ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านทิศเหนือ ค่อนมาทางตะวันออกใกล้แจ่งศรีภูมิ ... แจ่งแปลว่ามุม
วัดเชียงยืน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/37915990 หมายถึงยั่งยืน อยู่นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ทางทิศเหนือ
มีวัดเชียงยืนเป็นวัดประจำทิศจึงคงมีชุมชนที่เป็นศรัทธาวัดเชียงยืนอยู่
ใกล้ ๆ มีหนองใหญ่หรือหนองเขียว หนึ่งในเจ็ดชัยมงคลของพญามังรายในการสร้างเมืองเชียงใหม่
พญากือนากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายลำดับที่ 6 (พ ศ. 1898 - 1928 )
โปรดฯให้สร้างคุ้มหลวงไว้บริเวณแห่งนี้ ใกล้วัดแห่งหนึ่งชื่อว่าวัดพราหมณ์
เมื่อพญากือนาสิ้นพระชนม์ ณ คุ้มหลวงนอกกำแพงเมือง ยังไม่ทันได้ถวายพระเพลิง
เกิดศึกแย่งเมืองเชียงใหม่ โดยท้าวมหาพรหม อนุชาของพญากือนาซึ่งครองเมืองเชียงราย
อ้างว่าจะมาเคารพพระศพพญากือนา แต่ตั้งใจจะยกทัพตีเมืองเชียงใหม่
แสนผานองมหาเสนาบดีได้ต่อสู้ท้าวมหาพรหมแตกพ่ายหนีไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระบรมราชาที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
แสนผานอง เกรงว่าอยุธยาจะยกทัพมา จึงรีบจัดการนำพระศพพญากือนาเข้ามาไว้ในเวียง
แต่มีข้อห้ามไม่ให้ศพเข้ามาทางประตูหัวเวียง(ประตูช้างเผือก) จึงให้เจาะกำแพงเมืองตรงข้ามวัดพราหมณ์ ทำสะพานข้ามคู
เอาพระศพพระเจ้ากือนาใส่พระโกศทองคำเข้ามาไว้ในเวียง แล้วทำพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพญากือนา
ได้ทำพิธีราชาภิเษกพญาแสนเมืองมา(พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ให้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่
สมัยพระเจ้ากาวิละเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ได้กวาดต้อนผู้คนมาจากเมืองต่าง ๆ มายังเมืองเชียงใหม่
ตอนนั้นวัดกู่เต้าเป็นวัดเงี้ยวหรือวัดไทยใหญ่เพียงวัดเดียวในละแวกนั้น
สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 7 พ.ศ.2414
ได้นำกองทัพเชียงใหม่ไปกวาดต้อนผู้คนชาวไทยใหญ่จากทางบ้านแม่กะตอนทางตะวันออกของแม่น้ำคง(สาละวิน)มาอีกครั้ง
รวมทั้งครอบครัวของแม่เฒ่าต้าว พื้นเพตั้งเดิมเป็นคนเมืองลางเคอ ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวย่านประตูช้างเผือก
แม่นางบัวไหลบุตรีแม่เฒ่าต้าว สนมของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้สร้างพระอุโบสถและก่อพระเจดีย์ขึ้นในวัดป่าเป้า เมื่อ พ.ศ.2434
รูปทรงสันฐานตามสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่มอญ และพม่า
พ.ศ. 2439 พระเจ้าอิทรวิชยานนท์ได้ถึงแก่พิราลัย หม่อมบัวไหลได้สมรสใหม่กับคหบดีพ่อค้าไม้ชาวพม่า ชื่อว่า หม่องจิ่น
ทั้งหม่อมบัวไหลและหม่องจิ่นได้เป็นประธานร่วมกับคณะศรัทธาชาววัดป่าเป้า
ก่อสร้างพระวิหารขนาดใหญ่หลังใหม่ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง ... หลังคาสองชั้นขวาของภาพ
ยักษ์และเทพป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในวิหาร
การแต่งกายของคนเงี้ยวหรือไทใหญ่
