วัดดอนเจียง หรือวัดคีรีบรรพต ตั้งอยู่ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง
สบเปิงเป็นชื่อที่บอกว่าลำน้ำเปิงมาไหลลงลำน้ำที่ใหญ่กว่า คือลำน้ำแม่ฮาว
แต่ค้นหาลำน้ำเปิงในแผนที่พบว่ามีแต่คลองยอง ไหลลงแม่ฮาวที่สบเปิง สงสัยไว้ก่อนว่าคลองยองนั้นคือลำน้ำเปิง
เขตพุทธาวาส อยู่บนเนินที่สูงกว่าเขตสังฆาวาส มีกำแพงกั้นกลาง
เจดีย์สร้างโดยครูบาศรีวิชัย เมื่อ พ.ศ. 2476
โดยส่วน ฐานปัทม์สี่เหลี่ยม ยกเก็ด ยืดตัวสูงขึ้นมีลวดรัด รับฐานเขียงกลม บัวถลา องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตร ชึ้นจนถึงยอด
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นการจำลองมาจากเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ จาก เจดีย์พระธาตุหริภุญไชย
วิหารล้านนา ขนาด 5 ห้อง
หน้าบันภาพประธานเป็นบุคคลใส่ชฎามุกุฏ นั่งพับขาข้างซ้าย บนแท่น
ล้อมรอบด้วยลายพฤกษา
บันไดมกรคายนาค
เสาทำด้วยไม้สัก หลังคาม้าต่างไหม
บูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้ว 4 ครั้ง
ธรรมาสทรงปราสาทล้านนา
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 เขียนเป็นภาษาล้านนาบนแผ่นไม้สักทาด้วยสีดำ ตัวหนังสือสีทอง
หลายแหล่งบอกว่าวัดมีอุโบสถกลางน้ำ มองหารอบ ๆ ก็ไม่เห็น
เมื่อขับรถออกจากวัด ก็มองเห็นศาลากลางน้ำ ที่ไม่น่าเป็นศาลาธรรมดา
อุโบสถโดยทั่วไปใช้ในการสำสังฆกรรมของพระสงฆ์
วัฒนธรรมล้านนามีอุโบสถอีกสองชนิดคือ อุโบสถหัวหมวด และ อุโบสถหนอง
อุโบสถหัวหมวด เป็นที่ที่พระและเณรในละแวกใกล้เคียงใช้ทำสังฆกรรมร่วมกัน ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่บวช
ที่ผ่านมามีวัดสะลวงกลางทุ่ง เป็นอาคารอุโบสถอยู่โดด ๆ
อุโบสถหนอง
ด้วยที่มีความเชื่อว่าอุทกสีมา อุโบสถที่ทำให้การบวชบริสุทธิ์ที่สุด
สัมพันธ์กับลัทธิจากลังกา - สิงหลภิกขุ - ได้รับอิทธิพลจากลังกา โดยผ่าน สุโขทัย หรือพม่า หรือมอญ
อิงกับการใช้เรือขนานลอยในแม่น้ำกัลยาณี ที่ลังกา
คนที่สึกจากพระจึงเรียกว่าหนาน มาจากคำว่าขนานนั่นเอง
บางแห่งจึงใช้หนอง(บึง)แทนแม่น้ำ เรียกอุโบสถหนอง หรือโบสถ์หนอง
เพื่อไม่ให้ใครมารบกวนพิธี จึงกำหนดระยะห่างฝั่งโดยรอบให้ผู้ชายกำลังปานกลางวักน้ำสาดไปไม่ถึง เรียก 1 วักน้ำ
ศาลากลางน้ำที่เห็น เราจึงเข้าใจว่าเป็นอุโบสถหนอง - หรืออุโบสถที่อยู่กลางน้ำ - หรืออุโบสถแบบอุทกสีมานั่นเอง
unseen เนาะ
ปิดท้ายด้วยอุ้งเล็บของมกร unseen ที่วัดสันป่าตึง ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง บนเส้นทางที่เราผ่านไปครั้งนี้
วิหารล้านนา ... วัดดอนเจียง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
สบเปิงเป็นชื่อที่บอกว่าลำน้ำเปิงมาไหลลงลำน้ำที่ใหญ่กว่า คือลำน้ำแม่ฮาว
แต่ค้นหาลำน้ำเปิงในแผนที่พบว่ามีแต่คลองยอง ไหลลงแม่ฮาวที่สบเปิง สงสัยไว้ก่อนว่าคลองยองนั้นคือลำน้ำเปิง
โดยส่วน ฐานปัทม์สี่เหลี่ยม ยกเก็ด ยืดตัวสูงขึ้นมีลวดรัด รับฐานเขียงกลม บัวถลา องค์ระฆัง บัลลังก์ ก้านฉัตร ชึ้นจนถึงยอด
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นการจำลองมาจากเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ จาก เจดีย์พระธาตุหริภุญไชย
วิหารล้านนา ขนาด 5 ห้อง
หน้าบันภาพประธานเป็นบุคคลใส่ชฎามุกุฏ นั่งพับขาข้างซ้าย บนแท่น
ล้อมรอบด้วยลายพฤกษา
บันไดมกรคายนาค
เสาทำด้วยไม้สัก หลังคาม้าต่างไหม
บูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้ว 4 ครั้ง
ธรรมาสทรงปราสาทล้านนา
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2430 เขียนเป็นภาษาล้านนาบนแผ่นไม้สักทาด้วยสีดำ ตัวหนังสือสีทอง
เมื่อขับรถออกจากวัด ก็มองเห็นศาลากลางน้ำ ที่ไม่น่าเป็นศาลาธรรมดา
อุโบสถโดยทั่วไปใช้ในการสำสังฆกรรมของพระสงฆ์
วัฒนธรรมล้านนามีอุโบสถอีกสองชนิดคือ อุโบสถหัวหมวด และ อุโบสถหนอง
อุโบสถหัวหมวด เป็นที่ที่พระและเณรในละแวกใกล้เคียงใช้ทำสังฆกรรมร่วมกัน ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่บวช
ที่ผ่านมามีวัดสะลวงกลางทุ่ง เป็นอาคารอุโบสถอยู่โดด ๆ
อุโบสถหนอง
ด้วยที่มีความเชื่อว่าอุทกสีมา อุโบสถที่ทำให้การบวชบริสุทธิ์ที่สุด
สัมพันธ์กับลัทธิจากลังกา - สิงหลภิกขุ - ได้รับอิทธิพลจากลังกา โดยผ่าน สุโขทัย หรือพม่า หรือมอญ
อิงกับการใช้เรือขนานลอยในแม่น้ำกัลยาณี ที่ลังกา
คนที่สึกจากพระจึงเรียกว่าหนาน มาจากคำว่าขนานนั่นเอง
บางแห่งจึงใช้หนอง(บึง)แทนแม่น้ำ เรียกอุโบสถหนอง หรือโบสถ์หนอง
เพื่อไม่ให้ใครมารบกวนพิธี จึงกำหนดระยะห่างฝั่งโดยรอบให้ผู้ชายกำลังปานกลางวักน้ำสาดไปไม่ถึง เรียก 1 วักน้ำ
ศาลากลางน้ำที่เห็น เราจึงเข้าใจว่าเป็นอุโบสถหนอง - หรืออุโบสถที่อยู่กลางน้ำ - หรืออุโบสถแบบอุทกสีมานั่นเอง
unseen เนาะ