วัดที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช ... วัดเจ็ดยอด

วัดเจ็ดยอดสร้างโดยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์อาณาจักรล้านนาองค์ที่ 9 ราชวงศ์มังราย




ทรงโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคด พระสหายเมื่อตอนพระเยาว์
ที่เคยให้สัตย์ปฏิญาณกันว่า เมื่อพระองค์ได้เป็นพญาจะทรงชุบเลี้ยงให้เป็นเสนาใหญ่

ด้ามพร้าคดได้ติดตามอาจารย์มหาเถรไปศึกษาที่เมืองลังกา และตักสิลา
หลังจากเรียนจบศาสตรศิลป์แล้วจึงกลับมาเมืองเชียงใหม่
(ที่เชียงใหม่มีถนนชื่อ หมื่นด้ามพร้าคด)
ได้เป็นนายช่างทำการก่อสร้างอาราม

ต้นโพธิ์เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์เมื่อทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือเอาต้นโพธิ์เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้
การกราบไหว้ต้นโพธิ์ จึงเป็นการเป็นการถวายความเคารพแก่พระพุทธองค์เช่นกัน

พระเจ้าติโลกราชจึงให้ข้าราชบริพาร
ไปตัดเอากิ่งตอนต้นโพธิ์จากวัดป่าแดงหลวง ซึ่งเป็นต้นโพธิ์จากศรีลังกา
มาปลูกที่วัด และตั้งชื่อวัดว่า “โพธารามมหาวิหาร”




สร้างเจดีย์ 7 ยอด
ยอดเจดีย์บางองค์คล้ายพุทธคยา ... สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า




ชั้นล่างเป็นวิหารหรือห้องโถง




ประดิษฐานพระประธานหลวงพ่อใหญ่




ในซุ้มทิศตะวันตกของวิหารมี พระพุทธรูปปางมารวิชัย




หลังคาเป็นยอดเจดีย์ 7 ยอด
องค์เจดีย์องค์ใหญ่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้านในซุ้ม
ทิศตะวันออกของเจดีย์สี่เหลี่ยมยังมีเจดีย์ทรงระฆังอีกสององค์
รวมเป็นเจดีย์เจ็ดองค์ คือเจ็ดยอด

... เราสงสัยว่า เจดีย์ด้านบนของเจดีย์วัดเจ็ดยอด ก็อาจหมายถึง สัตตมหาสถานก็ได้
ทำให้สงสัยต่อไปว่า
พระพุทธรูปที่อยู่ในซุ้มหน้าเจดีย์ด้านบนเจดีย์วัดเจ็ดยอดจะเป็นปางต่าง ๆ ตาม สัตตมหาสถาน ... ไม่สามารถขึ้นไปดูได้




เจดีย์สี่เหลี่ยมบริวารทั้งสี่มุมนั้นมีซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์
ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดายืนพนมมือเพื่อพิทักษ์พระมหาโพธิ์เจดีย์

อาภรณ์ต่าง ๆ ที่ประดับจะไม่มีลักษณะซ้ำกัน
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยพระเจ้าติโลกราช
และส่งอิทธิพลแก่สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ในที่อื่น ๆ ที่สร้างต่อมาภายหลังด้วย

ลายปูนปั้นรูปดอกไม้ และก้านเปลวเป็นลายเมฆไหล
ประดับฉากหลังของรูปเทวดายืนประนมมือ
แสดงถึงแบบอย่างลวดลายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน
ซึ่งแฝงเข้ามาในรูปเครื่องลายครามจีน ในสมัยราชวงศ์หงวน ( ประมาณพ.ศ. 1803-1991 ) และราชวงศ์เหม็ง ( ประมาณ พ.ศ. 1911-2187 )