ทั้งหญิงและชายจะไว้ผมยาวและไว้มวยบนศีรษะสวมผ่าหน้าใช้เข็มกลัดหรือติดกระดุมเรียกว่า เส้อปิ๊ดจ่า
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงสะดอ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น
สวมรองเท้าก็อปแก๊ป ที่ทำจากแผ่นไม้ฉำฉา เวลาเดินจะมี เสียงดังก็อปๆแก็ป ๆ
บันไดอีกด้านมีสิงห์ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในวิหาร
วันนี้เป็นวันพระ บนวิหารมีผู้มาทำบุญมากมาย
ชาวไทยใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท
เดิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเคร่งครัดมาก เช่น
ไม่ดื่มเหล้า
ไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งยุง ไม่คบค้าสมาคมกับคนที่ฆ่าสัตว์ ขายเนื้อสัตว์
ไม่นิยมทานไข่ดิบ ถ้าไข่ไม่แตกออกจากฟองก็จะไม่รับประทานเพราะถือว่ายังมีชีวิตอยู่ จะทานเฉพาะไข่ที่แตกแล้วหรือว่าต้มแล้วเท่านั้น
มีความเชื่อในเรื่องการทำบุญเพื่อโลกนี้และโลกหน้า
ถ้ายังมีชีวิตอยู่หากได้ทำบุญจะได้บุญมาก เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์
พระประธานหันพระพักตร์ไปยังเจดีย์ที่อยู่ทางทิศตะวันออก
เสาด้านในประดับลวดลายอย่างสวยงาม
พ.ศ. 2468 คหบดีชาวไทยใหญ่แห่งบ้านช้างเผือก
ได้สร้างวิหารพระพุทธรูป 3 องค์ เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน อยู่ระหว่างพระวิหารเดิมกับองค์พระเจดีย์
วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ปัจจุบันทางวัดได้ปรับปรุงและพัฒนาเป็นเป็นหอพิพิธภัณฑ์ประจำวัด
ซุ้มประตูเข้าบริเวณเจดีย์
บ้างก็ว่า มอมเป็นแมวกับสิงโต
ในพจนานุกรมล้านนา ฉบับแม่ฟ้าหลวง ว่า มอม คือ รูปสัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ
ในตำนานล้านนา
มอมเป็นเทพบุตรพาหนะของ ปัชชุนนะเทวบุตร หรือ วัสสา-วลาหกะ แปลว่า เมฆฝน
ในสมัยพุทธกาลแคว้นโกศลภัยแล้งอย่างหนัก พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระอินทร์ทราบ
พระอินทร์ ... ราชาแห่งเทพ จึงได้บัญชาให้ปัชชุนนะเทวบุตร บันดาลให้ฝนตก
เทพบุตรพาหนะของเทพปัชชุนนะ เมื่อมาสู่เมืองมนุษย์ จะต้องเนรมิตกายเป็นตัวมอม
เมื่อเห็นมนุษย์สวดอ้อนวอนขอฝน ก็ฮึกเหิมในเทวฤทธิ์ หลงสำคัญตนผิด ฤทธิ์เสื่อมลง ไม่อาจกลับคืนสู่ร่างเทพบุตรและกลับสู่สวรรค์ได้
จึงต้องเฝ้าอยู่หน้าพุทธสถานทั้งหลาย เพื่อปกปักรักษาศาสนสถานและฟังธรรมเรื่อยไป
จนกว่าจะละกิเลส ละอัตตา จึงจะสามารถกลับคืนสู่เทวสภาพดังเดิม
สิงห์ที่มุมของเจดีย์ มีตัวหนึ่งที่คาบผู้หญิงอยู่
จากตำนานสีหพาหุ ใน มหาพงศาวดารลังกา ว่า
ราชสีห์ตัวหนึ่งลักพาเจ้าหญิงองค์หนึ่งไปไว้ในป่า
ขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระโอรสและพระธิดาซึ่งยังเป็นทารก ราชสีห์ก็ดูแลเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อพระโอรสทราบความจริงจึงพาพระมารดาและพระขนิษฐาหนีกลับเข้าวัง
ด้วยความรัก ราชสีห์ได้พยายามตามหาเพื่อพาเจ้าหญิงกลับไปอยู่ด้วย
ระหว่างทางใครมาขัดขวางห้ามปรามก็จะถูกฆ่าตายหมดด้วยเสียงที่ก้องกัมปนาท
พระโอรสจึงยิงธนูกรอกปากราชสีห์ตาย
เมื่อพระโอรสได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ งานราชกาลไม่ราบรื่น
