นักภาษาศาสตร์ได้วิเคราะห์ว่า
คำว่า เชียง นี้เป็นคำเดียวกันกับภาษาจีนกลางว่า เฉิง แปลว่า กำแพงเมือง
ตรงกับคำว่า เจง ในภาษาไทลื้อ, ไทเขิน, ไทใหญ่
มั่น แปลว่า มั่นคง แน่น
เชียงมั่น หมายถึง กำแพงที่มั่นคง
อุโบสถ
ทางล้านนา หากไม่มีกิจของสงฆ์ อุโบสถจะปิดเสมอ และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าไป มันขึด ... เป็นกาลกิณี
ตามศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ที่โถงด้านหน้าของอุโบสถวัดเชียงมั่น
จารึกไว้เมื่อปี พ.ศ.2124 เป็นอักษรฝักขามและไทยวน ( ไท-ยวน หรือ ไทล้านนา หนือไทโยนก )
เล่าถึงประวัติการก่อสร้างวัดเชียงมั่น ว่า
พ.ศ. 1839 พญามังรายเจ้า พญางำเมือง และพญาร่วง
ร่วมกันตั้งหอนอน ณ ราชมณเทียร
ขุดคือ (คู) ก่อตรีบูร (กำแพงสามชั้น) ทั้ง 4 ด้าน
และก่อพระเจดีย์ที่บ้านเชียงมั่น ลวด (แปลว่า พร้อมกันนั้น) สร้างเป็นวัด ให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่น
ครั้นปี พ.ศ. 2014 พระดิลกราชเจ้า (พระเจ้าติโลกราช)
ได้ทรงก่อพระเจดีย์ด้วยหินแลง
พ.ศ. 2101 สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้า ทรงพระราชทานอ่างอาบเงิน
(หมายถึงมังทรา หรือบุเรงนอง ได้เมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2101)
พ.ศ. 2114 ได้ก่อเจดีย์คร่อมเจดีย์เดิมอีกครั้งหนึ่ง
มีการสร้างแปลง ก่อเจดีย์ วิหารอุโบสถ หอไตร กำแพง ประตูโขง
พ.ศ. 2128 ได้มีการรวบรวมเงิน ที่ดิน อุทิศถวายแก่อารามแห่งนี้
เจดีย์
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ... พระเกศาธาตุ
ลักษณะคล้ายเจดีย์สมัยพระเจ้าติโลกราช
เป็นเจดีย์ทรงปราสาท
ฐานเขียงมีช้างล้อม
ฐานบัว
เรื่อนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มเรือนแก้วทั้งสี่ด้าน
ชุดฐานสิงห์สามชั้น
ฐานปัทม์แปดเหลี่ยม รับเจดีย์องค์ระฆัง
เสาหาน ก้านฉัตร ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว
ทางทิศตะวันออกมีบันไดนาค
ขึ้นไปยังซุ้มพระเจ้า
ด้านตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหารวัดเชียงมั่น
เป็นวิหารแบบปิด ไม่ยกเก็จผนัง มัโถงทั้งด้านหน้าและหลัง
ด้านข้างมีทางขึ้นสำหรับพระสงฆ์
ด้านหน้า
หน้าบันเป็นไม้แกะสลัก ลายพรรณพฤกษา
ตรงกลางเป็นรูปมงกุฏเหนือช้างเอราวัณ
โก่งคิ้วเป็นรูปพญานาคพันหางอยู่ตรงกลาง
ปีกนกลายพรรณพฤกษา กลางหน้าแหนบปีกนกเป็นสิงห์คายพวงมาลัย
โครงหลังคา ... ม้าต่างไหม
พระประธาน อยู่ในโขงพระเจ้าด้านหลัง
หอไตร
วิหารพระแก้วขาว
พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี และพระศิลา
ตำนานว่า
เมื่อพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 700 ปี
ในวันเพ็ญเดือน 7 สุเทวฤๅษีได้นำเอาดอกจำปา 5 ดอกขึ้นไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ได้พบปะสนทนากับพระอินทร์ จึงทราบว่า
