ลำพูน ... วัดพระบาทห้วยต้ม วัดครูบาวงศ์นักบุญแห่งล้านนา





ศิษย์เอก ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้แก่
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ครูบาอภิชัย (ขาวปี) อภิชัยโย วัดพระพุทธบาทผาหนาม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่



ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หรือ ครูบาวงศ์
เดิมชื่อ ชัยยะ ต๊ะแหงม
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2456 ที่ บ้านก้อหนอง ต.ก้อ อ.ลี้ บรรพชาเณร เมื่ออายุ 13 ปี
พ.ศ. 2475 พรรชาเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 20 ปี
พ.ศ. 2477 เข้าร่วมกับครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เช่นเดียวกับครูบาขาวปี๋แห่งวัดพระพุทธบาทผาหนาม





พ.ศ.2479 ถูกเจ้าคณะ ต.แม่ตื๋น อ.อมก๋อยจับสึก
ในข้อหาที่ท่านเป็นศิษย์และเป็นกำลังสำคัญที่ปฏิบัติเชื่อฟังครูบาศรีวิชัยอย่างเคร่งครัด
ซึ่งในขณะนั้นครูบาศรีวิชัยได้ถูกจับมาสอบสวนอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ
ท่านจึงห่มผ้าขาวแทน เช่นเดียวกับครูบาขาวปี๋

เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับมาวัดบ้านปาง
ท่านได้ลาครูบาศรีวิชัยไปตามนิมนต์ของชาวกะเหรี่ยงไปจำพรรษาที่บ้านดอยห้วยเปียง

พ.ศ. 2482 กลับคืนมาเยี่ยมโยมแม่ ที่บ้านก้อหนอง แล้วต่อไปยังวัดบ้านปาง
เพื่อช่วยครูบาอภิชัยขาวปี เหมียด (เก็บ) พระศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย บรรจุไว้ในหอเมรุ

จากนั้นครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี และพระชัยยะวงศาผ้าขาว ก็ลาออกจากวัดปาง
ไปอยู่บ้านกะเหรี่ยง ต. ป่าพลู อ. บ้านโฮ่ง จ. ลำพูน
เป็นกำลังสำคัญในการสร้างถนน ตั้งแต่บ้านห้วยหละบ้านห้วยโทก สร้างกำแพงและวิหารวัดป่าพลู

พ.ศ. 2484 อุปสมบทใหม่ ต่อนิสัย ขึ้นอีกใหม่ ฉายาว่า จันทวํโสภิกขุ
ทางคณะสงฆ์ อำเภอลี้ นายอำเภอและศรัทธาประชาชน พร้อมใจกันไปนิมนต์ พระจันทวํโส มาพักอยู่ที่วัดนาเลี่ยง
เพื่อบูรณปฎิสังขรณ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งร้างอยู่นานแล้ว
ทำการก่อสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาท และสร้างเสนาะเพิ่มเติม
ได้อยู่จำพรรษาที่ วัดห้วยต้ม แห่งนี้ ตั้งแต่นั้นมา

พ.ศ. 2490 ปีกุน ก็วางศิลาฤกษ์ สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาท
ได้สำเร็จลงในที่ ในปี พ.ศ.2543 รวมเวลา 53 ปี
ครูบาได้มรณภาพ วันที่ 17 พฤษภาคม 2543
ร่างของท่านไม่เปื่อยเน่า และบรรจุอยู่ในวิหารวัดพระบาทห้วยต้ม

จากถนนสาย 106 ... คนบ้านเราจะเรียกถนนสายนี้ว่าถนนสายลี้-เถิน
ตรงทางแยกไปวัดพระบาทห้วยต้ม "วัดมณฑลวงศา" มณฑล + วงศา