ปุโรหิตจึงทูลว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ฆ่าราชสีห์ผู้มีพระคุณ
พระองค์จึงปวารณาตนว่าจะสร้างรูปราชสีห์ไว้ที่ประตูวัด หรือที่มุมเจดีย์ เพื่อเป็นการไถ่บาป
เจดีย์
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระอัฎฐิธาตุของพระพุทธเจ้า สาวก หรือพระอรหันต์
เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า
เป็นศูนย์ของจักรวาล
เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด
ส่วนฐาน
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นฐานปัทม์ มีลานประทักษิณ 3 ชั้น
ชั้นล่างมีบันไดทางขึ้นและมีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
มุมของฐานบัวประดับแต่ละชั้นเป็น เจดีย์(สถูปิกะ)ทำให้อาจดูเป็นเจดีย์ 5 ยอด , นรสิงห์ และหม้อดอกบัว(ปูรณฆฎะ)
ส่วนองค์ระฆัง
เป็นผังแปดเหลี่ยมประดับจองพารา ต่อขึ้นไปเป็นผังกลมหลายชั้น ... ทั้งหมดคือมาลัยเถา หรือ ชุดรับองค์ระฆัง
บัวปากระฆัง ... บัวคว่ำบัวหงายประดับกลีบบัว
รับเจดีย์ทรงระฆัง มีรัดอกคือเส้นคาดกลางองค์ระฆัง
ส่วนยอด
ไม่มีบัลลังก์ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
สันนิษฐานว่าพระเจ้าอนิรุธทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากบัลลังก์ลงมาบรรจุอยู่ในใจกลางส่วนล่างของเจดิย์ จึงไม่ต้องมีบลัลังก์อีกต่อไป เรียกว่าแบบอนิรุธ
จึงเป็นปล้องไฉน
ปัทมบาทคือส่วนที่มีบัวคว่ำบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
ปลี ทรงพุ่มเตี้ย ๆ คล้ายดอกบัวตูม
และฉัตรโลหะ
ตุงกระด้าง ( ตุง แปลว่า ธง )
เป็นตุงชนิดเดียวที่ไม่สามารถพลิ้วไหวไปตามลม
เป็นคตินิยมของพม่า หรือไทยใหญ่ สำหรับบูชาพระรัตนตรัยอย่างคงทนถาวร
ชาวพุทธไทใหญ่
ไม่นับถือผีปู่ย่าและไม่นับถือศาลพระภูมิ มีแต่หิ้งพระเท่านั้น
พระที่ชาวไทใหญ่บูชาจะเป็นพระบัวเข็ม ... พระอุปคุต
และ
จองพารา เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า ปราสาทพระ
จอง แปลว่า วัด หรือปราสาท ถามคนไทยใหญ่บอกว่าแปลว่าโรงเรียนก็ได้
พารา แปลว่า พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า
การบูชาจองพารา คือ สร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา ... ไปโปรดพระมารดา
พระบัวเข็มข้างพระอุโบสถ
พระอุโบสถ
จองพารา ... รูปปราสาท
ซุ้มหลังคาเป็นชั้น
สันหลังคาชั้นบนสุดประดับลายเมฆไหล ประดุจล่องลอยอยู่บนสวรรค์
หน้าพระอุโบสถหันไปทางทิศตะวันตก
หน้าประตูมีมุขเด็ด
บันไดขึ้นสองข้าง
ด้านข้าง
ปูนปั้นประดับลายพรรณพฤกษา
ด้านหลังประดับลายหม้อดอก
บริเวณวัดนั้นมีต้นเป้าเป็นจำนวนมากเป็นป่า จึงเรียกชื่อว่าวัดป่าเป้า
พอดีในภาพเสมา มีใบไม้ชนิดหนึ่งจึงไปค้นหาต้นเป้า
ดูคล้ายเปล้าตองแตก ... ไม่ทราบว่าใช่หรือเปล่า
เป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายได้อย่างปลอดภัย
ใช้ได้ในเด็กและคนท้อง ทำให้อยากถ่ายง่ายมาก
ว่ากันว่าแม้เพียงเดินผ่านต้นเปล้าตองแตกก็ทำให้อยากถ่ายแล้ว ... แต่เราไม่นะ เพราะไม่รู้จักมั้ง
วัดป่าเป้า ... วัดไทยใหญ่ในเชียงใหม่
ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์ นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านทิศเหนือ ค่อนมาทางตะวันออกใกล้แจ่งศรีภูมิ ... แจ่งแปลว่ามุม
วัดเชียงยืน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หมายถึงยั่งยืน อยู่นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ทางทิศเหนือ
มีวัดเชียงยืนเป็นวัดประจำทิศจึงคงมีชุมชนที่เป็นศรัทธาวัดเชียงยืนอยู่
ใกล้ ๆ มีหนองใหญ่หรือหนองเขียว หนึ่งในเจ็ดชัยมงคลของพญามังรายในการสร้างเมืองเชียงใหม่
พญากือนากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายลำดับที่ 6 (พ ศ. 1898 - 1928 )
โปรดฯให้สร้างคุ้มหลวงไว้บริเวณแห่งนี้ ใกล้วัดแห่งหนึ่งชื่อว่าวัดพราหมณ์
เมื่อพญากือนาสิ้นพระชนม์ ณ คุ้มหลวงนอกกำแพงเมือง ยังไม่ทันได้ถวายพระเพลิง
เกิดศึกแย่งเมืองเชียงใหม่ โดยท้าวมหาพรหม อนุชาของพญากือนาซึ่งครองเมืองเชียงราย
อ้างว่าจะมาเคารพพระศพพญากือนา แต่ตั้งใจจะยกทัพตีเมืองเชียงใหม่
แสนผานองมหาเสนาบดีได้ต่อสู้ท้าวมหาพรหมแตกพ่ายหนีไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระบรมราชาที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
แสนผานอง เกรงว่าอยุธยาจะยกทัพมา จึงรีบจัดการนำพระศพพญากือนาเข้ามาไว้ในเวียง
แต่มีข้อห้ามไม่ให้ศพเข้ามาทางประตูหัวเวียง(ประตูช้างเผือก) จึงให้เจาะกำแพงเมืองตรงข้ามวัดพราหมณ์ ทำสะพานข้ามคู
เอาพระศพพระเจ้ากือนาใส่พระโกศทองคำเข้ามาไว้ในเวียง แล้วทำพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพญากือนา
ได้ทำพิธีราชาภิเษกพญาแสนเมืองมา(พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ให้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่
สมัยพระเจ้ากาวิละเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ได้กวาดต้อนผู้คนมาจากเมืองต่าง ๆ มายังเมืองเชียงใหม่
ตอนนั้นวัดกู่เต้าเป็นวัดเงี้ยวหรือวัดไทยใหญ่เพียงวัดเดียวในละแวกนั้น
สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 7 พ.ศ.2414
ได้นำกองทัพเชียงใหม่ไปกวาดต้อนผู้คนชาวไทยใหญ่จากทางบ้านแม่กะตอนทางตะวันออกของแม่น้ำคง(สาละวิน)มาอีกครั้ง
รวมทั้งครอบครัวของแม่เฒ่าต้าว พื้นเพตั้งเดิมเป็นคนเมืองลางเคอ ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่แถวย่านประตูช้างเผือก
แม่นางบัวไหลบุตรีแม่เฒ่าต้าว สนมของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้สร้างพระอุโบสถและก่อพระเจดีย์ขึ้นในวัดป่าเป้า เมื่อ พ.ศ.2434
รูปทรงสันฐานตามสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่มอญ และพม่า
พ.ศ. 2439 พระเจ้าอิทรวิชยานนท์ได้ถึงแก่พิราลัย หม่อมบัวไหลได้สมรสใหม่กับคหบดีพ่อค้าไม้ชาวพม่า ชื่อว่า หม่องจิ่น
ทั้งหม่อมบัวไหลและหม่องจิ่นได้เป็นประธานร่วมกับคณะศรัทธาชาววัดป่าเป้า
ก่อสร้างพระวิหารขนาดใหญ่หลังใหม่ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง ... หลังคาสองชั้นขวาของภาพ
ยักษ์และเทพป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในวิหาร
การแต่งกายของคนเงี้ยวหรือไทใหญ่
