พันแปดร้อยพุทธกาลที่ล้านช้าง
หลวงพระบางเกิดมีภัยพิบัติ
จามรี นำรี้พล ผ่านดงชัฎ
หลบลี้ลัดสร้างเมืองลี้เพื่อหนีภัย
เป็นแดนดินถิ่นดีที่สงบ
แดนที่พบพระธาตุงามธารน้ำใส
มีดอยสูงช้อนสลับประทับใจ
ทอดยาวไกลล้อมเมืองอร่ามตา
เวียงเจดีย์คนมีธรรมสูงล้ำศักดิ์
เมืองภาพลักษณ์แหล่งคนดีที่ทรงค่า
เมืองกำหนดนักบุญแห่งล้านนา
ชัยวงศา ศรีวิชัย พระขาวปี
เมืองลิกไนท์
เมืองไม้งามน้ำตกสวย
ดาญดื่นด้วย ธรรมชาติอร่ามสี
ชนรุ่งเรืองเมืองคนงามน้ำใจดี
ถิ่นแดนนี้ คือ ลี้ สวรรค์เวียงวิไล
ประพันธ์โดย..วีระวงศ์ สุวรรณพินธุ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฮอด (จังหวัดเชียงใหม่) อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอทุ่งหัวช้าง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก (จังหวัดลำปาง) และอำเภอสามเงา (จังหวัดตาก)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามเงา (จังหวัดตาก) และอำเภอดอยเต่า (จังหวัดเชียงใหม่)
การเดินทาง
ถ้ามาจากลำปาง จะมาได้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรกใช้ ทางหลวงหมายเลข 1274 ก็จะถึงอำเภอลี้ เส้นทางเป็นถนน 2 เลน สลับป่าเขา และทุ่งนา สองข้างทางเป็นธรรมชาติที่สวยมากถ้าขับรถมาตอนเช้า
เส้นทางที่สองจาก อำเภอเถินใช้ทางหมายเลข 106 ดูจาก Google map และ รีวิวใน youtube แล้วเส้นทางนี้คดเคี้ยวขับค่อนข้างยาก
ถ้ามาจากลำพูน ใช้เส้นทาง 106 ก็จะตรงไปถึงลี้ ได้เลย
เส้นทางหมายเลข 1247 จากลำปาง และ เส้นทาง 106 จากลำพูน เป็นเส้นทางที่ขับรถไปได้เองไม่ยาก
พิกัด 17.802101, 98.949233
อนุสาวรีย์ 3 ครูบา ซึ่งครูบาทั้งสามเป็นอริยสงฆ์ที่มีถิ่นกำเนิดใน อ.ลี้ จ.ลำพูน และเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างมากของคนล้านนาและพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยการก่อสร้าง ณ บริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลตำบลวังดิน ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐาน 3 ครูบาดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษาในวันที่ 5 ธ.ค.2554 ประกอบกับในโอกาสที่ อ.ลี้ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2454 จะมีอายุครบ 100 ปี ในพุทธศักราช 2553 นี้ และเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของพระพุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวและผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้สักการบูชา
พิกัด 17.724721, 98.952754
ที่อำเภอลี้จะมีชาวกะเหรี่ยงปากากะญอเป็นจำนวนมาก ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ที่มาตั้งถิ่นฐานที่ลี้เนื่องจากศรัทธาในครูบาชัยยะวงศาพัฒนา แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อและนับถือผี และสิ่งต่างๆเหนือธรรมชาติ แต่ด้วยความมีเมตตาของครูบา ท่านค่อยๆสอนให้ชาวกะเหรี่ยงรู้จักพุทธศาสนาอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป สอนให้ชาวกะเหรี่ยงรู้จักพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ ก่อนจากนั้นจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนให้ชาวกระเหรี่ยงรู้จัก
ในระยะแรกๆ นั้นท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วย (ข้าว) ต้มนี้มีความเป็นอยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้ม ที่จะต้องนำมีดไม้ ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่าทางราชการ ได้ส่งหน่วยงานต่างๆ เข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือและให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา
นอกจากสอนธรรมะให้กับชาวกะเหรี่ยงแล้วท่านยังแนะนำอาชีพให้ชาวกะเหรี่ยงขุดหินศิลาแลงขายอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่ในพระบาทห้วยต้มลักษณะดินด้านบนเป็นดินร่วนปนทราย ดิน ด้านล่างเป็นศิลาแลง ส่วนใหญ่ขาดความอุดมสมบรูณ์ในปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จเยี่ยมราษฎร์บ้านพระบาทห้วยต้ม ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร์ชาวเขา ทรงมีพระราชดำริว่า “หมู่บ้านแห่งนี้ขาดแคลนที่ทำกิน ชาวบ้านเป็นโรคขาดสารอาหารโดยเฉพาะเด็กเล็ก และชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงได้อพยพมาอยู่รวมกัน เช่นนี้ เป็นผลดีในการหักล้างทำลายป่า ลดพื้นที่ปลูกฝิ่นทางอ้อมจะได้ไม่ไปรับจ้างชาวเขาเผ่าอื่นอีกด้วย.”ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้ารับหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อยู่ภายใต้ในการดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง
วัดพระบาทห้วยต้มสร้างจากแรงศรัทธาของชาวกะเหรี่ยงที่ตามครูบาและแรงศรัทธาจากลูกศิษย์ ของคูรบาจากที่ต่างๆ ร่วมกันบริจาคเงิน สร้างขึ้นมา ที่วัดพระบาทห้วยต้มมีรอยพระพุทธบาทอยู่ซึ่งครูบาชัยยะวงศา ได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ไว้ ซึ่งรอยพระพุทธบาทที่ลี้ตรงกับตำนานพระเจ้าเลียบโลก
พิกัด 17°44'06.9"N 98°56'50.0"E
พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
ก่อนที่จะสร้างพระมหาเจดีย์
ครูบาชัยยะวงศาได้พบมูลโค ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงมาใช้ชาติเป็นโคพระโพธิสัตว์ และมูลโคนี้ก็ได้กลายสภาพเป็นพระบรมธาตุจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ธาตุครอบทับสถาณที่แห่งนี้ไว้ ด้วยเกรงว่าต่อไปในภายหน้าหากไม่ทำอะไร สถาณที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก็คงจะมีชาวบ้านมาสร้างเรือนทับด้วยเพราะความไม่รู้
ที่มาแห่งนามพระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินากยก ประทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย พุทธเจดีย์พระเจ้าห้าพระองค์ สิ่งสักการะแทนองค์พระศาสดาทั้งห้าของภัทรกัป แห่งแรกที่สร้างด้วยศิลาแรงทั้งองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐาน ณ วัดหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ 9 บ้านหนองปู ตำบลนาทราย
วัดพระธาตุดวงเดียว และ วัดพระธาตุห้าด้วง เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของเมือง สร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามรี สร้างเมืองซึ่งหลังจากโดนศรีสัชนาลัยตีเมืองได้และยึดเมือง วัดก็โดนปล่อยทิ้งร้าง มาเริ่มบูรณะใหม่อีกครั้งสมัยครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี และ บรูระเสร็จในสมัยครูบาชัยยะวงศา
พิกัด 17.837366, 98.929292
วัดพระพุทธบาทผาหนามช่วงพระอาทิตย์ตก
วัดพระพุทธบาทผาหนามช่วงพระอาทิตย์ขึ้น
ทางขึ้นจุดชมวิวสามารถขับรถขึ้นไปได้ หรือเดินขึ้นไปผ่านบันไดพญานาค
ที่วัดพระพุทธบาทผาหนามีโฮงหลวงที่เสาไม้กว่า 300 ต้น ปัจจุบันอยู่สภาพทรุดโทรมขาดการดูแล ทางวัดจะทำเป็นที่สำหรับพักนอนสำหรับ พระ เณร และยุวพุทธศาสนิกชนที่ไปปฏิบัติธรรม ซึ่งวัดนี้จัดเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมค่ายคุณธรรมสำหรับนักเรียนด้วย
