล่มเมื่อ พ.ศ. 2466
ปจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และหมู่พระพุทธรูป
เมื่อวิญญาณลงมาจากแถน ... ผู้ส่งให้มาเกิด ... จะมาพักชั่วคราวอยู่ที่เจดีย์ประจำปีเกิด ก่อนปฏิสนธิในครรภ์มารดา
เมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตย์อยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา ... เกิดออกมา
เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไปอยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตน ก่อนกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา
ถ้าได้ไปกราบไหว้สักครั้งหนึ่งในชีวิต จะมีอานิสงส์ให้เมื่อตายแล้ว วิญญาณจะอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ไม่ต้องเร่ร่อนไปทุคติ
และยังช่วยสะเดาะเคราะห์ ขจัดอุปสรรคของชีวิต ขณะที่มีชีวิตอยู่
พระธาตุเจดีย์วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นพระธาตุประจำปีระกา หรือ ปีไก่
ต่อมา
พระเจ้าสัพพสิทธิ แห่งหริภุญไชย ทรงโปรดให้ สร้างโกศทองเสริมต่ออีก 1 ศอก สร้างมณฑปเสริมต่อพระธาตุขึ้นไปอีก 2 วา
สมัยพญามังราย ... ยุคล้านนา ทรงโปรดให้ สร้างมณฑปเสริมต่อพระบรมธาตุขึ้นอีก 10 วา หุ้มพระธาตุด้วยทองจังโก ตั้งแต่ฐานจนถึงยอด
พระเจ้าติโลกราช ทรงโปรดให้ เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
สมัยพญาแก้ว (หลานปู่พระเจ้าติโลก) ทรงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุ สร้างสัตติบัญชร หรือระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อม 500 เล่ม 2 ชั้น
สร้างสำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ
พระเจ้ากาวิละทรงบูรณะพระบรมธาตุ สร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุมสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น สร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์
เจดีย์พระธาตุ - เจดีย์ทรงระฆ้งล้านนา
ฐานเขียง
ฐานปัทม์ยืดตัวขึ้น ท้องไม้มีช่องสี่เหลี่ยม ยกเก็จ - ลักษณะเฉพาะล้านนา
ฐานเขียงกลมสามชั้น
ฐานบัวลูกแก้วแบบบัวคว่ำบัวหงาย - ลักษณะเฉพาะล้านนา
รับองค์ระฆัง
บัลลังก์สี่เหลี่ยมยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ฉัตร บัวลูกแก้ว
สัตติบัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น
สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้
ซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม
และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ
ระบุ พ.ศ.2043 สมัยของพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 11 เล่าว่า
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ได้สถาปนาธรรมที่มีอยู่นานแล้ว กับพระราชมารดา (นางโป่งน้อย) มีศรัทธาในพระศาสนามาก
อยากให้มั่นคง และปกปักรักษาเมืองหริภุญไชย จึงได้นำสมบัติทั้งหลายเช่นแก้วทั้ง 7 มาบูชาพระธาตุเจดีย์อันเป็นรากแห่งแผ่นดิน
พระเจ้าทั้งสอง ... พญาแก้วและพราะราชมารดานางโป่งน้อย ... ได้สร้างพระธรรมมณเฑียร
รวบรวม 84000 พระธรรมขันธ์ และคันถสัตตปกรณ์ คือ บทสวดอภิธรรมทั้ง 7 บรรยาย ได้ 420 คัมภีร์ใบลาน
และสร้างพระพุทธรูปทองประดิษฐานไว้ที่ พระธรรมมณเฑียร
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทสี่เหลี่ยม 5 ชั้น ซึ่งแต่ละด้านมีซุ้มแก้ว 3 ซุ้ม
พระพุทธรูปยืนอิทธิพลทวารวดี คือ
พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ(เมตตา) พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หยักปลายตวัดขึ้น มีร่องเหนือพระโอษฐ์
ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวยกขึ้นสูงขึ้นมาอย่างมากเพราะมักจะทำเป็นดินเผาก่อนนำมาติด อุษณีษะทรงกรวยขนาดใหญ่
ยอดเรียวแหลม รองด้วยกลีบบัวหุ้มด้วยโลหะแผ่น