ทั้งหญิงและชายจะไว้ผมยาวและไว้มวยบนศีรษะสวมผ่าหน้าใช้เข็มกลัดหรือติดกระดุมเรียกว่า เส้อปิ๊ดจ่า
ผู้ชายจะนุ่งกางเกงสะดอ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น
สวมรองเท้าก็อปแก๊ป ที่ทำจากแผ่นไม้ฉำฉา เวลาเดินจะมี เสียงดังก็อปๆแก็ป ๆ
บันไดอีกด้านมีสิงห์ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในวิหาร
วันนี้เป็นวันพระ บนวิหารมีผู้มาทำบุญมากมาย
ชาวไทยใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท
เดิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเคร่งครัดมาก เช่น
ไม่ดื่มเหล้า
ไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งยุง ไม่คบค้าสมาคมกับคนที่ฆ่าสัตว์ ขายเนื้อสัตว์
ไม่นิยมทานไข่ดิบ ถ้าไข่ไม่แตกออกจากฟองก็จะไม่รับประทานเพราะถือว่ายังมีชีวิตอยู่ จะทานเฉพาะไข่ที่แตกแล้วหรือว่าต้มแล้วเท่านั้น
มีความเชื่อในเรื่องการทำบุญเพื่อโลกนี้และโลกหน้า
ถ้ายังมีชีวิตอยู่หากได้ทำบุญจะได้บุญมาก เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์
พระประธานหันพระพักตร์ไปยังเจดีย์ที่อยู่ทางทิศตะวันออก
เสาด้านในประดับลวดลายอย่างสวยงาม
พ.ศ. 2468 คหบดีชาวไทยใหญ่แห่งบ้านช้างเผือก
ได้สร้างวิหารพระพุทธรูป 3 องค์ เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน อยู่ระหว่างพระวิหารเดิมกับองค์พระเจดีย์
วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ปัจจุบันทางวัดได้ปรับปรุงและพัฒนาเป็นเป็นหอพิพิธภัณฑ์ประจำวัด
ซุ้มประตูเข้าบริเวณเจดีย์
บ้างก็ว่า มอมเป็นแมวกับสิงโต
ในพจนานุกรมล้านนา ฉบับแม่ฟ้าหลวง ว่า มอม คือ รูปสัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ
ในตำนานล้านนา
มอมเป็นเทพบุตรพาหนะของ ปัชชุนนะเทวบุตร หรือ วัสสา-วลาหกะ แปลว่า เมฆฝน
ในสมัยพุทธกาลแคว้นโกศลภัยแล้งอย่างหนัก พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระอินทร์ทราบ
พระอินทร์ ... ราชาแห่งเทพ จึงได้บัญชาให้ปัชชุนนะเทวบุตร บันดาลให้ฝนตก
เทพบุตรพาหนะของเทพปัชชุนนะ เมื่อมาสู่เมืองมนุษย์ จะต้องเนรมิตกายเป็นตัวมอม
เมื่อเห็นมนุษย์สวดอ้อนวอนขอฝน ก็ฮึกเหิมในเทวฤทธิ์ หลงสำคัญตนผิด ฤทธิ์เสื่อมลง ไม่อาจกลับคืนสู่ร่างเทพบุตรและกลับสู่สวรรค์ได้
จึงต้องเฝ้าอยู่หน้าพุทธสถานทั้งหลาย เพื่อปกปักรักษาศาสนสถานและฟังธรรมเรื่อยไป
จนกว่าจะละกิเลส ละอัตตา จึงจะสามารถกลับคืนสู่เทวสภาพดังเดิม
สิงห์ที่มุมของเจดีย์ มีตัวหนึ่งที่คาบผู้หญิงอยู่
จากตำนานสีหพาหุ ใน มหาพงศาวดารลังกา ว่า
ราชสีห์ตัวหนึ่งลักพาเจ้าหญิงองค์หนึ่งไปไว้ในป่า
ขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระโอรสและพระธิดาซึ่งยังเป็นทารก ราชสีห์ก็ดูแลเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อพระโอรสทราบความจริงจึงพาพระมารดาและพระขนิษฐาหนีกลับเข้าวัง
ด้วยความรัก ราชสีห์ได้พยายามตามหาเพื่อพาเจ้าหญิงกลับไปอยู่ด้วย
ระหว่างทางใครมาขัดขวางห้ามปรามก็จะถูกฆ่าตายหมดด้วยเสียงที่ก้องกัมปนาท
พระโอรสจึงยิงธนูกรอกปากราชสีห์ตาย
เมื่อพระโอรสได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ งานราชกาลไม่ราบรื่น
