วัดป่าสัก ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งราย
ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 กล่าวว่า
“ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีน (เท้า) ถ้ำขวา (เบี้องขวา) แห่งพระพุทธเจ้าใหญ่
เท่าเม็ดถั่วกว่าง (ถั่วเขียว)
เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู
แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้
ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก
ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว
ก็สร้างให้เป็นความกว้าง 50 วา เอาไม้สักมาปลูกแวด (รอบ) กำแพง 300 ต้น
แล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล
แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทาน (ทาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นภาษาเหนือ ตาน แปลว่าถวาย) แก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น
อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น”
วัดหันหน้าไปทางแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงแสน
ร่องรอยที่เห็นในปัจจุบัน - ที่ได้ถูกบูรณะมาแล้ว
ด้านหน้าฐานของโถงยกสูงขึ้น ไม่มีเสา - เป็นไปได้ว่าใช้กำแพงรับน้ำหนักหลังคา หรือไม่มีหลังคา
มีกำแพงแก้วต่อจากผนังด้านหน้า
ถัดไปเป็นวิหาร เสากลมทำด้วยศิลาแลง แท่นพระประธานอยู่ด้านหลัง
มีเจดีย์อยู่หลังวิหาร - เมื่อกราบพระประธานจะได้กราบองค์พระเจดีย์ไปด้วย
แม้จะได้ชื่อว่าพญาแสนภูสร้างวัดป่าสัก แต่วัดป่าสักก็ได้รับการบูรณะในสมัยต่อ ๆ มา
จนเป็นเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบัน ที่
" ที่นี่ พระเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 5 ยอด มีสภาพที่สมบูรณ์และสวยงามจนไม่มีสถาปัตยกรรมที่ไหนในแผ่นดินล้านนาจะงดงามเท่าแล้วละครับ
ช่างฝีมือปูนปั้น สมัยนั้น น่าจะเป็นช่างหลวง
ฝีมือชั้นครู งานลวดลายประดับต่างๆ ถึงออกมา งดงามมากๆเลยนะครับ " - เครดิตท่านสมาชิกบล็อกแก้งที่ใช้นามแฝงว่า multiple
ที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านตีความไว้ว่า
เจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส สองชั้น เจาะช่องรูปสี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยม
คล้ายเจดีย์ในทวารวดี
ถัดไปเป็นฐานที่ยืดสูงขึ้น ประดับ
พระพุทธรูป 3 องค์ ขนาบด้วยเทวดา
วงโค้งของซุ้มไม่ใช่พุกาม - โค้งมน , แต่เป็นแบบเปอร์เซีย - ยอดซุ้มแหลม
ในซุ้มเป็น พระพุทธรูปยืน แขนแนบข้างพระองค์ - ปางเปิดโลก หรือ ขอฝน
มีอยู่องค์หนึ่งทางทิศเหนือ เป็นปางลีลาแบบสุโขทัย - ยกพระหัตถ์ขวา (ถ้าลีลาแบบล้านนาจะไม่ยกพระหัตถ์)
ข้อสังเกต มีอุษณีษะ เปลวพระเกศรูปดอกบัว และประภามณฑล
เทวดาประดับข้างพระพุทธรูป - เล่าถึงเครื่องแต่งกายในสมัยนั้น
ถัดไปเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมสามชั้น รองรับเรือนธาตุ
ตรงมุมปูนปั้นประดับ - รูปครุฑ
ส่วนเรือนธาตุถึงยอดเจดีย์
เชื่อว่ามีต้นแบบมาจากเจดีย์เชียงยัน
ในบริเวณโรงเรียนเมธีวุฒิกร นอกกำแพงด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุหริภุญไชย
ในคณะศรีเชียงยัน - สมัยครูบาศรีวิชัย ท่านเคยถูกกักบริเวณอยู่ที่นี่
เจดีย์เชียงยัน หรือ เจดีย์แม่ครัว ตำนานว่าแม่ครัวในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ที่งานก่อสร้างพระธาตุหริภุญไชย ช่วยกันออกเงินสร้าง
แต่เมื่อขุดค้น พบว่าฐานเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยล้านนาแล้ว
เรือนธาตุสี่เหลี่ยม บนฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ คาดคู่ ซุ้มจระนำ 4 ด้าน
นักประวัติศาสตร์ศิลป์สันนิษฐานว่า
เจดีย์เชียงยัน น่าจะเป็นต้นแบบใน วัดเจดีย์ 7 แถว วัดป่าสักเชียงแสน เจดีย์มุมบริวารวัดมหาธาตุสุโขทัย
เรือนธาตุเจดีย์วัดป่าสัก
ประดิษฐานพระพุทธรูป มีซุ้มแก้วทั้ง 4 ด้าน
มีซุ้มเพกา (เพกา - ลิ้นฟ้า) หรือ เครก เป็นซุ้มแก้ว แบบพุกาม
เหนือเรือนธาตุ
มุมทั้ง 4 มีสถูปิกะ รวมกับยอดกลางถือเป็นเจดีย์ห้ายอด - ล้านนา หรือ ปัญจรัตน
(ต่างจากเจดีย์แบบพุกามซึ่งมักเป็นเจดีย์ที่มุมซ้อนสองชั้นเป็น 9 ยอด)
ตรงกลางเป็นฐาน 8 เหลี่ยม ตามเหลี่ยมทั้ง 8 เป็นลายลูกกรง - ลูกกรงของหอแก้ว เป็นรั้วล้อมสถูป
ลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ ยักษ์แบก มกรคายนาค คายสิงห์ หน้ากาล