ติดต่อวัดสอบถามข้อมูลการบริจาคได้ที่ 089 954 6889
หรือบริจาคผ่านบัญชี งานบูรณะโฮงหลวง เลขที่บัญชี 020 0 23456 245 ผ่านธนาคารออมสิน สาขาลี้
นอกจากวัดแล้ว ลี้ ยังมีสถาณที่ท่องเที่ยวอื่นอีก เช่น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และ น้ำตกก้อหลวง
ลี้เป็นอำเภอเล็กๆ นักท่องเที่ยวมีไม่เยอะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการพักผ่อนสำหรับคนที่ต้องการความสงบ
แหล่งข้อมูลมาจาก
ตำนานประวัติเมืองลี้
http://www.li-culture.com/index.php/เรื่องเล่า-ตำนาน/4-ประวัติเมืองลี้.html
ที่ตั้งและอาณาเขต
https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.tourlamphun.com/2016/10/กะเหรี่ยงชุมชนบ้านพระบ/
http://www.itti-patihan.com/ประวัติ-ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา-วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม.html
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-chaiya-wongsa/kb-chaiya-wongsa-hist-03.htm
https://www.youtube.com/watch?v=miUXYoDAKss
http://royalprojectthailand.com/prabathhuaytom
http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta25mini1.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201112/04/36080dfb8.jpg
เมือง ลี้ ... ลำพูน
หลวงพระบางเกิดมีภัยพิบัติ
จามรี นำรี้พล ผ่านดงชัฎ
หลบลี้ลัดสร้างเมืองลี้เพื่อหนีภัย
เป็นแดนดินถิ่นดีที่สงบ
แดนที่พบพระธาตุงามธารน้ำใส
มีดอยสูงช้อนสลับประทับใจ
ทอดยาวไกลล้อมเมืองอร่ามตา
เวียงเจดีย์คนมีธรรมสูงล้ำศักดิ์
เมืองภาพลักษณ์แหล่งคนดีที่ทรงค่า
เมืองกำหนดนักบุญแห่งล้านนา
ชัยวงศา ศรีวิชัย พระขาวปี
เมืองลิกไนท์
เมืองไม้งามน้ำตกสวย
ดาญดื่นด้วย ธรรมชาติอร่ามสี
ชนรุ่งเรืองเมืองคนงามน้ำใจดี
ถิ่นแดนนี้ คือ ลี้ สวรรค์เวียงวิไล
ประพันธ์โดย..วีระวงศ์ สุวรรณพินธุ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฮอด (จังหวัดเชียงใหม่) อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอทุ่งหัวช้าง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก (จังหวัดลำปาง) และอำเภอสามเงา (จังหวัดตาก)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสามเงา (จังหวัดตาก) และอำเภอดอยเต่า (จังหวัดเชียงใหม่)
การเดินทาง
ถ้ามาจากลำปาง จะมาได้ 2 เส้นทาง
เส้นทางแรกใช้ ทางหลวงหมายเลข 1274 ก็จะถึงอำเภอลี้ เส้นทางเป็นถนน 2 เลน สลับป่าเขา และทุ่งนา สองข้างทางเป็นธรรมชาติที่สวยมากถ้าขับรถมาตอนเช้า
เส้นทางที่สองจาก อำเภอเถินใช้ทางหมายเลข 106 ดูจาก Google map และ รีวิวใน youtube แล้วเส้นทางนี้คดเคี้ยวขับค่อนข้างยาก
ถ้ามาจากลำพูน ใช้เส้นทาง 106 ก็จะตรงไปถึงลี้ ได้เลย
เส้นทางหมายเลข 1247 จากลำปาง และ เส้นทาง 106 จากลำพูน เป็นเส้นทางที่ขับรถไปได้เองไม่ยาก
พิกัด 17.802101, 98.949233
อนุสาวรีย์ 3 ครูบา ซึ่งครูบาทั้งสามเป็นอริยสงฆ์ที่มีถิ่นกำเนิดใน อ.ลี้ จ.ลำพูน และเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างมากของคนล้านนาและพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยการก่อสร้าง ณ บริเวณหน้าตลาดสดเทศบาลตำบลวังดิน ติดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐาน 3 ครูบาดังกล่าวนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษาในวันที่ 5 ธ.ค.2554 ประกอบกับในโอกาสที่ อ.ลี้ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2454 จะมีอายุครบ 100 ปี ในพุทธศักราช 2553 นี้ และเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของพระพุทธศาสนิกชน นักท่องเที่ยวและผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรไปมาได้สักการบูชา
