เช้าวันหนึ่งเดินไปตลาดท่าเดื่อตลาดใกล้บ้าน เลยเดินต่อไปจนถึงวัดท่าเดื่อ
จึงเอารูปมาให้ชม เอาเรื่องสัพเพเหระมาเล่า
วัดตั้งอยู่ในตำบลสันผีเสื้อ เมือง เชียงใหม่
พิกัด
https://goo.gl/maps/jUFsuTjqtjDDurww5
ประวัติว่าเคยวัดร้างมาก่อน มีต้นมะเดื่อขึ้นเต็มหนาทึบ มีที่นาล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน
ภายหลังได้ตั้งขึ้นเป็นวัด เมื่อ พ.ศ.2407
ได้ร่วมกันไปที่เมืองกุมกามเพื่อไหว้สา ขอพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง
มาประดิษฐานในวิหารใหม่วัดท่าเดื่อ ชื่อว่า “พระพุทธรูปแสนแซ้”
ผ่านซุ้มประตูวัดจะพบเจดีย์อยู่หลังวิหาร - ไหว้พระในวิหารจะได้ไหว้เจดีย์ไปด้วยพร้อมกัน
เป็นเจดีย์ห้ายอดบนฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นฐานเชียงย่อมุมสามชั้น ฐานบัวลูกแก้ว บัวถลาแปดเหลี่ยมห้าชั้น
รับองค์ระฆังกลม ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
อุโบสถกลางนํ้า ขนาดสามห้อง
เคยผ่านตาจากที่ได้ค้นคว้าฮูปแต้มวัดหนองสองห้อง ชาดกเรื่องพระลามพระลัก
ซึ่งเป็นวรรณกรรมของชนลุ่มน้ำโขง เกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า (พระลาม) และพระอานนท์ (พระลัก)
เลยนึกย้อนไปถึง วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร มี พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์
เล่าต่อ ... ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พ้องกับชื่อของลูกของพญาไอยสวนในเรื่อง
มีศักดิ์เป็นลุง (พระยาวิรุฬหะ รักษาทิศใต้) พ่อ (ทัตตะรัตถะ รักษาทิศตะวันออก) อา ( วิรูปักขา รักษาทิศตะวันตก) และอา (กุเวร รักษาทิศเหนือ) ของพระลักพระลาม
ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นเทวดารักษาทิศเหนือ ป้องกันพุทธศาสนาและโลกมนุษย์ มียักษ์เป็นบริวาร
วิหาร
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแบบสมัยนิยม
บันไดมกรคายนาค
หน้าบันลวดลายดอกไม้ เทพพนม
บันไดด้านข้าง นาคเบือนเป็นรูป นาคปักษิณ
ซุ้มประตูหน้า ธรรมจักรในซุ้มแก้ว บนแท่นแก้ว
ประตูไม้ ลงรักปิดทอง รูปทวารบาล
หม้อดอก
ภายในโครงหลังคามีโครงไม้แบบม้าต่างไหม เสารับน้ำหนักมีแค่คู่หน้าพระประธานที่เป็นม้าต่างไหม
ที่เหลือใช้คานคอนกรีตรับน้ำหนักโครงไม้มาลงที่ผนัง ทำให้วิหารกว้างขึ้น
จิตรกรรมฝาผนังเป็นพระพุทธประวัติและเวสสันดรชาดก
ธรรมมาสล้านนา
สัตตภัณฑ์ ใช้เป็นที่ปักเทียนสำหรับบูชา
พระเจ้าแสนแซ้
พระประธานปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาสิงห์สาม
จากข้อมูลจากหนังสือ "ประวัติศาสตร์และศิลปกรรม เวียงกุมกาม" โดย จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา
คาดว่าพระพุทธรูปแสนแซ้ คือพระแสนแซ้
ที่พระเมืองแก้ว แห่งเชียงใหม่ ทรงโปรดให้หล่อขึ้น
แล้วประดิษฐานที่วัดกุมกามทีปาราม เวียงกุมกาม เมื่อพ.ศ. 2062
เนื้อสำริด มีน้ำหนัก 3 ล้านทอง หรือประมาณ 3,000 กิโลกรัม
คำว่าแซ้ ภาษาเหนือ หรือ กำเมือง แปลว่า กลอน (เช่น กลอนประตู)
พระพุทธรูปแสนแซ้ ใช้เรียกพระพุทธรูปที่ถอดออกเป็นชิ้นได้
เมื่อนำมาประกอบเป็นองค์จะใส่แซ้ หรือกลอนยึดติดกันไว้
คำว่าล้านทอง มีค่าทองเท่ากับ 10 หาบหรือ 1000 ชั่ง
1000 ชั่ง = 80,000 บาท ; 1 บาทมี 15.6 กรัม = 1,248,000 กรัม หรือ 1248 กิโลกรัม
สามล้านทองก็หนัก 3 ตันกว่า ประมาณ รถปิ๊กอัพ 2 คัน
