เสริมงามเป็นอำเภอที่อยากไป
เพราะอยู่ลึกเข้าไปจากถนนสายเอเชียไม่ไกล แต่ไม่ผ่านตัวอำเภอ จึงไม่เคยไป แค่เฉียดไปมา
เมืองเสริม เป็นเมืองที่ตั้งอยู่สองข้างของแม่น้ำแม่เสริม
ตรงกลางเป็นทุ่งกว้าง มีแม่น้ำเสริมมาสบแม่น้ำแม่ต๋ำ เป็น ตำบลทุ่งงาม
หันหน้าไปทางต้นน้ำ เลาะขึ้นไปตามลำน้ำเสริม เป็น ตำบลเสริมกลาง
หันหน้าไปทางต้นน้ำ ด้านขวา เป็น ตำบลเสริมขวา
หันหน้าไปทางต้นน้ำ ด้านซ้าย เป็น ตำบลเสริมซ้าย
เมืองเสริม + ทุ่งงาม = เสริมงาม
วัดหลวงนางอยตั้งอยู่ที่บ้านนางอย ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม
วัดหลวงนางอย หรือ วัดนางอย ... ถ้ามีคำว่าหลวงคือเป็นวัดใหญ่
สร้างเมื่อ พ.ศ.2200 โดยครูบาโน เดิมชื่อวัดดอนแก้วทรายมูล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2400
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านต่อ ๆ มาว่าสร้างก่อนวัดไหล่หิน 26 ปี ซึ่งครูบามหาป่า เกสระปัญโญ ตนบุญของคนไหล่หิน
ได้มาดูแบบวิหาร ของวัดหลวงนางอย และ วัดลำปางหลวง เพื่อนำไปสร้างวิหาร วัดไหล่หินหลวง
บันไดนาค
ทอดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูซุ้มโขง เข้าสู่เขตพุทธาวาส ... พุทธ + อาวาส คือที่อยู่ของพระพุทธ - เข้าสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์
พัฒนาขึ้นจากเจดีย์แบบมณฑปปราสาท 5 ยอดของล้านนา
ปูนปั้นลวดลายสัตว์หิมพานต์ - อาจสื่อว่าต้องผ่านแดนหิมพานต์ก่อนเข้าสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์
เหนือประตูเป็นรูปธรรมจักร
มีช้างเฝ้าประตูอยู่ข้าง ๆ และหัวเสาของประตูข้าง
ภายในกำแพงแก้วทางตะวันออกและทิศใต้ ของเขตพุทธาวาส เป็นศาลาบาตร
ใช้งานแบบศาลาการเปรียญ ทั้งตักบาตร ทำบุญ และงานพิธีต่างๆ
ทิศตะวันตกนอกกำแพงแก้วเป็นเขตสังฆาวาส
วิหารพระเจ้าทองทิพย์ และหอระฆัง
พระเจ้าทองทิพย์ หรือ พระเจ้าเกษเพชร พระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์สาม
เคยถูกขโมยไปและได้กลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้ในกุฏิหลวงพ่อ เมื่อมีงานพิธีจึงจะอัญเชิญลงมาทำพิธีสรงน้ำ
ตอนนี้ได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐาน และปิดอยู่
วิหารล้านนา เพียงแห่งเดียวของอำเภอเสริมงาม
มีเสาหงส์ด้านหน้า - พระที่วัดหนองไคร้เชียงใหม่บอกว่า หมายถึงเคยอยู่ภายใต้หงสาวดี หรือ พม่า
เล่าว่าพม่าเคยมาตั้งทัพอยู่ที่นี่ และเคยเผาวิหารนี้แต่วิหารไม่ไหม้
หน้าบัน รูปธรรมจักร หม้อดอก ดอกประจำยาม ลายพรรณพฤกษา
ตุงกระด้าง หรือธงแข็ง สำหรับสักการะพระเจ้า แกะลวดลายนาคพันสองตัว
ตรงที่พันเป็นวงกลม มีรูปบุคคลยุดนาคอยู่ทั้งด้านบน และ ล่าง - เราคิดเองว่าเป็นครุฑยุดนาค
วิหารซด คือมีการซ้อนด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น
วิหารนี้ลดหลั่นลงมา 3 ตับ ทำให้ด้านข้างมีหลังคาคลุมมาเตี้ยมาก
ปั้นลมไม้แกะสลักน่าจะเป็นรูปนก+นาค = นาคปักษี ?
ช่อฟ้ารูปนกและมีใบหน้าติดอยู่ด้วย!!
บันไดนาค และแท่นเทียนด้านข้างทั้งสองข้าง - เคยเห็นหลายวัดแต่เพิ่งทราบว่านี่คือแท่นสำหรับจุดเทียน หรือควรเป็นอะไรดี
นาคะตัน หรือนาคทัณฑ์ แกะลวดลายสวยงาม
ด้านหลัง หน้าบันลวดลายใบไม้ ดอกไม้ ผนังเขียนรูปเทพพนม
ภายใน
โครงสร้างหลังคา - ขื่อม้าต่างไหม
ผนังยกเก็จแบ่งพื้นที่เป็นสามส่วนคือ พื้นที่พระเจ้า พระสงฆ์ และนอกสุดคืออุบาสก อุบาสิกา
ส่วนยกเก็จผนังข้างแท่นแก้ว เปิดเป็นช่องสำหรับทางเข้าของพระสงฆ์
รูปครูบาศรีวิชัย ท่านได้เป็นผู้มายกยอดเจดีย์ ภายหลังสร้างวิหาร 100 ปี
โตกสามเหลี่ยม เรียกขันแก้วทั้งสามเป็นพานใส่ดอกไม้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
ถัดไปเป็นห-ีดธัมม์ หรือห-ีดธรรม ใช้เก็บคัมภีร์ใบลาน
ธรรมมาสทรงปราสาทล้านนา เขียนลายคำ ฐานใช้แก้วจืน หรือ กระจกเกรียบ ประดับตกแต่ง
แก้วจืนจะมีลักษณะ ขุ่น ทึบ สี ไม่สดใส ถ้าสีสดใส เรียก แก้วอังวะ - กระจกแก้วหุง
แท่นจุดเทียนหน้าแท่นแก้ว เขียนลายคำ
ดาวเพดาน - เพดานเหนือพระประธาน เป็นช่อง ๆ ภายในช่องเขียนลายคำ แสดงสัญลักษณ์ของดวงดาวบนท้องฟ้า หรือจักรวาลทั้งหลาย
ผ้าเทิงพระเจ้า - สีเหลือง เป็นพุทธบูชา สำหรับป้องกันสิ่งสกปรกจากจิ้งจก นก หนู ฯลฯ ที่อาศัยอยู่บนเทิง หรือ เพดาน
พระประธานปางมารวิชัยศิลปะช่างพื้นถิ่น มีกรอบไรพระศกสีทอง พระพักตร์ขาว พระโอษฐ์แดง
ฐานบัวของพระประธานประดับด้วยแก้วจืน
แท่นแก้วลงรักปิดทองเป็นลวดลายดั้งเดิมแต่แรกสร้าง
เจดีย์หลังวิหาร เพื่อทุกครั้งที่กราบพระประธานจะกราบพระเจดีย์ ซึ่งเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าไปด้วย
เล่ามาว่าเมื่อก่อนชาวบ้านจะเห็นดวงไฟทั้งออกและเข้าบริเวณนี้
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ มีกำแพงเก้วโดยรอบ
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม สามชั้น
ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุยกเก็จ - ทรงปราสาท คาดลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
ตรงกลางมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป
ถัดไปเป็นหลังคา มุมทั้งสี่มีสถูปิกะ
ฐานเขียงกลมลดหลั่นกันสามชั้น
ฐานกลมสามชั้นรองรับชุดฐานบัวคว่ำ คาดลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น 3 ฐาน
รับองค์ระฆัง บัลลังก์ยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน บัวคว่ำ บัวหงาย ปลี
ลูกแก้วปกฉัตร - ยกยอดฉัตรพระธาตุโดยครูบาศรีวิชัย
หอพระอุปคุต และ หอเสื้อวัด