พิกัด 17.724721, 98.952754
ที่อำเภอลี้จะมีชาวกะเหรี่ยงปากากะญอเป็นจำนวนมาก ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ที่มาตั้งถิ่นฐานที่ลี้เนื่องจากศรัทธาในครูบาชัยยะวงศาพัฒนา แต่เดิมชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อและนับถือผี และสิ่งต่างๆเหนือธรรมชาติ แต่ด้วยความมีเมตตาของครูบา ท่านค่อยๆสอนให้ชาวกะเหรี่ยงรู้จักพุทธศาสนาอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป สอนให้ชาวกะเหรี่ยงรู้จักพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ ก่อนจากนั้นจึงสอนพระธรรมคำสั่งสอนให้ชาวกระเหรี่ยงรู้จัก
ในระยะแรกๆ นั้นท่านได้ตั้งกฎให้กับพวกกะเหรี่ยงที่มาอยู่กับท่านว่า พวกเขาจะต้องนำมีดไม้ที่เคยฆ่าสัตว์มาถวายวัด และให้สาบานกับท่านว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและจะกินมังสวิรัติตลอดไป ท่านได้เมตตาให้เหตุผลว่า ท่านต้องการให้เขาเป็นคนดี ลดการเบียดเบียน มีศีลธรรม หมู่บ้านห้วยต้มจะได้มีแต่ความสงบสุขทั้งทางโลกและทางธรรม และจะได้ไม่เป็นปัญหาของประเทศชาติต่อไป ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่ชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านห้วย (ข้าว) ต้มนี้มีความเป็นอยู่ที่เป็นระเบียบและมีความสงบสุข ตามที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนมา ทั้งที่ในหมู่บ้านนี้มีกะเหรี่ยงอยู่หลายพันคน แต่ในสมัยนี้ กฎและระเบียบที่ชาวกะเหรี่ยงที่จะย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านห้วยต้ม ที่จะต้องนำมีดไม้ ที่เคยฆ่าสัตว์มาสาบานกับหลวงพ่อนั้นได้ยกเลิกไปโดยปริยาย เพราะหลวงพ่อเห็นว่าทางราชการ ได้ส่งหน่วยงานต่างๆ เข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือและให้การศึกษาแก่พวกเขา คงจะช่วยพวกเขาให้มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสงบสุขเป็นระเบียบเหมือนที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา
นอกจากสอนธรรมะให้กับชาวกะเหรี่ยงแล้วท่านยังแนะนำอาชีพให้ชาวกะเหรี่ยงขุดหินศิลาแลงขายอีกด้วย เนื่องจากพื้นที่ในพระบาทห้วยต้มลักษณะดินด้านบนเป็นดินร่วนปนทราย ดิน ด้านล่างเป็นศิลาแลง ส่วนใหญ่ขาดความอุดมสมบรูณ์ในปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จเยี่ยมราษฎร์บ้านพระบาทห้วยต้ม ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพพื้นที่และชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร์ชาวเขา ทรงมีพระราชดำริว่า “หมู่บ้านแห่งนี้ขาดแคลนที่ทำกิน ชาวบ้านเป็นโรคขาดสารอาหารโดยเฉพาะเด็กเล็ก และชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงได้อพยพมาอยู่รวมกัน เช่นนี้ เป็นผลดีในการหักล้างทำลายป่า ลดพื้นที่ปลูกฝิ่นทางอ้อมจะได้ไม่ไปรับจ้างชาวเขาเผ่าอื่นอีกด้วย.”ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้ารับหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อยู่ภายใต้ในการดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง
วัดพระบาทห้วยต้มสร้างจากแรงศรัทธาของชาวกะเหรี่ยงที่ตามครูบาและแรงศรัทธาจากลูกศิษย์ ของคูรบาจากที่ต่างๆ ร่วมกันบริจาคเงิน สร้างขึ้นมา ที่วัดพระบาทห้วยต้มมีรอยพระพุทธบาทอยู่ซึ่งครูบาชัยยะวงศา ได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ไว้ ซึ่งรอยพระพุทธบาทที่ลี้ตรงกับตำนานพระเจ้าเลียบโลก