ลายพรรณพฤกษา นักโบราณคดีเชื่อกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ถัดไปเป็นบัวปากระฆัง - บัวคลุ่มขนาดใหญ่
รับองค์ระฆังของเจดีย์ มี ตั้งตรง รัดอก ประจำยาม 8 ทิศ - ล้านนา
ยอดเจดีย์ - เป็นดอกไม้บาน สลับกับหม้อ - หม้อปูรณฆฏะ คือ เอายอดเป็นหม้อ - อิทธิพลมอญโบราญ
เจดีย์วัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน - เชียงราย
สร้างขึ้นโดยพระเจ้าแสนภู กษัตริย์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์เม็งราย
ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 กล่าวว่า
“ ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีน (เท้า) ถ้ำขวา (เบี้องขวา) แห่งพระพุทธเจ้าใหญ่
เท่าเม็ดถั่วกว่าง (ถั่วเขียว)
เอามาแต่เขตเมืองปาฏลีบุตรนั้น เอามาสู่พระยาราชแสนดู
แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้
ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก
ต่อวัดพระหลวงภายนอกที่นั้นแล้ว
ก็สร้างให้เป็นความกว้าง 50 วา เอาไม้สักมาปลูกแวด (รอบ) กำแพง 300 ต้น
แล้วเรียกว่าความป่าสักแต่นั้นมาแล
แล้วก็สร้างกุฎีให้เป็นทาน (ทาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นภาษาเหนือ ตาน แปลว่าถวาย) แก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น
อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังตราบป่าสักที่นั้น”
ร่องรอยที่เห็นในปัจจุบัน - ที่ได้ถูกบูรณะมาแล้ว
ด้านหน้าฐานของโถงยกสูงขึ้น ไม่มีเสา - เป็นไปได้ว่าใช้กำแพงรับน้ำหนักหลังคา หรือไม่มีหลังคา
มีกำแพงแก้วต่อจากผนังด้านหน้า
มีเจดีย์อยู่หลังวิหาร - เมื่อกราบพระประธานจะได้กราบองค์พระเจดีย์ไปด้วย
จนเป็นเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบัน ที่
" ที่นี่ พระเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา 5 ยอด มีสภาพที่สมบูรณ์และสวยงามจนไม่มีสถาปัตยกรรมที่ไหนในแผ่นดินล้านนาจะงดงามเท่าแล้วละครับ
ช่างฝีมือปูนปั้น สมัยนั้น น่าจะเป็นช่างหลวง
ฝีมือชั้นครู งานลวดลายประดับต่างๆ ถึงออกมา งดงามมากๆเลยนะครับ " - เครดิตท่านสมาชิกบล็อกแก้งที่ใช้นามแฝงว่า multiple
เจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส สองชั้น เจาะช่องรูปสี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยม
คล้ายเจดีย์ในทวารวดี
พระพุทธรูป 3 องค์ ขนาบด้วยเทวดา
วงโค้งของซุ้มไม่ใช่พุกาม - โค้งมน , แต่เป็นแบบเปอร์เซีย - ยอดซุ้มแหลม
มีอยู่องค์หนึ่งทางทิศเหนือ เป็นปางลีลาแบบสุโขทัย - ยกพระหัตถ์ขวา (ถ้าลีลาแบบล้านนาจะไม่ยกพระหัตถ์)
ข้อสังเกต มีอุษณีษะ เปลวพระเกศรูปดอกบัว และประภามณฑล
ตรงมุมปูนปั้นประดับ - รูปครุฑ
ในบริเวณโรงเรียนเมธีวุฒิกร นอกกำแพงด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุหริภุญไชย
ในคณะศรีเชียงยัน - สมัยครูบาศรีวิชัย ท่านเคยถูกกักบริเวณอยู่ที่นี่
เจดีย์เชียงยัน หรือ เจดีย์แม่ครัว ตำนานว่าแม่ครัวในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช ราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ที่งานก่อสร้างพระธาตุหริภุญไชย ช่วยกันออกเงินสร้าง
แต่เมื่อขุดค้น พบว่าฐานเจดีย์สร้างขึ้นในสมัยล้านนาแล้ว
เรือนธาตุสี่เหลี่ยม บนฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ คาดคู่ ซุ้มจระนำ 4 ด้าน
นักประวัติศาสตร์ศิลป์สันนิษฐานว่า
เจดีย์เชียงยัน น่าจะเป็นต้นแบบใน วัดเจดีย์ 7 แถว วัดป่าสักเชียงแสน เจดีย์มุมบริวารวัดมหาธาตุสุโขทัย
ประดิษฐานพระพุทธรูป มีซุ้มแก้วทั้ง 4 ด้าน
มีซุ้มเพกา (เพกา - ลิ้นฟ้า) หรือ เครก เป็นซุ้มแก้ว แบบพุกาม
มุมทั้ง 4 มีสถูปิกะ รวมกับยอดกลางถือเป็นเจดีย์ห้ายอด - ล้านนา หรือ ปัญจรัตน
(ต่างจากเจดีย์แบบพุกามซึ่งมักเป็นเจดีย์ที่มุมซ้อนสองชั้นเป็น 9 ยอด)
ตรงกลางเป็นฐาน 8 เหลี่ยม ตามเหลี่ยมทั้ง 8 เป็นลายลูกกรง - ลูกกรงของหอแก้ว เป็นรั้วล้อมสถูป
ลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ ยักษ์แบก มกรคายนาค คายสิงห์ หน้ากาล
ลายพรรณพฤกษา นักโบราณคดีเชื่อกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากจีน
รับองค์ระฆังของเจดีย์ มี ตั้งตรง รัดอก ประจำยาม 8 ทิศ - ล้านนา
ยอดเจดีย์ - เป็นดอกไม้บาน สลับกับหม้อ - หม้อปูรณฆฏะ คือ เอายอดเป็นหม้อ - อิทธิพลมอญโบราญ