อุโบสถล้านนาใช้ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์เท่านั้น แยกออกจากวิหารชัดเจน
ในวัฒนธรรมล้านนามีอุโบสถ
อีกสองชนิดคือ อุโบสถหัวหมวด และ อุโบสถหนอง
อุโบสถหนอง
ด้วยที่มีความเชื่อว่าอุทกสีมา อุโบสถที่ทำให้การบวชบริสุทธิ์ที่สุดในทุกนิกาย
สัมพันธ์กับลัทธิจากลังกา - สิงหลภิกขุ - ได้รับอิทธิพลจากลังกา โดยผ่าน สุโขทัย หรือพม่า หรือมอญ
อิงกับการใช้เรือขนานลอยในแม่น้ำกัลยาณี ที่ลังกาทวีปหรือศรีลังกา
บางแห่งใช้หนอง(บึง) แทนแม่น้ำ เรียกอุโบสถหนอง หรือโบสถ์หนอง
เพื่อไม่ให้ใครมารบกวนพิธี จึงกำหนดระยะห่างฝั่งโดยรอบให้ผู้ชายกำลังปานกลางวักน้ำสาดไปไม่ถึง เรียก 1 วักน้ำ
อุโบสถหัวหมวด
เป็นที่ที่พระและเณรในละแวกใกล้เคียงใช้ทำสังฆกรรมร่วมกัน ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่บวช
ที่ใกล้ ๆ วัดหลวงนางอยมีอุโบสถหัวหมวด และได้ทำสะพานขัวแตะ (ขัว - สะพาน, แตะ - ไม้ใผ่สับฟากตีต่อกันเป็นผืน) จากวัดไปยังอุโบสถหัวหมวด
เพื่อการท่องเที่ยวด้วย
วัดที่วิหารคล้ายกัน ที่เคยเห็น อยู่ ลุ่มน้ำวัง คือ วัดไหล่หิน เกาะคา, วัดหลวงนางอย เสริมงาม และ วัดเวียง เถิน
วิหารล้านนา วัดหลวงนางอย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
เพราะอยู่ลึกเข้าไปจากถนนสายเอเชียไม่ไกล แต่ไม่ผ่านตัวอำเภอ จึงไม่เคยไป แค่เฉียดไปมา
เมืองเสริม เป็นเมืองที่ตั้งอยู่สองข้างของแม่น้ำแม่เสริม
ตรงกลางเป็นทุ่งกว้าง มีแม่น้ำเสริมมาสบแม่น้ำแม่ต๋ำ เป็น ตำบลทุ่งงาม
หันหน้าไปทางต้นน้ำ เลาะขึ้นไปตามลำน้ำเสริม เป็น ตำบลเสริมกลาง
หันหน้าไปทางต้นน้ำ ด้านขวา เป็น ตำบลเสริมขวา
หันหน้าไปทางต้นน้ำ ด้านซ้าย เป็น ตำบลเสริมซ้าย
เมืองเสริม + ทุ่งงาม = เสริมงาม
วัดหลวงนางอยตั้งอยู่ที่บ้านนางอย ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม
วัดหลวงนางอย หรือ วัดนางอย ... ถ้ามีคำว่าหลวงคือเป็นวัดใหญ่
สร้างเมื่อ พ.ศ.2200 โดยครูบาโน เดิมชื่อวัดดอนแก้วทรายมูล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2400
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านต่อ ๆ มาว่าสร้างก่อนวัดไหล่หิน 26 ปี ซึ่งครูบามหาป่า เกสระปัญโญ ตนบุญของคนไหล่หิน
ได้มาดูแบบวิหาร ของวัดหลวงนางอย และ วัดลำปางหลวง เพื่อนำไปสร้างวิหาร วัดไหล่หินหลวง
บันไดนาค
ทอดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูซุ้มโขง เข้าสู่เขตพุทธาวาส ... พุทธ + อาวาส คือที่อยู่ของพระพุทธ - เข้าสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์