ถือเป็นกำแพงเมือง ขอบเขต ของวัดพระบาทห้วยต้ม









วิหารและเจดีย์ ภาพเมื่อปี พ.ศ. 2552





ภายในวิหาร





เจดีย์





เส้นทางสู่วัดพระบาทห้วยต้ม








เป็นหมู่บ้านชุมชนกะเหรี่ยงที่ตามครูบามาอยู่รอบ ๆ วัดห้วยต้ม
ชุดกะเหรี่ยง สีขาวหญิงที่ยังไม่แต่งงาน ชายใส่สีแดง





ตั้งใจจะถ่ายคุณแม่คุณลูก





เสาวัว
บางท่านว่า เกี่ยวกับชาดกเรื่องโคนันทิวิสาล
เราเข้าใจว่า ปีฉลูเป็นปีเกิดของครูบาวงศา พ.ศ.2456





เจดีย์ศรีเวียงชัย
เป็นพุทธเจดีย์ คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้า เช่นเดียวกับพระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท











จากเจดีย์ไปต่อที่วัดพระบาทห้วยต้ม





ในวัดจะมี หลองข้าว หรือยุ้งข้าว
ใช้เป็นที่เก็บข้าวเปลือกที่มีผู้นำมาถวายวัด
วัดนี้ห้ามนำเนื้อสัตว์เข้าวัด และทราบว่าชาวกะเหรี่ยงที่อพยพตามครูบามาก็ไม่กินเนื้อสัตว์





ศาลาบาตร
ใช้เป็นสถานที่รับรองศรัทธาประชาชนที่มาร่วมทำบุญในงานประจำปีของทางวัด





วิหารแก้ว
ประดิษฐานสรีระของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศา พัฒนา





ตำนานพระเจ้าเลียบโลกว่า
เมื่อพระพุทธเจ้ามาที่นี่
มีพญาลัวะชื่อแก้วมาเมือง และพราน 8 คน ล่าเนื้อมาได้จะถวายพระพุทธเจ้า แต่พระองค์ไม่รับบาตร
จึงไปที่ริมห้วยต้มผักและข้าวมาถวาย
เมื่อพระองค์ฉันเสร็จก็เทศโปรด ทั้งหมดเกิดปิติศรัทธา
และได้ประทับรอยพระบาทลงบนหิน ... พระบาทห้วยต้ม

ทิศใต้ของวิหาร
มีศาลาบำเพ็ญบุญ (วิหารคด)
ล้อมรอบวิหารที่ครอบรอยพระพุทธบาทไว้





โดยรอบของศาลาบำเพ็ญบุญ
มีจิตรกรรมฝาผนังภาพประวัติพระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีผู้สร้างนครหริภุญไชย





วิหารพระพุทธบาท








พระประธาน





ด้านหลังพระประธาน มีแท่นพระพุทธบาทตั้งอยู่ตรงกลาง





ไม้เสี่ยงทาย
เป็นไม้รวกยาวราวสองเมตรเศษ รัดหนังยางยืดไว้ตรงริมส่วนหนึ่ง ใช้วัดวา





เสี่ยงทายโดยวัดความยาวแล้วเลื่อนหนังยางไปสุดปลายนิ้ว
อธิษฐานกับพระพุทธบาทว่า
หากสมปราถนาขอให้ไม้ส่วนที่กำหนดด้วยหนังยางยืดนั้นยาวออกไปจนเอื้อมไม่ถึงแลัว
มาวัดความยาวใหม่
... ผู้เสี่ยงทายในรูป ยางรัดเลยปลายนิ้วไปราว 1-2 ซม. ...





รางน้ำมนต์ที่ต่อมาจากองค์พระเจดีย์หลังวิหาร





เจดีย์








หอพระไตรปิฎก





พระอุโบสถถัดจากหอพระไตรปิฎก





มณฑปพระเจ้าเก้าตื้อ (จำลอง)





ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทองเหลือง ปางมารวิชัย
จำลองจากพระเจ้าเก้าตื้อวัดสวนดอกเชียงใหม่





ขากลับกับถนนสวย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่