และล้านนาได้นำมาดับแปลงใหม่จนกลายเป็นแบบอย่างเฉพาะตัว










มหาวิหาร หมายถึง วิหารหลวง

พระเจ้าติโลกราชเคยใช้เป็นที่ประชุมปราชญ์แห่งล้านนา
ผู้ที่แตกฉานในพระสูตร พระวินัย และอภิธรรม
ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก
ปัจจุบันมหาวิหาร เหลือแต่ฐานเสาให้เห็นอยู่จำนวน 42 ต้น




วิหารใหม่ปัจจุบันสร้างอยู่ด้านหน้าฐานมหาวิหารเดิม










หลังจากที่พระเจ้าติโลกราชได้สร้างพระมหาเจดีย์เจ็ดยอดเรียบร้อยแล้ว
ทรงโปรดให้สร้างสัตตมหาสถาน
คือสถานที่ที่ยิ่งใหญ่ 7 แห่ง
ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ 7 สัปดาห์ หลังตรัสรู้
ไว้ใกล้เคียงกับพระมหาเจดีย์นั้น

คือ

1. โพธิบัลลังก์

ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ... ที่ทรงตรัสรู้
พระพุทธรูปปางสมาธิเป็นสัญลักษณ์ ... วันพฤหัสบดี







2. อนิมิสเจดีย์

ทรงประทับยืน ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์
ทอดพระเนตรไปยังต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน
ทรงพิจารณาทศบารมีธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพื่อเป็นการสำนึกในกตัญญูธรรม
พระพุทธรูปปางถวายเนตรเป็นสัญลักษณ์ ... วันอาทิตย์
เป็นพระพุทธรูปยืน
พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมอยู่บนพระหัตถซ้าย




3. รัตนจงกรมเจดีย์

ทรงเสด็จออกจงกรม เป็นเวลา 7 วัน
หลังจากได้แสดงกตัญญูธรรมโดยการเพ่งต้นศรีมหาโพธิ์
พระพุทธรูปปางเดินจงกรม หรือ ปางลีลา เป็นสัญญลักษณ์ ... วันอังคาร




4. รัตนฆรเจดีย์

เทวดาเนรมิตเรือนแก้วทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์
ให้พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติผลสมาบัติสุข
ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด 7 วัน

ทรงเห็นว่า
เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด
จึงทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่าคนที่จะเจ้าใจมีน้อย
พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย

พระดำรินี้ได้ทราบไปถึงพระพรหมในเทวโลก
พระพรหมจึงพร้อมด้วยเหล่าเทวดาจึงลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม
ตอนพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้
กวีท่านแต่งเป็นภาษาบาลีไว้ว่า

"พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ"

แปลว่า

ท้าวสหัสบดีพรหม ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่าสัตว์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาวโลกเทอญ

และที่สุด พระองค์ท่านได้พิจารณาว่าคนมีระดับสติปัญญาเหมือนบัว 4 เหล่า
ก็ทรงอธิษฐานว่า
จะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์
และตั้งพุทธปณิธานที่จะดำรงพระชนม์อยู่
จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย สำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า

พระพุทธรูปปางรำพึง ( ประทับยืนมือกุมอก ) เป็นสัญลักษณ์ ... วันศุกร์




5. อชปาลนิโครธ

อชปาลคือต้นไม้ที่คนมาเลี้ยงแพะอยู่ คือต้นไทร
อยู่ทางทิศตะวันออกของโพธิบัลลังก์
ทรงนั่งสมาธิเสวยวิมุตติสุขใต้ต้นไม้อชปาลนิโครธเป็นเวลา 7 วัน
ตอนนี้มีผู้ได้แต่งเติมภายหลังว่ามีธิดาพญามารมาล่วงล่อ
คือ นางตัณหา ( ความอยาก ) นางราคะ ( ความใคร่ , กำหนัด ) และนางอรดี ( ความริษยา )
พระพุทธรูปปางห้ามมาร เป็นสัญลักษณ์
เป็นพระพุทธรูปประทับสมาธิราบ
พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา (ตัก)
พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ (อก) แสดงอาการห้าม
เป็นต้นไทรที่อยู่ด้าน หน้าวิหารใหม่