พัฒนาขึ้นจากเจดีย์แบบมณฑปปราสาท 5 ยอดของล้านนา
ปูนปั้นลวดลายสัตว์หิมพานต์ - อาจสื่อว่าต้องผ่านแดนหิมพานต์ก่อนเข้าสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์
เหนือประตูเป็นรูปธรรมจักร
มีช้างเฝ้าประตูอยู่ข้าง ๆ และหัวเสาของประตูข้าง
ภายในกำแพงแก้วทางตะวันออกและทิศใต้ ของเขตพุทธาวาส เป็นศาลาบาตร
ใช้งานแบบศาลาการเปรียญ ทั้งตักบาตร ทำบุญ และงานพิธีต่างๆ
ทิศตะวันตกนอกกำแพงแก้วเป็นเขตสังฆาวาส
วิหารพระเจ้าทองทิพย์ และหอระฆัง
พระเจ้าทองทิพย์ หรือ พระเจ้าเกษเพชร พระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์สาม
เคยถูกขโมยไปและได้กลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้ในกุฏิหลวงพ่อ เมื่อมีงานพิธีจึงจะอัญเชิญลงมาทำพิธีสรงน้ำ
ตอนนี้ได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐาน และปิดอยู่
วิหารล้านนา เพียงแห่งเดียวของอำเภอเสริมงาม
มีเสาหงส์ด้านหน้า - พระที่วัดหนองไคร้เชียงใหม่บอกว่า หมายถึงเคยอยู่ภายใต้หงสาวดี หรือ พม่า
เล่าว่าพม่าเคยมาตั้งทัพอยู่ที่นี่ และเคยเผาวิหารนี้แต่วิหารไม่ไหม้
หน้าบัน รูปธรรมจักร หม้อดอก ดอกประจำยาม ลายพรรณพฤกษา
ตุงกระด้าง หรือธงแข็ง สำหรับสักการะพระเจ้า แกะลวดลายนาคพันสองตัว
ตรงที่พันเป็นวงกลม มีรูปบุคคลยุดนาคอยู่ทั้งด้านบน และ ล่าง - เราคิดเองว่าเป็นครุฑยุดนาค
วิหารซด คือมีการซ้อนด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น
วิหารนี้ลดหลั่นลงมา 3 ตับ ทำให้ด้านข้างมีหลังคาคลุมมาเตี้ยมาก
ปั้นลมไม้แกะสลักน่าจะเป็นรูปนก+นาค = นาคปักษี ?
ช่อฟ้ารูปนกและมีใบหน้าติดอยู่ด้วย!!
นาคะตัน หรือนาคทัณฑ์ แกะลวดลายสวยงาม
ด้านหลัง หน้าบันลวดลายใบไม้ ดอกไม้ ผนังเขียนรูปเทพพนม
ภายใน
โครงสร้างหลังคา - ขื่อม้าต่างไหม
ผนังยกเก็จแบ่งพื้นที่เป็นสามส่วนคือ พื้นที่พระเจ้า พระสงฆ์ และนอกสุดคืออุบาสก อุบาสิกา
ส่วนยกเก็จผนังข้างแท่นแก้ว เปิดเป็นช่องสำหรับทางเข้าของพระสงฆ์
รูปครูบาศรีวิชัย ท่านได้เป็นผู้มายกยอดเจดีย์ ภายหลังสร้างวิหาร 100 ปี
โตกสามเหลี่ยม เรียกขันแก้วทั้งสามเป็นพานใส่ดอกไม้เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
ถัดไปเป็นห-ีดธัมม์ หรือห-ีดธรรม ใช้เก็บคัมภีร์ใบลาน
ธรรมมาสทรงปราสาทล้านนา เขียนลายคำ ฐานใช้แก้วจืน หรือ กระจกเกรียบ ประดับตกแต่ง
แก้วจืนจะมีลักษณะ ขุ่น ทึบ สี ไม่สดใส ถ้าสีสดใส เรียก แก้วอังวะ - กระจกแก้วหุง
แท่นจุดเทียนหน้าแท่นแก้ว เขียนลายคำ