ปุโรหิตจึงทูลว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ฆ่าราชสีห์ผู้มีพระคุณ
พระองค์จึงปวารณาตนว่าจะสร้างรูปราชสีห์ไว้ที่ประตูวัด หรือที่มุมเจดีย์ เพื่อเป็นการไถ่บาป
เจดีย์
สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บพระอัฎฐิธาตุของพระพุทธเจ้า สาวก หรือพระอรหันต์
เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า
เป็นศูนย์ของจักรวาล
เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด
ส่วนฐาน
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ถัดไปเป็นฐานปัทม์ มีลานประทักษิณ 3 ชั้น
ชั้นล่างมีบันไดทางขึ้นและมีซุ้มพระเจ้าทั้งสี่ด้าน
มุมของฐานบัวประดับแต่ละชั้นเป็น เจดีย์(สถูปิกะ)ทำให้อาจดูเป็นเจดีย์ 5 ยอด , นรสิงห์ และหม้อดอกบัว(ปูรณฆฎะ)
ส่วนองค์ระฆัง
เป็นผังแปดเหลี่ยมประดับจองพารา ต่อขึ้นไปเป็นผังกลมหลายชั้น ... ทั้งหมดคือมาลัยเถา หรือ ชุดรับองค์ระฆัง
บัวปากระฆัง ... บัวคว่ำบัวหงายประดับกลีบบัว
รับเจดีย์ทรงระฆัง มีรัดอกคือเส้นคาดกลางองค์ระฆัง
ส่วนยอด
ไม่มีบัลลังก์ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
สันนิษฐานว่าพระเจ้าอนิรุธทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากบัลลังก์ลงมาบรรจุอยู่ในใจกลางส่วนล่างของเจดิย์ จึงไม่ต้องมีบลัลังก์อีกต่อไป เรียกว่าแบบอนิรุธ
จึงเป็นปล้องไฉน
ปัทมบาทคือส่วนที่มีบัวคว่ำบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่ ... ลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่า
ปลี ทรงพุ่มเตี้ย ๆ คล้ายดอกบัวตูม
และฉัตรโลหะ
ตุงกระด้าง ( ตุง แปลว่า ธง )
เป็นตุงชนิดเดียวที่ไม่สามารถพลิ้วไหวไปตามลม
เป็นคตินิยมของพม่า หรือไทยใหญ่ สำหรับบูชาพระรัตนตรัยอย่างคงทนถาวร
ชาวพุทธไทใหญ่
ไม่นับถือผีปู่ย่าและไม่นับถือศาลพระภูมิ มีแต่หิ้งพระเท่านั้น
พระที่ชาวไทใหญ่บูชาจะเป็นพระบัวเข็ม ... พระอุปคุต
และ
จองพารา เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า ปราสาทพระ
จอง แปลว่า วัด หรือปราสาท ถามคนไทยใหญ่บอกว่าแปลว่าโรงเรียนก็ได้
พารา แปลว่า พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า
การบูชาจองพารา คือ สร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา ... ไปโปรดพระมารดา
พระบัวเข็มข้างพระอุโบสถ
พระอุโบสถ
จองพารา ... รูปปราสาท
ซุ้มหลังคาเป็นชั้น
สันหลังคาชั้นบนสุดประดับลายเมฆไหล ประดุจล่องลอยอยู่บนสวรรค์
หน้าพระอุโบสถหันไปทางทิศตะวันตก
หน้าประตูมีมุขเด็ด
บันไดขึ้นสองข้าง
ด้านข้าง
ปูนปั้นประดับลายพรรณพฤกษา
ด้านหลังประดับลายหม้อดอก
บริเวณวัดนั้นมีต้นเป้าเป็นจำนวนมากเป็นป่า จึงเรียกชื่อว่าวัดป่าเป้า
พอดีในภาพเสมา มีใบไม้ชนิดหนึ่งจึงไปค้นหาต้นเป้า
ดูคล้ายเปล้าตองแตก ... ไม่ทราบว่าใช่หรือเปล่า
เป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายได้อย่างปลอดภัย
ใช้ได้ในเด็กและคนท้อง ทำให้อยากถ่ายง่ายมาก
ว่ากันว่าแม้เพียงเดินผ่านต้นเปล้าตองแตกก็ทำให้อยากถ่ายแล้ว ... แต่เราไม่นะ เพราะไม่รู้จักมั้ง
สารบัญท่องเที่ยวค่ะ https://ppantip.com/topic/36574038