เดือนวิสาขะเพ็ญปีนี้ ที่ละโว้จะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วขาว
เมื่อพระยารามราชเจ้าเมืองละโว้กับพระกัสสปเถรเจ้าได้สร้างพระแก้ว
สุเทวฤๅษีและฤๅษีอื่นๆก็ได้ไปประชุมช่วยในการสร้างพระ
เมื่อสำเร็จจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 4 องค์
ไว้ในพระโมลี (กระหม่อม) 1 องค์ พระนลาต (หน้าผาก) 1 องค์ พระอุระ (หน้าอก) 1 องค์ พระโอษฐ์ (ปาก) 1 องค์ รวม 4 แห่ง
เมื่อพระนางจามเทวีมาครองเมืองหริภุญชัย
ได้อัญเชิญพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์
ประดิษฐานอยู่ที่นครหริภุญชัย
เมื่อพญามังรายยกทัพมาตีหริภุญชัย
ชาวเมืองไม่ยอมทิ้งเมืองพญามังรายจึงใช้ธนูเพลิงยิงเข้าไปทำให้เกิดไฟไหม้ทั้งเมือง
ยกเว้นหอพระคุ้มพญายีบา กษัคริย์องค์สุดท้ายสายพระนางจามเทวี ที่ประดิษฐานพระแก้วขาว
จึงได้อัญเชิญองค์พระแก้วขาวมาเป็นพระประจำพระองค์
ได้มายังเมืองเชียงใหม่
และ
พระพระศีลา
เป็นพระพุทธรูปแกะสลักด้วยหินชนวนดำ
ฝีมือช่างปาละของอินเดีย
ประทับยืนเยื้องพระองค์ บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม
พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่
พระหัตถ์ซ้ายยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม
พระอานนท์ยืนถือบาตรอยู่ด้านซ้าย
ตำนานว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานได้ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน
พระเจ้าอาชาตศัตรูเจ้าเมืองนครราชคฤท์
ทรงให้นำเอาดินจากท้องมหาสมุทรมาสร้างพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตร
ปราบช้างนาฬาคิริงด้วยพระเมตตา โดยมีรูปช้างนาฬาคิริงนอนหมอบอยู่ทางขวา
และรูปพระอานนท์ถือถือบาตรอยู่ทางด้านซ้าย
แล้วอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ 7 องค์
ให้เสด็จเข้าสถิตย์ในองค์พระพุทธรูปศีลา
ต่อมาพระเจ้า 3 องค์มีพระนามว่า สีละวังโส เรวะโตและญานคัมภีระเถระ
ได้ไปนมัสการพระศีลาและขออนุญาตพระเจ้าอาชาตศัตตุราช
นำพระศีลาไปยังเมืองหริภุญชัย
เมื่อพระเถระเจ้ามาถึงเมืองเขลางค์ ... ลำปาง
ก็อัญเชิญพระศีลาเจ้าประดิษฐานไว้ในที่นั้น
ต่อมาพระเถระชาวสิงหล 4 รูป
ได้นำพระศิลาพร้อมด้วยพระบรมสารีธาตุริกธาตุของพระพุทธเจ้า
มามอบให้พญามังรายที่เวียงกุมกามเมื่อ พ.ศ.1833
ในสมัยพระเจ้าติโลกราช
ได้ทรงอาราธนาพระศีลาเจ้ามาประดิษฐานไว้ ที่วัดป่าแดง วัดหมื่นสาร และ วัดสวนดอกไม้ ที่เชียงใหม่ตามลำดับ
พ.ศ.2019 ทรงอาราธณาพระศีลาเจ้ามาประดิษฐานในหอพระแก้วในคุ้มของพระองค์
ภายหลังจึงได้รับการประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่นคู่กับพระเสตังคมณี
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดเชียงมั่น