หรืออาจเปรียบเทียบว่าใช้ทองสำริดเยอะมากไม่ใช่แค่ล้าน แต่เป็นสามล้าน
พระพุทธรูปองค์นี้คงหนักมาก จึงต้องถอดเป็นชิ้นได้
ทั้งหมดเรื่องสามล้านทอง เป็นการค้นหาคำจำกัดความ และสรุปด้วยการคาดเดาของเรา หรือพูดง่าย ๆ ว่าเรามั่ว - โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
วัดท่าเดื่อ ... สันผีเสื้อ อำเภอเมือง เชียงใหม่
จึงเอารูปมาให้ชม เอาเรื่องสัพเพเหระมาเล่า
วัดตั้งอยู่ในตำบลสันผีเสื้อ เมือง เชียงใหม่
พิกัด https://goo.gl/maps/jUFsuTjqtjDDurww5
ประวัติว่าเคยวัดร้างมาก่อน มีต้นมะเดื่อขึ้นเต็มหนาทึบ มีที่นาล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน
ภายหลังได้ตั้งขึ้นเป็นวัด เมื่อ พ.ศ.2407
ได้ร่วมกันไปที่เมืองกุมกามเพื่อไหว้สา ขอพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง
มาประดิษฐานในวิหารใหม่วัดท่าเดื่อ ชื่อว่า “พระพุทธรูปแสนแซ้”
ผ่านซุ้มประตูวัดจะพบเจดีย์อยู่หลังวิหาร - ไหว้พระในวิหารจะได้ไหว้เจดีย์ไปด้วยพร้อมกัน
เป็นเจดีย์ห้ายอดบนฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นฐานเชียงย่อมุมสามชั้น ฐานบัวลูกแก้ว บัวถลาแปดเหลี่ยมห้าชั้น
รับองค์ระฆังกลม ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ซึ่งเป็นวรรณกรรมของชนลุ่มน้ำโขง เกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า (พระลาม) และพระอานนท์ (พระลัก)
เลยนึกย้อนไปถึง วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร มี พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์
เล่าต่อ ... ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พ้องกับชื่อของลูกของพญาไอยสวนในเรื่อง
มีศักดิ์เป็นลุง (พระยาวิรุฬหะ รักษาทิศใต้) พ่อ (ทัตตะรัตถะ รักษาทิศตะวันออก) อา ( วิรูปักขา รักษาทิศตะวันตก) และอา (กุเวร รักษาทิศเหนือ) ของพระลักพระลาม
ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร เป็นเทวดารักษาทิศเหนือ ป้องกันพุทธศาสนาและโลกมนุษย์ มียักษ์เป็นบริวาร
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแบบสมัยนิยม
บันไดมกรคายนาค
หน้าบันลวดลายดอกไม้ เทพพนม
พระประธานปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาสิงห์สาม
จากข้อมูลจากหนังสือ "ประวัติศาสตร์และศิลปกรรม เวียงกุมกาม" โดย จิรศักดิ์ เดชวงศ์ญา
คาดว่าพระพุทธรูปแสนแซ้ คือพระแสนแซ้
ที่พระเมืองแก้ว แห่งเชียงใหม่ ทรงโปรดให้หล่อขึ้น
แล้วประดิษฐานที่วัดกุมกามทีปาราม เวียงกุมกาม เมื่อพ.ศ. 2062
เนื้อสำริด มีน้ำหนัก 3 ล้านทอง หรือประมาณ 3,000 กิโลกรัม
คำว่าแซ้ ภาษาเหนือ หรือ กำเมือง แปลว่า กลอน (เช่น กลอนประตู)
พระพุทธรูปแสนแซ้ ใช้เรียกพระพุทธรูปที่ถอดออกเป็นชิ้นได้
เมื่อนำมาประกอบเป็นองค์จะใส่แซ้ หรือกลอนยึดติดกันไว้
คำว่าล้านทอง มีค่าทองเท่ากับ 10 หาบหรือ 1000 ชั่ง
1000 ชั่ง = 80,000 บาท ; 1 บาทมี 15.6 กรัม = 1,248,000 กรัม หรือ 1248 กิโลกรัม
สามล้านทองก็หนัก 3 ตันกว่า ประมาณ รถปิ๊กอัพ 2 คัน
หรืออาจเปรียบเทียบว่าใช้ทองสำริดเยอะมากไม่ใช่แค่ล้าน แต่เป็นสามล้าน
พระพุทธรูปองค์นี้คงหนักมาก จึงต้องถอดเป็นชิ้นได้
ทั้งหมดเรื่องสามล้านทอง เป็นการค้นหาคำจำกัดความ และสรุปด้วยการคาดเดาของเรา หรือพูดง่าย ๆ ว่าเรามั่ว - โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน