เจดีย์ปล่อง ... เชียงใหม่


ปล่อง มาจาก ป่อง แปลว่า ช่องหน้าต่าง




เจดีย์ปล่อง 3 องค์ในเชียงใหม่ คือ
เจดีย์วัดตะโปทาราม เจดีย์วัดเชียงโฉม และ เจดีย์วัดพวกหงษ์
น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน




1 เจดีย์วัดตะโปทาราม หรือ วัดร่ำเปิง





จารึกอักษรฝักขาม
ระบุการสร้างเจดีย์วัดตะโปทารามว่าสร้างขึ้น จ.ศ. 854 คือ พ.ศ. 2035
ในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงราย
ว่า พระยาอรรคราชภูมิบาลหมายถึงพญายอดเชียงรายได้ขึ้นครองเชียงใหม่  
พระนางอะตะปาเทวีอัครมเหสี ได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระสวามีเพื่อสร้างวัดตะโปทาราม
พระนางได้อาราธนาพระสงฆ์ประมาณร้อยรูปมาชุมนุม พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ข้าราชการ
เพื่อประดิษฐานแก้วสามประการไว้ ณ วัดแห่งนี้
พิธีมีการอุทิศที่ดิน เงิน ทองคำ และข้าพระจำนวนมาก

ด้านที่ 1




ด้านที่ 2




ความเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางรูปแบบ

บางท่านอธิบายว่าเป็นการยืดตัวสูงขึ้นของ ฐานบัวในผังกลมของเจดีย์ทรงระฆัง
เช่น เจดีย์วัดพระธาตุหริภุญชัย แล้วประดับจระนำไว้ตามท้องไม้

แต่อีกความเห็นหนึ่งกล่าวถึงอิทธิพลของ ถะ (เจดีย์แบบจีนที่ซ้อนกันเป็นชั้น) ในศิลปจีน
เพราะเจดีย์แบบนี้เพิ่งปรากฏในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงรายเท่านั้น
ซึ่งพระองค์มีความฝักใฝ่ในจีนเป็นพิเศษ

แต่เทคนิคการก่อสร้าง
ยังคงเป็นการสร้างอิงกับเทคนิคการสร้างเจดีย์แปดเหลี่ยม
ที่เคยสร้างในท้องถิ่นมาก่อนหน้านี้แล้ว
ได้รวมเจดีย์ทั้งสองแบบเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน

... ขอบคุณ คุณผู้ชายในสายลมหนาวค่ะ ...



ดังนี้


เป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมวางบน ฐานเขียงสี่เหลียม
ถัดไปเป็นฐานปัทม์ (บัวคว่ำ บัวหงาย) กลม









เรือนธาตุกลมซ้อนกัน 7 ชั้น มีซุ้ทจระนำชั้นละ 8 ซุ้ม




ในซุ้มจระนำประดับพระพุทธรูป




รับเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ปลี และยอดฉัตร




ร่ำเปิง แปลว่า รำพึง (*ขอบคุณอ้ายหนานเตอะเจ้า)
บางท่านว่า
อาจเพราะพระเจ้ายอดเชียงรายอาจคิดถึงพระราชบิดาและพระราชมารดา

แต่เราว่า อาจคิดถึง พระอัยกาก็ได้
เพราะเป็นการสร้างวัดในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอันเป็นกาลกิณีเมือง
อีกชื่อคือวัดตะโปทาราม

เรื่องก็มีอยู่ว่า
พระเจ้าติโลก ทรงมีพระโอรสชื่อท้าวบุญเรือง
ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระยอดเชียงราย
ท้าวบุญเรืองถูกใส่ความโดยนางหอมุขสนมเอกพระเจ้าติโลกว่าจะก่อกบฎ
พระเจ้าติโลกจึงให้ปลงพระชนม์
แล้ว ให้พระยอดเชียงรายเป็นพระอุปราชและครองเชียงรายแทน
เมื่อพระเจ้าติโลก สวรรคต
พระเจ้ายอดเชียงรายได้ถวายพระเพลิงที่วัดเจ็ดยอด
และสร้างเจดีย์บรรจุกระดูกไว้ที่นั่น




เมื่อครองราชย์
มีพระธุดงค์มาปักกลด และเห็นแสงของพระธาตุ
พระยอดเชียงรายได้พบ พระธาตุเขี้ยวแก้ว
จึงมีบัญชาให้ พระนางอะตะปาเทวี หรือ พระนางโป่งน้อย
พระมเหสีสร้างวัดขึ้น คือวัดร่ำเปิง หรือวัด ตะโปตาราม




จากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ทหารญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาพื้นที่วัดและลักลอบขุดพระธาตุเจดีย์
ได้นำวัตถุโบราณและพระพุทธรูปไป
ส่วนอุโบสถ และวิหาร ชำรุดทรุดโทรมลง วัดนี้จึงร้างมาหลายยุคสมัย
พ.ศ. 2514 ได้สร้างพระวิหารขึ้นใหม่
และพัฒนา ๆ ๆ จนปัจจุบันเป็นวัดที่สวยงาม และเป็นสถานปฎิบัติธรรม
ภายในวิหาร

พระพุทธอาตะปะมหามุนี วัดร่ำเปิง









ศาลาปฏิบัติธรรม สวยมาก
























ระเบียงด้านข้าง




หอไตร
วัดนี้เป็นแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา
และเป็นแหล่งรวบรวมที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก




2 วัดเชียงโฉม

อยู่ในซอยตรงข้ามวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


วิหาร









พงศาวดารโยนก ว่า
ตอนพญาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ฝันถึงหญิงงามที่อยู่นี่
เป็นที่มาของ เวียงเชียงโฉม

พ.ศ. 2088 ในสมัยพระนางจิระประภามหาเทวี ครองล้านนา
พวก เงี้ยว ได้เคลื่อนทัพผ่านวัดเชียงโฉม เข้าตีเมืองเชียงใหม่




เดิมเป็นวัดร้างมีแต่เจดีย์ปล่อง เรียกว่าวัดเจดีย์ปล่อง




ฐานปัทม์กลม วางบนฐานเขียงสี่เหลี่ยม




เรือนธาตุกลมซ้อนกัน มีซุ้มจระนำ




3 วัดพวกหงษ์




สร้างโดยขุนนางหัวหน้าช่างในกลุ่ม "พวกหงษ์"




ในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย









พระประธานภายในพระวิหาร
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย
จากคำจารึกที่ฐานองค์พระ ระบุไว้ว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2036
โดยพ่อครูเป็นเจ้า และพ่อหมื่นหมอจันทร์
ในสมัยที่พระเจ้ายอดเชียงรายปกครองเมืองเชียงใหม่




หน้าบัน ... อุโบสถ




เจดีย์ศรีพวกหงษ์
เจดีย์ทรงกลม ซ้อนลดหลั่นกัน 7 ชั้น
โดยรอบประกอบด้วยซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูป จำนวน 52 ซุ้ม
สร้างในสมัยพระเจ้ายอดเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 2030




ฐานปัทม์กลมยืดสูงขึ้นไปรับเรือนธาตุกลม




ทีแรกนึกว่าประดับด้วยหงส์ แต่บางท่านว่าเป็นหม้อดอกไม้ ... บูรณฆฏะ




เรือนธาตุซ้อนกัน 7 ชั้น ประดับซุ้มพระพุทธรูป










เจดีย์เหลี่ยมล้านนา https://ppantip.com/topic/36788989
เจดีย์หนึ่งเดียวในล้านนา ... เจดีย์วัดกู่เต้า https://ppantip.com/topic/37026568
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่