พิกัด 17°44'06.9"N 98°56'50.0"E
พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
ก่อนที่จะสร้างพระมหาเจดีย์
ครูบาชัยยะวงศาได้พบมูลโค ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงมาใช้ชาติเป็นโคพระโพธิสัตว์ และมูลโคนี้ก็ได้กลายสภาพเป็นพระบรมธาตุจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพระมหาเจดีย์ธาตุครอบทับสถาณที่แห่งนี้ไว้ ด้วยเกรงว่าต่อไปในภายหน้าหากไม่ทำอะไร สถาณที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ก็คงจะมีชาวบ้านมาสร้างเรือนทับด้วยเพราะความไม่รู้
ที่มาแห่งนามพระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินากยก ประทานนามพระมหาเจดีย์นี้ว่า พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย พุทธเจดีย์พระเจ้าห้าพระองค์ สิ่งสักการะแทนองค์พระศาสดาทั้งห้าของภัทรกัป แห่งแรกที่สร้างด้วยศิลาแรงทั้งองค์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประดิษฐาน ณ วัดหนองวัวเฒ่า หมู่ที่ 9 บ้านหนองปู ตำบลนาทราย
วัดพระธาตุดวงเดียว และ วัดพระธาตุห้าด้วง เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของเมือง สร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามรี สร้างเมืองซึ่งหลังจากโดนศรีสัชนาลัยตีเมืองได้และยึดเมือง วัดก็โดนปล่อยทิ้งร้าง มาเริ่มบูรณะใหม่อีกครั้งสมัยครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี และ บรูระเสร็จในสมัยครูบาชัยยะวงศา
พิกัด 17.837366, 98.929292
วัดพระพุทธบาทผาหนามช่วงพระอาทิตย์ตก
วัดพระพุทธบาทผาหนามช่วงพระอาทิตย์ขึ้น
ทางขึ้นจุดชมวิวสามารถขับรถขึ้นไปได้ หรือเดินขึ้นไปผ่านบันไดพญานาค
ที่วัดพระพุทธบาทผาหนามีโฮงหลวงที่เสาไม้กว่า 300 ต้น ปัจจุบันอยู่สภาพทรุดโทรมขาดการดูแล ทางวัดจะทำเป็นที่สำหรับพักนอนสำหรับ พระ เณร และยุวพุทธศาสนิกชนที่ไปปฏิบัติธรรม ซึ่งวัดนี้จัดเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมค่ายคุณธรรมสำหรับนักเรียนด้วย
ติดต่อวัดสอบถามข้อมูลการบริจาคได้ที่ 089 954 6889
หรือบริจาคผ่านบัญชี งานบูรณะโฮงหลวง เลขที่บัญชี 020 0 23456 245 ผ่านธนาคารออมสิน สาขาลี้
นอกจากวัดแล้ว ลี้ ยังมีสถาณที่ท่องเที่ยวอื่นอีก เช่น อุทยานแห่งชาติแม่ปิง และ น้ำตกก้อหลวง
ลี้เป็นอำเภอเล็กๆ นักท่องเที่ยวมีไม่เยอะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการพักผ่อนสำหรับคนที่ต้องการความสงบ
แหล่งข้อมูลมาจาก
ตำนานประวัติเมืองลี้ http://www.li-culture.com/index.php/เรื่องเล่า-ตำนาน/4-ประวัติเมืองลี้.html
ที่ตั้งและอาณาเขต https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.tourlamphun.com/2016/10/กะเหรี่ยงชุมชนบ้านพระบ/
http://www.itti-patihan.com/ประวัติ-ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา-วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม.html
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/kb-chaiya-wongsa/kb-chaiya-wongsa-hist-03.htm
https://www.youtube.com/watch?v=miUXYoDAKss
http://royalprojectthailand.com/prabathhuaytom
http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta25mini1.html
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201112/04/36080dfb8.jpg