ดาวเพดาน - เพดานเหนือพระประธาน เป็นช่อง ๆ ภายในช่องเขียนลายคำ แสดงสัญลักษณ์ของดวงดาวบนท้องฟ้า หรือจักรวาลทั้งหลาย
ผ้าเทิงพระเจ้า - สีเหลือง เป็นพุทธบูชา สำหรับป้องกันสิ่งสกปรกจากจิ้งจก นก หนู ฯลฯ ที่อาศัยอยู่บนเทิง หรือ เพดาน
พระประธานปางมารวิชัยศิลปะช่างพื้นถิ่น มีกรอบไรพระศกสีทอง พระพักตร์ขาว พระโอษฐ์แดง
ฐานบัวของพระประธานประดับด้วยแก้วจืน
แท่นแก้วลงรักปิดทองเป็นลวดลายดั้งเดิมแต่แรกสร้าง
เจดีย์หลังวิหาร เพื่อทุกครั้งที่กราบพระประธานจะกราบพระเจดีย์ ซึ่งเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าไปด้วย
เล่ามาว่าเมื่อก่อนชาวบ้านจะเห็นดวงไฟทั้งออกและเข้าบริเวณนี้
เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ มีกำแพงเก้วโดยรอบ
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม สามชั้น
ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุยกเก็จ - ทรงปราสาท คาดลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
ตรงกลางมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป
ถัดไปเป็นหลังคา มุมทั้งสี่มีสถูปิกะ
ฐานเขียงกลมลดหลั่นกันสามชั้น
ฐานกลมสามชั้นรองรับชุดฐานบัวคว่ำ คาดลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น 3 ฐาน
รับองค์ระฆัง บัลลังก์ยกเก็จ ก้านฉัตร ปล้องไฉน บัวคว่ำ บัวหงาย ปลี
ลูกแก้วปกฉัตร - ยกยอดฉัตรพระธาตุโดยครูบาศรีวิชัย
หอพระอุปคุต และ หอเสื้อวัด
อุโบสถล้านนาใช้ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์เท่านั้น แยกออกจากวิหารชัดเจน
ในวัฒนธรรมล้านนามีอุโบสถอีกสองชนิดคือ อุโบสถหัวหมวด และ อุโบสถหนอง
อุโบสถหนอง
ด้วยที่มีความเชื่อว่าอุทกสีมา อุโบสถที่ทำให้การบวชบริสุทธิ์ที่สุดในทุกนิกาย
สัมพันธ์กับลัทธิจากลังกา - สิงหลภิกขุ - ได้รับอิทธิพลจากลังกา โดยผ่าน สุโขทัย หรือพม่า หรือมอญ
อิงกับการใช้เรือขนานลอยในแม่น้ำกัลยาณี ที่ลังกาทวีปหรือศรีลังกา
บางแห่งใช้หนอง(บึง) แทนแม่น้ำ เรียกอุโบสถหนอง หรือโบสถ์หนอง
เพื่อไม่ให้ใครมารบกวนพิธี จึงกำหนดระยะห่างฝั่งโดยรอบให้ผู้ชายกำลังปานกลางวักน้ำสาดไปไม่ถึง เรียก 1 วักน้ำ
อุโบสถหัวหมวด
เป็นที่ที่พระและเณรในละแวกใกล้เคียงใช้ทำสังฆกรรมร่วมกัน ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่บวช
ที่ใกล้ ๆ วัดหลวงนางอยมีอุโบสถหัวหมวด และได้ทำสะพานขัวแตะ (ขัว - สะพาน, แตะ - ไม้ใผ่สับฟากตีต่อกันเป็นผืน) จากวัดไปยังอุโบสถหัวหมวด
เพื่อการท่องเที่ยวด้วย