เจดีย์กู่แก้ว
เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตกรมทางหลวง ข้างสระมุจลินทร์
สร้างในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอชปาลนิโคตธเจดีย์




6 . มุจจลินท์เจดีย์

ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขที่ร่มมุจจลินท์ หรือต้นจิก ริมสระ
อยู่ทางทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพ ธิ์เป็นเวลา 7 วัน
เกิดฝนตก จึงมีพญานาคมาขนดและแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า
มีพระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นสัญลักษณ์ ... วันเสาร์







7. ราชายตนเจดีย์

ทรงประทับสมาธิเสวยวิมุติสุขใต้ต้นราชายตนพฤกษ์ หรือไม้เกด
อยู่ทางทิศใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ เป็นเวลา 7 วัน
ในเวลาเช้าพระอินทร์ได้นำเอาผลสมอเข้าไปถวายพระองค์ ทรงรับด้วยมือขวา

มีพระพุทธรูปปางเสวยลูกสมอ เป็นสัญลักษณ์
จากการขุดแต่งทางโบราณคดี
พบแนวฐานอาคารก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทางทิศใต้
อาจเป็นฐานของราชายตนเจดีย์ที่ถูกไถทำลาย


*



เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคต
พญายอดเชียงราย ... หลานปู่พระเจ้าติโลก ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพที่บริเวณที่ตั้งพระอุโบสถ
และสร้างสถูปบรรจุพระอัฐิไว้

ทางเข้าสู่สถูป




ส่วนฐาน เป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม ซ้อนกันสามชั้น , ฐานปัทม์

ส่วนเรือนฐาน เปรียบเหมือนปราสาทคือที่อยู่ของกษัตริย์ ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม
มัซุ้มประดิษฐานพระพ่ทธรูปทั้งสี่ด้าน

ส่วนยอด เหมือนมีเจดีย์ทรงกลมวางอยู่เหนือเรื่อนธาตุ







พญาเแก้วพระโอรสของพญายอดเชียงราย
ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพญายอดเชียงราย
ขึ้นในบริเวณวัดเจ็ดยอดเช่นเดียวกับพระบรมศพของพระเจ้าติโลกราช
และโปรดให้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นในบริเวณพื้นที่จิตกาธาน พ.ศ. 2045







บนฐานเดียวกัน หลังพระอุโบสถ ... แท่งหินคิอเสมา




มีซุ้มคูหาที่เคยประดิษฐานพระแก่นจันทน์ ที่ไม่ทราบว่าไปอยู่ยังไที่ใด




เล่าว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พระเจ้าปเสนทิโกศลทีงคิดถึงพระพุทธองค์มาจนแทบจะสวรรคต
พระสาวก ... ที่มีอิทธิฤทธิ์ ... จึงส่งช่างขึ้นไปจดจำคัดลอกพระพุทธลักษณะ
มาแกะสลักไม้แก่นจันทน์ขึ้นเป็นพระพุทธรุป ประดิษฐานที่วัดเชตวัน
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พระพุทธรูปแก่นจันทน์จึงลุกขึ้นยืนเพื่อใหัพระพุทธเจ้าประทับ

พระพุทธปฏิมา (ภาษาบาลีแปลว่าจำลอง คือการลอกเลียน) ไม้จันทน์
ได้จำลองแพรหลายในราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ. 863 - 1149)
เป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัถถ์ซ้ายหวายมือ ถือลูกบวบจีวร

ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื่องจาก เหมือนพระพุทธเจ้าทุกพระการ มีปาฏิหาริย์ลุกขั้นยืนได้ และพระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้เป็นตัวแทนของพระองค์ในการสักการะ

ลวดลายมุมซุ้มคูหาพระแก่นจันทน์




บ่อน้ำโบราณในวัด
ลึกนับจากในรูป ประมาณ 30-40 ชั้นของความหนาของอิฐ







และซุ้มประตูโขง




ปิดท้ายด้วยแผนที่วัดเจ็ดยอด

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่